ชั่วโมงแรกและชั่วโมงที่สองของละหมาดวันศุกร์เริ่มต้นเมื่อไหร่ ?
ในฮะดิษได้บอกถึงความประเสริฐของการมาแต่เนิ่นๆในวันศุกร์ ว่าแท้จริงใครมาในชั่วโมงแรกผลบุญของเขาเท่ากับการทำกุรบานด้วยกับอูฐ และชั่วโมงที่สอง ก็อีกประการหนึ่ง ฉันอยากได้คำชี้แจงเกี่ยวกับว่า ชั่วโมงแรกของละหมาดวันศุกร์เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ และหมดลงเมื่อไหร่ เพื่อที่จะรู้ว่าเมื่อหมดชั่วโมงแรก และเข้าชั่วโมงสองเมื่อไหร่ ?
อัลฮัมดุลิลละฮ์
عن أبي هريرة رضي الله عنه قال : قال النبي صلى الله عليه وسلم : ( من راح في الساعة الأولى فكأنّما قرّب بَدَنَة ، ومن راح في الساعة الثانية فكأنّما قرّب بقرة ، ومن راح في الساعة الثالثة فكأنّما قرّب كبشاً أقرن ، ومن راح في الساعة الرابعة فكأنّما قرب دجاجة ، ومن راح في الساعة الخامسة فكأنّما قرّب بيضة ، فإذا صعد الإمام المنبر حضرت الملائكة يستمعون الذكر ) . رواه البخاري ( 841 ) ومسلم ( 850 ) .
จากอะบีฮุรอยเราะห์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮู่ กล่าวว่า ท่านนบี กล่าวว่า
"ใครก็ตามที่ไปในชั่วโมงแรก(วันศุกร์) ดังนั้น(ผลบุญที่เขาได้รับ)เหมือนกับว่าเขาได้ทำกุรบานด้วยกับอูฐ
และใครไปในชั่วโมงที่สอง เหมือนกับว่าเขาได้ทำกุรบานด้วยกับวัว
และใครไปในชั่วโมงที่สาม เหมือนกับว่าเขาได้ทำกุรบานด้วยแพะ
และใครไปชั่วโมงที่สี่เหมือนกับว่าเขาได้ทำกุรบานด้วยกับไก่
และใครไปชั่วโมงที่ห้าเหมือนกับว่าเขาได้ทำกุรบานด้วยกับไข่
และเมื่ออิหม่ามขึ้นมิมบัร มะลาอิกะห์ก็จะมานั่งฟังการรำลึก"
มะลาอิกะห์มานั่งฟัง หมายถึงปิดบัญชีการบันทึกผลบุญเทียบเท่ากับการทำกุรบานดังกล่าวในวันศุกร์นั้น(ผู้แปล)**
บรรดานักวิชาการขัดแย้งกันในเรื่องการกำหนดช่วงระยะเวลาของชั่วโมงแรก(ในวันศุกร์)สามทรรศนะ
ทัศนะที่หนึ่ง : เริ่มตั้งแต่รุ่งอรุณ (เวลาละหมาดซุบฮิ์)
ทัศนะที่สอง : เริ่มตั้งแต่ ดวงอาทิตย์ขึ้น มัซฮับ อัชชาฟีอีย์ และอะห์มัด และคนอื่นๆ
ทัศนะที่สาม : ชั่วโมงทั้งหลายที่กล่าวมาเกิดขึ้นภายในแค่ชั่วโมงเดียวหลังจากดวงอาทิตย์คล้อยแล้ว มัซฮับมาลิก และสานุศิษย์ชาฟิอีย์บางท่าน
และทรรศนะที่สามถือว่าเป็นทรรศนะทีอ่อน และมีอุลามะห์จำนวนมากที่กล่าวโต้เกี่ยวกับทรรศนะนี้
ท่านอิหม่ามนะวาวีย์ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า :
เป็นที่รู้กันว่าแท้จริงท่านนบี ท่านจะออกไปละหมาดวันศุกร์ใกล้ๆตะวันคล้อย และบรรดาอิหม่ามทั้งหลายก็กระทำสิ่งดังกล่าว กล่าวคือหลังจากสิ้นสุดชั่วโมงที่หก บ่งชี้ให้รู้ว่าไม่ใช่แนวทางของท่านนบี และไม่มีความประเสริฐสำหรับผู้ที่มาหลังตะวันคล้อยและเขาก็จะไม่ถูกบันทึกสิ่งใดๆให้แก่เขาเลย เพราะเขามาหลังจากบัญชีถูกปิดไปแล้ว
การกล่าวระบุถึงช่วงระยะเวลาของชั่วโมงทั้งหลายนั้นแท้ที่จริงคือการส่งเสริมให้มามัสยิดแต่เนิ่นๆ และให้รู้ถึงความประเสริฐของผู้ที่มาแต่เนิ่นๆ เพื่อที่เขาจะได้รับความประเสริฐของแถวแรก และช่วงระยะเวลาที่รอคอยคุฏบะห์และละหมาดวันศุกร์ เขาก็จะได้สาละวนอยู่กับการละหมาดซุนนะห์ และการรำลึกถึงอัลลอฮ์ตะอาลา และอื่นๆจากความดีงาม และทั้งหมดที่กล่าวมานี้ คนหนึ่งคนใดเขาจะไม่ได้รับอะไรเลย ถ้าหากว่าเขาไปหลังจากที่ดวงอาทิตย์ได้คล้อยแล้ว และไม่มีความประเสริฐใดๆสำหรับผู้ที่มาหลังจากดวงอาทิตย์คล้อย เพราะแท้จริงการอาซานก็จะเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น(ตะวันคล้อย) และไม่เป็นทีอนุมัติให้ล่าช้าจากมัน(อาซาน)
" المجموع " ( 4 / 414 ) ..
ท่านอิบนุกุดามะห์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า :
ส่วนคำพูดของอิหม่ามมาลิก ปรากฏว่าขัดกับร่องรอยที่เคยมี เพราะละหมาดวันศุกร์นั้นชอบให้กระทำขณะที่ตะวันคลอ้ย และท่านนบี ได้มาแต่เนิ่นๆ และเมื่อไหร่ที่อิหม่ามขึ้นมิมบัรบัญชีก็จะถูกปิด และผู้ที่มาละหมาดวันศุกร์หลังจากตะวันคล้อยแล้วนั้นเขาก็จะไม่ได้รับการบันทึกความดีใดที่กล่าวไว้ แล้วจะได้รับความประเสริฐอันใดกัน ?
" المغني " ( 2 / 73 ) ..
ที่ถูกต้องคือ ทรรศนะทีสอง ช่วงระยะเวลาของชั่วโมงต่างๆนั้นเริ่มต้นตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้น และก็ถูกแบ่งตามเวลานั้นๆ ตั้งแต่ช่วงระยะเวลาระหว่างดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงอาซานที่สอง ทั้งหมดมีห้าส่วน และทุกๆส่วนจากทั้งหมด เป้าหมายของมันก็คือ คำว่า” ชั่วโมง” ดังที่ระบุไว้ในฮะดิษ
ท่านเช็คอุษัยมีน ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ ถูกถามว่า : ชั่วโมงแรกของวันศุกร์เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ?
ท่านตอบว่า : ชั่วโมงต่างๆที่ท่านร่อซูล กล่าวไว้ มีห้าช่วงด้วยกัน ที่ท่านได้กล่าวว่า
"ใครก็ตามที่ไปในชั่วโมงแรก(วันศุกร์) ดังนั้น(ผลบุญที่เขาได้รับ)เหมือนกับว่าเขาได้ทำกุรบานด้วยกับอูฐ
และใครไปในชั่วโมงที่สอง เหมือนกับว่าเขาได้ทำกุรบานด้วยกับวัว
และใครไปในชั่วโมงที่สาม เหมือนกับว่าเขาได้ทำกุรบานด้วยแพะ
และใครไปชั่วโมงที่สี่เหมือนกับว่าเขาได้ทำกุรบานด้วยกับไก่
และใครไปชั่วโมงที่ห้าเหมือนกับว่าเขาได้ทำกุรบานด้วยกับไข่"
ท่านนบี ได้แบ่งเวลาตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นไปจนถึงอิหม่ามมานั้นมีห้าช่วง และในแต่ละช่วงบางทีก็เท่ากับชั่วโมงที่เรารู้จักกันดี(60 นาที) บางทีก็อาจจะน้อยกว่านั้น หรือ มากกว่านั้น เพราะเวลามีการเปลี่ยนแปลง(แล้วแต่ฤดู) ดังนั้นทั้งห้าชั่วโมง คือตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงอิหม่ามมา เริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้น บางทรรศนะกล่าวว่า เริ่มแต่ตั้งรุ่งอรุณ(ฟะญัร) แต่ทรรศนะที่หนึ่งมีน้ำหนักมากกว่า เพราะว่าก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้น คือ ช่วงเวลาของละหมาดฟะญัร
مجموع فتاوى الشيخ ابن عثيمين " ( 16 / السؤال رقم 1260 ) .
وانظر تفصيل هذه المسألة في كتاب " زاد المعاد " لابن القيم ( 1 / 399 - 407 )
อยากดูรายละเอียดมากกว่านี้ดูได้ใน หนังสือ ซาดุลมะอ๊าด ของอิหม่ามอิบนุก็อยยิม ร่อฮิมะฮุลลอฮ์
แปลและเรียบเรียง อบูชีส