มนุษย์ในมุมมองของอิสลาม
  จำนวนคนเข้าชม  8247

  

มนุษย์ในมุมมองของอิสลาม


อ. อับดุลเราะมัน เจะอารง


         มนุษย์ถูกสร้างด้วยความประสงค์ของอัลลอฮ์  ท่ามกลางสรรพสิ่งถูกสร้างอื่นบนโลกนี้ แต่มนุษย์เด่นกว่าสรรพสิ่งอื่น ๆที่พระองค์ทรงสร้าง เพราะพระองค์ทรงให้เกียรติมนุษย์เหนือสรรพสิ่งอื่น ๆ พระองค์ทรงยืนยันเกิรยติของของมนุษย์ไว้ว่า

وَلَقَدْ كَرَّمْنَا بَنِي آدَمَ وَحَمَلْنَاهُمْ فِي الْبَرِّ وَالْبَحْرِ وَرَزَقْنَاهُم مِّنَ الطَّيِّبَاتِ وَفَضَّلْنَاهُمْ عَلَى كَثِيرٍ

مِّمَّنْ خَلَقْنَا تَفْضِيلاً (الإسْراء/70)

“และโดยแน่นอน เราได้ให้เกียรติแก่ลูกหลานของอาดัม และเราได้บรรทุกพวกเขาทั้งทางบก และทางทะเล

และได้ให้ปัจจัยยังชีพที่ดีทั้งหลายแก่พวกเขา และเราได้ให้พวกเขาดีเด่นอย่างมีเกียรติเหนือกว่าผู้ที่เราได้ให้บังเกิดมาเป็นส่วนใหญ่”

 


          ในขณะเดียวกันพระองค์ทรงแต่งตั้งมนุษย์เป็นผู้แทนพระองค์ที่มีหน้าที่ดูแลปกครองโลกนี้ พระองค์ทรงยืนยันไว้ว่า

وَإِذْ قَالَ رَبُّكَ لِلْمَلاَئِكَةِ إِنِّي جَاعِلٌ فِي الأَرْضِ خَلِيفَةً (البقرة/30)

”จงรำลึกถึงเวลา ที่พระผู้อภิบาลของเจ้า ได้กล่าวกับมลาอิกะฮ์ว่า ฉันจะแต่งตั้งตัวแทนคนหนึ่ง ขึ้นบนหน้าแผ่นดิน”

 

         อายะฮ์นี้ให้ความหมายว่า พระองค์ทรงให้มนุษย์ปกครองกลุ่มมนุษย์เองแทนพระองค์ และพวกเขาจะปกครองสืบทอดกันไปจากรุ่นสู่รุ่น ท่านเราะสูล  ได้อธิบายความหมายนี้ไว้ว่า

إنَّ الدُّنيا حُلْوَةٌ خَضِرةٌ والله مسْتَخْلِفُكم فيها فيَنْظُرُ كيفَ تعْمَلونَ فاتَّقُوا الدُّنْيا واتَّقُوا النِّساء (رواه مسلم/2742)

“แท้จริง ดุนยานี้เขียวชอุ่มและหอมหวาน และพระองค์อัลลอฮ์ทรงให้เจ้าปกครองพื้นดินนี้ แล้วพระองค์จะทรงเฝ้าดูการกระทำของพวกเจ้า

ดังนั้นจงระมัดระวังอันตรายของโลกนี้ และจงระมัดระวังอันตรายของเพศหญิง”

 


         นอกจากนั้น โครงสร้างมนุษย์เองประกอบด้วยร่างกายและจิตวิญญาณ ซึ่งมนุษย์ต้องบริโภคอาหารและเครื่องดื่มเพื่อประทังชีวิตเช่นเดียวกับจิตวิญญาณที่ต้องนอบน้อม ยอมจำนนต่อพระผู้เป็นเจ้า เคารพภักดีและปฏิบัติหน้าที่ ที่พระองค์ทรงใช้ พร้อมหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่พระองค์ทรงห้าม

         มนุษย์มีหน้าที่ศรัทธาต่อพระองค์อัลลอฮ์ ดำเนินกิจการตามที่ท่านเราะสูล  ได้ปฏิบัติและมีหน้าที่บูรณะและจรรโลงสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างบนโลกนี้เพื่อผลประโยชน์ของมนุษย์เอง ไม่ทำลายและไม่สร้างความเสียหาย

          และประการสุดท้าย มนุษย์ต้องมีความรับผิดชอบในทุกสิ่งที่พระองค์ทรงอำนวยความสะดวกในชีวิต รับผิดชอบในคำสั่งของอัลลอฮ์  รับผิดชอบต่อตัวเอง ต่อครอบครัวที่อยู่ภายใต้การดูแล รับผิดชอบต่อชีวิต ต่อทรัพย์สินในการใช้จ่าย ต่อความรู้ที่ได้ศึกษามา พระองค์อัลลอฮ์ ได้เตือนไว้ว่า

ثمَّ لَتُسْأَلُنَّ يوْمَئِذٍ عن النَّعِيم (التَّكاثُر/8)

 “แล้วในวันนั้น พวกเจ้าจะถูกสอบถามเกี่ยวกับความโปรดปรานที่ได้รับในโลกดุนยา

(เช่นความปลอดภัย ความสุขสมบูรณ์และสิ่งอื่น ๆ ซึ่งเป็นที่ปิติยินดีแก่พวกเจ้า เช่น อาหารการกิน เครื่องดื่ม ยานพาหนะและที่อยู่อาศัย)”


ท่านเราะสูล  ได้เตือนประชาชาติของท่านในหะดีษบทหนึ่งที่กล่าวว่า

لا تزولُ قدَما عبْدٍ يوم القِيامةِ حتى يُسْأَلَ عنْ عُمْرِه فيمَ أفْناهُ وعن علْمِه فيما عمِلَ

وعن مالِه من أينَ اكْتَسَبَه وفيم أنْفَقَه وعن جِسْمِه فيما أبْلاه (رواه مسلِم/2417)

ในวันโลกหน้าก่อนที่ของบ่าวแต่ละคนจะเคลื่อนไหวเขาจะถูกถามถึง 4 ประการ

1. เกี่ยวกับอายุ เขาได้ใช้มันอย่างไร

2. เกี่ยวกับความรู้ เขาได้ปฏิบัติหรือไม่

3. เกี่ยวกับทรัพย์สิน เขาได้มาจากไหนและใช้จ่ายเพื่ออะไร

4. เกี่ยวกับร่างกาย เขาได้ใช้อย่างไร