ละหมาด ลิ้น หัวใจ
คำสั่งเสียสามประการที่สำคัญยิ่ง
แปลโดย ...อบูชีส
พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงทำให้ถ้อยคำของท่านนบี เป็นถ้อยคำที่ครอบคลุม เป็นคำพูดที่สมบูรณ์แบบและสวยงาม และใครก็ตามที่มีความผูกพันธ์กับแบบฉบับและแนวทางที่ดีงามของท่านศาสดามุฮัมหมัด แล้วไซร้ เขาผู้นั้นย่อมได้รับชัยชนะทั้งในดุนยาและอาคิเราะห์
นี่คือ ข้อคิดจากคำสั่งเสียสั้นๆที่มีข้อเตือนใจที่ลึกซึ้งที่มีร่องรอยมากจากนบี ผู้ทรงเกียรติ ที่ได้รวมความดีงามทั้งหมดไว้อย่างสมบูรณ์แบบ ใน มุสนัด อิหม่าม อะหมัด และ สุนัน อิบนิ มาญะห์ และคนอื่นๆจากทั้งสองท่าน จากฮะดิษของ อะบี อัยยูบ อัลอันซอรีย์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮู่ ว่า
แท้จริง มีชายคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี เขากล่าวว่า โปรดตักเตือนฉันและทำให้มันคลอบคลุมแก่ฉันเถิด
อีกรายงานหนึ่ง โปรดสอนฉันและให้คลอบคลุมแก่ฉันเถิด และท่านนบี กล่าวว่า
«إِذَا قُمْتَ فِي صَلَاتِكَ فَصَلِّ صَلَاةَ مُوَدِّعٍ، وَلَا تَكَلَّمْ بِكَلَامٍ تَعْتَذِرُ مِنْهُ غَدًا، وَأَجْمِعِ اليَأسَ مِمَّا فِي يَدَيِ النَّاسِ»(1)
" เมื่อท่านลุกขึ้นมาละหมาด ก็จงละหมาดเสมือนกับว่า เป็นการละหมาดอำลา
และเมื่อท่านจะพูด ก็จงอย่าพูด คำพูดที่จะถูกนำมาอ้างในวันพรุ่งนี้ (วันกิยามะห์)
และท่านจงอย่าได้คาดหวังจากสิ่งที่อยู่ในมือของผู้คน" 1
ฮะดิษ ฮะซัน ซึ่งมีบทอื่นมายืนยันมากมาย และฮะดิษบทนี้ ได้รวมคำสั่งเสียที่ยิ่งใหญ่ไว้ สามประการ ที่ได้รวมความดีงามทั้งหมดไว้ หากแม้นว่าผู้ใดได้ทำความเข้าใจและนำมาปฏิบัติ เขาก็จะได้รับความดีงามทั้งในดุนยาและอาคิเราะห์
คำสั่งเสียที่หนึ่ง สั่งเสียให้ละหมาดและเอาใจใส่ต่อมัน และปฏิบัติมันเป็นอย่างดี
คำสั่งเสียที่สอง สั่งเสียให้รักษาลิ้นและตรวจสอบมัน
คำสั่งเสียที่สาม เรียกร้องไปสู่ความเพียงพอ และผูกหัวใจไว้กับอัลลอฮ์แต่เพียงผู้เดียว
ในคำสั่งเสียแรก ท่านนบี ของเราได้ เรียกร้องว่า ผู้ใดที่ยืนหยัดในการละหมาด ก็ให้เขานั้นละหมาดเฉกเช่นเดียวกับละหมาดของคนที่จะอำลาจากไป เป็นที่รู้กันดีว่า คนที่จะอำลาจากไป เขาย่อมตรวจสอบทุกสิ่ง ไม่ว่าจะในคำพูด หรือ การกระทำ ซึ่งต่างจากบุคคลอื่น และเป็นที่รู้กันดีถึงคนที่เดินทางจากเมืองหนึ่งสู่อีกเมืองหนึ่ง สำหรับคนที่คิดว่าจะกลับมาอีกนั้น แน่นอนย่อมแตกต่างจากคนที่เดินทางไปโดยไม่คิดที่จะกลับมาอีก
ดังนั้นคนที่คิดว่าตัวเองจะอำลาจากไปแล้วนั้นย่อมมีการตรวจสอบมากกว่าคนอื่นๆ และเมื่อเขาละหมาดและคิดว่าการละหมาดของเขานั้นคือละหมาดครั้งสุดท้าย แน่นอนว่าการละหมาดของเขาจะเป็นการละหมาดที่มีความพยายามในการที่จะนำมาซึ่งความประณีตในหลักการ ประณีตในการรุกัวะอ์ และสุญูด และนำมาซึ่งเงือนไขสิ่งจำเป็นและซุนนะห์ต่างๆในการละหมาดอย่างดีเยี่ยม
และด้วยเหตุนี้แหละจึงจำเป็นต่อผู้ศรัทธานั้นต้องนำคำสั่งเสียนี้มาเป็นข้อคิดในทุกๆเวลาละหมาดเมื่อเขาจะละหมาด ก็ให้เขาคิดทุกครั้งว่า มันคือละหมาดครั้งสุดท้ายของเขา ให้รู้สึกว่ามันคือครั้งสุดท้ายและหลังจากนี้เขาจะไม่มีโอกาสได้ละหมาดอีก หากเขาคิดได้ในสิ่งดังกล่าว ก็จะเรียกร้องเขาไปสู่การปฏิบัติที่ดีเยี่ยม และสร้างความประณีตที่สมบูรณ์แบบ และใครที่ปฏิบัติสิ่งที่ดีที่สุดในการละหมาดของเขา การละหมาดก็จะนำพาเขาไปสู่ความดีงามทั้งหมดและความประเสริฐทั้งหลาย และห้ามปรามเขาออกจากความชั่วและความตกต่ำ และเติมเต็มหัวใจของเขาด้วยกับอิหม่าน และให้เขาได้ลิ้มรสความหอมหวานของอิหม่าน และการละหมาดจะเป็นดั่งแก้วตาดวงใจของเขา และเป็นการพักผ่อนหย่อนใจและความสุขใจให้แก่เขา
คำสั่งเสียที่สอง คำสั่งเสียให้รักษาลิ้น ลิ้นคือสิ่งที่อันตรายที่สุดต่อมนุษย์ และคำพูดหนึ่งเมื่อมันยังไม่ถูกพูดออกมานั้น ผู้พูดเป็นนายของมัน แต่เมื่อไหร่ถ้าพูดออกแล้วนั้น มันก็จะกลายเป็นนายของเขา และเขาต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ตามมา ดังกล่าวท่านร่อซูล จึงกล่าวว่า
"ท่านอย่าได้พูด คำพูด ที่จะถูกนำมาอ้างจากมัน ในวันพรุ่งนี้(กิยามะห์) "
คือ ท่านต้องพยายามยับยั้งลิ้นของท่านจากทุกคำพูดที่จะเกรงว่าจะเป็นหลักฐานมัดตัวท่านจากมันในวันกิยามะห์ และทุกๆคำพูดที่จะถูกนำมาอ้างจากมัน แท้จริง ก่อนท่านพูด ท่านเป็นนายมัน แต่หลังจากท่านพูดมันเป็นนายของท่าน
และในคำสั่งเสียของท่านนบี แก่ท่านมุอ๊าซ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮู่ ว่า
«أَلَا أُخْبِرُكَ بِمِلَاكِ ذَلِكَ كُلِّهِ؟ قُلْتُ: بَلَى، يَا نَبِيَّ الله! فَأَخَذَ بِلِسَانِهِ، قَالَ: كُفَّ عَلَيْكَ هَذَا، فَقُلْتُ: يَا نَبِيَّ الله! وَإِنَّا لَمُؤَاخَذُونَ بِمَا نَتَكَلَّمُ بِهِ؟ فَقَالَ: ثَكِلَتْكَ أُمُّكَ يَا مُعَاذُ! وَهَلْ يَكُبُّ النَّاسَ فِي النَّارِ عَلَى وُجُوهِهِمْ ـ أَوْ عَلَى مَنَاخِرِهِمْ ـ إِلَّا حَصَائِدُ أَلْسِنَتِهِمْ»(2).
" ฉันไม่ได้บอกกับท่านกระนั้นหรือ ถึงอำนาจที่มาครอบงำทุกสิ่ง
ฉันจึงกล่าวว่า หามิได้ โอ้นบีของอัลลอฮ์
ดังนั้นท่านจึงจับลิ้นของท่าน และท่านกล่าวว่า ท่านจงหยุดความไม่ดีของมัน
ฉันกล่าวว่า โอ้ นบีของอัลลอฮ์ เราไม่ถูกเอาโทษต่อสิ่งที่เราพูดมิใช่หรือ
ท่านนบี จึงกล่าวตำหนิท่านมุอ๊าซ มนุษย์ถูกลากในไฟนรกด้วยกับใบหน้าของพวกเขาและลากรูจมูกของเขา ไม่ใช่ด้วยกับลิ้นกระนั้นหรือ?" 2
ดังนั้นลิ้นถือว่าเป็นสิ่งที่อันตรายที่สุด และยังมีฮะดิษจากยืนยันจากท่านร่อซูล ว่า
: «إِذَا أَصْبَحَ ابْنُ آدَمَ، فَإِنَّ الأَعْضَاءَ كُلَّهَا تُكَفِّرُ اللِّسَانَ فَتَقُولُ: اتَّقِ اللهَ فِينَا، فَإِنَّمَا نَحْنُ بِكَ؛ فَإِنِ اسْتَقَمْتَ اسْتَقَمْنَا، وإِنِ اعْوَجَجْتَ اعْوَجَجْنَا»(3).
"เมื่อลูกหลานอาดัมตื่นขึ้นมาในยามเช้า แท้จริงอวัยวะทั้งหลายต่างได้ขออภัยให้กับลิ้น ต่างได้กล่าวว่า
ลิ้นเอ๋ย ท่านจงยำเกรงต่ออัลลอฮ์ ในหมู่พวกเรา เพราะพวกเราขึ้นอยู่กับท่าน
แท้จริงหากท่านยืนหยัดบนความดี พวกเราทั้งหลายก็ดีหมด หากท่านผิด พวกเราก็ผิดกันหมด" 3
และคำพูดของท่านนบี ในคำสั่งเสียที่คลอบคลุมนี้ ว่า "ท่านทั้งหลายอย่าพูด คำพูดที่จะถูกนำมาอ้างจากมันในวันพรุ่งนี้" ซึ่งในคำพูดนี้นั้น เป็นการเรียกร้องไปสู่การสอบสวนจิตใจในสิ่งที่ผู้คนจะพูดมันออกมา โดยให้พินิจพิจารณาให้ดีว่าหากว่าเป็นสิ่งที่ดี ก็ให้พูดออกมา แต่หากว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ก็จงนิ่งเสีย แต่หากไม่แน่ใจว่า ดี หรือ ไม่ดี ก็ให้เก็บเอาไว้ ดีกว่าจะพูดออกมา เพื่อออกห่างจากสิ่งคลุมเครือ จนกระทั่งเกิดความชัดเจนในสิ่งดังกล่าว
และด้วยเหตุนี้ท่านร่อซูล กล่าวเอาไว้ว่า
«مَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِالله واليَوْمِ الآخِرِ؛ فَلْيَقُلْ خَيْرًا أَوْ لِيَصْمُتْ»(4)
"ใครก็ตามที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันอาคิเราะห์ ดังนั้นเขาจงพูดสิ่งที่ดี มิฉะนั้นก็จงนิ่งเสีย" 4
ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ใส่ใจต่อตัวเองโดยเปล่งคำพูดออกมาจากลิ้นและไม่คิดถึงผลลัพท์ (พูดแต่ไม่ได้คิดอะไร-ผู้แปล) แต่หลังจากนั้นผลที่ตามมาจะมีทั้งในดุนยาและอาคิเราะห์ จะเกิดสิ่งที่ไม่ดีในบั้นปลายชีวิตของเขา ส่วนผู้ใช้ปัญญานั้นก่อนพูดก็จะชั่งคำพูดและรักษาคำพูดของเขา และจะไม่พูดคำพูดใด เว้นแต่เป็นสิ่งที่นบี ของเรา ได้กล่าวว่า มันจะถูกนำมากล่าวอ้างในวันกิยามะห์(คือคำพูดที่ดี)
และท่านนบี กล่าวว่า "คำพูดที่จะถูกนำมาอ้างจากมันในวันพรุ่งนี้" หมายถึง เมื่อท่านยืนอยู่ต่อหน้าอัลลอฮ์ ท่านจะนำมาอ้างจากมันในวันกิยามะห์ หรือมีความหมายว่า ผู้คนจะอ้างจากผลเสียที่มาจากคำพูด และคำกล่าวของท่าน และด้วยกับความหมายแรกนั้น มีความเกี่ยวข้องอย่างยิ่งยวดกับการละหมาด จงนึกถึงว่า อุปสรรคอันใดที่ทำให้ละเลยต่อการละหมาด ซึ่งจะได้พบกับผู้อภิบาลของเขาในวันกิยามะห์ มันก็คือสิ่งแรกที่ถูกถามเช่นกัน
ในคำสั่งเสียที่สาม คือการเรียกร้องไปสู่ การพอเพียง และผูกหัวใจไว้กับอัลลอฮ์เพียงผู้เดียว และไม่คาดหวังต่อสิ่งที่อยู่ในมือของมนุษย์ ท่านนบี ได้กล่าวว่า
"อย่าคาดหวังต่อสิ่งที่อยู่ในมือของมนุษย์"
ท่านอย่าคิดและมั่นใจว่าความสิ้นหวังทั้งหลายนั้นจะอยู่ในกำมือของมนุษย์ ฉะนั้นจงอย่าหวังเอาจากมนุษย์ แต่ให้หวังต่ออัลลอฮ์ เพียงผู้เดียว เฉกเช่นเมื่อท่านจะขอก็จงขอจากอัลลอฮ์เท่านั้น และเมื่อท่านหวังก็อย่าได้หวังจากผู้อื่นนอกจากอัลลอฮ์ หยุดหวังจากมนุษย์ หวังจากอัลลอฮ์แต่เพียงผู้เดียว และการละหมาดนั้นเป็นสื่อระหว่างท่านกับอัลลอฮ์ ดังนั้นในการละหมาดเป็นการขอความช่วยเหลือทียิ่งใหญ่แก่ท่านต่อสิ่งที่ท่านกำลังหวัง เพื่อให้เป็นจริงขึ้นมา
ผู้ใดที่ไม่คาดหวังหรือสิ้นหวังต่อสิ่งที่อยู่ในมือของมนุษย์ เขาก็จะมีชีวิตที่ดีและมีเกียรติยิ่ง และถ้าหัวใจของผู้ใดที่แขวนไว้กับมนุษย์ เขาก็จะใช้ชีวิตอย่างต่ำต้อย และใครที่หัวใจของเขาแขวนไว้กับอัลลอฮ์ และไม่หวังต่อใครนอกจากอัลลอฮ์ และไม่ขอสิ่งใดเว้นแต่ขอต่ออัลลอฮ์ และไม่มอบหมายต่อสิ่งใดนอกจากต่ออัลลอฮ์ พระองค์อัลลอฮ์จะให้เขาพอเพียงทั้งในดุนยาและอาคิเราะห์
ดังที่อัลลอฮ์ ตรัสเอาไว้ว่า
(أَلَيْسَ اللَّهُ بِكَافٍ عَبْدَهُ)[سورة الزمر : 36]
"ไม่ใช่อัลลอฮ์กระนั้นหรือที่ให้ความพอเพียงแก่บ่าวของพระองค์"
(وَمَنْ يَتَوَكَّلْ عَلَى اللَّهِ فَهُوَ حَسْبُهُ)[سورة الطلاق : 3]
"และใครที่มอบหมายต่ออัลลอฮ์ อัลลอฮ์ก็เป็นผู้พอเพียงต่อเขาแล้ว"
ความสำเร็จอยู่ในมือของอัลลอฮ์ แต่เพียงผู้เดียวผู้ที่ไม่มีภาคีใดๆสำหรับพระองค์
(1) رواه أحمد (23498)، وابن ماجه (4171)، انظر: «الصَّحيحة» (401).
(2) رواه أحمد (22016)، والترمذي (2616)، وصحَّحه الألباني في «صحيح الجامع»(5136).
(3) رواه أحمد (11908)، والترمذي (2407) من حديث أبي سعيد الخدري رضي الله عنه ، وحسَّنه الألباني في «صحيح الجامع» (351).
(4) رواه البخاري (6018)، ومسلم (47) من حديث أبي هريرة رضي الله عنه.