กฏเกณฑ์การดมอาหารและเครื่องดื่ม
  จำนวนคนเข้าชม  8815

 

กฏเกณฑ์การดมอาหารและเครื่องดื่ม


คำถาม :

         ตอนฉันเด็กพ่อของฉันห้ามฉันว่าอย่าดมอาหารและเครื่องดื่ม เขากล่าวว่า การดมอาหารและเครื่องดื่มนั้นฮะรอม ผ่านไปช่วงหนึ่งฉันได้ห้ามเพื่อนของฉันคนหนึ่ง ว่าไม่ให้ดมอาหารกับเครื่องดื่ม เขากล่าวแก่ฉันว่า ไม่ต้องมาตัดสินเรื่องนี้กับฉัน แต่ถ้ามีหลักฐานแล้วค่อยว่ากัน ขอท่านโปรดช่วยตอบคำถามแก่ฉัน ?


มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์


คำตอบ :

      ดังได้มีในบทบัญญัติศาสนาว่า ห้ามการหายใจในภาชนะ และการเป่าลงในเครื่องดื่ม จากอะบีก่อตาดะห์ ร่อฏิยัลลอฮู่อันฮู่ แท้จริงท่านนบี

"ห้ามการหายใจในภาชนะ"

رواه البخاري (5630) ومسلم (267)

เป้าหมายนี้คือ : การห้ามจากการเป่าสิ่งที่อยู่ในภาชนะ ไม่ว่าจะอาหารหรือเครื่องดื่ม

ท่านอิหม่ามเชากานีย์ ได้กล่าวไว้ว่า คำว่า ” ภาชนะ” รวมถึง ภาชนะที่ใส่อาหารและเครื่องดื่ม

"نيل الأوطار" (8/221)

ท่านอิหม่าม ฮาฟิซ อิบนุฮะญัร (ขอพระองค์เมตตาท่าน)กล่าวว่า

         ดังได้มีข้อห้ามจากการเป่าลงในภาชนะ จากตัวบทหลักฐานมากมาย และการห้ามหายใจลงไปในภาชนะนั้น เพราะบางทีอาจมีการเปลี่ยนแปลงที่เกียวกับระบบหายใจ อาจเนื่องจากสิ่งสกปรกในช่องปากอันเนื่องจากการกิน หรือไม่ค่อยทำความสะอาดช่องปากด้วยกับการแปรงฟันและการบ้วนปาก หรือ ลมหายใจที่ทำให้ไอในกระเพราะขึ้นมา และการเป่าในสภาพต่างๆที่กล่าวมานั้นหนักกว่าการหายใจลงไปในภาชนะ

"فتح الباري" (10/92)

ท่านเช็คอุษัยมีนกล่าวว่า:

         และเหตุผลจากการหายใจในภาชนะนั้นมีผลเสียต่อผู้ที่มาดื่มหลังจากเขา และบางทีโรคที่ออกจากกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหารหรือจากช่องปาก ที่มันติดอยู่ที่ภาชนะนั้นๆ และบางทีเขาจะสำลักเมื่อหายใจในภาชนะ และด้วยเหตุนี้ท่านนบี  จึงห้ามไม่ให้หายใจในภาชนะ แต่ทว่าให้หายใจสามครั้ง(ระหว่างการดื่ม)แต่ทุกครั้งที่ถอนหายใจนั้นให้หายใจนอกภาชนะ

"شرح رياض الصالحين" (2/454)

จากอะบีสะอี๊ด ร่อฏิยัลลอฮุอันฮู่ แท้จริงท่านนบี   "ห้ามจากการเป่าลงในเครื่องดื่ม"

رواه الترمذي (1887) وقال : حديث حسن صحيح . وصححه ابن القيم في "إعلام الموقعين" (4/317)

ท่านอิบนุอะษัยมีนกล่าวว่า:

         และดังกล่าวนั้น จริงๆแล้วคนเราเมื่อเป่าไปในภาชนะ บางทีอาจจะมีอากาศที่ออกมาและมีสิ่งที่มีอันตรายออกมาด้วย เช่น โรค(ที่มาทางลมหายใจ) อุลามะห์บางท่านยกเว้นว่า ถ้าหากเกิดความจำเป็นต่อสิ่งดังกล่าว เช่นหากคนหนึ่งดื่มน้ำร้อนในช่วงเวลาเร่งด่วน นักวิชาการบางท่านอนุโลมให้เป่าได้ แต่ที่ดีกว่าคือ ไม่เป่าลงไปในภาชนะ ถึงแม้จะเป็นอาหารที่ร้อนก็ตาม หากว่าเขามีภาชนะอีกอันหนึ่งก็ให้เขาเทสลับกันไปมาจนกว่ามันเย็น

"شرح رياض الصالحين" (2/457)

        เมื่อทราบแล้วถึงเหตุผลการห้ามเป่าอาหารหรือหายใจในภาชนะ นักวิชาการจึงอนุมาน(กิยาส)ต่อสิ่งดังกล่าวกับทุกสิ่ง(วัตถุดิบ)ที่จะนำมาผสมกับอาหารและเครื่องดื่ม

ท่านเชากานีย์ได้กล่าวไว้ว่า  "เช่นเดียวกับการห้ามหายใจ ก็คือ การห้ามเรอในภาชนะ "

"نيل الأوطار" (8/221)

         และส่วนการดมอาหารหรือเครื่องดื่ม แท้จริงการดมอาหารหรือเครื่องดื่ม โดยมีการหายใจรดลงไปในอาหารนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกห้ามเช่นกัน ส่วนการดมอาหารที่ไม่มีการรดลมหายใจลงไปในอาหาร ต้องการที่จะรู้กลิ่นอาหารหรือแยกแยะอาหาร(บูดหรือไม่) อันนี้ถือว่าไม่เป็นไร โดยการเอาปากไปใกล้กับอาหารหรือเครื่องดื่มมากที่สุด แต่ส่วนใหญ่ลมหายใจก็ต้องออกมากระทบอาหาร นักวิชาการฟิกฮ์บางคนจึงถือว่า เป็นการมักรูฮ์ในการดมอาหาร

جاء في رد المحتار – من كتب الأحناف - (6/340)

         ดังมีบันทึกในหนังสือ ร็อดดุลมุคตาร จากหนังสือของมัซฮับฮานาฟี "ไม่ให้กินอาหารร้อน และอย่าดมอาหาร" และอื่นๆอีกในหนังสือ มุฆนี มัวะฮ์ตาจ จากตำรับตำราของ ชาฟิอียะห์ ว่า ส่วนผู้ที่ต้องการดมกลิ่นอาหารให้ดมไกลๆหากจำเป็นจริงๆ หรือ ให้ระวังต่อการหายใจรดอาหารหรือเครื่องดื่ม แน่นอนว่า สิ่งที่ระวังอยู่มันก็จะหมดไป

"مغني المحتاج" (4/412) من كتب الشافعية

         ดังนั้นมุสลิมจงพินิจพิจารณาให้ดีว่า กี่มากน้อยแล้วที่บทบัญญัติศาสนาได้เอาใจใส่ต่อการอบรมบ่มเพาะมารยาทที่ดีงามให้แก่มุสลิมและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีทั้งหมดทุกเรื่องราว แม้กระทั้งเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม และพิจารณาให้ดีเถอะว่า ตำรับตำราอันมากมายจากตำราของนักวิชาการของพวกเราได้สอนเราถึงมารยาทและความสะอาด คิดดูเถิดว่า บนหน้าผืนแผ่นดินนี้มีศาสนาใด หรือแนวความคิดใดที่นำความสูงส่งมา เท่ากับศาสนาอิสลามที่นำมาให้แก่เรา

 

วัลลอฮุอะอ์ลัม

 

 


 http://islamqa.info/ar/ref/111981

แปลและเรียบเรียงโดย  อบูชีส