ท่านหญิง มัยมูนะห์ บินติ อัลฮาริษ
  จำนวนคนเข้าชม  27172

  

ท่านหญิง มัยมูนะห์ บินติ อัลฮาริษ


แปลและเรียบเรียง อ. อิหฺซาน มีผลกิจ


           ในปีฮิจเราะห์ศักราชที่ 7 ท่านนบี  พร้อมกับบรรดาศอฮาบะต์จำนวน 2000 คน ได้มุ่งหน้าไปมักกะฮฺ เพื่อทำอุมเราะฮฺ (ชดใช้) ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่ได้ทำไว้ต่อสนธิสัญญาฮุดัยบิยะฮฺ  ซึ่งท่านนบี  ได้ตกลงกับบรรดากุเรชมักกะฮฺ ในปีฮิจเราะห์ที่ 6 (ปีที่ทำสนธิสัญญาฮุดัยบิยะฮฺ) ท่านนบี  และศอฮาบะฮฺ ได้เข้าไปในมักกะฮฺ เพื่อทำอุมเราะฮฺ เป็นเวลา 3 วัน ตามมติที่ตกลงกันไว้ และพวกกุเรชมิได้ทำอันตราย ท่านนบี และศอฮาบะฮฺ แต่อย่างใด

           แต่ทว่า พวกกุเรชนั้นได้ละทิ้งบ้านของพวกเขาในมักกะฮฺ และออกมาปลูกกระโจมอยู่รอบๆมักกะฮฺ เนื่องจากหวาดหวั่นต่อท่านนบี และบรรดาศอฮาบะฮฺ และในเวลาอันสั้น (3 วันในมักกะฮฺ) อัลลอฮ์ ทรงให้นบี  เกิดความรักความเมตตา หญิงหม้ายคนหนึ่งที่สามีของนางเสียชีวิตไป (ในขณะนั้นท่านนบีมีอายุ ได้ 60 ปี) นางคือ บุรเราะห์ บินติ อัลฮาริษ ซึ่งนางไม่สามารถที่จะทำอุมเราะฮฺต่อได้เนื่องจากการจากไปของสามีนาง   ละบาบะฮฺ บินตฺ อัลฮาริษ ภรรยาของอับบาส อิบนุ อับดุลมุตตอลิบ ซึ่งเป็นลุงของท่านนบี   ละบาบะฮฺ เป็นพี่สาวคนโตของนาง และผู้หญิงคนแรกที่เข้ารับอิสลามหลังท่านหญิงคอดีญะฮฺ

          ละบาบะฮฺ ได้บอกเรื่องนี้กับสามีของนาง (อับบาส) ในสิ่งที่ได้เกิดขึ้นกับน้องสาว อับบาสจึงได้รีบไปหาท่านนบี แล้วได้บอกเรื่องที่ภรรยาเขาได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับน้องสาวของนาง เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นในวันที่สาม หลังจากที่ท่านได้เดินทางเข้ามักกะฮฺ เพื่อปฏิบัติอุมเราะหฺ และเป็นวันสุดท้ายที่พวกกุเรชอนุญาตให้ท่านนบี  และบรรดาศอฮาบะฮ์ อยู่ที่มักกะฮฺตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้ในสนธิสัญญาฮุดัยบิยะฮฺ ซึ่งครบหนึ่งปีพอดี  เมื่อท่านนบี  ได้ฟังเรื่องราวจากอับบาส ท่านจึงได้ตกลงที่จะไปสู่ขอนางในวันนั้นเลย และอับบาสได้รับมอบหมายจากท่านนบี  ให้ไปทำการสู่ขอ (อักดฺ) แทน

           ท่านนบี  และยะฮฺฟัร อิบนุ อบีตอลิบ ซึ่งเป็นพี่เขยของนางบุรเราะฮฺ ยะฮฺฟัรเป็นสามีของอัสมาอฺ บิรุ อุมัยชฺ ซึ่งเป็นพี่สาวของนาง ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการทำอักดฺ (สู่ขอตัวนาง) และท่านนบี  ต้องการที่จะทำการแต่งงาน (อักดุนนิกะฮฺ) ให้เสร็จในมักกะฮฺ โดยที่เขาทั้งสองอยู่ในมักกะฮฺด้วย ท่านจึงไปขอต่อชาวกุเรชให้เลื่อนเวลาออกในการอยู่ในมักกะฮฺอีกวันหนึ่ง แต่บรรดากุเรชได้ปฏิเสธในคำขอร้องของท่าน เนื่องจากเกรงว่าประชาชนในมักกะฮฺจะเข้ารับอิสลาม ซึ่งมีผลมาจากท่านนบี  บรรดาศอฮาบะฮฺ ที่ยังอยู่ในมักกะฮ์

          ท่านนบี จึงได้ออกจากมักกะฮฺเพื่อรักษาสัญญา ที่ได้ตกลงกันไว้กับชาวกุเรช และมาทำพิธีนิกาฮฺกับนางบุรเราะหฺที่นอกเมืองมักกะฮฺ  ณ สถานที่ที่ถูกขนานนามมาจนปัจจุบันนี้ว่า “ตะนะอีม” ซึ่งถือได้ว่า “บุรเราะฮฺ” เป็นภรรยาท่านสุดท้ายของท่าน หลังจากแต่งงานแล้วท่านนบบี ก็ได้เปลี่ยนชื่อจากนางบุรเราะหฺ มาเป็น “มัยมุนะฮฺ” แทน

 

          เช่นเดียวกับที่ได้เปลี่ยนชื่อภรรยาของท่านที่เป็นบุตรสาวของหัวหน้าเผ่าบนีมัสตอลิด ซึ่งเดิมนางชื่อ บุรเราะหฺ บินตุ อัลฮาริษ หลังจากแต่งงาน ท่านได้เปลี่ยนเป็น ญุวัยรียะฮฺ บินตุ อัลฮาริส แทน และสาเหตุของการเปลี่ยนชื่อทั้งสองท่านนี้อาจมีความลับซ่อนอยู่ในนั้น กล่าวคือ การเปลี่ยนชื่อจาก บุรเราะหฺ บินตุ อัลฮาริษ เป็น ญุวัยรียะฮฺ ซึ่งแปลว่า –ผู้ให้ความช่วยเหลือ – หมายความว่านางได้ให้ความช่วยเหลือเผ่าของนางให้พ้นจากการเป็นเชลย และสภาพการเป็นชิริกมาสู่อิสลาม

           ส่วนบุรเราะหฺ บินตุ อัลฮาริษ ซึ่งเป็นชาวมักกะฮฺ หลังจากการแต่งงานกับท่านนบี  ท่านได้เปลี่ยนชื่อเป็น “มัยมูนะฮฺ” แปลว่า ผู้ถูกโปรดปราน เนื่องจากเป็นเวลาที่อัลลอฮฺ ได้โปรดปรานให้ท่านนบี  และศอฮาบะฮฺทั้งหลาย สามารถกลับเข้าไปมักกะฮฺ อีกครั้งเพื่อทำการฏอวาฟและซะแอ ซึ่งหลังจากท่านนบี  อพยพไปมะดีนะฮฺ  บรรดากุเรชก็ห้ามบรรดามุสลิมเข้ามักกะฮฺ เป็นเวลานานถึง 7 ปี (นับตั้งแต่ท่านอพยพจากมักกะฮฺไปมะดีนะฮฺ)

 

สาเหตุของการแต่งงานกับบุรเราะห์ (มัยมูนะฮฺ)

           นางมัยมุนะฮฺ มีเชื้อสายมาจากครอบครัวมีชื่อเสียงและมีการอีมาน (ศรัทธา) ซึ่งสูงส่ง พี่สาวของนาง ละบาบะฮฺ บินติ อัลฮาริส ได้แต่งงานกับลุงของท่านนบี คือท่านอับบาส อิบนุ อับดุลมุตตอลิบ โดยลูกๆของนางก็ล้วนแต่เป็นคนดี จึงสมควรแก่การที่อัลลอฮฺ ทรงฮิดายะฮฺให้นางเป็นหญิงคนแรกที่ศรัทธาต่อท่านนบี หลังจากท่านหญิงคอดีญะฮฺ

            และพี่สาวแม่เดียวกันของนาง ซัยหนับ บินตุ คุชัยมะฮฺ เป็นภรรยาของท่านนบี  คือ อุมมุมะซากีน (แม่ของผู้ยากจนขัดสน) ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งนางซัยหนับได้อยู่กับท่านนบี เป็นเวลาอันสั้น นางมีชีวิตอยู่หลังการแต่งงานกับท่านนบี เป็นเวลา 2-3 เดือนเท่านั้น อัลลอฮฺ ก็ทรงเอาชีวิตเธอกลับไป

          ทั้งนี้ การที่ท่านนบี มิได้แต่งงานกับพี่น้องสองคนในคราวเดียวกัน (ซัยหนับและมัยมูนะฮฺ) ถือว่าเป็นความสุขความสบายที่ถูกประทานมายังท่านนบี  ดังที่พระองค์ทรงสัญญาไว้ว่า จะนำมาประทานแก่บ่าวที่พระองค์ทรงประสงค์ โดยที่นางมัยมูนะฮฺได้แต่งงานกับท่านนบี หลังจากพี่สาว (ซัยหนับ) ของนางได้เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งนางเป็นภรรยาที่มีคุณความดี มีมนุษยสัมพันธ์ และความยำเกรงมากกว่าบรรดาภรรยาคนอื่นๆ เราสามารถที่จะกล่าวได้ว่าสาเหตุในการแต่งงานของท่านนบี  เป็นเหตุผลที่พบได้ในการแต่งงานในทุกๆครั้งของท่าน ที่บ่งบอกถึงว่าท่านนบี  เป็นผู้ที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การให้ความเมตตา สงสารและสมานสิ่งที่อยู่ในจิตใจ

 

          ซึ่งมิใช่ดังที่ศัตรูของอิสลามได้ยกเอามากล่าวหาว่าท่านมีความสุข ความสำราญ เพื่อการสนองอารมณ์ตัณหาของท่าน การแต่งงานในทุกๆครั้ง มีเหตุและผลของการแต่งงานของท่านนบี กับบรรดาภริยาแต่ละครั้งทั้ง 11 คน  และสิ่งที่บรรดานักเผยแพร่ในศาสนาคริสต์ นักบูรพาคดี ได้จงใจกล่าวหาท่านนบี  อย่างไม่หยุดยั้งนั้น โดยพวกเขาได้กล่าวว่า “มุฮัมมัดนั้นได้ทำ(แหวกม่านประเพณี)สิ่งที่น่ารังเกียจ หลังจากได้มีเหตุการณ์อันนี้ในสมัยนบีลูฏ”

         ทั้งที่จริงแล้วบรรดาภรรยาของท่านทั้ง 11  คนที่ได้กล่าวมานั้นจริงๆ แล้วอาจนับได้ว่าอยู่กับท่านจริงๆ 7 คนเท่านั้น เนื่องจากคอดีญะฮฺ ได้เสียชีวิตที่มักกะฮฺ ส่วนซัยหนับ(อุมมุมะซากีน)ได้อยู่กับท่านนบี  ได้เพียง 3 เดือน แล้วเสียชีวิตไป และส่วนเซาดะฮฺ กับอุมมุซาลามะฮฺนั้น สองท่านมีอายุมากเกินกว่าที่ความต้องการของสามีจะมีต่อภรรยา หรือภรรยามีความต้องการต่อสามีในเรื่องความสัมพันธ์ ฉะนั้นจึงเหลือ 7 ท่าน คือ

1. อาอีชะฮฺ     2.ฮัฟเซาะห์    3. ซัยหนับ บินตุ ยะฮฺซ     4.ญุวัยริยะฮฺ    5. อุมมุฮาบีบะฮฺ     6.ซอฟียะฮฺ    7.มัยมูนะฮฺ.

ซึ่งทั้ง 7 ท่านนี้มีบางคนที่ได้แต่งงานกับท่านนบี  ตอนที่มีอายุมากแล้ว ซึ่งเหตุผลดังกล่าวนี้หรือ ที่บรรดาศัตรูของอิสลามได้กล่าวหาท่าน นบีมุฮัมมัด   

 


ที่มา อัลอิศลาห์สมาคม