สิทธิของสามีต่อการให้ภรรยาลาออกจากงาน
คำถาม
ผมได้ทำการแต่งงานแล้ว ตอนนี้เรามีปัญหากันตรงที่ ภรรยาของผมไม่ต้องการที่จะลาออกจากงาน ผมไม่ทราบว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร แล้วถ้าผมต้องการที่จะทำการหย่าจากเธอ เนื่องมาจากการดื้อรั้นของเธอที่ไม่ลาออกจากงาน ผมจำเป็นจะต้องจ่ายเงินค่าสินสอดที่ยังคงค้างจ่ายให้กับเธออยู่หรือไม่ ?
บรรดาการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์แด่อัลลอฮฺ
คำตอบ
ถ้าหากว่าก่อนที่คุณจะขอเธอแต่งงาน เธอได้มีงานทำอยู่แล้ว และคุณก็เห็นด้วยกับการที่เธอมีงานทำ และคุณก็ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขของการแต่งงงานว่า ให้เธอลาออกจากงาน ดังนั้นหลังจากที่ได้แต่งงานกับเธอแล้ว คุณก็ไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้เธอลาออกจากงานได้
ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องข้างต้น ได้ระบุเอาไว้ใน al-Rawd al-Murbi‘ wa Haashiyatuhu ดังนี้
ฝ่ายชายนั้นมีสิทธิในการที่จะขอให้ภรรยาลาออกจากงานได้ หากว่าเขาได้ทำการตกลงกับฝ่ายหญิงเอาไว้ก่อนที่จะทำการแต่งงาน เนื่องด้วยเหตุผลที่ฝ่ายชาย เกรงว่าตนเองนั้นจะบกพร่องในหน้าที่ของสามีที่มีต่อภรรยา แต่ถ้าหากว่าไม่ได้มีการตกลงกันเอาไว้ก่อนที่จะทำการแต่งงาน ภรรยานั้นก็ไม่จำเป็นจะต้องลาออกจากงาน
นอกจากนี้ยังมีคำอธิบายเพิ่มเติมดังนี้ (จาก Haashiyat al-Rawd al-Murbi‘ by Ibn Qaasim, 6/444 และดูเนื้อหาเพิ่มเติมได้จาก al-Insaaf, 8/267) ฝ่ายหญิงมีสิทธิที่จะทำงานได้ ตราบใดที่ไม่ได้มีการตกลงกับฝ่ายชายเอาไว้ก่อนที่จะทำการแต่งงานว่า นางจะต้องลาออกจากงานหลังจากทำการแต่งงานแล้ว
เชค Zakariya al-Ansaari (ขออัลลอฮฺ ทรงโปรดประทานความเมตตาให้แก่ท่านด้วยเทอญ) ได้กล่าวเอาไว้ว่า
ในกรณีที่ฝ่ายหญิงไม่ได้มีงานทำอยู่ก่อนแล้ว และเมื่อนางแต่งงานแล้วต้องการจะออกไปหางานทำ เช่น การเป็นแม่นม หรือแสวงหางานอื่น ๆ ทำ นางจะต้องขออนุญาตจากสามีของนางเสียก่อน เนื่องจากเวลาของนางนั้น มีหน้าที่ในการปรนิบัติดูแลสามี ตามสิทธิของสามีที่พึงได้รับ และถ้าสามีอนุญาตให้นางสามารถออกไปทำงานได้ ในกรณีนี้นางจึงจะสามารถออกไปทำงานได้
แต่ในกรณีที่นางมีงานทำก่อนที่จะทำการแต่งงาน และนางมีพันธะสัญญาของงานที่ผูกพันอยู่ ในกรณีนี้สามีไม่มีสิทธิ์ที่จะให้ลาออกจากงาน ซึ่งในกรณีนี้คล้ายกับว่า การทำงานของนางได้รับการอนุญาตจากสามีแล้ว (เนื้อหาจาก Asna al-Mataalib, 2/409 )
ในกรณีเดียวกัน หากก่อนทำการแต่งงานฝ่ายหญิงมีพันธะสัญญาในการทำงาน หรือหลังแต่งงานสามีเป็นผู้อนุญาตให้นางสามารถออกไปทำงานได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ สามีไม่มีสิทธิ์ในการที่จะให้ภรรยาลาออกจากงานหรือพาเธอออกไปจากเมืองที่เธอยังมีพันธะสัญญาว่าจ้างงานอยู่
มีเนื้อหากล่าวเอาไว้ใน Minah al-Jaleel ว่า
ในกรณีที่สามีเป็นผู้อนุญาตให้ภรรยาออกไปทำงานได้ และนางได้มีพันธะผูกพันธ์ในการทำงานแล้ว หากต่อมาสามีต้องการที่จะให้นางลาออกจากงาน หรือพานางออกไปจากเมืองที่ทำงานอยู่ ในกรณีนี้ สามีไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ แต่ถ้าหากการทำงานของนางไม่ได้รับการอนุญาตจากสามีมาก่อน ในกรณีนี้สามีมีสิทธิที่จะยับยั้งการทำงานของนางและสัญญาว่าจ้างงานของนางนั้นจำเป็นจะต้องยกเลิก
จากหลักการข้างต้น ในการแก้ปัญหาของคุณคือ การตกลงกันระหว่างคุณและภรรยา ซึ่งถ้าหากนางยินดีที่จะลาออกจากงานแล้วเดินทางไปท่องเที่ยวกับคุณ สิ่งที่เธอทำก็นำมาซึ่งความพึงพอใจแก่คุณ แต่ถ้าเธอไม่สามารถลาออกจากงานได้ คุณก็ควรจะหางานที่เหมาะสมให้กับเธอ ในเมืองที่เธออาศัยอยู่ หรือมีงานทำอยู่
แต่ถ้าหากว่าคุณไม่ต้องการให้เธอทำงานและคุณยังต้องการที่จะทำการขอหย่าจากเธอ คุณก็ยังคงจะต้องจ่ายค่าสินสอดที่คงค้างจ่ายให้กับเธอ ซึ่งคุณได้สัญญาว่าจะมอบให้กับเธอ แม้ว่าเธอจะดื้อรันในการขอทำงาน ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเลือกดำรงชีวิตคู่ต่อไปหรือหย่าขาดจากเธอ คุณจะต้องจ่ายค่าสินสอดให้กับเธอ ซึ่งเธอมีสิทธิ์ที่จะได้จากค่าสินสอดนั้นอยู่ครึ่งหนึ่ง
พวกเราวิงวอนขออัลลอฮฺ โปรดประทานสิ่งที่ถูกต้องให้กับคุณและภรรยาของคุณ และประทานความปรองดองในระหว่างพวกท่านด้วยเทอญ
และอัลลอฮฺ คือผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณยิ่ง
ที่มา http://www.islamqa.com/en/ref/156154
แปลและเรียบเรียงโดย นูรุ้ลนิซาอฺ