เลือกทำการละหมาดร่วมกันในมัสยิด หรือในที่สถานที่พักสำหรับนักศึกษา
  จำนวนคนเข้าชม  7494

เลือกทำการละหมาดร่วมกันในมัสยิด หรือในที่สถานที่พักสำหรับนักศึกษา


คำถาม

         ผมเป็นนักศึกษา ที่มหาวิทยาลัยอิสลามิค ในประเทศมาเลเซีย และมีความประสงค์ที่จะทำการละหมาดร่วมกันเป็นญะมะอะ ในมัสยิด ตราบเท่าที่ผมมีโอกาสที่จะทำได้ แต่ติดตรงที่ว่าผู้นำละหมาดในมัสยิดนั้น มีการกระทำบางอย่างที่ไม่สอดคล้องกับหลักซุนนะฮฺ ตัวอย่างเช่น ทำการขอดุอาร่วมกันหลังการละหมาดทุกเวลา บางครั้งมีการนำอายะฮฺกุรอานมาอ่านรวมกับการอะซาน การสุญุดในร็อกอะฮฺสุดท้ายที่ยาวนานเพื่อทำการขอดุอา ถ้าหากผมไม่ไปทำการละหมาดในมัสยิด ในห้องพักของผมก็จะมีห้องละหมาดที่จัดเตรียมเอาไว้ให้ เพื่อให้นักศึกษามาทำการละหมาดร่วมกัน ซึ่งมีการอะซานและอิกอมะฮฺอย่างเปิดเผย รวมถึงมีผู้นำละหมาดที่ไม่มีพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น ผมจึงอยากจะทราบว่า ผมควรที่จะทำการละหมาด ในสถานที่ใด จึงจะเหมาะสมกว่า


บรรดาการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์แด่อัลลอฮฺ  

คำตอบ

          การละหมาดร่วมกันในมัสยิดนั้นเป็นข้อบังคับสำหรับผู้ชาย สำหรับผู้ที่มีความสามารถที่จะกระทำได้ ซึ่งมีเหตุผลที่ถูกต้องตามคำตอบที่นักวิชาการได้กล่าวเอาไว้ในคำถามข้อ 9818 และข้อ 120

          ถ้าเราสามารถได้ยินเสียงอะซาน คุณก็จำเป็นจะต้องไปทำการละหมาดร่วมกันในมัสยิด ซึ่งจากปัญหาข้างต้นนั้น คุณควรจะบอกกับอิหม่าม ถึงหลักการตามซุนนะฮฺ แต่ถ้าอิหม่ามยังคงกระทำการขอดุอาร่วมกัน ก็ให้คุณทำการขอดุอาที่เป็นดุอาเฉพาะส่วนตัวของคุณ ซึ่งคุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากคำถามข้อที่ 10268 และ 105644

 

          ตามหลักการนั้น เสียงอะซานที่เราได้ยินจาก มุอัดซิน นั้นจะต้องเป็นเสียงอะซานที่ไม่ได้ผ่านการขยายเสียงจากลำโพง เป็นเสียงอะซานที่คนปกติสามารถได้ยิน โดยปราศจากการการรบกวนจากสภาวะรอบข้าง เช่นเสียงลมพัด หรือเสียงรบกวนอื่น ๆ โดยรอบ

          แต่ถ้าคุณไม่ได้ยินเสียงอะซานแล้ว การละหมาดในที่พักของคุณจึงจะเป็นที่อนุญาต และสำหรับในกรณีปัญหาที่คุณได้พบในมัสยิด ก็ให้คุณพิจารณาถึงวัตถุประสงค์และเงื่อนไข ในการทำละหมาดร่วมกันในมัสยิด ตัวอย่างเช่น การไปละหมาดที่มัสยิดนั้น คุณจะได้มีโอกาสได้สร้างความสัมพันธ์กับพี่น้อง และคุณก็จะมีโอกาสได้เรียกร้อง หรือสอนพวกเขาในหลักการของอิสลาม ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า เมื่อเทียบกับการที่คุณแยกออกมาละหมาดในที่พักของคุณ

 


และอัลลอฮฺ  นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง

 

ที่มา http://www.islamqa.com/en/ref/177352

แปลโดย นูรุ้ลนิซาอฺ