คำเตือนในเรื่องกฎต่างๆที่เกี่ยวข้องกับบรรดาหญิงผู้ศรัทธา
เรียบเรียงโดย
الشيخ د. صالح بن فوزان بن عبدالله الفوزان
ดร. ซอและหฺ อิบนุ เฟาซาน
ภาคที่สาม
ข้อชี้ขาดต่างๆที่เกี่ยวกับเฮด อิสติฮาเฏาะฮฺ และนิฟาส
1. เฮด คำนิยามของเฮด เฮดในเชิงภาษานั้นคือการไหล และเฮดในเชิงบัญญัตินั้นคือเลือดที่ออกมาจากส่วนลึกของมดลูกสตรีในกำหนดเวลานั้น โดยที่ไม่ได้เกิดจากการเป็นโรค หรือ ประสบอุบัติเหตุ แต่มันเป็นสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงกำหนดให้แก่บรรดาลูกสาวของอาดัม อัลลอฮ์ทรงให้มีขึ้นมาในมดลูกเพื่อเป็นการให้อาหารแก่ทารกที่อยู่ในครรภ์ หลังจากที่ทารกได้คลอดออกมาอาหารจะเปลี่ยนไปเป็นนม เมื่อสตรีไม่ได้ตั้งครรภ์ หรือ ให้นม เลือดนี้จะคงอยู่โดยที่ไม่มีสิ่งใดมาเปลี่ยนแปลง ซึ่งรู้จักกันในนามว่าประจำเดือน รอบเดือน หรือ ระดู
2. อายุ สตรีที่จะมีประจำเดือนโดยทั่วไปอายุที่ต่ำที่สุดนั้นคือ เก้าขวบ จนถึงห้าสิบปี อัลลอฮ์ได้ตรัสไว้ว่า
และพวกที่หมดรอบเดือนจากพวกสตรีของพวกเจ้า หากพวกเจ้าสงสัย เวลาแห่งการรอคอยของพวกนางนั้นสามเดือนและพวกที่ยังไม่มีรอบเดือน. ( ซูเราะฮฺ อัต-ตอล๊าก 4)
พวกที่ใกล้จะหมดรอบเดือนนั้นคือหญิงที่อายุห้าสิบปีแล้ว และพวกที่ยังไม่มีรอบเดือนนั้นคือ หญิงที่ยังเป็นเด็กอยู่ โดยที่อายุยังไม่ถึงเก้าขวบ
3. ข้อตัดสินต่างๆ
ก. ห้ามไม่ให้ร่วมประเวณีกับนาง ทางอวัยวะเพศของนางในขณะที่มีรอบเดือน เนื่องจากอัลลอฮ์ได้ทรงตรัสไว้ว่า
และพวกเขาถามเจ้าเกี่ยวกับการมีรอบเดือน จงกล่าวเถิดว่ามันเป็นอันตราย ดังนั้นพวกเจ้าจงออกห่างจากพวกนางในขณะที่มีรอบเดือน และอย่าได้เข้าใกล้พวกนาง จนกว่าพวกนางจะสะอาดเสียก่อน แล้วเมื่อพวกนางสะอาดแล้ว พวกเจ้าก็จงเข้าหาพวกนางตามที่อัลลอฮฺได้ทรงใช้พวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงรักผู้กลับเนื้อกลับตัว และทรงรักบรรดาผู้ที่ทำความสะอาด (ซูเราะฮฺ อัลบากอเราะฮฺ 222)
และข้อห้ามนี้จะดำเนินต่อไป จนกระทั่งเลือดประจำเดือนหยุดไหลและนางชำระล้างร่างกายเสียก่อนเนื่องจากพระองค์อัลลอฮฺตะอาลาทรงตรัสไว้ว่า
และพวกเจ้าอย่าได้เข้าใกล้พวกนางจนกว่าพวกนางจะสะอาดเสียก่อน แล้วเมื่อได้ทำความสะอาดแล้ว พวกเจ้าก็จงเข้าหาพวกนางตามที่อัลลอฮฺได้ทรงใช้พวกเจ้า ( ซูเราะฮฺ อัลบากอเราะฮฺ 222)
และเป็นที่อนุญาตให้สามีของหญิงผู้มีประจำเดือนหาความสุขจากนาง ด้วยสิ่งที่ไม่ใช่การร่วมประเวณีทางอวัยวะเพศ เนื่องจากท่าน นบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า ...ท่านทั้งหลายจงทำทุกสิ่ง นอกจากการร่วมประเวณีเท่านั้น (มุสลิม รายงาน)
ข. หญิงผู้มีรอบเดือนจะหยุดการถือศีลอด และละหมาดระหว่างที่มีรอบเดือน และเป็นที่ห้ามไม่ให้ นางกระทำการดังกล่าว และถือว่าใช้ไม่ได้ เนื่องจากนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า
สตรีนั้นเมื่อนางมีประจำเดือน นางจะไม่ละหมาด และนางจะไม่ถือศีลอดไม่ใช่หรือ? (บุคอรี และ มุสลิม)
แล้วเมื่อสตรีผู้มีรอบเดือนนั้นสะอาดแล้วนางก็ต้องถือศีลอดชดเชยอย่างเดียวโดยไม่ต้องละหมาดชดเชย เนื่องจาก ท่านหญิง อาอีซะฮ์ รอดิยัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวไว้ว่าเรามีประจำเดือนในสมัยของท่านรอซูลุลลอฮูอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วเราถูกสั่งให้ถือศีลอดชดเชยและไม่ถูกสั่งให้ละหมาดชดเชย (บุคอรี และ มุสลิม)
และความแตกต่างนั้น-อัลลอฮ์นั้นเป็นผู้รู้ดีที่สุด-คือการละหมาดนั้นมีอยู่ประจำ จึงไม่จำเป็นต้องละหมาดชดเชย เนื่องจากมีความลำบากในการกระทำการดังกล่าวซึ่งตรงกันข้ามกับการถือศีลอด
ค. ห้ามสตรีไม่ให้สัมผัสอัลกุรอาน โดยที่ไม่มีสิ่งขวางกั้น เนื่องจากอัลลอฮ์ตะอาลาได้ตรัสไว้ว่า
และจะไม่มีใครมาสัมผัสอัลกุรอานได้ นอกจากพวกที่มีความสะอาดเท่านั้น (อัลวากิอะฮิ 79)
และสารที่ท่าน รอซูล ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เขียนไปหา อัมรฺ อิบนุ หัซมฺ ว่า...จงอย่าสัมผัสอัลกุรอาน นอกจากผู้ที่สะอาดเท่านั้น (อันนะซาอี และท่านอื่นๆรายงาน)
ซึ่งคล้ายกับฮาดิษมุตะวาติร เนื่องจากผู้คนทั้งหลายได้ยอมรับ ไชคุลอิสลาม อิบนุ ไตยมียะฮฺ รอฮิมาฮุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ว่า... แนวความคิดของท่านอิหม่ามทั้งสี่นั้นคือว่าไม่มีใครมาสัมผัสได้ นอกจากผู้ที่สะอาดเท่านั้น
ส่วนการอ่านของสตรีที่มีประจำเดือนโดยที่ไม่สัมผัสอัลกุรอานนั้นเป็นเรื่องที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันไปในหมู่นักวิชาการ และที่รัดกุมที่สุดนั้นคือนางจะอ่านอัลกุรอานไม่ได้ นอกจากในกรณีที่มีความจำเป็นเท่านั้น เช่น การที่นางกลัวว่าจะลืมอัลกุรอานและอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้รู้ดีที่สุด
ฆ. ห้ามสตรีที่มีรอบเดือนเวียนรอบบัยตุลลอฮฺ (ตอวาฟ) เนื่องจากท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวแก่อาอีซะฮฺ รอดิยัลลอฮุอันฮา ขณะที่นางมีประจำเดือนว่า...เธอจงทำเหมือนผู้ที่ประกอบพิธีหัจญ์ทำ เว้นแต่ห้ามเธอเวียนรอบบัยตุลลอฮฺ จนกว่าเธอจะสะอาด
ง. ห้ามสตรีที่มีประจำเดือนพำนักอยู่ในมัสยิด เนื่องจากท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่าแท้จริงฉันไม่อนุญาติให้มัสยิดเป็นที่พำนักของผู้มีรอบเดือนและชายผู้มีญุนุบ (อบูดาวุดเป็นผู้รายงาน)
และคำกล่าวของท่านที่ว่า
แท้จริงมัสยิดนั้นไม่เป็นที่อนุญาติสำหรับสตรีที่มีประจำเดือน และชายผู้มีญูนุบ (อิบนุมาญะฮฺ รายงาน)
และอนุญาติให้นางเดินผ่านมัสยิดได้โดยไม่มีการหยุดพัก เนื่องจากฮาดิษของท่านหญิงอาอีซะฮฺ รอดิยัลลอฮุอันฮาที่ว่า ท่านรอซูล ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวไว้ว่า
เธอจงหยิบเอาเสื่อจากมัสยิดมาให้ฉันซิ ฉันก็กล่าวว่า...ฉันมีรอบเดือน...ท่านก็กล่าวว่า... แท้จริงประจำเดือนของเธอนั้นไม่ได้อยู่ที่มือของเธอ (ได้กล่าวไว้ใน อัล-มุนตะกอ นักรายงานทั้งห้าได้รายงานไว้ ยกเว้น บุคอรี เล่มที่ 1 หน้าที่ 140)
ไม่เป็นปัญหาแต่ประการใด ในการที่สตรีผู้มีประจำเดือนจะนำเอาถ้อยคำซิเกรต่างๆมากล่าว อันได้แก่การกล่าวว่า ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ อัลลอฮุอักบัร ซุบฮานัลลอฮฺ ตลอดจนคำวิงวอนต่างๆและคำวิริดยามเช้าและยามเย็น และเข้านอน และตื่นนอน และไม่เป็นปัญหาใดๆในการที่นางจะอ่านตำราวิชาการต่างๆเช่น ตัฟซีรฮาดิษ และ ฟิกฮฺ
เคล็ดความรู้ในเรื่องข้อตัดสินของศุฟเราะหฮฺและกุดเราะฮฺ
ศุฟเราะฮฺ คือ สิ่งที่เหมือนกับน้ำหนองที่มีสีค่อนข้างเหลืองกุดเราะฮฺ คือ สิ่งที่เหมือนกับสีของน้ำที่ค่อนข้างสกปรก ขุ่น เมื่อมีศุฟเราะฮฺ หรือ กุดเราะฮฺ ออกมาจากสตรีในเวลาประจำเดือนของนาง ก็จงถือว่ามันทั้งสองเป็นประจำเดือน โดยที่มันทั้งสอง จะใช้ข้อชี้ขาดของรอบเดือนที่ผ่านมา และหากมันทั้งสองออกมาในเวลาที่ไม่ใช่รอบเดือน นางก็อย่าสนใจมันทั้งสอง และจงถือว่าตัวของนางนั้นสะอาด เนื่องจากอุมมุอาฏียะฮฺ รอดิยัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวไว้ว่า
เราไม่นับเอากุดเราะฮฺ และ ศุฟเราะฮฺหลังสะอาดแล้ว (หลังจากการหยุดมาของประจำเดือน) (มันไม่ใช่ประจำเดือน) , อบูดาวูด รายงาน และ บุคอรี รายงานโดยไม่มีคำว่า (หลังสะอาดแล้ว) และอันนี้จัดอยู่ในทัศนะของนักวิชาการ หะดีษ เพราะว่ามันเป็นการยอมรับของท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และสิ่งที่เข้าใจจากฮาดิษนี้ก็คือ กุดเราะฮฺ และ ศุฟเราะฮฺ ก่อนสะอาดนั้นเป็นรอบเดือน โดยจะดำเนินไปตามข้อชี้ขาดของมันเกล็ดความรู้อีกอันหนึ่ง
ถาม ด้วยสิ่งใดที่สตรีสามารถรู้การสิ้นสุดของประจำเดือนของนาง?
ตอบ นางสามารถรู้เรื่องดังกล่าวได้ด้วยการหยุดของเลือดและอันนั้นด้วยการอาศัย หนึ่งในสองเครื่องหมายด้วยกัน
เครื่องหมายที่หนึ่ง การมีก็อดเศาะฮฺ สีขาวออกมา ซึ่งก็คือน้ำสีขาวที่ออกมาหลังประจำเดือน คล้ายน้ำปูนและบางทีก็อาจจะเป็นสีอื่นซึ่งสีของมันแตกต่างกันออกไปตามความแตกต่างของสภาพของสตรี
เครื่องหมายที่สอง การแห้ง กล่าวคือ เมื่อเอาเศษผ้า หรือฝ้ายสอดเข้าไปในอวัยวะเพศของนางแล้วดึงออกมา แล้วพบว่ามันอยู่ในสภาพที่แห้ง ไม่มีสิ่งใดติดอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเลือด กุดเราะฮฺ หรือ ศุฟเราะฮฺ
4. สิ่งที่จำเป็นต่อสตรีผู้มีประจำเดือนขณะที่หมดประจำเดือน
จำเป็นต่อสตรีที่มีประจำเดือน จนหมดประจำเดือนจะต้องชำระล้างร่างกาย และอันนั้นก็ด้วยการใช้น้ำพร้อมด้วยเจตนา (เนียต) การทำความสะอาดในทุกส่วนของร่างกายนาง เนื่องจากนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า...แล้วเมื่อรอบเดือนของเธอมา เธอจงพักการละหมาด และเมื่อมันจากไป เธอก็จงชำระล้างร่างกายและจงละหมาด (บุคอรี รายงาน)
ลักษณะของการชำระล้างร่างกาย คือให้นางตั้งเจตนายกหะดัษ หรือการทำความสะอาดเพื่อละหมาดและอื่นๆ หลังจากนั้นก็กล่าวว่า บิสมิลลาฮฺ หลังจากนั้นเอาน้ำราดลงบนร่างกายทั้งหมด และเอาน้ำรดลงบนศีรษะให้ไปถึงโคนผมให้เปียก และไม่จำเป็นที่นางจะต้องแก้ไขมันออกหากว่ามีการถัก แต่ให้นางราดน้ำลงไปให้เปียก หากนางใช้น้ำพุทรา หรือน้ำยาทำความสะอาดผสมกับน้ำ อันนั้นก็จะเป็นการดี และสุนัตให้นำเอาฝ้ายที่มีน้ำหอม หรืออื่นจากเครื่องหอม มาสอดใส่ไว้ในอวัยวะเพศของนาง หลังจากที่มีการชำระล้างร่างกาย เนื่องจากท่านรอซูล ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สั่งอัสมาอฺกระทำดังกล่าว (มุสลิม รายงาน)
ข้อเตือนสำคัญเมื่อสตรีผู้มีเฮด หรือนิฟาส ได้สะอาดก่อนดวงอาทิตย์ตก ก็จำเป็นต่อนางที่จะต้องละหมาดซุฮฺริและอัศริของวันนั้น และผู้ใดที่สะอาดจากเฮดและนิฟาสก่อนแสงอรุณขึ้น ก็จำเป็นต่อนางที่จะต้องละหมาดมัฆริบ และอีชาของคืนนั้น เพราะว่าเวลาละหมาดที่สองนั้นมันเป็นเวลาของละหมาดที่หนึ่งในขณะที่มีอุปสรรค (เช่น ขณะเดินทาง) ไชคุลอิสลาม อิบนุ ไตยมียะฮฺ รอฮิมาฮุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ใน อัลฟะตาวา เล่มที่ 22 หน้าที่ 434 ว่า...
และด้วยเหตุนี้บรรดาผู้รู้ส่วนใหญ่ เช่น มาลิก และ ชาฟีอี และอะฮฺมัด มีความเห็นว่า เมื่อผู้หญิงผู้มีรอบเดือน ได้สะอาดในช่วงเย็น นางก็จะต้องละหมาดทั้งซุฮฺริและอัศริ และเมื่อนางได้สะอาดในช่วงท้ายของกลางคืน นางก็จะต้องละหมาดมัฆริบ และอิชาอฺ เหมือนกับที่ได้มีการรายงานสิ่งดังกล่าวจาก อับดุรเราะฮฺมาน บิน เอาฟฺ อบูฮุรอยเราะฮฺ และอิบนุอับบาส เพราะว่าเวลานั้น มันเป็นเวลาร่วมกันระหว่างสองละหมาด ในขณะที่มีอุปสรรค เมื่อนางได้สะอาดในช่วงของกลางวัน เวลาของละหมาดซุฮฺริก็ยังคงอยู่ นางก็ละหมาดซุฮฺริก่อนละหมาดอัศริ เมื่อนางได้สะอาดในช่วงท้ายของกลางคืน เวลาของละหมาดมัฆริบนั้นก็ยังคงอยู่ในขณะที่มีอุปสรรค นางก็ละหมาดมัฆริบก่อนอิชาอฺ
ส่วนเมื่อเวลาละหมาดได้มาถึง หลังจากที่นางได้มารอบเดือน หรือนิฟาสก่อนที่นางจะละหมาด คำที่มีน้ำหนักนั้นคือ ไม่จำเป็นแก่นางที่จะละหมาดชดเชย ที่นางทันเวลาเริ่มแรกของมัน หลังจากนั้นนางได้มารอบเดือน หรือนิฟาสก่อนที่จะละหมาด ไชคุลอิสลาม อิบนุ ไตยฺมียะฮฺ รอฮิมาฮุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ใน มัจมั๊วฟะตาวา เล่มที่ 23 หน้าที่ 335 ในปัญหานี้ว่า และสิ่งที่ชัดเจนที่สุด ในหลักฐานนั้นคือ แนวความคิดของอบูหะนีฟะฮฺ และมาลิก นั้นก็คือไม่จำเป็นแก่นาง ที่จะต้องชดเชย เพราะว่าการชดเชยนั้นแท้ที่จริงแล้วมันจำเป็นด้วยการมีการสั่งใช้ใหม่และตรงนี้ไม่มีการสั่งใช้ให้นางละหมาดชดเชย และอีกประการหนึ่งนางได้เลื่อนการละหมาด ไปจนถึงเวลาอนุญาติในการเลื่อนได้ ได้ทำให้เกิดการล่าช้า ที่เป็นไปโดยที่นางไม่ได้บกพร่อง ส่วนผู้นอนหลับ หรือผู้หลงลืมนั้น (ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้บกพร่องเช่นเดียวกัน) สิ่งที่เขาทำนั้นไม่ได้เป็นการละหมาดชดเชย หากแต่อันนั้นมันเป็นเวลาละหมาดสำหรับเขาในขณะที่เขาตื่นขึ้นมา และนึกขึ้นได้
จากหนังสือ"คำเตือนในเรื่องกฎต่างๆที่เกี่ยวข้องกับบรรดาหญิงผู้ศรัทธา"