ชีวิตกับการทดสอบ
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ความเมตตาจำเริญ และความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ เพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีภาคี หุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือ บ่าวและศาสนทูตของพระองค์...
พี่น้องที่รักทุกท่าน พึงทราบเถิดว่าชีวิตในโลกนี้ เป็นโลกแห่งการทดสอบ อัลลอฮฺได้ทดสอบผู้ศรัทธาทั้งในด้านความสุขและความทุกข์ อุปสรรคและความง่ายดาย การมีสุขภาพดีและการเจ็บป่วย ความมั่งมีและความยากไร้ และทดสอบเกี่ยวกับเรื่องอารมณ์ใฝ่ต่าและความเคลือบแคลงสงสัย
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
“ทุกชีวิตย่อมต้องลิ้มรสแห่งความตาย และเราจะทดสอบพวกเจ้าด้วยความชั่วและความดี และพวกเจ้าต้องกลับไปหาเราอย่างแน่นอน”
(อัล-อัมบิยาอ์ : 35)
โองการข้างต้นชี้ให้เราได้รับทราบว่าบางครั้งอัลลอฮฺจะทดสอบพวกเราด้วยการให้ได้พบกับอุปสรรคปัญหาในชีวิต และบางครั้งจะทดสอบด้วยการให้เราได้รับปัจจัยยังชีพที่กว้างขวาง เพื่อเป็นที่ประจักษ์ว่าใครบ้างที่เป็นผู้ขอบคุณหรือเป็นผู้ปฏิเสธและเพื่อประจักษ์ว่าใครบ้างที่อดทนหรือใครบ้างที่หมดหวัง
อิบนุ อับบาส ให้ความหมายของคำว่า ( ون ۡبلَكم ) หมายถึง เราจะทดสอบพวกเจ้าด้วยความชั่วและความดี หมายความว่า ด้วยความทุกข์และสุข สุขภาพที่ดีและเจ็บป่วยร่ารวยและยากจน หะลาลและหะรอม การยอมสวามิภักดิ์และการเนรคุณ ด้วยทางนาและทางที่หลงผิด (ตัฟซีรอิบนุกะษีร เล่มที่ 3 หน้า 178)
ส่วนความหมายของคำว่า ( (ِإَوَليا ُّلُك ۡ َ ُّلُك َوหมายถึง แล้วเราจะตอบแทนผลแห่งการกระทาตามผลงานที่พวกเจ้าได้ปฏิบัติ หากใครอยู่ในสถานะผู้ศรัทธาและยำเกรงต่ออัลลอฮฺ ในทุกสภาวการณ์ที่พบเจอเขาจะได้รับการตอบแทนที่ดี แต่หากใครเนรคุณเขาจะได้รับการลงโทษอันเจ็บแสบอย่างแน่นอน
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
“และแน่นอนเราจะทดสอบพวกเจ้าด้วยเพียงเล็กๆน้อยๆ จากความหวาดกลัว ความหิวโหย และด้วยการสูญเสียอย่างใดอย่างหนึ่งจากทรัพย์สิน ชีวิต และพืชผล และเจ้าจงแจ้งข่าวดีแก่ผู้อดทนเถิด คือบรรดาผู้ที่ลั่นวาจาเมื่อประสบเคราะห์กรรมว่า แท้จริงพวกเราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ และแน่นอนพวกเราจะกลับไปยังพระองค์ ชนเหล่านี้แหล่ะที่พวกเขาจะได้รับคาชมเชยและการเอ็นดูเมตตาจากพระเจ้าของพวกเขา และชนเหล่านี้แหล่ะคือผู้ที่ได้รับทางนำที่ถูกต้อง ”
(อัล -บะเกาะเราะฮฺ : 155-157 )
“ พวกเจ้าคิดหรือว่าจะได้เข้าสวรรค์โดยที่ได้เยี่ยงอย่างของผู้ที่ล่วงลับก่อนหน้าพวกเจ้ายังมิได้มายังพวกเจ้าเลย ที่พวกเขาได้ประสบกับความยากลาบากและความเดือดร้อน พวกเขาเลยหวั่นไหว จนกระทั่งเราะสูลและผู้ศรัทธาที่อยู่กับเขากล่าวขึ้นว่า อัลลอฮฺจะช่วยเหลือเราเมื่อไหร่ ? พึงรู้เถิดว่าการช่วยเหลือของอัลลอฮฺอยู่ใกล้แล้ว ”
(อัล -บะเกาะเราะฮฺ :214)
มีรายงานจากค็อบบาบ อิบนุล -อะร็อต เล่าว่า ฉันได้ขอให้ท่านเราะสูล ช่วยปกป้องพวกเราให้ท่านขอต่ออัลลอฮฺเพื่อช่วยเหลือพวกเรา (ในขณะที่เราได้รับการรังแกจากบรรดามุชริกีน ท่านจึงเตือนสติเพื่อให้เขามีความอดทนว่า
“ประชาชาติก่อนหน้าพวกเจ้าโดนจับฝังลงในหลุมค่อนตัว แล้วถูกผ่าศีรษะด้วยเลื่อยออกเป็นสองซีก แต่ก็ไม่ทำให้พวกเขาละทิ้งศาสนาได้ บางครั้งถูกทรมานด้วยการขูดเนื้อหนังร่างกายด้วยคราดเหล็ก แต่ก็ไม่ทำให้พวกเขาละทิ้งศาสนาได้ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าทุกอย่างจะดีขึ้นอย่างแน่นอน กระทั่งว่าการเดินทางจากเมืองศ็อนอาอ์ไปยังเมืองหัฎเราะเมาตฺ (เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเยเมน – ผู้แปล) จะปลอดภัยไม่มีสิ่งที่น่ากลัวใดๆ เว้นแต่กลัวอัลลอฮฺเท่านั้น หรือแค่กลัวว่าสุนัขจิ้งจอกจะกินแกะเท่านั้น แต่พวกเจ้าใจร้อนเกินไปต่างหากเล่า ”
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข : 3612)
สะอัด บิน อบี วักกอศ เราะยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ฉันถามท่านเราะสูล ถึงผู้ที่ถูกทดสอบจากอัลลอฮฺมากที่สุดว่าเป็นใคร ? ท่านตอบว่า
“คือบรรดานบี ถัดมาก็เป็นผู้ที่มีสถานะที่ใกล้เคียงกับบรรดานบีต่อๆ กันไปตามลาดับ คนผู้หนึ่งจะได้รับการทดสอบขึ้นอยู่กับความเคร่งครัดต่อศาสนาของเขา
หากเขาเคร่งครัดมากจะถูกทดสอบมากกว่าผู้ที่ไม่เคร่งครัด การทดสอบจะเกิดขึ้นอย่างสม่าเสมอจนกระทั่งความผิดได้ถูกลบล้างจนหมดไปจากตัวเขา”
(บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข : 2398)
ชายผู้หนึ่งเอ่ยถามท่านอิหม่ามอัช -ชาฟิอีย์ว่า “ท่านอบูอับดุลลอฮฺครับ ระหว่างคนมีความสุขที่รู้จักบุญคุณกับคนที่ถูกทดสอบแล้วอดทนใครมีความประเสริฐมากกว่ากันครับ ?”
ท่านอิหม่ามตอบเขาว่า " เขาจะยังไม่มีความสุขจนกว่าจะถูกทดสอบแท้จริงแล้วอัลลอฮฺได้ทดสอบนบีนูหฺ นบีอิบรอฮีม และนบีมุหัมมัด เมื่อพวกเขาต่างก็มีความอดทน อัลลอฮฺก็ให้พวกเขาอยู่อย่างมีความสุข ใครคนหนึ่งอย่าได้คิดเลยว่าเขาจะรอดพ้นจากความเจ็บปวดไปได้ ”
(อัล-ฟะวาอิด ของอิบนุล-ก็อยยิม หน้า : 298)
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
“อัลลอฮฺได้สัญญากับบรรดาผู้ศรัทธาและผู้กระทำความดีทั้งหลายในกลุ่มพวกเจ้าว่า แน่นอนพระองค์จะให้พวกเขาเป็นตัวแทนสืบช่วงในแผ่นดิน
ดั่งที่พระองค์เคยให้มีตัวแทนสืบช่วงมาก่อนพวกเขาแล้ว”
(อัน-นูรฺ : 55)
อิบนุล ก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า
“ฉันขอต่ออัลลอฮฺให้พวกท่านเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติสามประการต่อไปนี้ขอบคุณต่อความโปรดปราน เป็นผู้ที่อดทนเมื่อโดนทดสอบ และเป็นผู้ที่ขออภัยต่อความผิดพลาด เพราะสามประการนี้แหละที่จะแสดงถึงการมีความสุขของมนุษย์ และยังเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความสำเร็จในชีวิตของเขา ไม่มีใครคนใดที่จะหลุดอออกไปจากวังวนทั้งสามประการนี้ได้เลยในการใช้ชีวิตบนโลกนี้ของเขา ”
(อัล -วาบิล อัศ -ศ็อยยิบ มินัล -กะลิมิ อัฏ -ฏ็อยยิบ ของอิบนุลก็อยยิม หน้า : 294)
ดังนั้น การทดสอบที่ได้ประสบกับมุอ์มินถือเป็นการลบล้างความผิดแก่เขา เป็นการยกสถานะ จนเขาสามารถแยกแยะสิ่งดีชั่วได้ และยังมีเหตุผลอีกหลายประการอันเนื่องมาจากการทดสอบ
มีหะดีษรายงานจากท่านอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า วันหนึ่งฉันได้เข้าไปเยี่ยมท่านเราะสูล ในขณะที่ท่านกำลังป่วยหนัก ฉันได้สัมผัสกับมือของท่าน
แล้วเอ่ยถามท่านว่า ท่านเจ็บปวดทรมานมากหรือครับ ?
ท่านเราะสูลจึงตอบว่า “ใช่แล้ว ฉันเจ็บปวดมากขนาดเท่ากับพวกเจ้าสองคนเจ็บปวด”
ฉันกล่าวว่า นั่นเป็นเพราะท่านได้รับภาคผลบุญสองเท่ามิใช่หรือ ?
ท่านตอบว่า “ใช่”
แล้วท่านก็กล่าวต่อไปอีกว่า “ไม่มีมุสลิมคนใดที่ประสบกับภัยพิบัติไม่ว่าเจ็บไข้ได้ป่วยหรืออื่นๆ ก็ตาม เว้นแต่ว่าอัลลอฮฺจะทรงลบล้างความผิดของเขาดั่งใบไม้ที่ร่วงหล่นลงมาจากต้น"
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข : 5660)
ท่านนบี กล่าวอีกว่า
“ผู้ใดที่อัลลอฮฺประสงค์ที่จะให้เขาได้รับความดีงามแล้ว พระองค์จะทดสอบเขา ”
(บันทึกโดยอัล -บุคอรย์ หมายเลข : 5645)
อบู อุบัยดะฮฺ อัล -ฮะเราะวีย์ อธิบายว่า “อัลลอฮฺจะทดสอบพวกเขาด้วยอุปสรรคต่างๆ เพื่อที่จะตอบแทนความดีงามแก่พวกเขา ประชาชาติอิสลามโดนรังแก โดนรุมกินโต๊ะจากบรรดาผู้ปฏิเสธ อันเนื่องมาจากข้อบกพร่องในการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ หรือไม่ก็เป็นการทดสอบความศรัทธาของพวกเขา"
ดังที่อัลลอฮฺ กล่าวว่า
“และหากอัลลอฮฺประสงค์ แน่นอนพระองค์จะทรงช่วยเหลือผู้ศรัทธาให้มีชัยชนะเหนือบรรดาผู้ปฏิเสธโดยไม่มีการรบราฆ่าฟันกัน
แต่ทั้งนี้เพื่อพระองค์จะทรงทดสอบบางคนในหมู่พวกเจ้ากับอีกบางคน”
(มุฮัมหมัด : 4)
“อะลิฟ ลาม มีม มนุษย์คิดหรือว่าพวกเขาจะถูกปล่อยให้อ้างตนว่าเป็นผู้ศรัทธา โดยที่พวกเขาจะมิได้ถูกทดสอบ ”
(อัล- อังกะบูต : 1-2 )
ปัจจุบันนี้เราเห็นว่าบรรดาผู้ปฏิเสธที่ต่างศาสนากันได้ร่วมมือกันเป็นปฏิปักษ์ต่ออิสลาม ซึ่งก็สอดคล้องกับคำพูดของท่านนบี ที่ว่า
“ประชาชาติต่างๆ เกือบจะรุมกินโต๊ะพวกเจ้า ดั่งผู้ที่มารุมล้อมเพื่อรับประทานอาหารของพวกเขา”
มีผู้ถามขึ้นว่า ในวันนั้นพวกเรามีจำนวนน้อยใช่ไหม ?
ท่านตอบว่า “เปล่าหรอก ทว่าพวกเจ้ามีจำนวนมาก แต่พวกเจ้ามีมากเหมือนกับฟองน้าที่ลอยอยู่เหนือพื้นน้า โดยที่อัลลอฮฺจะทาให้ศัตรูไม่หวั่นกลัวต่อพวกเจ้า และทาให้จิตใจของพวกเจ้าอ่อนแอ”
ชายผู้หนึ่งถามท่านว่า แล้วเรามีความอ่อนแออย่างไรหรือครับท่าน
ท่านนบีตอบว่า“ความอ่อนแอ คือ การลุ่มหลงในดุนยาและรังเกียจต่อความตาย”
(บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข : 4297)
และหนทางที่จะช่วยให้รอดพ้นจากวิกฤติดังกล่าวด้วยการยึดมั่นต่ออัลกุรอานและสุนนะฮฺของท่านนบี อย่างเคร่งครัด จะต้องออกห่างจากการตั้งภาคี ห่างจากผู้ที่ให้มีภาคีหุ้นส่วน ร่วมกับอัลลอฮฺ และมุอ์มินจะต้องมีความเชื่อมั่นต่อการช่วยเหลือของอัลลอฮฺจะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้นี้ แม้นศัตรูจะมีจำนวนมากเพียงใดหรือมีอำนาจปานใดก็ตาม แน่นอนอัลลอฮฺจะทรงช่วยเหลือปกป้องศาสนาของพระองค์และรวมถึงบรรดาผู้ศรัทธาอีกด้วย อัลลอฮฺ ตรัสว่า
“จนกระทั่งเมื่อบรรดาเราะสูลต่างหมดหวัง และคาดว่าพวกเขา ( มุชริกีน ) จะไม่ตอบรับสัจธรรมอีกแล้วการช่วยเหลือของเราได้มายังพวกเขา
ดังนั้นผู้ที่เราประสงค์ (บรรดาเราะสูลและผู้ศรัทธา) ก็จะถูกช่วยเหลือให้รอดพ้น และย่อมไม่มีใครที่จะมาขัดขวางการลงโทษของเราต่อบรรดาผู้ที่ฝ่าฝืนได้ ”
(ยูซุฟ : 110)
“และพวกเจ้าอย่าได้ท้อแท้หมดหวังต่อความโปรดปรานของอัลลฮฺเลย แท้จริงไม่มีผู้ใดหมดหวังต่อความโปรดปรานของอัลลอฮฺนอกจากบรรดากลุ่มชนผู้ปฏิเสธ”
(ยูซุฟ : 87)
“แน่นอน เราจะให้การช่วยเหลือต่อบรรดาเราะสูลของเรา และบรรดาผู้ศรัทธาด้วย ในการใช้ชีวิตบนโลกนี้
และในวันที่ปวงพยานจะยืนขึ้นเป็นพยาน วันซึ่งข้ออ้างของผู้ที่อยุติธรรมไม่มีค่าอันใดทั้งสิ้น พวกเขาจะได้รับการสาปแช่งอย่างสาสม และมีที่พำนักอันชั่วช้ายิ่ง”
(ฆอฟิรฺ : 51- 52)
แปลโดย : อับดุศศอมัด อัดนาน / Islamhouse