150 ประตูแห่งความดี แด่...ผู้มีชีวีตถึงรอมฎอน...(2)
โดย ...ยูซุฟ อบูบักร
อัลฮัมดุลิลลาฮฺ วัศเศาะลาตุวัสลาม อะลาคอติมิลอัมบิยาอฺ วัลมุรสะลีน นบียินามุฮัมมัด วะอะลาอาลิฮี วะเศาะฮฺบิฮี อัจญมะอีน
พวกเราจำเป็นต้องมีหุ้นส่วนในการร่วมฟื้นฟูเดือนอันยิ่งใหญ่เดือนรอมฎอน เดือนแห่งการอภัยโทษและความพอพระทัย ซึ่งอัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า:
«شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآَنُ هُدًى لِلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِنَ الْهُدَى وَالْفُرْقَانِ فَمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ»
“เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาเป็นข้อแนะนำสำหรับมวลมนุษยชาติ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น
และเป็นสิ่งที่มาจำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้นผู้ใดจากกลุ่มพวกท่านเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้วก็จงถือศีลอด...”
(อัลบะกอเราะฮฺ :185)
ในโอกาสนี้เราเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรวบรวมบรรดาหะดีษและอาษารฺซึ่งเป็นประตูหลายบานที่จะนำไปสู่ความดีงามพร้อมทั้งเป็นการมาช่วยขัดเกลาในภารกิจอันสำคัญของเดือนอันประเสริฐนี้ พร้อมกันนี้ได้เตือนระวังถึงความจำเป็นต่อการรักษาการทำอิบาดะฮฺทั้งที่เป็นฟัรฏูและซุนนะฮฺ และอัลลอฮฺเป็นผู้นำทางสู่เส้นทางอันเที่ยงตรง
ประตูที่ 1 - 20 ประตูที่ 21 - 50 ประตูที่ 51 - 80 ประตูที่ 81 - 100 ประตูที่ 101 - 120 ประตูที่ 121 - 150
21. กล่าวดุอาอฺหลังจากอะซาน
“ผู้ใดที่กล่าวขณะที่ได้ยินเสียงอะซานว่า
อัลลอฮุมมาร็อบบาฮาซิฮิดดะวะติตตามะ วัศศอลาติลกออิมะฮฺ อาติมุฮัมมะดานิลวะซีละฮฺวัลฟาฏีละฮฺ วับอัซฮูมะกอมัน มะฮฺมูดะนิลลาซีวะอัดตะฮฺ
ในวันกิยามะฮฺการช่วยเหลือของฉันจะเป็นที่อนุญาตแก่เขา”
(อัลบุคอรียฺ)
22. การขอดุอาอฺระหว่างอะซานกับอิกอมะฮฺ
“การขอดุอาอฺระหว่างอะซานกับอิกอมะฮฺจะไม่ถูกปฏิเสธ”
(อะบูดาวุดและอัตติรมิซียฺ)
23. ดำรงการละหมาด 5 เวลา
“ไม่มีมุสลิมคนใดได้ทำการละหมาดฟัรฏู เขาอาบน้ำละหมาดอย่างดี มีสมาธิอย่างดีและรูกัวะอย่างดี นอกจากเขาจะถูกลบล้างความผิดเล็กๆ ในปีที่ผ่านมาทั้งหมด”
(มุสลิม)
24. รักษาการละหมาดให้อยู่ในเวลา
“ท่านรอสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถูกถามว่า : การงานใดประเสริฐที่สุด ?
ท่านรอสูลตอบว่า : การละหมาดในเวลา”
(อัลบุคอรียฺและมุสลิม)
25. รักษาละหมาดฟัจญรีและอัศรี
“ผู้ใดที่ได้ละหมาดบัรดัยนฺ (ศุบฮิและอัศรี) เขาจะได้เข้าสวนสวรรค์”
(อัลบุคอรียฺ)
26. รักษาละหมาดญุมอะฮฺ
“ระหว่างการละหมาดห้าเวลา จากญุมอะฮฺถึงญุมอะฮฺ จากรอมฎอนถึงรอมฎอน พวกเขาจะถูกลบล้างความผิดให้ เมื่อเขาได้ออกห่างจากบาปใหญ่”
(มุสลิม)
27. พยายามแสวงหาช่วงเวลาที่ดุอาอฺถูกตอบรับในวันศุกร์
“ในวันศุกร์จะมีเวลาช่วงหนึ่งไม่มีบ่าวมุสลิมคนใดตรงกับช่วงเวลานั้นในสภาพที่เขายืนละหมาดและร้องขอสิ่งใดต่ออัลลอฮฺนอกจากอัลลอฮฺจะให้สิ่งนั้นแก่เขา”
(อัลบุคอรียฺและมุสลิม)
28. อ่านซูเราะฮฺอัลกะฮฺฟีในวันศุกร์
“ผู้ใดที่อ่านซูเราะฮฺอัลกะฮฺฟีในวันศุกร์ รัศมีจะส่องประกายแก่เขาในระหว่างวันศุกร์ถึงอีกวันศุกร์”
(อัลนะสาอียฺและอัลฮากิม)
29. การเดินไปมัสยิด
“ผู้ใดที่เดินไปมัสยิดในตอนเช้าและตอนบ่าย อัลลอฮฺจะเตรียมที่พักให้แก่เขาในสวนสวรรค์ ทุกครั้งที่เขาเดินไปในตอนเช้าและตอนบ่าย”
(อัลบุคอรียฺและมุสลิม)
30. การละหมาดในมัสยิดฮะรอม
“การละหมาดในในมัสยิดหลังนี้ประเสริฐกว่ามัสยิดอื่นๆ 1,000 ละหมาด นอกจากมัสยิดฮะรอม (มักกะฮฺ)
เพราะการละหมาดในมัสยิดฮารอมประเสริฐกว่าละหมาดในมัสยิดหลังนี้ 100,000 ละหมาด”
(อะหฺมัดและอิบนิคุซัยมะฮฺ)
31. การละหมาดในมัสยิดนะบะวียฺ (มะดีนะฮฺ)
“การละหมาดในในมัสยิดหลังนี้ประเสริฐกว่ามัสยิดอื่นๆ 1,000 ละหมาด นอกจากมัสยิดฮะรอม”
(มุสลิม)
32. การละหมาดที่มัสยิดอัลอักศอ
“อย่าได้มุ่งมั่นตั้งใจใช้ความพยายามที่จะไปเยี่ยมสถานที่ต่างๆ นอกจากสามมัสยิด คือ มัสยิดฮะรอม มัสยิดรอสูล และมัสยิดอัลอักศอ”
(อัลบุคอรียฺ)
33. การละหมาดที่มัสยิดกุบาอฺ
“ผู้ใดที่ได้ละหมาดในมัสยิดกุบาอฺ ภาคผลบุญเท่ากับการทำอุมเราะฮฺ”
(อิบนุหิบบาน)
34. รักษาการละหมาดญะมาอะฮฺ
“การละหมาดญะมาอะฮฺประเสริฐกว่าการละหมาดคนเดียวถึง 27 เท่า”
(อัลบุคอรียฺและมุสลิม)
35. เอาใจใส่ต่อการละหมาดแถวแรก
“หากมนุษย์รู้คุณค่าของการอะซานและการละหมาดแถวแรก
ต่อจากนั้นพวกเขาจะไม่พบสถานที่นั้นนอกจากพวกเขาต้องจับสลาก แน่นอนพวกเขาย่อมจะจับฉลาก”
(อัลบุคอรียฺและมุสลิม)
36. ละหมาดฏุฮาเป็นประจำ
“ทุกตอนเช้ากระดูกทุกข้อของพวกท่านได้ทำศอดาเกาะฮฺ ทุกครั้งที่กล่าว
ซุบฮานัลลอฮฺ เป็นศอดาเกาะฮฺ กล่าว อัลฮัมดุลิลลาฮฺ เป็นศอดาเกาะฮฺ กล่าว ลาฮิลาฮะอิลลัลลอฮฺ เป็นศอดาเกาะฮฺ กล่าว อัลลอฮูอักบัร เป็นศอดาเกาะฮฺ
การใช้ให้ทำความดีเป็นศอดาเกาะฮฺ การห้ามปรามจากความชั่วเป็นศอดาเกาะฮฺ และเป็นการเพียงพอจากสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาด้วยการละหมาดฏุฮาสองร็อกอัต”
(มุสลิม)
37. รักษาซุนนะฮฺเราะวาติบ
“ไม่มีบ่าวมุสลิมคนใดที่ละหมาดเพื่ออัลลอฮฺในวันหนึ่ง 12 ร็อกอัต ด้วยความสมัครใจนอกเหนือจากละหมาดฟัรฏู
ยกเว้นอัลลอฮฺจะสร้างบ้านหลังหนึ่งในสวนสวรรค์ให้แก่เขา”
(มุสลิม)
38. สร้างบรรยากาศในบ้านด้วยกับสิ่งที่เป็นซุนนะฮฺ
“จงละหมาด (ซุนนะฮฺ) ในบ้านของพวกท่าน และอย่าทำบ้านให้เสมือนกุโบรฺ”
(อัลบุคอรียฺ)
39. สุญูดให้มากๆ
“สภาพที่บ่าวใกล้ชิดต่อพระผู้อภิบาลของเขามากที่สุดคือ ในสภาพที่เขาสุญูด ดังนั้นจงขอดุอาอฺให้มาก”
(มุสลิม)
40. การนั่งในที่ละหมาดหลังจากละหมาดศุบฮฺเพื่อรำลึกถึงอัลลอฮฺ
“ผู้ใดที่ได้ละหมาดญามาอะฮฺศุบฮฺหลังจากนั้นเขาได้นั่งรำลึกถึงอัลลอฮฺจนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้น
ต่อจากนั้นเขาได้ละหมาดสองร็อกอัต เขาได้รับภาคผลบุญเท่ากับการทำฮัจญ์และอุมเราะฮฺ”
(อัตติรมิซียฺ)
41. การละหมาดและติดตามญะนาซะฮฺ
“ผู้ที่ได้เยี่ยมญะนาซะฮฺพร้อมทั้งละหมาดให้เขาได้รับผลบุญเท่าหนึ่งกีรอต และผู้ที่เข้าร่วมจนกระทั่งฝังเขาจะได้รับผลบุญเท่าสองกีรอต
มีคนกล่าวว่า : สองกีรอตนี้เท่าไหร่ ?
ท่านรอสูลตอบว่า : เท่ากับภูเขาใหญ่สองภูเขา”
(อัลบุคอรียฺและมุสลิม)
42. การละหมาดที่บ้านสำหรับผู้หญิง
“พวกท่านอย่าได้ห้ามบรรดาผู้หญิงของพวกท่านไปละหมาดที่มัสยิด และการละหมาดที่บ้านของพวกนางย่อมประเสริฐกว่า”
(อะบูดาวุด)
43. เอาใจใส่ต่อการละหมาดอีดในสนาม (มุศ็อลลา)
“ปรากฏว่าท่านรอสูลออกไปละหมาดวันอีดิลฟิตรีและอีดิลอัฏฮาที่มุศ็อลลา”
(อัลบุคอรียฺ)
44. ฝึกฝนลูกหลานให้ละหมาด
“จงใช้ลูกหลานของพวกท่านให้ละหมาดขณะอายุของพวกเขาได้ 7 ปี และให้ตีพวกเขา (หากขาด) เมื่ออายุได้ 10 ปี และจงแยกที่นอนของพวกเขา”
(อะบูดาวุด)
45. ฝึกฝนลูกหลานให้ถือศีลอด
จากอัรรอบีอฺ บินติ มุเอาวัซ กล่าวว่า: "พวกเราได้ถือศีลอดและฝึกฝนให้ลูกหลานของเราถือศีลอด และเราได้ให้ของเล่นแก่พวกเขาเพื่อให้ลืมความหิวโหย”
(อัลบุคอรียฺ)
46. ซิกรุลลอฮฺหลังจากละหมาดฟัรฏู
“ผู้ใดที่กล่าว ”ซุบฮานัลลอฮฺ” ทุกครั้งหลังละหมาด 33 ครั้ง “อัลฮัมดุลิลลาฮฺ” 33 ครั้ง “อัลลอฮุอักบัร” 33 ครั้ง รวมเป็น 99 ครั้ง
ต่อจากนั้นเขากล่าวว่า “ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วะฮฺดาฮูลาชะรีกาละฮฺ ละฮุลมุลกุ วะลาอุลฮัมดุ วะฮูวาอะลากุลลีชัยอินกอดีร”
ความผิดของเขาจะถูกลบล้างถึงแม้จะมีมากเท่าฟองน้ำในทะเล”
(มุสลิม)
47. รักษาละหมาดตะรอเวี๊ยะ
“ละหมาดที่ประเสริฐสุดหลังจากละหมาดฟัรฏู คือ ละหมาดในยามกลางคืน”
(มุสลิม)
48. ให้รีบในการละศีลอด
“มนุษย์จะยังคงอยู่ความดีงาม ตราบใดที่พวกเขารีบเร่งในการละศีลอด”
(อัลบุคอรียฺ)
49. ให้ละศีลอดก่อนละหมาด
“ปรากฏว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ท่านจะละศีลอดก่อนที่ท่านจะละหมาด”
(อะหฺมัด)
50. ละศีลอดด้วยอินทผลัม
“ผู้ที่มีอินทผลัมก็จงละศีลอดกับมัน หากไม่มีอินทผลัมก็จงละด้วยกับน้ำ แท้จริงน้ำนั้นสะอาด”
(อะหฺมัด , อะบูดาวุดและอัตติรมิซียฺ)
next .......... >>> click