12 ประตูแห่งความดีในเดือนรอมฎอน
القسم العلمي بدار الوطن :รวบรวมโดย
แท้จริงอัลลอฮฺ ได้ทรงทำให้เดือนรอมฎอนมีลักษณะเฉพาะด้วยกับคุณลักษณะพิเศษที่ยิ่งใหญ่ นั่นก็คือ การที่บรรดาอามั้ลที่ดีทั้งหลายจะถูกตอบแทนด้วยการเพิ่มผลบุญทวีคุณ และพระองค์ตอบแทนโดยไม่สามารถคำนวณนับได้ และด้วยเหตุนี้เรารักที่จะกล่าวตักเตือนให้พี่น้องของเราได้รู้ถึงบรรดาประตูความดีเหล่านี้ในเดือนอันมีเกียรติ
1. ถือศีลอดในรอมฎอนด้วย กับความศรัทธาและหวังในผลตอบแทน
ท่านรอซูล ได้กล่าวว่า “ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนด้วยความศรัทธามั่นและหวังในผลบุญ บาปของเขาที่ผ่านมาจะถูกอภัยโทษให้ ”
(มุตตะฟะกุลอะลัยฮฺ)
2. ยืนละหมาดยามค่ำคืนในเดือนรอมฎอนกับความศรัทธาและหวังในผลตอบแทน
ท่านรอซูล ได้กล่าวว่า “ผู้ใดยืน (ละหมาดยามค่ำคืน) ในเดือนรอมฎอน ด้วยความศรัทธาและหวังในผลบุญ บาปของเขาที่ผ่านมาจะถูกอภัยโทษให้”
(มุตตะฟะกุลอะลัยฮฺ)
3. ให้มากในการศอดาเกาะ (บริจาคทาน)
ท่านรอซูล เป็นคนที่เอื้อเฟื้อมากที่สุด และท่านจะเอื้อเฟื้อมากยิ่งไปอีกในช่วงที่มลาอิกะฮฺญิบรีลมาพบท่านในเดือนเราะมะฎอน โดยเขาจะมาพบท่านในทุกค่ำคืนของเดือนเราะมะฎอน แล้วญิบรีลก็จะศึกษาทบทวนอัลกุรอานกับท่าน และแท้จริงท่านรอซูล นั้นเป็นคนที่เอื้อเฟื้อความดี(ใจบุญอย่างกว้างขวาง)มากมายยิ่งกว่าลมที่หอบ พัดเสียอีก
(มุตตะฟะกุลอะลัยฮฺ)
4. เลี้ยงอาหารแก่บรรดาผู้ถือศีลอด
ท่านรอซูล ได้กล่าวว่า“ผู้ใดเลี้ยงอาหารอาหารแก่ผู้ถือศีลอด เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับผลบุญของผู้ถือศีลอดคนนั้น โดยที่ผลบุญของผู้ถือศีลอดคนนั้นไม่ได้ลดน้อยลงแต่อย่างใด”
(รายงานโดย อะหมัด หะดิษ ศอเหียะชัยคฺของอัลบานีย์)
5. อ่านอัลกุรอานให้มาก
ท่านรอซูล ท่านได้กล่าวว่า “การถือศีลอดและอัลกุรอานนั้นจะมาให้ความช่วยเหลือแก่บ่าวในวันกิยามะฮฺ
การถือศีลอดจะพูดว่า ‘โอ้ผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าได้สกัดกั้นเขาจากอาหารและการสนองความใคร่ในยามกลางวัน ดังนั้นได้โปรดให้ข้าช่วยเหลือเขาด้วยเถิด’
อัลกุรอานก็จะพูดว่า ‘โอ้ผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าได้สกัดกั้นเขาจากการหลับนอนในยามค่ำคืน ดังนั้นได้โปรดให้ข้าช่วยเหลือเขาด้วยเถิด’
แล้วทั้งสองก็ได้รับอนุญาตเพื่อให้ความช่วยเหลือ”
(รายงานโดย อะหมัด หะดิษ ศอเหียะชัยคฺของอัลบานีย์)
6. ใช้ความพยายามใน10 คืนสุดท้าย
ปรากฏว่าท่านรอซูล เมื่อท่านเข้าสู่ 10 คืนสุดท้าย จะทำร่างกายให้กระฉับกระเฉง ทำให้กลางคืนมีชีวิตชีวา และจะปลุกคนในครอบครัวให้ลุกขึ้นมา
(มุตตะฟะกุลอะลัยฮฺ)
7. แสวงหาคืนอัลก็อด
ท่านรอซูล ได้กล่าวว่า “พวกท่านจงแสวงหา ลัยละตุลก็อดรฺในคืนคี่ ของสิบคืนสุดท้ายในเดือนรอมฎอน
และท่านกล่าวว่า "ผู้ใดที่ลุกขึ้น (ละหมาดหรือประกอบอิบาดะฮฺ) ในค่ำคืนเราะมะฎอน ด้วยเปี่ยมศรัทธาและหวังในความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ เขาจะได้รับการอภัยโทษจากความผิด (บาป) ที่ผ่านมา”
(มุตตะฟะกุลอะลัยฮฺ)
8. ทำอุมเราะในเดือนรอมฎอน
ท่านรอซูล ได้กล่าวว่า“การทำอุมเราะในเดือนรอมฏอน เทียบเท่ากับการทำหัจญ์” หรือกล่าวว่า “ทำหัจญ์พร้อมกับฉัน”
(มุตตะฟะกุลอะลัยฮฺ)
9. เอียะติก๊าฟ
ปรากฏว่า ท่านรอซูล ได้ทำการเอียะติก๊าฟในช่วง 10 คืนสุดท้ายของเดือนรอมฏอนจนกระทั้งอัลลอฮฺได้เอาชีวิตของท่านไป
(มุตตะฟะกุลอะลัยฮฺ)
และในสำนวนของบุคอรีย์ ท่านนบี ได้ทำการเอียะติก๊าฟในเดือนรอมฏอน 10 วันและในปีที่ท่านจะวะฟาต ท่านทำเอียะติก๊าฟถึง 20 วัน
10. ให้มากในการำลึกถึงอัลลอฮฺและหมั่นขออภัยโทษและขอดุอาอฺจากพระองค์
ท่านนบี ได้กล่าวว่า "แท้จริงในทุกๆ วันและคืนของเดือนรอมฎอนของมุสลิม จะมีดุอาอ์จะถูกตอบรับ"
(รายงานโดย อัลบัซซาร ศอเหียะขอชัยคฺอัลบานีย์)
และท่านได้กล่าวว่า "ดุอาอฺของบุคคลสามประเภทต่อไปนี้เป็นดุอาอฺที่ถูกตอบรับ ได้แก่ ดุอาอฺของผู้ถือศีลอด ดุอาอฺของผู้ถูกอธรรม และดุอาอ์ของผู้เดินทาง"
(รายงานโดย อัลบัยฮะกีย์ ศอเหียะของชัยคฺอัลบานีย์)
11. รักษาการละหมาดห้าเวลาพร้อมกับญะมาอะ และรักษาละหมาดซุนนะรอวาติบ
ท่านรอซูล ได้กล่าวว่า “ไม่มีมุสลิมคนใดเมื่อเขาได้ละหมาด โดยที่เขาได้อาบน้ำละหมาดอย่างดี ละหมาดคุชูอฺอย่างดี และรุกูอฺอย่างดี นอกจากเขาจะได้รับการไถ่ถอน(อภัย)จากความผิดต่างๆ ที่เขาได้กระทำก่อนหน้านั้น ตราบใดที่เขาไม่ได้กระทำบาปใหญ่ และ(การอภัยนี้)เป็นเวลาที่ชั่วนิรันดร์"
(รายงานโดยมุสลิม)
12. แสดงความสุภาพต่อกัน และผินหลังจากบรรดาผู้โฉดเขลาทั้งหลายเถิด
ท่านรอซูล ได้กล่าวว่า ”และเมื่อวันที่คนใดคนหนึ่งในหมู่พวกท่านถือศีลอดแล้ว ก็จงอย่าพูดจาหยาบคาย และจงอย่าตะโกนโห่ร้อง และเมื่อมีคนหนึ่งด่าว่าท่าน ท่านก็จงกล่าวเถิดว่า แท้จริงฉันเป็นคนที่ถือศีลอด”
และท่านกล่าวว่า
“ผู้ใดก็ตามที่ไม่ละทิ้งการพูดเท็จ และยังปฏิบัติอยู่อีก (ในขณะที่ถือศีลอด) รวมทั้งยังทำพฤติกรรมเยี่ยงคนเขลาอยู่ ดังนั้นไม่ใช่เรื่องจำเป็นเลยสำหรับอัลลอฮ์ ที่เขาจะ(ต้องเหน็ดเหนื่อยเพื่อ)อดอาหารและเครื่องดื่มของเขา”
(มุตตะฟะกุลอะลัยฮฺ)
อิบนุ ฏอลิบ บิน อิดรีส : ถอดความ
จาก : http://ar.islamway.com/article/2418?ref=search