แหล่งลิ้มรสความเจ็บปวด
  จำนวนคนเข้าชม  54017

 

แหล่งลิ้มรสความเจ็บปวด


โดย ...Sukree Ibn Qadir


พระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอ่านความว่า

 
“แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาต่อสัญญาณต่างๆ ของเรานั้น เราจะให้พวกเขาเข้าไปในไฟนรก 

คราใดที่ผิวหนังพวกเขาสุก เราก็เปลี่ยนผิวหนังให้แก่พวกเขาใหม่ซึ่งมิใช่ผิวหนังเดิม

 เพื่อพวกเขาจะได้ลิ้มรสการลงโทษ แท้จริงอัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ”

(อัลกุรอาน 4:56)

         ถ้าเราลองพิจารณาโองการดังกล่าวนี้ดูแล้ว จะพบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจยิ่งอยู่ตอนหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่วงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปัจจุบันได้มีการค้นคว้าวิจัยต่อยอดไปอย่างกว้างขวาง นั่นก็คือ "ต่อมรับรู้ความเจ็บปวดที่อยู่บริเวณผิวหนัง"
 
ดังที่ในโองการข้างต้นความว่า

"...คราใดที่ผิวหนังพวกเขาสุก เราก็เปลี่ยนผิวหนังให้แก่พวกเขาใหม่ซึ่งมิใช่ผิวหนังเดิม เพื่อพวกเขาจะได้ลิ้มรสการลงโทษ..." 

ตรงจุดนี้ สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า ทำไมในโองการดังกล่าวถึงเน้นย้ำและพยายามพูดถึง "ผิวหนัง" ของมนุษย์ว่าจะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การลิ้มรส "ความเจ็บปวด" จากการลงโทษด้วยความร้อนของไฟนรก
 

 

ภาพโครงสร้างผิวหนังของมนุษย์ ซึ่งจะมีต่อมรับความรู้สึกเจ็บปวด (pain receptor) ชนิดต่างๆ กระจายอยู่ทั่วๆ ไป (ในรูปนี้ แสดงด้วยสีฟ้า)

        คำตอบอยู่ใน คัมภีร์อัลกุรอ่าน ซึ่งเป็นพระดำรัสของพระเจ้าผู้ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา  กำลังบอกความลับให้เราได้ทราบว่า "ตำแหน่งของต่อมที่ทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดนั้นอยู่ตรงที่ผิวหนังนั่นเอง"   (วัลลอฮุอะหฺลัม - พระองค์เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในทุกสิ่ง)
 
        หากกล่าวไปแค่ว่า "ต่อมรับความรู้สึกเจ็บปวดอยู่ที่ผิวหนัง"   แน่นอนว่าจะต้องมีหลายๆ คนรีบแย้งขึ้นมาว่า เรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นเด็กประถม มัธยม หรือเป็นผู้ใหนคนใหน ต่างก็รู้กันอยู่แล้ว เพราะมีสอนอยู่ในวิชาชีววิทยา หรือวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วๆ ไป แต่อยากให้เราลองคิดย้อนกลับไปในมุมกลับกันว่า เนื้อหาที่อัลกุรอ่านบอกกล่าวเอาไว้ในโองการนี้ ได้ถูกประทานลงมาเป็นระยะเวลาตั้ง 1,400 กว่าปีมาแล้ว !  ซึ่งแน่นอนว่าในขณะนั้น (เมื่อ 1,400 กว่าปีก่อน) มนุษย์ยังไม่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และไม่มีเครื่องมือที่ทันสมัยเพียงพอ ที่จะมาช่วยศึกษาเรื่องเหล่านี้ อย่างเช่นที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน
 

 

แสดง "Pain pathway" หรือเส้นทางการรับรู้ความรู้สึกปวดที่เริ้มต้นตั้งแต่บริเวณต่อมใต้ผิวหนังไปจนถึงศูนย์แปลผลที่สมอง

        อีกทั้ง  ถ้าเราลองศึกษาดูถึงเรื่องประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ เกี่ยวกับการเริ่มต้นศึกษาและเริ่มค้นพบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ  สรีระวิทยาของความปวดและโครงสร้างของตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด นั้นเพิ่งเริ่มเกิดขึ้นในช่วงหลังๆ มานี้เอง โดยกล่าวถึงแค่สมองไว้เป็นสำคัญ และต่อมาก็เริ่มมีการขยายความในรายละเอียดของ กระบวนการรับรู้ความเจ็บปวดของร่างกาย มากขึ้นโดยนักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงชาวฝรั่งเศษคือ René Descartes ได้กล่าวถึงตั้งแต่อวัยวะเริ่มต้นที่ทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด (ผิวหนัง) ไปจนถึงตำแหน่งที่มีการแปลผล (สมอง) โดยที่เขาเรียกเส้นทางรับรู้ความรู้สึกนี้ว่า "pain pathway" ซึ่งในวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปัจจุบันก็ยังคงใช้คำนี้อยู่เช่นกัน

 ซึ่งปัจจุบันนี้เชื่อว่าความรู้สึกตอบสนองต่อการที่เนื้อเยื่อถูกทำลายหรือเกิดการอับเสบมีอยู่ 2 แบบด้วยกันซึ่งนำโดยเส้นประสาทต่างชนิดกันคือ :

1. ความรู้สึกเจ็บ (epicritic pain )

          ความรู้สึกเจ็บเป็นความรู้สึกสำคัญที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หมดไปภายในระยะเวลาอันสั้น สามารถบอกตำแหน่งได้ชัดเจนและไม่มีการทำลายของเนื้อเยื่อแต่อย่างใด เป็นกลไกลป้องกันตัวไม่ให้เกิดอันตราย เหมือนมีเข็มมาแตะที่ผิวหนังหรือขาไปเหยียบถูกของมีคม แต่ยังไม่ถูกบาด เป็นต้น ความรู้สึกเจ็บนี้นำโดยใยของประสาท A d ซึ่งเป็น myelinated fiber มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ไมครอน มีความสามารถในการนำความรู้สึกได้ในอัตราเร็วประมาณ 6 – 30 เมตรต่อ วินาที และมีต้นกำเนิดอยู่ที่ dorsal root ganglion (DRG )ของไขสันหลังซึ่งมันจะวิ่งเข้าไปใน dorsal horn และก้านสมอง แล้วเข้าไปประสานประสาท ( synapse ) กับ second order neuron แล้วข้ามไปยังด้านตรงข้ามของไขสันหลังและก้านสมองขึ้นไปตาม neospinothalamic tract (NT ) ไปยัง ventral posterior nucleus ของ lateral thalamus จากนี้ก็จะส่งการติดต่อไปยัง cerebral cortex เพื่อรับความรู้สึกซึ่งแปลเป็น เจ็บ

2. ความรู้สึกปวด ( protopathic pain )

          ความรู้สึกปวดเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากความรู้สึกเจ็บ ซึ่งจะคงอยู่นาน ความรู้สึกนี้นำโดย C-fiber ซึ่งเป็น unmyelinated fiber ที่มีขนาดเล็กมาก คือมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-3 ไมครอน และมีต้นกำเนิดอยู่ที่ dorsal root ganglion ของไข สันหลังเช่นเดียวกับ A d fiber

          C-fiber มี conduction velocity ประมาณ 1 – 3 เมตรต่อวินาที และเป็นตัวนำความรู้สึกสำหรับความปวดที่สำคัญที่สุดไปยังสมอง เมื่อมันวิ่งเข้าไปในไขสันหลังและก้านสมองแล้วมันจะ synapse กับ second order neuron แล้วขึ้นไปตาม paleospinothalamic tract (PT ) ขึ้นไปยัง medial thalamus แต่ในระหว่างทางจะมีการ synapse กับ reticular formation ในก้านสมอง ซึ่งจะไปเกี่ยวโยงกับเซลล์ของ limbic system และของระบบประสาทอัตโนมัติอีกด้วย ดังนั้นความรู้สึกแบบนี้มักจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ความรู้สึกทางอารมณ์ หัวใจเต้นแรง ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น และเหงื่อออก เป็นต้น

(ที่มา Amnuay Thathapandha, Ph.D.)
 

         เรื่องราวความเป็นจริงมากมายเหล่านี้ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน นับว่าเป็นความอัศจรรย์ใจยิ่งและไม่อาจหาคำอธิบายได้สำหรับผู้ที่ไม่เชื่อว่ามันได้ถูกประทานลงมาจากพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง   แต่สำหรับ มุสลิม ผู้ศรัทธาในพระเจ้าที่เที่ยงแท้และเชื่อว่าทุกถ้อยคำในคัมภีร์อัลกุรอ่านมาจากพระองค์แล้ว ความอัศจรรย์เหล่านี้อาจไม่ได้มีความสำคัญใดๆ มากไปกว่าความศรัทธาที่เขายิ่งมีมากขึ้น  เพราะแม้พระองค์อัลลอฮฺ ไม่ได้ให้มนุษย์เห็นความอัศจรรย์ใดๆ  ล่องลอยออกมาจากอัลกุรอ่านให้เห็นชัดๆ ด้วยตา แต่หัวใจของเขาก็เฝ้าคิดใคร่ครวญถึงความอัศจรรย์อื่นๆ ที่อยู่รายรอบตัวเขาอยู่แล้ว   ดังที่พระองค์ตรัสไว้ความว่า ;
 

 "จงดูเถิด ! แท้จริงในการสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และการที่กลางวันและกลางคืนตามหลังกันนั้น

แน่นอนมีหลายสัญญาณสำหรับผู้มีปัญญา

คือบรรดาผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮ์ ทั้งในสภาพยืน และนั่ง และในสภาพที่นอนตะแคง

และพวกเขาพินิจพิจารณากัน (ถึงความน่าอัศจรรย์) ในการสร้างบรรดาชั้นฟ้า และแผ่นดิน

(โดยกล่าวว่า) โอ้พระเจ้าของพวกเข้าพระองค์ พระองค์มิได้ทรงสร้างสิ่งนี้มาโดยไร้จุดมุ่งหมายเลย

มหาบริสุทธิ์พระองค์ท่าน โปรดทรงคุ้มครองพวกข้าพระองค์ให้พ้นจากการลงโทษแห่งไฟนรกด้วยเถิด "


(อัลกุรอ่าน ,3 : 190-191.)