ดร.อับดุลเลาะ หนุ่มสุข
د.عبدالله نومسوك
ประวัติการศึกษา
2535 Ph.D (เกรียตินิยมอันดับหนึ่ง) Creed (อะกีดะฮ์) Islamic University of Madina Saudi Arabi 2531 M.A. (เกรียตินิยม) Creed (อะกีดะฮ์) Islamic University of Madina Saudi Arabi 2527 B.A. (เกรียตินิยมอันดับหนึ่ง) Islamic Call and Theology Islamic University of Madina Saudi Arabiตำแหน่งปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
หน้าที่รับผิดชอบปัจจุบัน
อาจารย์สอนภาษาอาหรับ ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษย์ศาสตร์ ม.รามคำแหง อาจารย์พิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย หลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อีหม่ามมัสยิด ดารุ้ลอิบาดะฮ์ เขตคลองสามวาสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ
อิสลามศึกษา (อุศูลุดดีน) ศาสนาเปรียบเทียบ ภาษาอาหรับประวัติรับราชการ
พ.ศ. 2536 อาจารย์ระดับ 5 ภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
พ.ศ. 2538 อาจารย์ระดับ 6 ภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
พ.ศ. 2547- ปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 8 ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ตำรา
1) Abdullah Numsuk : Method of Shawkani to Study Religion (Arabic) พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2536 พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2537 Daul kitab wal kulam Riyhad Saudi Arabia.
2) Abdullah Numsuk : Buddism:It's History,Belief and Relationship with Sufism (Arabic) พิมพ์ครั้งที่ 1/2542 Adhwa ussalaf Riyhad Saudi Arabia.
คำถาม-คำตอบ
Islammore : ภาษาอาหรับมีความสำคัญอย่างไรในปัจจุบัน ?
Dr.Abdullah : โลกอาหรับจะใช้ภาษาอาหรับในการติดต่อสื่อสารในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านธุรกิจ การค้า การท่องเที่ยวในเชิงสุขภาพ เพราะคนอาหรับเข้ามารักษาสุขภาพที่โรงพยาบาลเอกชในประเทศไทยหลายแห่ง ภาษาอาหรับที่ใช้จึงมีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน และคนอาหรับที่เข้ามาทำธุรกิจที่เมืองไทยก็มีจำนวนมากขึ้น ภาษาอาหรับที่ใช้จะใช้เพื่อการสื่อสารในเชิงธุรกิจ บางคนมักเข้าใจผิดว่าภาษาอาหรับจะต้องเกียวกับเรื่องศาสนาเท่านั้น ภาษาอาหรับจะไม่เหมือนกับภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ที่ต้องใช้บันทึกในด้านศาสนาเป็นหลักจึงเป็นภาษาที่ตาย (ไม่มีคนใช้อย่างต่อเนื่อง) ภาษาอาหรับเป็นภาษาทางวิชาการเนื่องจากใช้บันทึกตำราทางด้านศาสตร์ต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ปรัชญา วรรณกรรม รวมทั้งด้านศาสนาด้วย
Islammore : ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาอาหรับกับเศรษฐกิจในตะวันออกกลาง ?
Dr.Abdullah : ตะวันออกกลางเป็นกลุ่มประเทศที่มีทรัพยากร น้ำมัน แก๊ส เป็นหลัก ซึ่งพลังงานของมนุษย์ทั้งโลกส่วนใหญ่มาจากตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศอาหรับมีความร่ำรวย แต่สิ่งที่พวกเขาแสวงหาคือ คนที่จะเข้าไปทำงาน และนักลงทุนในสาขาต่างๆ ซึ่งพวกเขาจะมีกำลังซื้อที่สูงมาก และตอนนี้เป็นที่ต้องการของนักลงทุนทั่วโลก
วัฒนธรรมทางภาษา เขาจะมีความหวงแหนในภาษาและจะอนุรักษ์ในการใช้ภาษาของตนเอง คนอาหรับจะพูดภาษาอื่นต่อเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น ดังนั้นในการทำธุรกิจกับคนอาหรับให้มีความคล่องตัว เราจึงต้องเรียนรู้ด้านภาษาอาหรับให้มากขึ้น เพราะฉนั้นภาษาอาหรับที่ใช้จึงมิใช่เฉพาะแค่คนที่นับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น
Islammore : ภาษาอาหรับกับการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ?
Dr.Abdullah : ภาษาอาหรับกับศาสนาอิสลามเป็นหนึ่งเดียวกันที่ไม่สามารถแยกออกได้ วัฒนธรรมของอิสลามที่เกี่ยวข้องกับภาษา เช่น ชื่อของคนมุสลิมจะเป็นภาษาอาหรับ เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกที่การเรียนภาษาอาหรับจะอยู่แค่ในหมู่คนมุสลิม ในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม และจริงๆแล้วไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น ควรจะมีการสอนภาษาอาหรับให้แพร่หลายในโรงเรีนเอกชนและรัฐบาล เราต้องให้คนต่งศาสนิกมีทัศนะคติใหม่เกี่ยวกับภาษาอาหรับ เพราะภาษาอาหรับไม่เฉพาะแค่เรียนเพื่ออ่านอัลกุรอานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการติดต่อสื่อสารในโลก เดี๋ยวนี้มหาวิทยาลัยในต่างประเทศมีการเปิดสอนภาษาอาหรับแทบจะทุกมหาวิทยาลัยหลังจากเหตุการ 11 กันยายน ซึ่งทำให้คนทั่วโลกหันไปสนใจกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และหันไปเรียนรู้ภาษาอาหรับกันมากขึ้น
Islammore : ทำอย่างให้มุสลิม และคนต่างศาสนิกหันมาสนใจศึกษาภาษาอาหรับเพื่อการสนทนากันมากขึ้น ?
Dr.Abdullah :
สร้างแรงจูงใจในเชิงธุรกิจ และมองถึงรายได้ เช่น การไปทำงานในตะวันออกกลาง การลงทุน การติดต่อสื่อสาร เพราะกลุ่มประเทศอาหรับประกอบด้วย 22 ประเทศด้วยกัน เพิ่มการเรียนรู้ภาษาที่ 2 และภาษาที่ 3 นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ควรจะเลือกภาษาอาหรับเป็นอีกแนวทางทีน่าศึกษา เพราะเป็นภาษาที่มีประโยชน์ในเชิงธุรกิจในอนาคต การเรียนรูภาษาอาหรับทำให้เข้าใจด้านศาสนาอิสลามอย่างแท้จริง เพื่อสามารถที่จะอ่านตำรา และสื่อสารทางด้านอินเตอร์เน็ต ที่ใช้ภาษาอาหรับ และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นเชิงลึก และต้นตอของเนื้อหาข่าวที่แท้จริง (สารสนเทศ)
Islammore : อนาคตอาจารย์มีความเห็นอย่างไรกับการเปิดสถาบันสอนภาษาอาหรับให้มีมาตราฐาน ?
Dr.Abdullah : ปัญหาของภาษาอาหรับตอนนี้กระจุกตัวอยู่เฉพาะโรงเรียนสอนศาสนาเอกชน รัฐบาลควรเปิดการเรียนภาษาอาหรับในระดับมหาวิทยาลัย ในคณะมนุษย์ศาสตร์ และต้องให้ความสำคัญในระดับอุดมศึกษา ระดับมัธยมปลาย ซึ่งมีภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และควรเพิ่มภาษาอาหรบในภาคศิลป์ภาษาต่างๆ
เอกชนควรจะมีการลงทุน เปิดสอนภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสารให้กับประชาชนทั่วๆไป เพราะมีคนที่มาสอบถามอาจาย์มาก เพื่อที่จะเรียนภาษาอาหรับ น่าจะมีการเปิดอบรม ครอสระยะสั้น และควรสร้างมาตรฐานความรู้ในด้านภาษาอาหรับให้ชัดเจนและน่าเชื่อถือ เหมือนดังเช่นมาตรฐานของภาษาอังกฤษ มี Toeic Tofel
Islammore : การขาดแคลนล่ามภาษาอาหรับตามโรงพยาบาลเอกชน กับมาตรฐานของล่ามอาหรับในประเทศไทย ?
Dr.Abdullah : เกือบ 100% ล่ามตามโรงพยาบาลทุกวันนี้ไม่ได้เรียนทางด้านภาษาอาหรับมาโดยตรง ล่ามเหล่านี้รู้ภาษาอาหรับเพียงบางส่วนจึงทำให้การเป็นล่ามไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรและไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ ควรจะมีการจัดอบรมทางด้านภาษาอาหรับให้กับล่ามเหล่านั้น และคนที่ไปเรียนะวันออกกลางไม่ควรที่จะเรียนเฉพาะด้านศาสนาอย่างเดียว ควรมีการหันมาศึกษาทางด้านวิชาชีพ เช่น ครู, ภาษาอาหรับโดยตรง, ภาษาที่ใช้เพื่อการสื่อสาร
Islammore : ภาษาอาหรับ "ง่ายนิดเดียว" ไหม ?
Dr.Abdullah : ภาษาอาหรับไม่ได้ยากอย่างที่คิด เนื่องจากได้มีนักวิชาการทางการสอนภาษา ได้คิดค้นวิธีการเรียนภาษาให้ง่ายขึ้น มีสื่อการสอนเยอะมากขึ้น ภาษาอาหรับจะยากก็ต่อเมื่อเป็นภาษาทางด้านศานาเพื่อการศึกษาศาสนาโดยตรง แต่ถ้าเป็นทางด้านการสื่อสารเพียงเพื่อการเข้าใจก็เพียงพอ
Islammore : ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนภาษาอาหรับ
Dr.Abdullah :
ต้องชอบที่จะเรียน ต้องทราบว่าตนเองมีทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศ ต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ต้องติดตามการเรียนทั้งในคาบเรียน และศึกษาจากนอกห้องเรียนด้วยตนเอง ต้องสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ เข้าหาสังคมและสิ่งแวดล้อมทีใช้ภาษาอาหรับ พยายามหาสื่อที่เป็นภาษาอาหรับมาเรียนรู้ เช่น การ์ตูน ภาพยนต์
Islammore : ทำอย่างไรให้สามารถเผยแพร่ศาสนาอิสลามในมหาวิทยาลัยให้เขาเห็นว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีแต่ความสงบสุข ?
Dr.Abdullah : การสอนภาษาอาหรับสามารถที่จะแฝงคำสอนของอิสลามเข้าไปได้ เพราะวัฒนธรรมทางภาษาจะแฝงไว้ด้วยความเชื่อ เช่น การทักทายกัน มุสลิมจะกล่าวดูอาร์(การให้พร)ต่อกันตลอดเวลา นั่นเป็นการถ่ายทอดศาสนาทางภาษาได้เช่นกัน เช่นคำว่า อัลฮัมดุลิ้ลลาฮ์ อินชาอัลลอฮ์ จะมีการขยายความในด้านความหมายให้กับผู้เรียนได้ซึมซับ ได้มีความเข้าใจทางด้านศาสนา และบุคคลที่ใช้ภาษาอาหรับร่วมกับศาสนา เมื่อพูดกับคนอาหรับจะทำให้มีระดับความรู้สึกของการใช้ภาษาที่สามารถโน้มน้าวคนอาหรับได้ระดับหนึ่ง และถ้าเป็นคนต่างศาสนิกจะทำให้ได้รับความไว้วางใจในระดับหนึ่งเช่นกัน
Islammore : ข้อเสนอแนะอื่นๆ
Dr.Abdullah : อยากให้นักศึกษาที่จบจากกลุ่มประเทศอาหรับซึ่งมีจำนวนมาก ควรหันมาสนใจและให้ความสำคัญกับภาษาอาหรับในด้านการสื่อสาร และหันมาเผยแพร่ภาษาอาหรับให้มากขึ้นให้กับสังคมมุสลิมด้วยกัน และกับคนต่างศาสนิก เพราะปัจจุบันเราเผยแพร่กันแค่การท่องจำอัลกุรอาน แต่ยังไม่สามารถทำให้เข้าใจและสื่อสารได้ และโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม น่าจะมีมาตรฐานการเรียนการสอนให้มีระดับของการสื่อสารทางด้านภาษาด้วย
ภาษาอาหรับกำลังถูกมองว่าเป็นภาษาเฉพาะมุสลิม และในระดับมหาวิทยาลัยอยากที่จะเปิดสอนภาษาอาหรับแต่ไม่สามารถที่จะหาบุคคลที่จบมาทางด้านภาษาโดยตรงได้
ด้านตำราหลักสูตรการเรียนการสอน
อยากให้คณะครู อาจารย์ที่กำลังสอน นักเรียนในโรงเรียนต่างๆได้ทำตำราในการสอนภาษาอาหรับเพิ่มเข้ามา เพื่อการเผยแพร่ให้มากยิ่งขึ้น และประยุกต์การนำเสนอบทเรียนให้เป็นปัจจุบัน ทำให้เด็กอยากที่จะเรียนทางด้านภาษามากขึ้น เช่นการปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน สร้างหลักสูตรและปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันของสังคมไทย และเผยแพร่หลักสูตรการเรียนการสอนให้มากยิ่งขึ้น
ทาง website Islammore ขอขอบคุณทาง อาจารย์ ดร.อับดุลเลาะ หนุ่มสุข ที่สละเวลาและให้เกรียติแสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์แก่สังคมมุสลิม และต่างศาสนิก หวังว่าผู้ที่เข้ามาอ่านจะได้ความรู้และประโยชน์เพื่อช่วยกันปรับปรุงและพัฒนาตนเองและสังคมรอบข้างให้มีมุมมองที่กว้างขึ้น และหวังว่าเราจะได้ศึกษาเรื่องราวต่างๆจากอาจารย์อีกในโอกาสต่อไป อินชาอัลลอฮ์