อัน-นุศ็อยริยะฮฺ
แปลโดย.... Anwar B. Ismael
วันเฉลิมฉลองของอัน-นุศ็อยริยะฮฺ
วันอีด (วันเฉลิมฉลอง) ของพวกเขานั้นมีมากมาย ซึ่งสามารถบ่งบอกว่าหลักการความเชื่อมั่นของพวกเขาได้ ดังเช่นต่อไปนี้
- วันอีด อัน-นัยรูซ คือวันเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของชาวเปอร์เซีย ซึ่งตรงกับวันที่ 4 ของเดือนเมษายน
- วันอีด อัล-เฆาะดีรฺ
- วันอีด อัล-ฟิรอชฺ การเยี่ยมเยียนในวันอาชูรออ์ ในวันที่สิบของเดือนอัล-มุหัรร็อม เพื่อรำลึกถึงวันเสียชีวิตของอัล-หุสัยนฺที่เมืองกัรฺบะลาอ์
- วันอัล-มุบาฮะละฮฺ หรือวันอัล-กิสาอ์ ในวันที่ 9 ของเดือนเราะบีอุ้ลเอาวัล เพื่อรำลึกถึงการที่ท่านนบี เชิญชวนชาวคริสเตียนนัจญ์รอนมาทำการมุบาฮาละฮฺ (สาบานต่ออัลลอฮฺว่าหากใครพูดเท็จผู้นั้นจะประสบกับความหายนะ)
- วันอีด อัล-อัฎหา พวกเขาจะเฉลิมฉลองในวันที่ 12 ของเดือนซุลฮิจญะฮฺ
พวกเขาเฉลิมฉลองในวันเฉลิมฉลองของชาวคริสต์ด้วย เช่น อีด อัล-ฆุฏอส อีด อัล-อุนศุเราะฮฺ อีดเซนต์บาร์บารา วันคริสต์มาส วันไม้กางเขน ซึ่งพวกเขานำมาเป็นฤกษ์ในการทำเกษตรและเก็บเกี่ยวไม้ผล อีกทั้งเป็นฤกษ์ในการทำมาค้าขาย และทำสัญญาเช่าหรือให้เช่า
พวกเขาเฉลิมฉลองในวันดะลาม คือวันที่ 9 ของเดือนเราะบีอุ้ลเอาวัล ซึ่งเป็นวันแห่งการสังหารท่านอุมัรฺ เบ็น อัล-ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เพื่อเป็นการแสดงความยินดีต่อการเสียชีวิตของอุมัรฺ และกล่าวด่าประณามท่านอุมัรฺ
รากเหง้าและที่มาของแนวคิด
- นำหลักความเชื่อของพวกบูชาเจว็ดมาผสมผสาน และบูชาดวงดาวต่างๆและเชื่อว่าดวงดาวเหล่านั้นเป็นที่สถิตของอิหม่ามอะลีย์
- ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากปรัชญาเพลโต โดยนำทฤษฎีการท่อแสงของรัศมีบนวัตถุ
- สร้างหลักความเชื่อบนพื้นฐานของหลักความเชื่อของนักปรัชญาเปอร์เซีย
- รับอิทธิพลความเชื่อจากชาวคริสต์ และชาวคริสต์นิกาย อัล-เฆาะนูศิยะฮฺ (Gnosticism) พร้อมกับศรัทธาต่อไม้กางเขน พิธีกรรมต่างๆ และอนุญาตให้ดื่มสุรา
- รับอิทธิพลความเชื่อเกี่ยวกับการว่ายเวียนตายเกิดจากหลักความเชื่อของชาวอินเดียหรือเอเชียตะวันออก
พวกเขาคือพวกชีอะฮฺที่สุดโต่ง ซึ่งหลักการและแนวคิดของพวกเขามาจากแนวคิดของชีอะฮฺ ตามทัศนะที่อัร-เราะฟิเฎาะฮฺส่วนใหญ่ยึดถือ หรือตามที่พวกอัส-สะบะอิยะฮฺ (กลุ่มของอับดุลลอฮฺ เบ็น สะบาอ์ ชาวยิว) เป็นการเฉพาะ
สถานที่เผยแพร่แนวคิด
พวกอัน-นุศ็อยรีย์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตเทือกเขาอัล-ลาซิกิยะฮฺ และในระยะหลังๆได้แพร่กระจายไปยังทุกพื้นที่ของประเทศซิเรียที่อยู่ใกล้เคียง และพวกเขามีจำนวนที่ไม่น้อยอาศัยอยู่ในเขตอะนาฎูล (Anatolia-Turkey) ตะวันตก ซึ่งรู้จักกันในนามของกลุ่ม อัล-ตัคตะญิยะฮฺ (al- Takhtajiyah) และ อัล-หัฏฏอบูน (al-Hattaboun)
กลุ่มอัน-นุศ็อยริยะฮฺที่อาศัยอยู่ฝั่งตะวันออกของอัล-อะนาฎูล รู้จักกันในนาม อัล-เกาะซัล บาเชห์ ส่วนในเขตอื่นๆของตุรกีและแอลบาเนีย รู้จักพวกนี้นามของกลุ่ม อัล-บิกตาชิยะฮฺ (Bektashiyah) บางพวกอาศัยอยู่ในเปอร์เซีย และตุรกิสถาน (Turkestan) รู้จักกันในนามกลุ่ม อัล-อะลีย์ อิลาฮิยะฮฺ และพวกเขาบางคนอาศัยอยู่ในประเทศเลบานอนและปาเลสไตน์
บทสรุป
อัน-นุศ็อยริยะฮฺ คือลัทธิบาฏีนิยะฮฺ ถือกำเนิดขึ้นในฮิจญ์เราะฮฺศตวรรษที่ ๓ ซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มแนวคิดที่สุดโต่ง หลุดจากกรอบของอิสลาม และได้สลัดนิยามของความเป็นอิสลาม ซึ่งไม่หลงเหลืออะไรนอกจากชื่อเรียกที่คล้ายกับอิสลามเท่านั้น และถือว่าพวกเขานั้นเป็นผู้ที่หลุดจากสภาพความเป็นมุสลิม ไม่อนุญาตให้ปฏิบัติต่อพวกเขาเฉกเช่นชาวมุสลิมทั่วไป เนื่องจากแนวคิดอันสุดโต่งของพวกเขาและทัศนะที่ผิดแผกจากอิสลาม ซึ่งเป็นแนวคิดที่ทำลายรากฐานของอิสลาม เช่นการปฏิเสธละหมาดวันศุกร์ การไม่ทำความสะอาดจากหะดัษ มีพิธีกรรมที่คล้ายคลึงกับศาสนาคริสต์ อีกทั้งยังปฏิเสธการประกอบพิธีหัจญ์ และการจ่ายซะกาตตามที่ศาสนาได้บัญญัติ
http://www.saaid.net/feraq/mthahb/35.htm
หนังสืออ้างอิงเพื่อค้นคว้าเพิ่มเติม
- หนังสืออัล-ญุซูร อัต-ตาริคียะฮฺ ลิ อัน-นุศ็อยริยะฮฺ อัล-อะละวิยะฮฺ พิมพ์ที่ดารุล อิอฺติศอม ,ไคโร , ปี ฮ.ศ. 1400 / ค.ศ. 1980
- หนังสืออัล-มิลัล วันนิหัล โดยอบู อัล-ฟัตหฺ อัช-ชัฮฺรอสตานีย์
- หนังสือชัรหฺ นัฮจญฺ อัล-บะละเฆาะฮฺ โดยอิบนุอบี อัล-หะดีด พิมพ์ที่ดารุลกุตุบ อัล-อะเราะบิยะฮฺ ,ไคโร
- หนังสือริสาละฮฺ ฟี ร็อด อะลา อัน-นุศ็อยริยะฮฺ โดยอิบนุตัยมิยะฮฺ
- หนังสืออัล-บากูเราะฮฺ อัส-สุไลมานียะฮฺ ฟี กัชฟี อัสรอร อัด-ดิยานะฮฺ อัน-นุศ็อยริยะฮฺ โดยสุไลมาน อะฟันดีย์ อัล-อะซะนีย์ ,เบรุต , ปี ค.ศ. 1862
- หนังสือตารีค อัล-อะละวียีน โดย มุหัมหมัดอามีน ฆอลิบ อัฏ-เฏาะวีล พิมพ์ที่ลัตตาเกีย ปี ค.ศ. 1924
- หนังสือคุฏ็อฏ อัชชาม โดยมุหัมหมัด คุรดฺ อะลีย์ ,ดามัสกัส , ค.ศ. 1925 เล่มที่ 3 หน้า 265 และเล่มที่ 6 หน้า 107
- สารานุกรมอิสลาม หมวด นุศ็อยรีย์
- หนังสืออิสลาม บิลา มะษาฮิบ โดยมุศเฏาะฟา อัชชักอะฮฺ สำนักพิมพ์ดารุลเกาะลัม ,ไคโร , ค.ศ.1961
- หนังสือตารีค อัล-อะกีดะฮฺ อัน-นุศ็อยริยะฮฺ (Histoire et religion des Nosairis) โดยนักบูรพาคดี René Dussaud ,สำนักพิมพ์ Emile , Bouillon ,1900
- หนังสืออัล-อะอฺลาม โดย ซิริกลีย์ เล่มที่ 2 หน้าที่ 254 เบรุต ค.ศ.1954
- หนังสือตารีค อัล-อะดับ อัล-อะเราะบีย์ โดยนักบูรพาคดี Carl Brockelmann เล่มที่ 3 หน้าที่ 357 สำนักพิมพ์ดารุลมะอาริฟ ค.ศ.1962
- หนังสืออัล-หะระกาต อัล-บาฏินิยะฮฺ ฟี อัล-อาลัม อัล-อิสลามีย์ โดย ดร.อะหฺมัด มุหัมหมัด อัล-เคาะฏีบ สำนักพิมพ์อัล-อักศอ ,อัมมาน
- หนังสือดิรอสาต ฟี อัล-ฟิร็อก ,โดย ดร.ศอบิร เฏาะอีมะฮฺ สำนักพิมพ์อัล-มะอาริฟ ,รียาฎ ฮ.ศ.1401 / ค.ศ.1981
- หนังสือ Opera Minora โดยนักบูรพาคดี Louis Massignon, เบรุต, ค.ศ.1963