หลักเศรษฐศาสตร์อิสลามช่วยให้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์
  จำนวนคนเข้าชม  8374

วิกฤติการณ์เงินโลกในมิติเชิงเปรียบเทียบกับเศรษฐศาสตร์อิสลาม


โดย... ดร. หุซัยน์ ชะหาตะฮ์


8.บทสรุปกฎเกณฑ์ของหลักเศรษฐศาสตร์อิสลาม คือ การช่วยให้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์


          บทสรุป คือ หากนำเอาหลักการของระบบเศรษฐศาสตร์อิสลามมาปฎิบัติใช้ในทุกกระบวนการของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างสมบูรณ์ ก็จะเป็นทางออกและหลุดพ้นจากวิกฤติการณ์ดังกล่าว

พระองค์อัลลอฮฺ  ได้ทรงตรัสไว้อย่างเป็นสัจธรรม ความว่า

 “บางทีเมื่อมีคำแนะนำ (ฮิดายะฮ์) จากข้ามายังพวกเจ้าแล้ว ผู้ใดปฏิบัติตามคำแนะนำ (ฮิดายะฮ์) ของข้า เขาจะไม่หลงทาง และจะไม่ได้รับความลำบาก

และผู้ใดผินหลังจากการรำลึกถึงข้า แท้จริงสำหรับเขาคือ การมีชีวิตอยู่อย่างคับแค้น

และเราจะให้เขาฟื้นคืนชีพในวันกิยามะฮ์ ในสภาพของคนตาบอด”

อัลกุรฺอานซูเราะห์ตอฮา โองการที่ 123 – 124

และพระองค์อัลลอฮ์  ได้ตรัสอีก ความว่า

 “อัลลอฮฺจะทรงให้ดอกเบี้ยลดน้อยลง และหมดความจำเริญ และจะทรงให้บรรดาสิ่งที่เป็นทานเพิ่มพูนขึ้น

 และอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงชอบผู้เนรคุณ ผู้กระทำบาปทุกคน”

ซูเราะห์อัลบะกอเราะฮฺ โองการที่ 276

 

คำร้องเรียนเชิญชวนไปยังนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ ผู้ครอบครองทรัพย์และผู้ประกอบการ


*มาสู่บทบัญญัติอิสลามเถิด

         โอ้ บรรดานักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ นักปกครองทั้งหลายที่ปรารถนาที่จะฟื้นฟู ปรับปรุงระบบการเงิน เศรษฐกิจสากล ซึ่งกำลังเป็นสาเหตุของความเดือดร้อน และการมีวิถีชีวิตที่ตีบตันของมนุษยชาติ โดยที่ระบอบดังกล่าว ได้นำเอาวิกฤติการณ์มาครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ในบทบัญญัติของอิสลามมีทางนำ ความเมตตาและความดีงาม ซึ่งเป็นการยืนยันความเป็นสัจธรรมแห่งโองการของอัลลอฮ์ ที่พระองค์ได้ตรัสไว้ ความว่า

 “แท้จริงแสงสว่างจากอัลลอฮฺ และคัมภีร์อันชัดแจ้งได้มายังพวกเจ้าแล้ว

ด้วยคัมภีร์นั่นแหล่ะ อัลลอฮ์ จะทรงแนะนำ ผู้ที่ปฏิบัติตามความพึงพระทัยของพระองค์ ซึ่งบรรดาทางแห่งความปลอดภัย

และจะทรงให้พวกเขาออกจากความมืด ไปสู่แสงสว่าง ด้วยอนุมัติของพระองค์ และจะทรงแนะนำพวกเขาสู่ทางอันเที่ยงตรง”

ซูเราะห์อัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 15 –16


*มาสู่ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลามเถิด

         โอ้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ นายทุน และผู้ประกอบการทั้งหลาย เนื่องจากระบบเศรษฐศาสตร์อิสลาม มีความมั่นคง ปลอดภัย และมั่งคั่ง โดยที่พวกท่านทั้งหลายจงออกห่างจากทุกกิจกรรมที่พัวพันกับดอกเบี้ย เนื่องจากดอกเบี้ยถือเป็นสิ่งเลวร้ายที่สุด ของกิจกรรมทางการเงินและเศรษฐกิจ เพียงพวกท่านจะไม่ต้องนำพาตัวของพวกท่านเอง เข้าสู่สมรภูมิสงครามกับอัลลอฮฺ และศาสนฑูตของพระองค์ พระองค์อัลลอฮฺ ได้ตรัสไว้ ความว่า

 “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย พึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และจงละเว้นดอกเบี้ยที่ยังเหลืออยู่เสียหากพวกท่านเป็นผู้ศรัทธา

และถ้าพวกเจ้าไม่ปฏิบัติตามก็พึงรู้ไว้เถิดว่า ซึ่งสงครามจากอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์

และหากพวกเจ้าสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวแล้ว สำหรับพวกเจ้า คือ ต้นทุนแห่งทรัพย์ของพวกเจ้า โดยที่พวกเจ้าจะได้ไม่อธรรม และไม่ถูกอธรรม”

อัลกุรฺอานซูเราะห์อัลบะกอเราะฮฺ โองการที่ 278 -279


*มาสู่ระบบธนาคารอิสลามเถิด

         โอ้ ผู้ที่ปรารถนาที่จะฟื้นฟู ปรับปรุงระบบธนาคารของโลก เนื่องจากนักวิชาการด้านการเงิน และการธนาคารได้ยืนยันถึงความล้มเหลวของระบบดอกเบี้ย และถือเป็นการยืนยันถึงสัจธรรมแห่งโองการของอัลลอฮฺ  ความว่า

 “อัลลอฮฺจะทรงให้ดอกเบี้ยลดน้อยลง และหมดความจำเริญ  และจะทรงให้บรรดาสิ่งที่เป็นทานเพิ่มพูนขึ้น

และอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงชอบผู้เนรคุณ ผู้กระทำบาปทุกคน”

ซูเราะห์อัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ 276

     และวจนะของท่านศาสนฑูต  ที่ว่า

 “เมื่อการทำซินา (ผิดประเวณี) และการกินดอกเบี้ยเกิดขึ้นที่หมู่บ้านใด พระองค์อัลลอฮ์ก็จะทรงอนุมัติให้มีการทำลายหมู่บ้านนั้นได้”

 รายงานโดยอบูยะอ์ลา จาก อับดุลลอฮ์ อิบนุ มัสอูด ¹

 


แปลโดย  มุหัมมัด บินต่วน

 



1.  คือ อะบูอับดิรฺเราะห์มาน,อับดุลลอฮ์ อิบนุ มัสอูด อิบนุ ฆอฟิล อัลฮุซะลีย์, รอฎิยัลลอฮูอันฮุ, เป็นหนึ่งในบรรดาซอหาบะฮ์อาวุโส ที่ทรงคุณวุฒิด้านความรู้และคุณธรรมที่โดดเด่น และการใช้ชีวิตที่ใกล้ชิดในการรับใช้ท่านศาสดามุหัมมัด (ซอลลัลลอฮะอะลัยฮิวะซัลลัม) ท่านเป็นสหายที่ใกล้ชิดทั้งในยามที่ท่านศาสดาอยู่ที่บ้านและเดินทาง ท่านเป็นชาวมักกะฮ์ ในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 32 (ค.ศ. 653) รอฎอยัลลอฮุอันฮุ – (อัลอะอฺลาม,อัซซัรฺกะลีย์ : 3/137 ) – ผู้แปล