กฎเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์อิสลามคือทางออก
  จำนวนคนเข้าชม  7027

วิกฤติการณ์เงินโลกในมิติเชิงเปรียบเทียบกับเศรษฐศาสตร์อิสลาม


โดย... ดร. หุซัยน์ ชะหาตะฮ์


7. จะออกจากวิกฤติการณ์นี้ได้อย่างไร? กฎเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์อิสลามคือทางออก


     การวิเคราะห์สาเหตุการเกิดวิกฤติการณ์เงินของโลกนั้น เป็นที่ประจักชัดว่าปัญหาและเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤติการณ์นั้น มาจากระบบที่มนุษย์ได้วางไว้ดังนี้

1. ระบบดอกเบี้ย (ริบา) เงินฝาก และระบบดอกเบี้ยเงินกู้

2. ระบบการค้าที่ผูกมัดกับหนี้ ทั้งในแง่การเอา และในแง่การให้

3. ระบบการทดแทนการชำระหนี้ ด้วยกับการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เพื่อชดเชยกับการยื้อระยะการชำระหนี้

4. ระบบการขายหนี้

5. ระบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเภทการประกอบการด้านการเงินสมมุติที่วางอยู่บนรากฐานของการคาดเดา และการเสี่ยงโชค ¹


         ดังนั้นจึงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า  แนวคิด กฎเกณฑ์ของระบบการเงิน และเศรษฐศาสตร์อิสลาม ที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นสาเหตุของการเกิดวิกฤติการณ์ และสวนทางกับธรรมชาติวิสัยของมนุษย์ และเป้าหมายของบทบัญญัติอิสลาม

 
   
       บทบัญญัติอิสลามได้ห้ามระบบดอกเบี้ยที่มาจากการกู้ยืม ระบบเครดิต แต่บทบัญญัติอิสลามได้อนุมัติระบบการลงทุน และการระดมทรัพย์ที่ตั้งอยู่บนบรรทัดฐานของการมีหุ้นส่วน การนำเอาทุนทรัพย์เข้าสู่กระบวนการทำให้ทรัพย์ดังกล่าวงอกเงย ระบบการประกอบการที่อยู่ในกรอบที่ว่า “ผู้ใดได้รับประโยชน์ บุคคลนั้นย่อมรับผิดชอบต่อความเสียหาย” ²

 

          บทบัญญัติอิสลามไม่ทรงอนุมัติ การประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกรูปแบบที่มีลักษระคดโกง ปกปิดข้อเท็จจริงของสินค้า หลอกลวง การพนัน โกหก การแสวงหาผลประโยชน์ที่ตั้งอยู่บนบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้อง การกินทรัพย์สินของเพื่อมนุษย์โดยไม่เป็นธรรม แต่บทบัญญัติของอิสลามกลับมุ่งเน้นและกำชับให้มีการยึดมั่นต่อความสัจจะ ความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ ชี้แจงและโปร่งใส

 


แปลโดย  มุหัมมัด บินต่วน

 

 



1 เช่นการซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้น – ผู้แปล
2 ความหมายโดยสรุปของกฎนี้ก็คือ “การมีส่วนร่วมในผลกำไรและขาดทุน” ของผู้ลงทุนร่วมกัน – ผู้แปล