วิกฤติการณ์เงินโลกในมิติเชิงเปรียบเทียบกับเศรษฐศาสตร์อิสลาม
โดย... ดร. หุซัยน์ ชะหาตะฮ์
4. ผลกระทบของการเกิดวิกฤติระบบการเงินโลก
วิกฤติการณ์การเงินโลก ในขณะนี้ได้อยู่ในระดับที่เกิดบาดแผลฉกรรจ์ อาบเลือดที่ลึกเข้าไปถึงมันสมองของระบบ จนเป็นเหตุให้อวัยวะบางส่วนของมันต้องเป็นพิการ และเส้นโลหิตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องแข็งตัว และส่งผลกระทบที่เลวร้ายดังนี้
1. ผลกระทบที่หนึ่ง
เกิดภาวะหวั่นวิตกโกลาหล และขาดสติกับมนุษย์โดยทั่วไป จึงขอยกตัวอย่างกลุ่มบุคคลที่ประสบกับภาวะดังกล่าวที่เลวร้ายดังนี้คือ
- ผู้นำ นักปกครอง และบุคคลในระดับรัฐมนตรี
- เจ้าของสถาบันการเงิน และผู้ที่ดำเนินกิจการในตลาดการเงิน
- เจ้าของสถาบันการเงินที่เป็นตัวแทน
- เจ้าของเงินฝากในธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่นๆ
- ลูกหนี้ของธนาคาร และผู้ที่มีพันธะกิจการธนาคาร และเช่นเดียวกับเจ้าของเงินฝาก
- ผู้บริโภคต้องประสบกับการเสี่ยงของภาวะสินค้าราคาสูง
- เจ้าหน้าที่ และคนงานต่างก็เสี่ยงต่อภาวะการตกงาน
- บุคคลผู้ยากไร้ที่ใช้ชีวิตอยู่กับการได้รับการสงเคราะห์ และเงินบริจาคทาน
วิกฤติการณ์เหล่านี้ประดุจดังมะเร็งในเม็ดเลือดที่เริ่มขยายตัวอยู่ในสายเลือด ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของระบบเศรษฐกิจ
2. ผลกระทบที่สอง
การล้มละลายของสถาบันการเงินต่างๆ ด้วยกับสาเหตุที่ขาดสภาพคล่อง และอัตราการถอนเงินคืนของผู้ที่ฝากเงิน จนเป็นเหตุให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ต้องเข้ามากู้วิกฤติโดยผ่านธนาคารกลางของรัฐเข้ามาอุ้มชูธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เหลืออยู่ เพียงเพื่อพยุงความอยู่รอดเท่าที่จะทำได้ เพื่อไม่ให้เกิดการล่มสลายของระบบเศรษฐกิจอย่างสมบูรณ์ และรัฐก็อาจจะตกอยู่ในสภาพที่ล้มละลาย
3. ผลกระทบที่สาม
การล้มละลายของบริษัทต่างๆที่ดำเนินธรุกิจบนบรรทัดฐานของการระดมทุน โดยการกู้หนี้ด้วยระบบดอกเบี้ย หรือบางบริษัทอาจจะต้องหยุดกิจการลงในบางภาคส่วนของการผลิต และในทำนองเดียวกันบางบริษัทก็เริ่มสะสางกิจการด้านการประกันและหลักทรัพย์ประกันต่างๆ ดังกล่าวนี้คือสาเหตุของการความระส่ำระส่ายทางแรงกระตุ้นทางเม็ดเงินของบริษัทพานิชย์ดังกล่าว
4. ผลกระทบที่สี่
อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกิดการจ้างงานที่น้อยลง แต่อัตราการเรียกร้องการช่วยเหลือทางสังคม และจากภาครัฐเพิ่มขึ้น ซึ่งก็เท่ากับเพิ่มภาระที่หนักอีกด้านหนึ่งให้กับงบประมาณของรัฐบาล จนเป็นเหตุให้รัฐต้องระงับโครงการการลงทุนใหม่ๆ เนื่องจากต้องมาโอบอุ้มสังคมโดยรวม
5. ผลกระทบที่ห้า
ในบางประเทศต้องหาทางออกด้วยกับการเพิ่มอัตราการเก็บภาษี เพื่อชดเชยกับเม็ดเงินงบประมาณแผ่นดิน เนื่องจากรัฐบาลต้องทุ่มเม็ดเงินในการช่วยเหลือและพยุงบริษัท และธนาคารต่างๆที่อยู่ในภาวะที่ล่อแหลมต่อการล้มเหลว ต่อการล้มละลาย หรือเข้าไปช่วยเหลือเงินฝากและอื่นๆ
6. ผลกระทบที่หก
ผู้เป็นหนี้ได้สูญเสีย ทรัพย์สมบัติและที่อยู่อาศัย เนื่องจากการถูกยึดด้วยกับการเป็นหนี้ จนทำให้พวกเขาต้องไร้ที่อยู่อาศัย ผู้ยากไร้ขัดสน และเป็นผู้พลัดถิ่นลี้ภัย
แปลโดย มุหัมมัด บินต่วน