วิกฤติการณ์เงินโลกในมิติเชิงเปรียบเทียบกับเศรษฐศาสตร์อิสลาม
โดย... ดร. หุซัยน์ ชะหาตะฮ์
2. ปรากฎการณ์แห่งวิกฤติระบบการเงินโลก
ปฏิหารย์ต่างของการล่มสลายของระบบเศรษฐกิจโลกเริ่มประจักษ์ชัดขึ้น จนทำให้ผู้ที่ครอบครองทรัพย์และบุคคลอื่นๆต่างพากันหวั่นวิตก และหวาดกลัวอย่างรุนแรง ประกอบกับสถาบันการเงินและหน่วยงานใต้สังกัดต่างๆ พากันคิดค้นวางแผนเพื่อเอาตัวรอดจากวิกฤติการณ์นี้ ตลอดจนรัฐบาลต่างๆในหลายประเทศเริ่มมีความหวาดกลัว และได้เรียกระดมนักวิชาการและเชี่ยวชาญวางแผนเพื่อหาทางออกจากวิกฤติการณ์นี้
ตัวอย่างปรากฎการณ์ของวิกฤติการณ์นี้คือ
- เกิดภาวะการณ์การรีบถอนเงินฝากออกจากธนาคารต่างๆ เนื่องจากเจ้าของเงินเกิดความขยาดต่อเรื่องที่ความล้มเหลวของระบบได้รับการถ่ายทอดทางสื่อมวลชนต่างๆ
- สถาบันการเงินได้มีการกระทำการอายัด การปล่อยเงินกู้ให้กับบริษัท และปัจเจกชน เนื่องจากเกรงว่าเม็ดเงินจะอยู่ในภาวะที่เรียกเงินคืนได้ยากมาก
การขาดสภาพคล่องในเชิงปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างปัจเจกชน บริษัท และสถาบันการเงิน จนเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะชะงักงันอย่างรุนแรงในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และภาวะชะงักงันดังกล่าวได้คลอบคลุมในทุกแง่มุมของการดำเนินชีวิต จนเป็นเหตุให้บรรดาลูกหนี้หยุดการชำระหนี้ของพวกเขา
- อัตาการหมุนเวียนในตลาดการเงิน และตลาดหลักทรัพย์ลดลง และนี่คือความผันผวนขาดดุลยภาพ รูปแบบใหม่ ทั้งในดรรชนีแดนบวกและแดนลบ
- ศักยภาพในการสร้างงาน สร้างรายได้ของบริษัทต่างๆลดลง เนื่องจากขาดสภาพคล่องและเผชิญกับภาวะที่เข้มงวดของการปล่อยเงินกู้จากสถาบันการเงิน หรือการอายัดการปล่อยเงินกู้ยกเว้น การปล่อยเงินกู้ที่ราคาดอกเบี้ยสูงมาก และมีหลักทรัพย์ที่มีมูลค่ามหาศาลมาค้ำประกัน
- สภาพสินค้าตกต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ และอื่นๆ ซึ่งเป็นผลกระบทมาจากการขาดสภาพคล่อง
- อัตราการหยุดกิจการจากผู้ประกอบการเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสาเหตุการล้มละลาย การสะสางจนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ คนงาน ต้องเสี่ยงต่อการปลดออกจากงาน
- อัตราการใช้จ่าย ใช้สอย เก็บออม การลงทุนได้ลดลง ดังกล่าวเป็นปัจจัยที่เพิ่มสภาพการขาดทุน การชะงักงัน การสะสาง และการล้มละลาย
ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดคำถามที่สำคัญว่า อะไรคือสาเหตุหลักของการเกิดวิกฤติการณ์นี้ ?
แปลโดย มุหัมมัด บินต่วน