สรุปการรวบรวม อัลกุรอาน
  จำนวนคนเข้าชม  17183

ความพยายามของบรรดาศอฮาบะฮ์ในการรวบรวมอัลกุรอาน 9

โดย...  ญาลีละฮ์ รัตโส

สรุปการรวบรวม อัลกุรอาน

การรวบรวม อัล-กุรอานแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ

- แผ่นจารึก (การบันทึก)

- ในหัวอก (การท่องจำ)

 

การรวบรวมในแผ่นจารึก (การบันทึก) แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน

สมัยท่านนบี

สาเหตุ : เพื่อเพิ่มความแม่นยำโดยคำนึงถึงโองการต่างๆ ที่ถูกประทานลงมา

วิธีการ : บันทึกโองการแห่งอัลลอฮ์ ไว้ตามแผ่นจารึกต่างๆ เช่น ก้านอินทผลัม, กระดูก, แผ่นหิน, และอื่นๆ แต่ไม่มีการบันทึกไว้ในที่เดียวกัน


สมัยท่านอบูบักร

สาเหตุ: ความเหวาดกลัวว่า อัลกุรอาน จะสูญสลายไปพร้อมกับการชะฮีดของบรรดาศอฮาบะฮ์ในสงครามยะมามะห์

ผู้รวบรวม : ท่าน เซด บิน ษาบิต

วิธีการ : นำอายะห์ที่ได้ยินได้ฟังมาจากท่านรอซู้ล พร้อมพยาน 2 คน และสำหรับโองการที่ถูกบันทึกไว้ในสมัยท่านนบี นำมาจากแผ่นจารึกต่างๆ  โดยย้ายมาบันทึกและรวบรวมไว้ในคัมภีร์


สมัยท่านอุษมาน

สาเหตุ : ความหวั่นเกรงที่จะเกิดการขัดแย้งระหว่างแคว้นต่างๆในขณะที่แต่ละแคว้นมีการอ่านที่แตกต่างไป และทำให้เกิดการกล่าวหากันเกี่ยวกับความผิดพลาด

ผู้รวบรวม : เซด บิน ษาบิต, อับดุลลอฮ์ บิน ซุเบร, ซะอีด บิน อาซ, อับดุลเราะห์มาน บิน ฮาริส

วิธีการ : คัดลอกสิ่งที่ท่านอบูบักรได้รวบรวมไว้ในคัมภีร์ต่างๆ พร้อมกับยกเลิกการอ่านเหล่านั้น คงเหลือไว้เฉพาะการอ่านของกุเรช  และส่งไปยังแคว้นต่างๆ

 

ประโยชน์ต่างๆที่ได้รับ

            รายงานฉบับนี้เป็นการให้ความสำคัญแบบฉบับของท่านนบีมูฮำมัด  และบรรดาศอฮาบะฮ์ของท่าน ในความพยายามที่จะรักษาไว้ซึ่งธรรมนูญของอิสลามซึ่งจำเป็น และควรค่าแก่การรักษาไว้แก่ชนรุ่นต่อๆไปในภายภาคหน้า รายงานฉบับนี้ยังได้รวบรวมไว้ซึ่งประโยชน์อันมากมาย ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้  

     1. ในสมัยท่านนบี  อายาตต่างๆได้กระจัดกระจายอยู่ตามแผ่นจารึกต่างๆ ได้แก่ แผ่นหิน หนังสัตว์ ก้านอินทผลัม และ อื่นๆ

     2. อัลกุรอาน ซึ่งเราได้อ่านกันอยู่ทุกวันนี้ ได้ถูกบันทึกทั้งหมดตั้งแต่สมัยท่านนบี   แต่ไม่ได้มีการบันทึกเป็นเล่มๆอย่างทุกวันนี้

     3. ทำให้เราเข้าใจความหมายของ อัลกุรอาน ทั้งทางด้านภาษา และทางด้านวิชาการ

     4. อัลกุรอานถือเป็นหนึ่งในบรรดามั๊วะญิซาตต่างๆที่ได้ถูกปกป้องรักษา จากการบิดเบือนตั้งแต่สมัยท่านนบี  จวบจนปัจจุบัน และอนาคต

     5. ขั้นตอนการรวบรวม อัลกุรอาน แบ่งออกเป็นสามขั้นตอน  ในสมัยท่านนบี   ท่านอบูบักร และท่านอุษมาน

     6. ทำให้เข้าใจถึงเหตุผลต่างๆที่ไม่มีการรวบรวม อัลกุรอานในสมัยท่านนบี

     7. การรวบรวม อัลกุรอานในสมัยท่านอบูบักรเพราะเกรงว่า อัลกุรอานจะสูญสลายไปพร้อมกับบรรดาชุฮาดาอ์ในสงคราม

     8. การรวบรวม อัลกุรอานในสมัยท่านอุษมานเพราะเกรงกลัวฟิตนะห์ที่จะเกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางด้านการอ่าน

     9. ท่านเซด บิน ษาบิต คือผู้รวบรวม อัลกุรอาน ในสมัยท่านอบูบักร และเช่นเดียวกับที่เป็นหนึ่งในผู้ที่มีส่วนร่วมในการรวบรวม  อัลกุรอานในสมัยท่านอุษมาน

     10. หากมีการขัดแย้งกันเกี่ยวกับการอ่านในสมัยท่านอุษมานให้ยึดเอาสำเนียงการอ่านของกุเรชเป็นเกณท์ชี้ขาด

     11. จากบรรดาผู้ที่มีส่วนร่วมในการรวบรวม อัลกุรอานในสมัยท่านอุษมาน ได้แก่ เซด บิน ษาบิต, อับดุลลอฮ์ บิน ซุเบร, ซะอีด บิน อาซ, อับดุลเราะห์มาน บิน ฮาริส


                รายงานฉบับนี้จะไม่สำเร็จลงโดยปราศจากความช่วยเหลือของพระองค์อัลลอฮ์  ขอให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากข้อมูลต่างๆที่ได้ค้นคว้า และเกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้ด้วยเถิด อามีน

 

 


 

บรรณานุกรม
* القرآن الكريم
1. ابن العربي، القاضي أبي بكر، 2011م، العواصم من القواصم في تحقيق مواقف الصحابة بعد وفاة النبي  ، ط5، دار الكتب العلمية : لبنان.
2. أبو الحسن، مسلم بن الحجاج النيسابوري،1430 هـ/2009م، صحيح مسلم، اعتنى به: ياسر حسن، ط1، مؤسسة الرسالة ناشرون: دمشق .
3. أبو داود، سليمان بن الأشعت السجستاني، د.ت. سنن أبي داود، اعتنى به: بيت الأفكار الدولية، د.ط، د.م: بيت الأفكار الدولية.
4. أبو الخيل، محمد ابراهيم. 1430ه/ 2009م، تاريخ خلفاء الراشدين، ط1، دار الفضيلة: الرياض.
5. ابن الخطيب، 1980م، الفرقان، بيروت: دارالكتب العلمية.
6. ابن منظور، محمد بن مكرم، د.ت، لسان العرب، د.ط، القاهرة: دار المعارف.  
7. البخاري، الإمام أبي عبد الله محمد، د.ت، الجامع المسند الصحيح المختصر من أمور ر سول الله وسننه أيامه، د.ط، د.مط: دار طوق النجاة.
8. جمعية خريجي الجامعات والمعاهد بتايلند، 1419 هـ، القرآن الكريم وترجمة معانيه إلى اللغة التايلندية، د.ط، مجمع الملك فهد للطباعة المصحف الشريف: المدينة المنورة.
9. الحسن، محمد علي، 1998م/ 1419 هـ، المنار في علوم القرآن، الطبعة الأولى، بيروت: دارالفكر العربي.
10. الحفيان، أحمد محمود عبدالسميع، 2003م/1424هـ، التجديد في الإتقان والتجويد، بيروت: دارالكتب العلمية.
11. الدوسري، محمود بن أحمد، 1428 هـ، عظمة القرآن الكريم، ط1، الرياض : دار ابن الجوزي .
12. الزرقاني، محمد عبدالعظيم، 1988م/1408هـ، مناهل العرفان في علوم القرآن، ط1، بيروت: دارالفكر.
13. الزركشي، بدرالدين محمد بن عبدالله،1427 هـ/2006م، تحقيق: أبي الفضل الدمياطي، البرهان في علوم القرآن، د.ط، القاهرة: دار الحديث.
14. صفوان عدنان، د.ت، زيد بن ثابت كاتب الوحي و جامع القرآن، د.ط، د.م.
15. الطيار، مساعد سليمان. 1429 هـ / 2008م، المحرر في علوم القرآن، ط2، مركز الدراسات والمعلومات القرآنية: جدة.
16. القطان، مناع خليل، 1393هـ/1973 م، المباحث في علوم القرآن، د.ط، الرياض: منشورات العصر الحديث.
17. سامي بن عبدالله المغلوث، 1428 هـ/2007م، أطلس الخليفة أبي بكر الصديق، ط3، الرياض : العبيكان .
18. سامي بن عبدالله المغلوث، 1429 هـ/2008م، أطلس حروب الردة، ط1، الرياض : العبيكان .
19. العمري، أكرم ضياء، 1430 هـ/2009م، عصر الخلافة الراشدة، ط6، العبيكان : الرياض.
20. مهدي رزق الله، 1424 هـ، السيرة النبوية في ضوء المصادر الأصلية، ط2، دار إمام الدعوة: الرياض.