บทบาทของนักวิชาการในการรักษาอัลกรุอานและอัลหะดีษ
  จำนวนคนเข้าชม  6279

บทบาทและแนวทาง(มัสฮับ)ที่อันตราย

ในการทำลายอัล-กรุอานและอัล-หะดีษ  (6)

โดย ...สุดารัตน์ สาดและ


บทบาทของบรรดาศอฮาบะห์และนักวิชาการอิสลามในการรักษา อัลกรุอาน และอัลหะดีษ

         ในการรักษาอัลกุรอานและฮาดิษนั้นเป็นสิ่งที่ยากที่สุดที่มนุษย์ธรรมดาจะกระทำได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะทำไม่ได้ ในสมัยเริ่มแรกของอิสลามที่ท่านนบีมุฮัมมัด เผยแพร่สัจธรรม มีผู้ที่เข้ารับศาสนาอิสลามเพียงไม่กี่คน ต่อมาได้มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในหน้าประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่า บรรดาสหายของท่านนบีมุฮัมมัด  นั้นมีจำนวนไม่ต่ำกว่าแสน โดยบรรดาซอฮาบะฮฺต่างมีบทบาทในการรักษาอัลกุรอานที่แตกต่างกันไป

         ในช่วงแรกมีบัญชาให้ญิบริลนำวะฮฺยูมาให้นบีมุฮัมมัด ท่องจำ จากนั้นนบีมุฮัมมัด ได้ประกาศแก่บรรดาสหายของท่าน เมื่อบรรดาซอฮาบะฮฺได้ยินแล้วก็พากันจดจำอายะฮฺต่างที่ได้ลงมา บ้างก็บันบึกไว้ตามหนังสัตว์ บ้างก็บันทึกไว้ตามแผ่นไม้ นี่คือการบันทึกช่วงยุคต้นในการรักษาอัลกุรอาน

         จากนั้นมีการท่องจำฮาดิษ และมีการจะบันทึกฮาดิษ ด้วยความกังวลว่าจะมีการปะปนระหว่างคำพูดของนบี และพระดำรัสของอัลลอฮ จึงมีคำสั่งให้หยุดการบันทึกฮาดิษและให้ใช้การจดจำเพียงเท่านั้น โดยให้มีแค่การจดบันทึกอัลกุรอานเพียงอย่างเดียว บรรดาซอฮาบะฮฺก็พากันทำตามคำสั่งท่านศาสดาอย่างเคร่งครัด เสมือนว่าหากไม่สามารถป้องกันปะปนของอัลกุรอานและฮาดิษได้แล้วล่ะก็ชีวิตนี้ก็คงไม่มีค่าใดเหลืออีกเลย ต่อมาเมื่อท่านนบี  เสียชีวิตลง เกิดสงตรามริดดะฮฺ ผู้ที่ท่องจำอัลกุรอานเสียชีวิตจำนวนมาก จึงมีความเห็นจากซอฮาบะฮฺ ให้มีการรวบรวมอัลกุรอานขึ้นมา นี่เป็นอีกหนึ่งบทบาทสำคัญของบรรดาซอฮาบะฮฺของท่านบีมุฮัมมัด ที่มีความกังวลว่าอัลกุรอานจะไม่มีการสืบทอดไปยังคนรุ่นหลัง

อิมามบุคอรีย์รายงานเรื่องนี้ไว้ในประมวลวจนะของท่านโดยยึดคำบอกเล่าซัยด์ ซาบิต ว่า

         เมื่อรายงานเกี่ยวกับผู้เสียชีวิตในสงครามยะมามะฮ์ถูกส่งถึงอบูบักรนั้น อุมัรได้รับรู้รายงานนั้นด้วย เขาบอกกับคอลีฟะฮ์อบูบักรว่า "สงครามยะมามะฮ์คร่าชีวิตคนไปจำนวนมาก ข้าเกรงว่าหลายครั้งเข้า ผู้ท่องจำอัลกุรอานก็จะล้มหายตายไปหมด อัลกุรอานก็จะหายไปด้วย ข้าเห็นว่าต้องรวบรวมอัลกุรอานไว้ในทีเดียวเท่านั้น"

คอลีฟะฮ์อบูบักรบอกว่า “จะให้ข้าทำสิ่งที่บรมศาสดาไม่เคยทำได้อย่างไร ?

 แต่อุมัรก็เฝ้ารบเร้าว่า นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดจนในที่สุดอัลลอฮฺ ก็ทรงเปิดใจให้อบูบักรเห็นไปในทำนองเดียวกับอุมัร เขาเรียกซัยด์ มาหาและบอกกับซัยด์ว่า

“เจ้าคนหนุ่มที่มีความคิด ไม่มีข้อกล่าวหาใดติดตัว เคยบันทึกโองการแห่งอัลลอฮฺให้แก่บรมศาสดา ข้าอยากให้เจ้าติดตามเอาอัลกุรอานทั้งหมดมารวมกันไว้ที่เดียว”

ซัยด์ รำพึงว่าให้เขาเคลื่อนย้ายภูเขาสักลูกหนึ่ง ก็ยังไม่หนักเท่ากับท่านทั้งสองทำสิ่งที่บรมศาสดา ไม่เคยทำได้อย่างไร?

 อบูบักร บอกว่า "ยืนยันว่านั่นเป็นสิ่งที่ดี" ซัยด์ไปหาอบูบักรอยู่หลายครั้งจนอัลลอฮฺได้ทรงเปิดใจให้เขาเห็นเช่นเดียวกับที่ผู้อาวุโสทั้งสองเห็น

         หลังจากที่มีการรวบรวมอัลกุรอานเพื่อที่จะรักษาไว้ซึ่งบทบัญญัติอิสลามให้ยังคงอยู่ต่อไปแล้ว เหล่าซอฮาบะฮฺมอบให้อบูบักรเก็บอัลกุรอานไว้ และหลังจากที่อบูบักรเสียชีวิต อัลกุรอานก็ได้ถูกเก็บไว้ที่ ท่านอุมัร บินคอตตอบ และเมื่อท่านอุมัรเสียชีวิต จึงได้เก็บใว้ที่ ฮัฟเซาะฮฺ บุตรของท่านอุมัร ภรรยาของท่านนบี ต่อมามีการขยายตัวของอิสลามมากขึ้น อิสลามได้เผยแพร่ไปทุกทิศทาง การอ่านอัลกุรอานจึงมีสำเนียงการอ่านไม่ตรงกัน อุษมานเกรงว่าจะมีปัญหาจนอาจก่อให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกัน แล้วจะนำมาสู่ความขัดแย้งในอนาคตได้ จึงประกาศให้อ่านอัลกุรอานเป็นสำเนียงเดียวกันทั้งหมด และได้เรียกเก็บที่มีสำเนียงต่างกัน การอัลกุรอานอ่านสำเนียงเดียวกันนี้ จึงนำมาสู่ความเป็นเอกภาพในประชาชาติอิสลามจนถึงปัจจุบัน

         นอกจากบรรดาซอฮาบะฮฺจะมีบทบาทสำคัญในการรวบรวมอัลกุรอานแล้ว พวกเขายังมีบทบาทโดดเด่นในการรวมอัลกุรอานด้วย ด้วยซอฮาบะฮฺทุกท่านมีความศรัทธาและความรักต่อท่านนบีมุฮัมมัด  มาก พวกเขาเชื่อฟังรอซูลแห่งอัลลอฮฺจนหมดหัวใจ ถึงขนาดที่หากมีเหตุขัดข้องไม่ว่าเรื่องเล็กน้อยขนาดไหน บรรดาซอฮาบะฮฺก็จะต้องไปถามท่านนบีมุฮัมมัด และจะจำในสิ่งที่ท่านสอนอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง แล้วก็จะบอกต่อกัน เพื่อให้บรรดาซอฮาบะฮฺคนอื่น ๆ ได้ปฏิบัติตาม บทบาทของซอฮาบะฮฺในการรักษาฮาดิษนั้นมีมากมาย ขนาดที่ซอฮาบะฮฺบางท่านติดตามนบี เสมือนเงาติดตามตัว คอยดูว่าท่านนบีมุฮัมมัด ทำอะไร เพื่อที่จะจดในสิ่งที่ นบีสอน นบีพูด นบีทำ

         ตัวอย่างที่น่าจดจำในกรณีนี้ก็คือ ท่านอบูฮูรอยเราะฮฺ ขณะที่นบีมุฮัมมัด  ยังมีชีวิตอยู่ ท่านอบูฮุรอยเราห์จะอยู่กับนบีมุฮัมมัด  แทบไม่ห่าง เมื่อท่านนบี เสียชีวิต อบูฮุรอยเราะห์ถึงกับกล่าวว่า ทีนี้ฉันจะทำอย่างไรเมื่อนบี  ได้เสียชีวิตไปแล้ว เพราะฉันไม่เคยทำอะไรนอกจากการติดตามนบี  แล้วจดจำในสิ่งที่ นบี  กระทำ นบี  พูด นบี  สอน

         หลังจากท่านนบีมุฮัมมัด กลับคืนสู่ความเมตตาของอัลลอฮฺ บรรดาซอฮาบะฮฺได้ถูกส่งไปยังหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อไปเผยแผ่ศาสนาอิสลาม ดังนั้นการเดินทางเพื่อตามหาฮาดิษจึงเกิดขึ้นโดยในยุคซอฮาบะห์นั้น


 พวกเขาจะเดินทางหาฮาดิษด้วยสาเหตุ 2 ประการ คือ

1.) เพื่อฟังฮาดิษที่ตัวเองไม่ได้ฟังจากท่านรอซูล

2.) เพื่อหาความมั่นใจในฮาดิษที่ตัวเองจดจำจากท่านรอซูล และไม่มีคนอื่นจดจำในเมืองของเขา เขาจึงต้องเดินทางไปหาผู้จดจำฮาดิษนั้น ๆ ยังต่างหัวเมืองเพื่อความมั่นใจในฮาดิษ