การสารภาพผิดต่อบิดามารดา
  จำนวนคนเข้าชม  7656

การสารภาพผิดต่อบิดามารดา


คำถาม

          ฉันเคยทำผิดต่อพระเจ้า ( อัลลอฮ์ ) และด่าทอ สาปแช่งต่อบิดา มารดาของฉัน ต่อมาฉันเสียใจมากต่อความผิดที่ได้กระทำ พยายามที่จะขอให้บิดา มารดาฉันให้อภัยต่อฉัน แต่เป็นที่เสียดายฉันไม่มีโอกาสได้ขออภัยต่อท่านทั้งสอง ฉันจะถูกโทษเข้านรกหรือไม่ ?


มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์


คำตอบ

           เมื่อใดที่ท่านได้ทำการเตาบัต( สารภาพผิด ) ด้วยการเตาบัตที่ถูกต้อง อัลเลาะฮ์จะทรงอถัยโทษให้แก่ท่าน แต่จำเป็นต่อท่านจะต้องขออภัยโทษต่อพ่อแม่ทั้งสองด้วย เพราะการด่าทอ สาปแช่งต่อพ่อแม่ ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ ซึ่งกฎเกณข้อหนึ่งของการสารภาพผิด สำหรับผู้ที่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นก็คือ ต้องขออภัยจากผู้ที่เป็นเจ้าของสิทธินั้น และจำเป็นเหนือท่านที่จะต้องทำความดี แสดงความอ่อนโยน และนอบน้อมต่อท่านทั้งสอง จนกระทั่งท่านทั้งสองพอใจและอภัยให้กับท่าน ซึ่งดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

อนึ่ง สำหรับการสาปแช่งพ่อ แม่ เป็นบาปที่ใหญ่หลวงยิ่ง ท่านศาสดา ได้กล่าวว่า...

قال صلى الله عليه وسلم: "لَعَنَ الله مَن لَعنَ والديه". قالوا: وكيف يلعن الرجلُ والديه؟ قال: "يلعنُ أبا الرَّجل فيلعنُ أباهُ، ويلعنُ أمَّهُ فيلعنُ أمَّه" [رواه الإمام مسلم في "صحيحه" (1/92)

“อัลลอฮฺจะสาปแช่งผู้ที่สาปแช่งบิดามารดา"

 เหล่าศอฮาบะห์จึงถามท่านว่า คนหนึ่งจะสาปแช่งบิดามารดาของตนเองได้อย่างไร?

ท่านศาสดา ตอบว่า "โดยที่คนหนึ่งได้ด่าทอ สาปแช่งบิดา มารดาของอีกคนหนึ่งเป็นเหตุให้อีกคนหนึ่งด่าทอ สาปแช่งคืน ”

รายงานโดยมุสลิม


อีกทั้งพระองค์อัลลอฮฺ ได้ตรัสความว่า ...

وَإِنِّي لَغَفَّارٌ لِّمَن تَابَ وَآمَنَ وَعَمِلَ صَالِحًا ثُمَّ اهْتَدَى} [طه: 82.]


“ และแท้จริงข้าเป็นผู้ให้อภัยยิ่งนัก แก่บุคลที่สารภาพผิด อีกทั้งมีศรัทธา และประพฤติแต่ความดี หลังจากนั้นเขาก็ได้รับการชี้นำ"

( ซูเราะห์ฎอฮา อายะห์ 82)


และพระองค์ได้ดำรัสอีกความว่า

{قُلْ يَا عِبَادِيَ الَّذِينَ أَسْرَفُوا عَلَى أَنفُسِهِمْ لا تَقْنَطُوا مِن رَّحْمَةِ اللَّهِ إِنَّ اللَّهَ يَغْفِرُ الذُّنُوبَ جَمِيعًا} [الزمر: 53.]،..

 “ จงประกาศเถิด โอ้มวลบ่าวของข้า ซึ่งฟุ้งเฟ้อแก่ตัวเอง ( ด้วยการทำบาป) พวกเจ้าอย่าได้ท้อแท้ในเมตตาธรรมของอัลลอฮฺ

เพราะแท้จริง อัลลอฮฺทรงอภัยโทษทั้งมวล แท้จริงพระองค์ทรงให้อภัยยิ่ง อีกทั้งทรงเมตตายิ่ง"


กฎเกณฑ์การสารภาพผิด

        หากความผิดที่กระทำ เป็นความผิดระหว่างบ่าว กับพระองค์อัลเลาะฮ์ ( ไม่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษย์ ด้วยกัน ) จำต้องปฏิบัติ สาม ข้อ

1. ต้องถอนตัว ห้ามกระทำความผิดอีก

2. ต้องเสียใจ เศร้าใจ ในการกระทำผิดครั้งนี้

3. ต้องตั้งใจอย่างแน่วแน่แล้วว่า ไม่หวนกลับไปกระทำอีกตลอดไป


          ข้อควรระวัง ! ถ้าหากไม่ครบตามสามกฏเกณฑ์นี้ ถึอว่า การสารภาพผิดไม่เป็นผล  หากความผิดที่กระทำเป็นความผิด ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ เพื่อนมนุษย์ ด้วยกัน เช่น การด่าทอ สาปแช่งผู้อี่น การลักเล็กขโมยน้อย นินทา ฯลฯ จำต้องเพิ่มอีกกฏเกณฑ์หนึ่ง คือ ถ้าด่าทอ สาปแช่งพ่อแม่ คนอื่น จำต้องขอให้เขายกโทษให้ ถ้าลักเล็กขโมยน้อย ทรัพย์ผู้อื่น จำต้องส่งคืนทรัพย์ที่ขโมยมาให้กับเขา ถ้าเกิดนินทาผู้อื่น จำต้องขอให้เขาฮาลาล ( อภัยให้ ) ฯลฯ เป็นต้น


          ข้อควรระวัง ! หากเกิดมีความผิดหลายความผิด จำต้องสารผิดให้หมด ( ถ้าสามารถนึกได้ จำได้ แต่ละความผิด ) หากเกิดสารภาพผิดเพียงครึ่งหนี่ง หรือ สองสาม ความผิด แน่นอนความผิดที่สำนึก จะได้รับการอภัยให้ ( หากกระทำตามกฏเกณฑ์ ที่กล่าวมา ) แต่ความผิดที่ยังไม่สำนึก ไม่สารภาพผิด ยังคงถือว่า ยังไม่ได้รับการอภัย


          ดังนั้น ท่านอย่าได้หมดหวังในความเมตตาของอัลลอฮฺ  จงสำนึกผิดต่ออัลลอฮฺ และจงทำความดีต่อพ่อแม่ ซึ่งแน่นอนอัลลอฮฺจะไห้ความเมตตาเกิดขึ้นในใจของพ่อแม่ ที่จะให้อถัยโทษแก่ท่านในที่สุด อินชาอัลลอฮฺ

 

 

โรงเรียนมิฟตาฮุ้ลอุลูมิดดีนียะห์  บ้านดอน