เราจะเชื่อใครเมื่อนักวิชาการตัดสินปัญหาไม่เหมือนกัน !
  จำนวนคนเข้าชม  15539

เราจะเชื่อใครเมื่อนักวิชาการตัดสินปัญหาไม่เหมือนกัน !


          สิ่งแรกที่ต้องชี้แจงคือเงื่อนไขของผู้ที่จะสามารถชี้ขาดปัญหาศาสนา สิ่งที่จะชี้ว่าเนักวิชาการที่สามารถเชื่อและตามคำพูดของเขาได้เมื่อมีการตัดสินปัญหาที่คำตัดสินนั้นไม่ตรงกัน    ซึ่งมีหลายเงื่อนไขด้วยกัน แต่ที่สำคัญที่สุดมีสองเงื่อนไขคือ


          1. ต้องมีความรู้ทางด้านศาสนา  เพราะผู้ชี้ขาดปัญหาศาสนานั้น จะต้องเชี่ยวชาญในข้อบัญญัติของอัลลอฮ์ จะเป็นไปได้ไงที่จะวินิจฉัยจากบัญญัติของอัลลอฮ โดยที่เขาไม่มีความเชี่ยวชาญ


          2. ต้องความเป็นกลาง เขาต้องมั่นคงในทุกๆสภาพการณ์ตลอดเวลา มีความบริสุทธ์ใจไร้รอยด่างพร้อยในเรื่องของการรับผิดชอบ(อามานะห์) และนักวิชาการเห็นพ้องกันว่าคนที่ไม่เคร่งครัดในศาสนา(ฟาสิก)นั้นเราไม่รับการตัดสินปัญหาศาสนาของเขาถึงแม้เขาจะมีความรู้ก็ตาม 

         ดังที่ท่าน อัลคอตีบ อัลบักดาดี ได้พูดชัดๆไว้ว่า ใครที่มีสองเงื่อนไงนี้เขาก็เป็นนักวิชาการที่เชื่อถือได้ ส่วนใครที่ไม่มีสองเงื่อนไขนี้ คำตัดสินของเขาก็เชื่อถือไม่ได้ และคนที่ไม่มีความรู้และไม่มีความเป็นกลางในคำพูดของเขาก็เชื่อไม่ได้เหมือนกัน (หนังสือเมื่อนักวิชาการขัดแย้งกันและและสาเหตุกับการวางตัวของเราของเชค อุซัยมีนหน้า 23)

 

มุสลิมจะอยู่ตรงไหนเมื่อนักวิชาการที่มีคุณสมบัติดังที่กล่าวมาขัดแย้งกัน?


         หากมุสลิมคนนั้นพอมีความรู้ที่จะสามารถค้นหาหลักฐานจากการขัดแย้งของบรรดานักวิชาการเหล่านั้นได้ จำเป็นต่อเขาต้องหาข้อสรุปด้วยตัวเองเพราะอัลลอฮ  บอกว่าเมื่อเกิดการขัดแย้งต้องกลับไปที่ อัลกุรอานและซุนนะห์

فَإِنْ تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللَّهِ وَالرَّسُولِ إِنْ كُنتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرالنساء/59

“ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในเรื่องหนึ่งเรื่องใดจงกลับไปยังอัลลอฮและรอซู้ล หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮและวันสุดท้าย”

(นิสาอ์ / 59 )


          ดังนั้นจงนำปัญหาที่ขัดแย้งกันไปหาคำตอบที่กุรอานและซุนนะห์ หาข้อสรุปด้วยหลักฐานที่มีอยู่ในนั้น เพราะจำเป็นต่อเราที่ต้องทำตามอัลกุรอานละซุนนะห์และคำพูดของนักวิชาการที่ได้ใช้ความพยายามในการเข้าใจตัวบทหลักฐานนั้นๆ แต่ถ้าหากมุสลิมคนนั้นไม่มีความรู้ที่จะหาข้อสรุปเองได้ เขาก็ต้องไปถามนักวิชาการที่เขาเชื่อใจว่ามีความรู้ และเคร่งครัดในศาสนาไห้หาข้อสรุปให้ ดั่งที่อัลลอฮ ได้ตรัสความว่า

  فَاسْأَلُوا أَهْلَ الذِّكْرِ إِنْ كُنْتُمْ لا تَعْلَمُونَ ) الأنبياء/43

“สูเจ้าทั้งหลายจงถามบรรดาคนมีความรู้ หากสูเจ้าทั้งหลายไม่รู้”

(อัลอัลบิยาอ / 42)


           เมื่อนักวิชาการขัดแย้งกันมุสลิมต้องตามคนที่น่าเชื่อถือและมีความรู้มากที่สุด เหมือนดังหากคนหนึ่งป่วยเขาต้องค้นหาหมอทีน่าเชื่อถือและมีความรู้ที่สุดและไปหาหมอคนนั้นเพราะเขาน่าจะรักษาได้ดีที่สุด เรื่องศาสนานั้นสำคัญกว่าเรื่องดุนยาจึงต้องใช้ความรอบครอบให้มากๆ

          ไม่อนุญาตให้มุสลิมไปเชื่อตามคำพูดของนักวิชาการที่เฉพาะถูกใจ ทั้งๆที่ขัดต่อหลักฐานที่มีอยู่ และอย่าไปขอไห้ผู้ที่ไม่รับผิดชอบต่อการตัดสิน(ตอบมั่วๆบางทีแต่ละครั้งแตกต่างกัน ผู้แปล)มาตัดสินปัญหา มุสลิมต้องให้ความสำคัญต่อศานาของเขาต้องไปถามคนที่มีความรู้ที่สุดและเคร่งครัดในศาสนาที่สุดและดีที่สุด(หนังสือเมื่อนักวิชาการขัดแย้งกันและและสาเหตุกับการวางตัวของเราของเชค อุซัยมีนหน้า 26-25)
‍‍

          เหมาะสมที่สุดสำหรับคนที่มีความคิด ต้องรอบครอบในร่างกายของเขา ถ้าจะหาหมอรักษาโรคเขาต้องไปหาหมอที่ชำนาญที่สุดถึงแม้จะอยู่ไกลสักหน่อยและจ่ายแพงสักนิดแต่พอเรื่องศาสนากลับทำเป็นไม่สนใจหรือ? หรือไม่ไห้ความสำคัญนอกจากตามอารมณ์ของเขา แสวงหาข้อตัดสินแบบง่ายๆสบายๆถูกใจตัวเองถึงแม้จะขัดกับสัจธรรมของอิสลามเพราะคนบางคนไปถามผู้รู้คนหนึ่ง เมื่อคำตัดสินไม่ถูกใจเขาเขาก็ไปถามคนอื่นอีกถามไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้เจอคนตอบคำตอบที่ถูกใจและต้องการ( ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮไห้พ้นจากการเป็นบุคคลประเภทนี้)

          แต่ทว่าบรรดานักวิชาการเมื่อมีปัญหาเขาจะทำการวินิจฉัยถึงแม้ไม่ถูกต้อง แต่การวินิจฉัยที่พลาดก็ไม่เป็นความผิดแถมยังได้รับผลบุญอีกด้วยดังท่านนบีบอกว่า

إِذَا حَكَمَ الْحَاكِمُ فَاجْتَهَدَ ثُمَّ أَصَابَ فَلَهُ أَجْرَانِ ، وَإِذَا حَكَمَ فَاجْتَهَدَ ثُمَّ أَخْطَأَ فَلَهُ أَجْرٌ ) البخاري (7352) ومسلم (1716) .

“เมื่อผู้ตัดสินได้ตัดสินเขาได้วินิจฉัย ถ้าถูกต้องเขาได้สองผลบุญ เมื่อตัดสินและวินิจฉัยผิดเขาได้หนึ่งผลบุญ”

(บุคอรี 73452 มุสลิม 1716)


          ไม่อนุญาติให้มุสลิมตามการวินิจฉัยของบรรดานักวิชาการที่วินิจฉัยไว้ผิด เพราะถ้าเขาตามเขาต้องรับความชั่วไว้ทั้งหมดคนเดียว ด้วยเหตุนี้บรรดานักวิชาการได้บอกว่า ใครไปตามสิ่งที่นักวิชาการขัดแย้งกันและไปยึดเอาสิ่งที่ถูกยกเว้น(คือวินิจฉัยผิดแต่ไม่ได้รับโทษ)เขาก็เป็นมุนาฟิกหรือเกือบเป็น (หนังสือ อิฆอซาห์ อัลลุห์ฟานเล่ม1หน้า327)


     ขอดุอาอต่ออัลลอฮ โปรดทรงนำทางเราและไห้เราได้รับแต่ความรู้ที่มีประโยชน์และการงานที่ถูกตอบรับด้วยเถิด

 

แปลจาก www.islam-qa.com โดย เชคมูฮัมมัด ซอและห์ อัลมุนยิด

แปลโดย      شريف الريس