อะญัล(อายุขัย)และริสกี(โชคลาภหรือปัจจัยยังชีพ) 2
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
จงพิจารณาหะดีษที่เกี่ยวข้องกับมารยาทการขอดุอาอ์บทนี้ซึ่งมาสนับสนุนข้อเท็จจริงดังกล่าวว่า
รายงานจากท่านหญิง อุมมุ หะบีบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า นางได้กล่าว(ดุอาอ์)ว่า
“โอ้อัลลอฮฺขอให้ฉันได้มีความสุข(นานๆ)กับสามีของฉัน ท่านเราะสูลุลลอฮฺ พ่อของฉัน อบู สุฟยาน และพี่ชายของฉัน มุอาวิยะฮฺ”
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่นางว่า
«لَقَدْ سَأَلْتِ اللَّهَ لآجَالٍ مَضْرُوبَةٍ، وَآثَارٍ مَوْطُوءَةٍ، وَأَرْزَاقٍ مَقْسُومَةٍ، لاَ يُعَجِّلُ شَيْئًا مِنْهَا قَبْلَ حِلِّهِ، وَلاَ يُؤَخِّرُ مِنْهَا شَيْئًا بَعْدَ حِلِّهِ، وَلَوْ سَأَلْتِ اللَّهَ أَنْ يُعَافِيَكِ مِنْ عَذَابٍ فِى النَّارِ وَعَذَابٍ فِى الْقَبْرِ لَكَانَ خَيْرًا لَكِ» [مسلم برقم 2663]
“แท้จริง เธอได้ขอจากอัลลอฮฺในอายุขัยที่ถูกกำหนดไว้แล้ว รอยเท้าที่ถูกย่ำเดินแล้ว(เดินตามสิ่งถูกกำหนดไว้แล้ว) และริสกีที่ถูกแบ่งปันเรียบร้อยแล้ว
ไม่อาจจะรีบเร่งสิ่งใดก่อนถึงเวลาของมัน และไม่อาจทำให้สิ่งใดล่าช้าลงหลังจากที่ถึงเวลาของมัน
ถ้าหากว่าเธอขอให้ปลอดภัยจากการลงโทษในไฟนรก และการลงโทษในสุสาน นั่นย่อมดีจะกว่าสำหรับเธอเสียอีก“
(เศาะฮีหฺ มุสลิม เล่มที่ 4 หน้าที่ 2051 หะดีษหมายเลข 2663)
จากสิ่งที่ผ่านมาประจักษ์ชัดซึ่งสิ่งต่อไปนี้
สิ่งแรก การศรัทธามั่นว่าอายุขัยและริสกีนั้นถูกจัดสรรแบ่งปันเรียบร้อยและเป็นที่รู้แจ้งแล้ว ไม่อาจเร่งรีบโดยผู้ที่ต้องการเร่งรีบ และไม่อาจปฏิเสธทั้งสองโดยความเกลียดชังของผู้ที่เกลียดชังได้
สิ่งที่สอง ข้อเท็จจริงข้างต้นนี้ไม่ได้ปิดกั้นหรือปฏิเสธการทำตามมูลเหตุ(อัสบาบ) ที่อัลลอฮฺได้บัญญัติให้ยึดถือปฏิบัติ
อัลลอฮฺตะอาลาได้ตรัสความว่า
﴿ وَأَنفِقُواْ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ وَلَا تُلۡقُواْ بِأَيۡدِيكُمۡ إِلَى ٱلتَّهۡلُكَةِ وَأَحۡسِنُوٓاْۚ إِنَّ ٱللَّهَ يُحِبُّ ٱلۡمُحۡسِنِينَ ١٩٥ ﴾ [البقرة: ١٩٥]
“และพวกเจ้าจงบริจาคในทางของอัลลอฮฺและจงอย่าโยนตัวของพวกเจ้าสู่ความพินาศ และจงทำดีเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงชอบผู้กระทำดีทั้งหลาย”
(สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ 195)
สิ่งที่สาม จากหะดีษ อบู อุมามะฮฺ ที่ผ่านมาส่งสัญญาณถึงสองประการคือ
ประการแรก บ่าวจะต้องดำเนินการหาปัจจัยยังชีพที่หะลาล และหลีกเลี่ยงปัจจัยยังชีพที่หะรอม และมูลเหตุหรืออัสบาบที่นำสู่สิ่งที่หะรอม
ประการที่สอง ต้องไม่ขวนขวายหาปัจจัยยังชีพด้วยความตะกละและละโมบ
พึงรำลึกถึงคำพูดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า
«مَنْ كَانَتْ الْآخِرَةُ هَمَّهُ؛ جَعَلَ اللَّهُ غِنَاهُ فِي قَلْبِهِ، وَجَمَعَ لَهُ شَمْلَهُ وَأَتَتْهُ الدُّنْيَا وَهِيَ رَاغِمَةٌ، وَمَنْ كَانَتْ الدُّنْيَا هَمَّهُ؛ جَعَلَ اللَّهُ فَقْرَهُ بَيْنَ عَيْنَيْهِ، وَفَرَّقَ عَلَيْهِ شَمْلَهُ، وَلَمْ يَأْتِهِ مِنْ الدُّنْيَا إِلَّا مَا قُدِّرَ لَهُ» [الترمذي برقم 2465، وصححه الألباني كما في صحيح الجامع الصغير برقم 6516]
“ผู้ใดที่อาคิเราะฮฺ คือสิ่งที่เขาปรารถนาและมุ่งมั่นง่วนอยู่กับมัน อัลลอฮฺจะให้ความร่ำรวยอยู่ในใจของเขา ทรงรวบรวมสำหรับเขาซึ่งงานต่างๆ(คือให้เกิดความสะดวกและง่ายสำหรับเขา)และดุนยา(สิ่งต่างๆ)จะมาหาเขาโดยที่มันถูกบังคับให้มาหา(คือได้มาด้วยความง่าย)
และผู้ใดที่ดุนยาคือสิ่งที่เขาปรารถนาและมุ่งมั่นขวนขวายง่วนอยู่กับมัน อัลลอฮฺจะให้ความยากจนอยู่ต่อหน้าเขา ทรงให้สิ่งที่รวมอยู่แยกกระจัดกระจายจากเขา(คือทำให้ยุ่งยาก) เขาจะไม่ได้รับดุนยายกเว้นเท่าที่ถูกกำหนดให้เขาไว้แล้วเท่านั้น“
(สุนัน อัต-ติรมิซีย์ 4/642 หมายเลข 2465 เชค อัล-อัลบานีย์ตัดสินว่าเศาะฮีหฺในเศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ อัศ-เศาะฆีรฺ 2/1111 หมายเลข 6516)
สิ่งที่สี่ อัสบาบหรือปัจจัยมูลเหตุที่จะนำมาซึ่งริสกีและใช้ปกป้องสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ นั้นมีอยู่มากมายนี้คือส่วนหนึ่ง
1- อัต ตะวักกุล (การมอบหมายตนต่ออัลลอฮฺ) รายงานจากท่าน อุมัร บิน อัล-ค๊อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าแท้จริงท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«لَوْ أَنَّكُمْ تَتَوَكَّلُونَ عَلَى اللَّهِ حَقَّ تَوَكُّلِهِ، لَرَزَقَكُمْ كَمَا يُرْزَقُ الطَّيْرُ، تَغْدُو خِمَاصًا وَتَرُوحُ بِطَانًا» [مسند أحمد 1/30]
“หากพวกท่านมอบหมายตนต่ออัลลอฮฺอย่างแท้จริงแล้ว แน่นอนพวกท่านจะถูกให้ริสกี(ปัจจัยยังชีพ)เช่นเดียวกับนกที่ถูกให้ริสกี
โดยที่มันบินออกไปในตอนเช้าในสภาพที่ท้องว่างและกลับมาในตอนเย็นในสภาพที่ท้องอิ่ม”
(มุสนัดอิมาม อะหฺมัด 1/30)
2- ธำรงมั่นอยู่บนศาสนาของอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลลา อัลลอฮฺตรัสความว่า
﴿ وَأَلَّوِ ٱسۡتَقَٰمُواْ عَلَى ٱلطَّرِيقَةِ لَأَسۡقَيۡنَٰهُم مَّآءً غَدَقٗا ١٦ ﴾ [الجن: ١٦]
“และหากพวกเขาธำรงมั่นอยู่บนแนวทางที่เที่ยงธรรม แน่นอนเราก็จะให้พวกเขามีริสกีกว้างขวาง"
(สูเราะฮฺ อัล-ญิน 16)
﴿وَمَن يَتَّقِ ٱللَّهَ يَجۡعَل لَّهُۥ مَخۡرَجٗا ٢ وَيَرۡزُقۡهُ مِنۡ حَيۡثُ لَا يَحۡتَسِبُۚ ﴾ [الطلاق: ٢- ٣]
“และผู้ใดยำเกรงอัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงหาทางออกให้แก่เขา และจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่เขาจากที่ที่เขามิได้คาดคิด"
(สูเราะฮฺ อัฏ-เฏาะลาก 2-3)
﴿ وَلَوۡ أَنَّ أَهۡلَ ٱلۡقُرَىٰٓ ءَامَنُواْ وَٱتَّقَوۡاْ لَفَتَحۡنَا عَلَيۡهِم بَرَكَٰتٖ مِّنَ ٱلسَّمَآءِ وَٱلۡأَرۡضِ﴾ [الأعراف: ٩٦]
“และหากว่าชาวเมืองนั้นได้ศรัทธากันและมีความยำเกรงแล้วไซร้ แน่นอนเราก็จะเปิดให้แก่พวกเขา ซึ่งบรรดาความเพิ่มพูนจากฟากฟ้าและแผ่นดิน"
(สูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ 96)
3- รักษาการขออภัยโทษ(อิสติฆฟารฺ)และการขอลุแก่โทษ(เตาบะฮฺ)อย่างสม่ำเสมอเป็นนิจสิน อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ فَقُلۡتُ ٱسۡتَغۡفِرُواْ رَبَّكُمۡ إِنَّهُۥ كَانَ غَفَّارٗا ١٠ يُرۡسِلِ ٱلسَّمَآءَ عَلَيۡكُم مِّدۡرَارٗا ١١ وَيُمۡدِدۡكُم بِأَمۡوَٰلٖ وَبَنِينَ وَيَجۡعَل لَّكُمۡ جَنَّٰتٖ وَيَجۡعَل لَّكُمۡ أَنۡهَٰرٗا ١٢ ﴾ [نوح: ١٠-١٢]
“ข้าพระองค์(นบีนูหฺ)ได้กล่าวว่า พวกท่านจงขออภัยโทษต่อพระเจ้าของพวกท่านเถิด เพราะแท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยโทษอย่างแท้จริง
พระองค์จะทรงหลั่งน้ำฝนอย่างมากมายแก่พวกท่าน และพระองค์จะทรงเพิ่มพูนทรัพย์สินและลูกหลานแก่พวกท่าน
และจะทรงทำให้มีสวนมากหลายแก่พวกท่าน และจะทรงทำให้มีลำน้ำมากหลายแก่พวกท่าน"
(สูเราะฮฺ นูหฺ 10-12)
4- เชื่อมสัมพันธ์เครือญาติ รายงานจากท่าน อะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าแท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَنْ أَحَبَّ أَنْ يُبْسَطَ لَهُ فِى رِزْقِهِ وَيُنْسَأَ لَهُ فِى أَثَرِهِ؛ فَلْيَصِلْ رَحِمَهُ» [مسلم برقم 2557]
“ผู้ใดที่ประสงค์จะให้เกิดความสะดวกในปัจจัยยังชีพและมีอายุยืน เขาก็จงผูกสัมพันธไมตรีกับเครือญาติของเขา"
(บันทึกโดยมุสลิม 4/1982 หมายเลขหะดีษ 2557)
والحمد لله رب العالمين
وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين
แปลโดย : อิสมาน จารง / Islam house