การเคลื่อนไหวขณะทำการละหมาด (2)
คำถาม
มีบางคนที่เคลื่อนไหวอวัยวะร่างกาย ในขณะการทำละหมาด เช่นทำการจัดเสื้อผ้า ทำความสะอาดเล็บมือ หรือมองดูนาฬิกาข้อมือ โดยเฉพาะในเวลาที่อิหม่ามทำการนำละหมาดอยู่ ซึ่งการกระทำเหล่านี้นำไปสู่การรบกวนผู้อื่น จึงขอทราบเงื่อนไขในการเคลื่อนไหวร่างกายขณะปฏิบัติละหมาด
บรรดาการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์แด่ อัลลอฮฺ
(ต่อ จากตอนที่ 1)
สำหรับผู้ที่ทำการละหมาดพลางเดินไปด้วยนั้น ถือเป็นการเคลื่อนไหวที่มากเช่นเดียวกัน แต่ถ้ามีความจำเป็นก็เป็นการอนุญาตให้กระทำได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการทำให้ละหมาดเสีย
รูปแบบการเคลื่อนไหวในขณะละหมาดที่ไม่สมควรกระทำนั้น จะหมายถึงการเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ได้ถูกกล่าวเอาไว้ในเนื้อหาข้างต้น ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดนี้ถือเป็นหลักพื้นฐานของการเคลื่อนไหวร่างกายขณะทำการละหมาด
ดังนั้นจากคำถามที่ท่านได้ถามเอาไว้ จึงถือเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่สมควรกระทำขณะทำการละหมาด และจะส่งทำให้ผลบุญของการละหมาดลดลง
นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวร่างกายแบบต่างๆ ที่ไม่ถูกกล่าวเอาไว้ ตัวอย่างเช่น การขยับนาฬิกาข้อมือ การจับปากการหรือผ้าโผกศรีษะ การลูบจมูกหรือเครา เป็นต้น
ในการพิจารณาลักษณะการเคลื่อนไหวร่างกายดังกล่าว ก็ให้ใช้พื้นฐานจากเนื้อหาในข้างต้น เมื่อไม่จัดอยู่ในรูปแบบที่ได้กล่าวเอาไว้ ดังนั้นการเคลื่อนไหวทั้งหมดนี้จึงเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่สมควรกระทำ นอกจากนี้หากมีการทำที่ต่อเนื่องกันและบ่อยครั้ง จะถือเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่อนุญาตให้กระทำและจะส่งผลทำให้การละหมาดใช้ไม่ได้
ซึ่งจำนวนครั้งของการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะส่งผลทำให้การละหมาดใช้ไม่ได้นั้น ไม่ได้ระบุเป็นตัวเลขที่แน่นอน แต่จะบอกได้ด้วยจากการที่มีผู้พบเห็นผู้ที่เคลื่อนไหวร่างกายในขณะละหมาด จนผู้นั้นมีความรู้สึกว่าเขาผู้นั้นไม่ได้ทำการละหมาด ซึ่งรูปแบบการเคลื่อนไหวเช่นนี้จะถือเป็นการเคลื่อนไหวที่ทำให้การละหมาดใช้ไม่ได้
บรรดานักวิชาการ (ขออัลลอฮฺ ทรงประทานความเมตตาแด่พวกท่านด้วยเทอญ) ได้ระบุว่าการเคลื่อนไหวที่ทำให้ละหมาดใช้ไม่ได้ คือการเคลื่อนไหวร่างกายที่บ่อยครั้งและต่อเนื่อง แต่มีนักวิชาการบางกลุ่มก็ได้ระบุจำนวนครั้งของการเคลื่อนไหวที่จะส่งผลทำให้ละหมาดใช้ไม่ได้คือ การเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องกันเป็นจำนวน 3 ครั้ง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม จำนวนตัวเลขนี้ ยังไม่มีการนำหลักฐานที่ชัดเจนมาทำการอ้างอิง ดังนั้นการระบุถึงตัวเลขและพฤติกรรมที่ชัดเจนในการเคลื่อนไหวร่างกายขณะทำการละหมาด ที่จะส่งผลทำให้ละหมาดใช้ไม่ได้ จึงยังคงต้องการหลักฐานมารองรับอยู่ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการเสนอแนวความคิดใหม่เข้ามา
(Majmoo Fattawa al-Shaykh, 13/309-311)
ท่านเชค Abd al-Azeez ibn Baaz (ขออัลลอฮฺ ทรงโปรดประทานความเมตตาแด่ท่านด้วยเทอญ) ได้ถูกถามเกี่ยวกับชายคนหนึ่งที่ทำการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมากขณะทำการละหมาด ว่าการละหมาดของจะใช้ได้หรือไม่ และเขาจะเลิกพฤติกรรมดังกล่าวซึ่งเขาทำจนเป็นนิสัยได้อย่างไร
ท่านเชค (ขออัลลอฮฺ ทรงโปรดประทานความเมตตาแด่ท่านด้วยเทอญ) ได้ตอบว่า
ตามรูปแบบของซุนนะฮฺนั้น เราจะพิจารณาการละหมาดของคนคนหนึ่ง ได้จากความสมบูรณ์ของความนอบน้อมของเขา ท่าทางและจิตวิญญาณ ไม่ว่าจะเป็นการละหมาดที่เป็นวายิบหรือละหมาดซุนนะฮฺ
เพราะอัลลอฮฺ ทรงตรัสเอาไว้ว่า
“แน่นอนบรรดาผู้ศรัทธาได้ประสบความสำเร็จแล้ว”
“บรรดาผู้ที่พวกเขาเป็นผู้นอบน้อมถ่อนตนในเวลาละหมาดของพวกเขา”
(ซูเราะฮฺ อัล-มุมินูน 23:1-2)
ดังนั้นในการทำละหมาดของคนคนหนึ่ง เขาจะต้องละหมาดด้วยท่าทางที่สงบนิ่งและเคร่งครัด ซึ่งเป็นข้อหนึ่งที่สำคัญของหลักการและข้อบังคับในการทำละหมาด
ดังที่ท่านนบี ได้กล่าวกับผู้ที่ทำการละหมาดคนหนึ่งที่ละหมาดของเขาขาดความสงบนิ่งและไม่เคร่งครัดว่า
“ท่านจงกลับไปทำการละหมาดใหม่เสีย ท่านยังมิได้ทำการละหมาด”
โดยท่านนบี ได้บอกชายดังกล่าวให้กลับไปทำการละหมาดใหม่ถึงสามครั้ง จนเขาได้พูดกับท่านนบี ว่า
“โอ้ศาสนฑูตของอัลลอฮฺ ผู้ที่อัลลอฮฺทรงส่งท่านมาพร้อมกับสัจธรรม ฉันไม่สามารถทำการละหมาดให้ดีกว่านี้ได้แล้ว ขอให้ท่านได้โปรดสอนฉันด้วย”
ท่านนบี ได้กล่าวว่า
“เมื่อท่านจะทำการละหมาด ให้ท่านทำน้ำละหมาดอย่างดี จากนั้นให้ท่านหันหน้าไปทางกิบลัตและกล่าวตักบีร
และท่องซูเราะฮฺที่ท่านจดจำได้จากอัลกุรอ่าน เมื่อท่านทำการก้มรุกัวะ ก็ให้ท่านก้มลงด้วยความนอบน้อม
จากนั้นเมื่อท่านยกศรีษะขึ้นก็ให้ท่านยืนจนตัวตรงเสียก่อน ค่อยทำการก้มลงสุญูดด้วยการก้มกราบที่นอบน้อม
เมื่อท่านจะลุกขึ้นนั่งก็ให้นั่งจนตัวตรงและมีความนอบน้อม ก่อนที่ท่านจะทำการก้มสุญูดอย่างนอบน้อมอีกครั้ง จากนั้นจึงลุกขึ้นจนตัวตรง
และจงกระทำเช่นนี้ตลอดจนกว่าจะเสร็จสิ้นจากการละหมาด”
(หลักฐานดังกล่าว ไม่มีความเห็นขัดแย้งจากบรรดานักวิชาการ)
อ้างอิงจากรายงานของอบูดาวูด ซึ่งเขาได้รายงานดังนี้
“เมื่อท่องซูเราะฮฺที่จำเป็นจากอัลกุรอ่านแล้ว (ซูเราะฮฺอัล-ฟาติฮะฮฺ) ก็ให้ท่านทำการท่องซูเราะฮฺอื่นจากที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานไว้ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน”
จากฮะดีษข้างต้น เป็นฮะดีษที่ซอเฮี้ยะ ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าท่าทางของการละหมาดที่นอบน้อมถ้อมตนนั้นถือเป็นเสาหลักหรือเป็นสิ่งที่จำเป็น ในส่วนหนึ่งของการละหมาด ซึ่งหากขาดสิ่งสำคัญตรงนี้แล้วจะส่งผลทำให้การละหมาดนั้นใช้ไม่ได้ ดังนั้นสำหรับผู้ใดก็ตามที่เขาทำการละหมาดอย่างเร่งรีบ เปรียบเสมือนกับไก่จิก จึงกล่าวได้ว่า เขาไม่ได้ทำการละหมาด
คุชัวะ (การมีสมาธิและมีความนอบน้อมอย่างสมบูรณ์) ถือเป็นสิ่งจำเป็นในการละหมาด ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกแนะนำให้กับบรรดาผู้ศรัทธาว่า ให้เขาพยายามทำการละหมาดอย่างมีคุชัวะ
สำหรับหลักฐานของจำนวนการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นจำนวน 3 ครั้ง ที่จะส่งผลทำให้ละหมาดใช้ไม่ได้นั้น ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ เนื่องจากไม่มีรายงานฮะดีษของท่านนบี ที่มาสนับสนุนคำกล่าวข้างต้น นอกจากจะเป็นการเสนอความคิดเห็นจากนักวิชาการบางคน ซึ่งยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้
อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวร่างกายขณะทำการละหมาดนั้น เป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการจับจมูก เคราหรือเสื้อผ้า เพราะจะทำให้เสียสมาธิในการละหมาด นอกจากนี้การเคลื่อนไหวที่บ่อยครั้งจะส่งผลทำให้การละหมาดใช้ไม่ได้ แต่ถ้าเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย ซึ่งทำเป็นปกตินิสัย หรือเคลื่อนไหวบ่อยครั้งแต่ไม่ต่อเนื่องกัน จะไม่ส่งผลทำให้การละหมาดใช้ไม่ได้
แต่คำแนะนำในการทำละหมาดของผู้ศรัทธานั้น ให้เขาละหมาดอย่างมุ่งมั่นและนอบน้อม และหลีกเลี่ยงจากการเคลื่อนไหวร่างกายไม่ว่าจะเล็กน้อยหรือบ่อยครั้ง โดยให้เขาพยายามทำให้การละหมาดของเขามีความสมบูรณ์
สำหรับหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวร่างกายเพียงเล็กน้อย หรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ต่อเนื่องกัน ในขณะทำการละหมาดนั้น จะไม่ส่งผลทำให้การละหมาดใช้ไม่ได้ มีหลักฐานรายงานจากการกระทำของท่านนบี ขณะที่ท่านได้ทำการละหมาดดังนี้
“วันหนึ่งท่านนบี ได้ทำการเปิดประตูให้กับท่านหญิงอาอิชะฮฺ ขณะที่ท่านกำลังทำการละหมาด”
(รายงานโดยอะบูดาวูด 922 อัล-นะซาอี 601 ถูกจัดเป็นฮะดีษซอเฮี้ยะโดย เชค อัล-อัลบานี ใน ซอเฮี้ยะอัล-ติรมีซี 601)
และจากรายงานฮะดีษของท่านอะบู ฆอตาดะฮฺ (ขออัลลอฮฺ ทรงประทานความเมตตาแด่ท่านด้วยเทอญ) ที่ระบุว่า
“วันหนึ่งท่านนบี ได้ทำการนำละหมาดอยู่ โดยที่ท่านอุ้มท่านหญิงอุมมามะฮฺ ซึ่งเป็นบุตรของท่านหญิงซัยหนับ บุตรสาวของท่านนบี
ซึ่งเมื่อท่านนบี จะทำการสุญูด ท่านจะวางท่านหญิงลงและเมื่อเท่าทำการยืนละหมาด ท่านก็ได้ทำการอุ้มท่านหญิงขึ้นอีกครั้ง"
(Fattawa 'Ulama' al-Balad al-Haraam, 162-164)
ที่มา http://www.islamqa.com
แปลและเรียบเรียงโดย นูรุ้ลนิซาอฺ