ทรัพยากรน้ำ...ในอัลอิสลาม
  จำนวนคนเข้าชม  18041

 

ทรัพยากรน้ำ...ในอัลอิสลาม


นิพล  แสงศรี


มนุษย์กับทรัพยากร

          มนุษย์มิได้ถูกสร้างให้มีชีวิตอยู่เพียงลำพัง  แต่ยังมีทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อาศัยร่วมอยู่ด้วย  และอัลลอฮฺ    คือผู้ทรงประทานเครื่องยังชีพแแก่มนุษย์ซึ่งมีทั้งบนบก  เช่น  ต้นไม้  ผัก  ผลไม้  และปศุสัตว์  หรือในพื้นดิน  เช่น  น้ำมัน  ถ่านหิน  และแร่ธาตุ  หรือในน้ำ  เช่น  สัตว์น้ำ  สัตว์ทะเล  ไข่มุก  ปะการัง  และอื่นๆ  อย่างมีความแตกต่างกัน  โดยทุกคนสามารถนำออกมาแปรรูปเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจตามกำลัง  ความรู้  และความสามารถ 

อัลกุรอานระบุ ความว่า  

وَلَقَدْ كَرَّمْنَا بَنِي آدَمَ وَحَمَلْنَاهُمْ فِي الْبَرِّ وَالْبَحْرِ وَرَزَقْنَاهُمْ مِنَ الطَّيِّبَاتِ وَفَضَّلْنَاهُمْ عَلَى كَثِيرٍ مِمَّنْ خَلَقْنَا تَفْضِيلاً  (70) اﻹسراء        

“และแท้จริงเราได้ให้เกียรติแก่ลูกหลานของนบีอาดัม  และเราได้บรรทุกพวกเขาทั้งทางบกบกและทางทะเล 

และเราได้ประทานบรรดาเครื่องยังชีพที่ดีแก่พวกเขา  และเราได้ให้พวกเขามีเกียรติดีกว่าส่วนใหญ่จากผู้ที่เราได้บังเกิดขึ้นมา”

(70) //อัลอิสรออฺ

 

วัฏจักรแห่งน้ำ 

          น้ำเป็นทรัพยากรอีกประเภทหนึ่งที่สามารถเกิดหมุนเวียนได้เรื่อย ๆ อย่างไม่มีวันหมดสิ้น กล่าวคือ  เมื่อแสงแดดส่องมาบนพื้นโลก น้ำจากทะเลและมหาสมุทรจะระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นสู่เบื้องบนเนื่องจากไอน้ำมีความเบากว่าอากาศ เมื่อไอน้ำลอยสู่เบื้องบนจะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเฆม  เมื่อจับตัวกันมากขึ้นแล้วกระทบความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลกหรือเรียกว่า ฝน น้ำบนพื้นโลกจะระเหยกลายเป็นไอน้ำอีกเมื่อได้รับความร้อนจากดวงทิตย์ ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ กระบวนการแบบนี้เป็นวัฏจักรหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลาเรียกว่า วัฏจักรแห่งน้ำ  อัลกุรอานระบุว่า

 

وَهُوَ الَّذِي يُرْسِلُ الرِّيَاحَ بُشْرًا بَيْنَ يَدَيْ رَحْمَتِهِ حَتَّى إِذَا أَقَلَّتْ سَحَابًا ثِقَالًا سُقْنَاهُ لِبَلَدٍ مَيِّتٍ فَأَنْزَلْنَا بِهِ الْمَاءَ فَأَخْرَجْنَا بِهِ مِنْ كُلِّ الثَّمَرَاتِ كَذَلِكَ نُخْرِجُ الْمَوْتَى لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ (57) الاعراف

“และพระองค์นั้นคือผู้ที่ทรงส่งลงมาเป็นข่าวดีเบื้องหน้าความเอ็นดูเมตตา¹ ของพระองค์จนกระทั่งเมื่อมันได้แบกเมฆ ² อันหนักอึ้งไว้

เราก็นำมันไปสู่³ เมืองที่แห้งแล้ง แล้วเราก็ให้น้ำหลั่งลงที่เมืองนั้น แล้วเราได้ให้ผลไม้ทุกชนิดออกมาด้วยน้ำนั้น

ในทำนองนั้นแหละเราจะให้บรรดาผู้ที่ตายแล้วออกมา 4 หวังว่าพวกเจ้าจะได้รำลึก” 

(57) // อัลอะรอฟ


(1)  หมายถึงฝนทุกครั้งที่จะมีฝนตกจะต้องมีลมพัดล่วงหน้ามาก่อนเพื่อเป็นสัญญาณให้ผู้คนทราบ นับเป็นความกรุณาอันสำคัญยิ่ง
(2)  คือได้พัดพาเมฆฝนมารวมกันไว้ในสภาพที่หนักอึ้งประหนึ่งแบกมันไว้
(3)  คือให้ลมหอบเมฆฝนนั้นไป
(4)  คืออกมาจากหลุมศพอย่างง่ายดายด้วยเสียงแตร เช่นเดียวกับได้ให้ผลไม้ออกด้วยน้ำฝน

 


اللَّهُ الَّذِي يُرْسِلُ الرِّيَاحَ فَتُثِيرُ سَحَابًا فَيَبْسُطُهُ فِي السَّمَاءِ كَيْفَ يَشَاءُ وَيَجْعَلُهُ كِسَفًا فَتَرَى الْوَدْقَ يَخْرُجُ مِنْ خِلَالِهِ فَإِذَا أَصَابَ بِهِ مَنْ يَشَاءُ مِنْ عِبَادِهِ إِذَا هُمْ يَسْتَبْشِرُونَ (48) الروم

“อัลลอฮฺทรงเป็นผู้ส่งลมทั้งหลาย แล้วมันได้รวมตัวกันขึ้นเป็นเมฆ แล้วพระองค์ทรงให้มันแผ่กระจายไปตามท้องฟ้า

 (คือแผ่กระจายเป็นเมฆก้อนบาง ๆ และกลุ่มเมฆ) เท่าที่พระองค์ทรงประสงค์

 และพระองค์ทรงทำให้มันเป็นกลุ่มก้อน แล้วเจ้าจะเห็นฝนตกลงมาจากท่ามกลางมัน

 เมื่อมันได้ตกลงมายังผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์จากปวงบ่าวของพระองค์ เมื่อนั้นพวกเขาก็ดีใจ”

 (48) //อัรรูม
 


اللَّهُ الَّذِي خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ وَأَنْزَلَ مِنَ السَّمَاءِ مَاءً فَأَخْرَجَ بِهِ مِنَ الثَّمَرَاتِ رِزْقًا لَكُمْ وَسَخَّرَ لَكُمُ الْفُلْكَ لِتَجْرِيَ فِي الْبَحْرِ بِأَمْرِهِ وَسَخَّرَ لَكُمُ الْأَنْهَارَ (32) وَسَخَّرَ لَكُمُ الشَّمْسَ وَالْقَمَرَ دَائِبَيْنِ وَسَخَّرَ لَكُمُ اللَّيْلَ وَالنَّهَارَ (33) وَآَتَاكُمْ مِنْ كُلِّ مَا سَأَلْتُمُوهُ وَإِنْ تَعُدُّوا نِعْمَةَ اللَّهِ لَا تُحْصُوهَا إِنَّ الْإِنْسَانَ لَظَلُومٌ كَفَّارٌ (34 ) ابراهيم

“อัลลอฮผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และทรงให้น้ำลงมาจากชั้นฟ้า และทรงให้พืชผลงอกเงยออกมาจากน้ำเพื่อเป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า

 และทรงให้เรือเดินสมุทรมีความสะดวกแก่พวกท่าน เพื่อใช้แล่นตามแม่น้ำโดยพระบัญชาของพระองค์ ¹  

และทรงให้ลำน้ำทั้งหลายเป็นประโยชน์แก่พวกเจ้า² และพระองค์ทรงให้ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เป็นประโยชน์แก่พวกเจ้า โดยโคจรเป็นปกติ

และทรงให้กลางคืนและกลางวันเป็นประโยชน์แก่พวกเจ้า³  และพระองค์ทรงประทานแก่พวกเจ้าทุกสิ่งที่พวกเจ้าขอต่อพระองค์

 และหากพวกเจ้าจะนับความโปรดปรานของอัลลลอฮแล้ว พวกเจ้าก็ไม่อาจจะคำนวณมันได้4 แท้จริงมนุษย์นั้นอธรรมยิ่ง เนรคุณยิ่ง”
 

(34) //อิบรอฮีม


(1)  โดยใช้เป็นพาหนะเพื่อโดยสารและบรรทุกสินค้า จากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง
(2)  เพื่อให้มนุษย์และสัตว์ใช้ดื่มกิน และใช้ทำการเพาะปลูก
(3)โดยให้กลางคืนเป็นเวลาพักผ่อน และกลางวันเป็นเวลาประกอบอาชีพ
(4)  เพราะมันใหญ่ยิ่ง และมากยิ่งกว่าที่จะคำนวณนับได้

 

ประโยชน์ของทรัพยากรน้ำ


          เป็นที่ยอมรับกันว่า  โลกของเราประกอบขึ้นด้วยพื้นดินและพื้นน้ำ โดยแบ่งออกเป็นส่วนที่เป็นฝืนน้ำประมาณ 3 ส่วน (หรือประมาณ  75  %) และส่วนที่ป็นพื้นดิน 1 ส่วน (หรือ 25%)  ดังนั้นน้ำจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งกับชีวิตของคน  พืช  และสัตว์บนโลก  โดยประโยชน์ของทรัพยากรน้ำที่สำคัญได้แก่ 


          1. น้ำเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด  ไม่ว่าจะเป็นคน  พืช  และสัตว์  โดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 70  ของน้ำหนัก อัลกุรอานระบุว่า

وَجَعَلْنَا مِنَ الْمَاءِ كُلَّ شَيْءٍ حَيٍّ أَفَلَا يُؤْمِنُونَ (30)الانبياء

“และเราได้ทำให้ทุกสิ่งมีชีวิตมาจากน้ำ¹ ดังนั้นพวกเขาจะยังไม่ศรัทธาอีกหรือ”

 (30) //อัลอัมบิยาอฺ

 
(1)  คือเราได้ทำให้น้ำเป็นแหล่งที่มาของทุกสิ่งที่มีชีวิต และเป็นสาเหตุของการมีชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชพันธ์จะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ปราศจากน้ำ

 

          2.  การใช้น้ำเพื่อการบริโภคและอุปโภค  อัลกุรอานระบุว่า

وَأَرْسَلْنَا الرِّيَاحَ لَوَاقِحَ فَأَنْزَلْنَا مِنَ السَّمَاءِ مَاءً فَأَسْقَيْنَاكُمُوهُ وَمَا أَنْتُمْ لَهُ بِخَازِنِينَ (22)الحجر

“และเราได้ส่งลมผสมเกสร แล้วเราได้ให้น้ำลงมาจากฟ้า แล้วเราได้ให้พวกเจ้าดื่มมัน(น้ำอันเป็นเครื่องดื่มสำหรับมนุษย์ สัตว์เลี้ยง และแผ่นดิน )

และพวกเจ้าก็มิได้เป็นผู้สะสมมันไว้”

 (22) // อัลฮิญร์


وَهُوَ الَّذِي أَرْسَلَ الرِّيَاحَ بُشْرًا بَيْنَ يَدَيْ رَحْمَتِهِ وَأَنْزَلْنَا مِنَ السَّمَاءِ مَاءً طَهُورًا (48) لِنُحْيِيَ بِهِ بَلْدَةً مَيْتًا وَنُسْقِيَهُ مِمَّا خَلَقْنَا أَنْعَامًا وَأَنَاسِيَّ كَثِيرًا (49)الفرقان

“และพระองค์คือผู้ส่งลม เป็นการนำข่าวดีล่วงหน้า ท่ามกลางความเมตตาของพระองค์ ¹ และเราได้ประทานน้ำบริสุทธิ์ลงมาจากฟากฟ้า

เพื่อเราจะให้มีชีวิตด้วยมัน (น้ำ) แก่แผ่นดินที่แห้งแล้ง² และเราจะให้สิ่งที่เราสร้างมันขึ้นมา เช่น ปศุสัตว์ และมนุษย์มากมาย ดื่มมัน³

 (49)// อัลฟุรกอน


(1)  คือส่งลมเป็นการแจ้งข่าวดีถึงการที่ฝนจะตก
(2)  คือเราจะให้แผ่นดินที่แห้งแล้งไม่มีพืชพรรณธัญญาหาร มีชีวิตชีวาขึ้นด้วยน้ำ
(3)  เพื่อให้ปศุสัตว์และมนุษย์ได้ดื่มจากมัน เพราะน้ำเป็นชีวิตของทุกสิ่งที่มีชีวิต

 

          3. การใช้น้ำเพื่อเกษตรกรรมและกสิกรรม   อัลกุรอานระบุว่า

أَوَلَمْ يَرَوْا أَنَّا نَسُوقُ الْمَاءَ إِلَى الْأَرْضِ الْجُرُزِ فَنُخْرِجُ بِهِ زَرْعًا تَأْكُلُ مِنْهُ أَنْعَامُهُمْ وَأَنْفُسُهُمْ أَفَلَا يُبْصِرُونَ (27)السجدة

“พวกเขาไม่เห็นดอกหรือว่า เราได้ให้น้ำไหลลงสู่แผ่นดินที่แห้งแล้ง ¹ แล้วด้วยมัน (น้ำ)

เราได้ให้พืชผลงอกเงยออกมา เพื่อปศุสัตว์ของพวกเขาและตัวของพวกเขาเองได้กินจากมัน ²

 (27) //อัสสะญะดะฮ์


(1)  คือไม่เห็นเดชานุภาพอันสมบูรณ์ของเราในการณ์นี้อีกหรือ
(2)  พืชผลเหล่านั้น เช่น หญ้าแห้งและหญ้าสด สำหรับปศุสัตว์กินเป็นอาหารเพื่อดำรงชีวิตของมัน และเมล็ดพืชที่ใช้เป็นอาหาร ผัก ผลไม้ และถั่ว ซึ่งเป็นอาหารของมนุษย์ เหล่านี้ทั้งหมดได้งอกเงยออกมาเพราะน้ำ

 

          4. การใช้น้ำเพื่อการคมนาคม  การท่องเทียว  และการนันทนาการ  อัลกุรอานระบุว่า

وَهُوَ الَّذِي سَخَّرَ الْبَحْرَ لِتَأْكُلُوا مِنْهُ لَحْمًا طَرِيًّا وَتَسْتَخْرِجُوا مِنْهُ حِلْيَةً تَلْبَسُونَهَا وَتَرَى الْفُلْكَ مَوَاخِرَ فِيهِ وَلِتَبْتَغُوا مِنْ فَضْلِهِ وَلَعَلَّكُمْ تَشْكُرُونَ (14) النحل

“และพระองค์คือผู้ทรงทำให้ทะเลเป็นประโยชน์ เพื่อพวกเจ้าจะได้กินเนื้อนุ่มสดจากมัน ¹

และพวกเจ้าเอาเครื่องประดับออกจากมัน สำหรับใช้ประดับราคา ² และเจ้าเห็นเรือแล่นฝ่าคลื่นในท้องทะเล ³

และเพื่อพวกเจ้าจะได้แสวงหาความโปรดปรานของพระองค์ และเพื่อพวกเจ้าจะได้ขอบคุณ”
 

(14) // อันนะฮ์ลุ


(1)  คือสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ที่จับมาได้จากท้องทะเล
(2)  เช่น เพชรพลอย ไข่มุก และหินประการัง
(3)  โดยบรรทุกสินค้าต่าง ๆ เช่น เครื่องใช้และอาหาร

 

          5. การใช้น้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และการใช้น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม  อัลกุรอานระบุว่า

وَسَخَّرَ لَكُمُ الْفُلْكَ لِتَجْرِيَ فِي الْبَحْرِ بِأَمْرِهِ وَسَخَّرَ لَكُمُ الْأَنْهَارَ (32) ابراهيم

“และพระองค์ทรงให้เรือเดินสมุทรมีความสะดวกแก่พวกท่าน เพื่อใช้แล่นตามแม่น้ำโดยพระบัญชาของพระองค์ ¹

และทรงให้ลำน้ำทั้งหลายเป็นประโยชน์แก่พวกเจ้า ²

 (32) //อิบรอฮีม


(1)  โดยใช้เป็นพาหนะเพื่อโดยสารและบรรทุกสินค้า จากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง
(2)  เพื่อให้มนุษย์และสัตว์ใช้ประโยชน์จาการจากลำน้ำหรือแหล่งน้ำ  เช่น  การดื่มกิน  การเพาะปลูก  การประมง  การผลิตกระแสไฟฟ้า  อุตสาหกรรมอู่ต่อเรือ  และพานิชยกรรมทางทะเล

 

            6.  ธุรกิจน้ำจืด  น้ำที่มนุษย์นำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ  จะเป็นน้ำจืดซึ่งในโลกเรามีเพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น   และปริมาณ 2 ใน 3 ของน้ำจืดทั้งหมดเป็นน้ำแข็งในรูปของธารน้ำแข็งหรือน้ำแข็งที่จับตัวกันอยู่ที่ขั้วโลกทั้งสองขั้ว  ปัจจุบันหลายประเทศมหาอำนาจพยายามครอบครองธุรกิจน้ำจืดและน้ำดื่มในปริมาณเกินความจำเป็น  ขณะที่หลายพื้นที่ในโลกที่ยากจนกำลังขาดแคลนน้ำจืด  จนทำให้ประสบปัญหาความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานของน้ำ  ในอนาคตอันอาจจะเกิดการกำหนดกรอบปฏิบัติเพื่อการจัดสรรทรัพยากรน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำอย่างทั่วถึง  เรียกว่า "สิทธิการใช้น้ำ" (Water rights)  อัลกุรอานเตือนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ความว่า

نَحْنُ قَسَمْنَا بَيْنَهُمْ مَعِيشَتَهُمْ فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَرَفَعْنَا بَعْضَهُمْ فَوْقَ بَعْضٍ دَرَجَاتٍ لِيَتَّخِذَ بَعْضُهُمْ بَعْضًا سُخْرِيًّا وَرَحْمَةُ رَبِّكَ خَيْرٌ مِمَّا يَجْمَعُونَ  (32) الزخرف

“เราต่างหากที่เป็นผู้จัดสรรการทำมาหากินของพวกเขาระหว่างพวกเขาในการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ 

และเราต่างหากที่ได้เชิดชูบางคนในหมู่พวกเขาเหนือกว่าอีกบางคนหลายชั้น  เพื่อบางคนในหมู่พวกเขาจะได้นำเอาบางคนมาใช้ประโยชน์ 

และความเมตตาของพระเจ้าย่อมดียิ่งกว่าสิ่งที่พวกเขาสะสมไว้”

(32) ///อัซซุครุฟ


นอกจากนั้นท่านนบีมุฮัมมัด  ได้กล่าวว่า

((المسلمون شركاء في ثلاث في الكلإ والماء والنار))       (رواه ابن ماجه  :  2472)

“มุสลิมเป็นหุ้นส่วนกันใน  3  อย่างคือ  หญ้า  น้ำ  และไฟ” 

(บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ  :  2472)

 


มีต่อ...อุทกภัยน้ำท่วม >>>