ความเปลี่ยนแปลงในชีวิต
โดย อ. อับดุลเราะมัน เจะอารง
พระองค์อัลลอฮ์ ทรงสร้างโลกนี้โดยมีธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของมัน หนึ่งในบรรดาธรรมชาตินั้น คือ ธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง
ธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง คืออะไรและทำไมเราต้องศึกษา ??
การเปลี่ยนแปลงหมายถึง การเปลี่ยนสภาพของมนุษย์จากการเคารพภักดีต่อมนุษย์ด้วยกัน ให้กลับเคารพภักดีบูชาพระองค์อัลลอฮ์ ผู้ทรงสร้างโลกนี้ ส่วนสาเหตุที่เราต้องเปลี่ยนแปลงนั้นก็เพราะว่า
1. การเปลี่ยนแปลงเป็นหนึ่งสิ่งที่พระองค์ต้องการให้เกิดขึ้นในชีวิตมนุษย์ มนุษย์ทุกคนในโลกนี้ต้องมีการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงสภาพชีวิตจากชีวิตที่เลว ให้อยู่ในสภาพที่ดี และจากสภาพที่ดีให้ดีขึ้นจนเป็นที่พึงพอใจของพระองค์อัลลอฮ์
หมายถึงเปลี่ยนแปลงแปลงชีวิตตนเองจากการเป็นทาสของมนุษย์ เป็นทาสของรูปปั้น และเป็นทาสของอารมณ์ใฝ่ต่ำ กลับมาเป็นบ่าวและผู้รับใช้พระองค์อัลลอฮ์คือ ปฏิบัติสิ่งที่พระองค์ทรงใช้ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม คำสอนที่สั่งให้เราเปลี่ยนแปลงสภาพของเรา คือ อายะฮ์กุรอานความว่า
“และจงให้มีขึ้นจากพวกเจ้า ซึ่งคณะหนึ่งที่จะเชิญชวนไปสู่ความดีและใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และห้ามมิให้กระทำสิ่งที่มิชอบ
และชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือผู้ได้รับความสำเร็จ”
(อาละอิมรอน : 104)
อายะฮ์นี้ใช้ให้เราชักชวนมนุษย์ให้เปลี่ยนสภาพการเคารพบูชานอกเหนือจากพระองค์ให้บูชา อัลลอฮ์ พระองค์เดียวเท่านั้น เพราะแน่นอนการชักชวนให้มนุษย์เคารพบูชาพระองค์อัลลอฮ์ ถือว่าเป็นการชักชวนมนุษย์ให้กระทำความดี
2. ผู้ที่ศรัทธาต่อพระองค์อัลลอฮ์ และศรัทธาต่อท่านเราะสูล ยังมีบางคนที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาจากความผิดพลาดและปฏิบัติสิ่งชั่วร้ายไม่ดีงามไปสู่การเป็นมุสลิมที่มีคุณธรรมและจริยธรรม เราสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมมุสลิมเอง มีมุสลิมจำนวนไม่น้อยที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญและความสนใจต่อคัมภีร์กุรอานและสุนนะฮฺของท่านเราะสูล
3. การตีความหมายของการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ตรงกัน
ความหมายของการเปลี่ยนแปลง
พระองค์อัลลอฮ์ ทรงสร้างโลกนี้ในสภาพที่มีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ พระองค์ปฏิบัติต่อมนุษย์โดยอาศัยเหตุผลและสาเหตุที่เกิดจากความประพฤติ พฤติกรรม การกระทำและจุดยืนของมนุษย์ พร้อมกับท่าทีของมนุษย์ที่มีต่อข้อกำหนดและกฎเกณฑ์ของพระองค์อัลลอฮ์
มนุษย์ที่มีการเคลื่อนไหวและดวงอาทิตย์ที่มีการหมุนเวียนโคจรรอบโลกอยู่ตลอดเวลา เราไม่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อมนุษย์เกิดการเจ็บป่วย ร่างกายซุบผอมลง หรือดวงอาทิตย์เปลี่ยนเป็นสีเหลืองเราพูดได้ว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกัน หากมนุษย์อยู่ในสภาพธรรมชาติที่รู้จักพระองค์อัลลอฮ์ เคารพและบูชาภักดีต่อพระองค์ พวกเขาเหล่านั้นไม่เรียกว่าเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อพวกเขาไม่รักพระองค์อัลลอฮ์ ไม่รักท่านเราะสูล และไม่รักโลกหน้า พวกเขาได้เปลี่ยนแปลงตัวเองไปแล้ว
สาเหตุการเปลี่ยนแปลงจากสภาพที่ถูกต้องไปสู่สภาพที่ไม่ถูกต้อง
การเปลี่ยนแปลงจากสภาพที่ถูกต้องไปสู่สภาพที่ไม่ถูกต้อง หรือการเปลี่ยนแปลงจากสภาพที่ดีงามไปสู่สภาพที่ไม่ดีงามมีต้นเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น
1. การศรัทธาที่เริ่มเสื่อมลง
การศรัทธาและการเชื่อมั่นในแนวทางปฏิบัติของบรรดาบรรพชนรุ่นแรกเริ่มอ่อนลงจนถึงไม่อาจแยกแยะสิ่งถูกต้องจากสิ่งผิดได้
ท่านอนัส บิน มาลิกรายงานว่า ท่านเราะสูล ได้กล่าวว่า
إنَّ بَني إسرائيلَ افْتَرَقَت على إحْدى وسبْعِينَ فِرقةً وإنَّ أمَّتِي ستفْتَرَقُ على ثنْتَينِ وسبْعِينَ فرْقةً كلُّها في النَّارِ إلاَّ واحِدةً ، وهي الجَماعة (رواه الإمام أحمد 120/3 ، وابنُ ماجَه 3993)
“แท้จริงชาวบะนีอิสรออีล(คือชาวยิว)ได้แตกแยกกันแล้วเป็นเจ็ดสิบเอ็ดพรรคพวก
แต่ประชาชาติของฉันจะแตกแยกเป็นเจ็ดสิบสองพรรคพวก
ทุกพรรคพวกจะได้เข้านรกยกเว้นหนึ่งพวกเท่านั้นเอง คือ กลุ่มอัล-ยะมาอะฮ์”
2. การฝ่าฝืนบทบัญญัติของพระองค์อัลลอฮ์
พระองค์ได้ตรัสไว้ความว่า
“ความดีใด ๆ ที่ประสบแก่เจ้านั้นมาจากอัลลอฮฺ และความชั่วใด ๆ ที่ประสบแก่เจ้านั้นมาจากตัวของเจ้าเอง
และเราได้ส่งเจ้าไปเป็นเราะสูลแก่มนุษย์ และเพียงพอแล้วที่อัลลอฮฺทรงเป็นพยาน”
พระองค์ได้ตรัสอีกไว้ความว่า
“พวกเขามิได้เห็นดอกหรือว่า กี่ประชาชาติมาแล้วที่เราได้ทำลายมาก่อนหน้าพวกเขา
ซึ่งเราได้ให้พวกเขามีอำนาจและความสามารถในแผ่นดิน ซึ่งสิ่งที่เรามิได้ให้มีแก่พวกเจ้า
และเราได้ส่งฝนมายังพวกเขาอย่างมากมาย และเราได้ให้มีแม่น้ำหลายสายไหลอยู่เบื้องล่างของพวกเขา
แล้วเราก็ทำลายพวกเขาเสีย เนื่องด้วยบรรดาความผิดของพวกเขา และเราได้ให้มีขึ้นหลังจากพวกเขาซึ่งประชาชาติอื่น”
ท่านเราะสูล ได้อธิบาย 2 อายะฮ์นี้ไว้ว่า
يا معْشَرَ المُهاجِرين ، خمْسٌ إ ذا ابْتُلِيتُم بِهنَّ وأعوذُ باللهِ أن تدْرِكوهنَّ : لم تظْهَر الفاحشةُ في قومٍ قَطُّ حتى يعْلِنوا بِها إلا فَشا فيهِم الطَّاعونُ والأوْجاعُ التي لم تكُنْ مضَتْ في أسْلافِهِم الذينَ مَضَوا
، ولم ينْقُصوا المكْيالَ والميزانَ إلا أخِذُوا بِالسِّنِينَ وشِدَّةِ المئونةِ وجَورِ السُّلْطانِ عليهِم ، ولم يمْنَعوا زكاةَ أمْوالِهِم إلا مُنِعوا القَطَر من السَّماءِ ولا البَهائمُ لم يمْطَروا ، وما لَم تحْكُم أئِمَّتُهم بِكِتابِ الله ويتَخَيَّروا مما أنزَلَ الله إلا جعَلَ اللهُ بأسَهم بينَهم (رواه البيهَقي/4019)
“โอ้บรรดาชาวมุฮาญิรีน(ผู้อพยพ)ทั้งหลาย มี 5 ประการเมื่อพวกเจ้าถูกทดสอบ และฉันหวังมิให้อัลลอฮ์ ทดสอบพวกเจ้า
1. เมื่อใดเกิดความชั่วในกลุ่มใดจนทำให้พวกเขาต้องเปิดเผยอย่างชัดแจ้งจะทำให้เกิดโรดอหิวตกโรคและโรคร้ายอื่น ๆที่ไม่เคยปรากฏในยุคก่อน ๆ
2. เมื่อพวกเขาโกงในการชั่งและตวงสินค้า พวกเขาจะถูกทดสอบด้วยแห้งแล้ง อดอาหารและความโหดเหิ้ยมของผู้ปกครอง
3. เมื่อพวกเขาไม่ยอมจ่ายซะกาตทรัพย์สินของพวกเขา พระองค์จะห้ามน้ำฝนจากฟากฟ้า หากไม่สงสารบรรดาสัตว์บกทั้งหลายพระองค์จะไม่ให้มีฝนเลย
4. เมื่อพวกเขาไม่ได้ทำให้สัญญาของพวกเขากับอัลลอฮ์ และกับเราะสูล ให้สมบูรณ์ พระองค์จะให้ศัตรูของพวกเขาสามารถปกครองพวกเขาและยึดความร่ำรวยจากมือพวกเขา
5. เมื่อบรรดาผู้ปกครองของพวกเขาไม่ได้ปกครองด้วยคำสอนของกุรอานและยอมเปลี่ยนด้วยคำสอนอื่น พระองค์จะทำให้ความขัดแย้งในหมู่พวกเขารุนแรงมาก ๆ”
3. ความอธรรมที่เกิดจากการกระทำของผู้ที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดของพระองค์อัลลอฮ์
พระองค์ได้ตรัสไว้ความว่า
“และเช่นนี้แหละคือการลงโทษของพระเจ้า เมื่อพระองค์ทรงลงโทษหมู่บ้านซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อธรรม
แท้จริงการลงโทษของพระองค์นั้นเจ็บแสบสาหัส”
พระองค์ได้ตรัสไว้ความว่า
“แล้วก็เนื่องด้วยความอธรรมจากบรรดาผู้ที่เป็นยิว เราจึงได้ให้เป็นที่ต้องห้ามแก่พวกเขาซึ่งบรรดาสิ่งดี ๆ ที่ได้ถูกอนุมัติแก่พวกเขามาแล้ว
และเนื่องด้วยการที่พวกเขาขัดขวางทางของอัลลอฮฺอย่างมากมาย ด้วย”
4. ละทิ้งหน้าที่ชักชวนให้มนุษย์กระทำความดีและห้ามปรามกระทำความชั่ว
เมื่อผู้มีความรู้ได้ละเลยหน้าที่สำคัญนี้ โดยปฏิบัติตรงข้าม คือชักชวนให้มนุษย์กระทำความชั่วและห้ามปรามมนุษย์กระทำความดี ผลเสียก็จะเกิดขึ้นดังคำเตือนของพระองค์อัลลอฮ์ ความว่า
“บรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาในหมู่วงศ์วานอิสรออีลนั้นได้ถูกสาปโดยถ้อยคำของดาวูด และอีซาบุตรของมัรยัม
นั่นก็เนื่องจากการที่พวกเขาฝ่าฝืน และที่พวกเขาเคยละเมิดกัน
ปรากฏว่าพวกเขาต่างไม่ห้ามปรามกันในสิ่งไม่ชอบที่พวกเขาได้กระทำมันขึ้น ช่างเลวร้ายจริง ๆ สิ่งที่พวกเขากระทำ”
มีหะดีษอธิบายอายะฮ์นี้ในเชิงเปรียบเทียบไว้ความว่า
مثلُ المدْهِنِ في حُدودِ الله والواقِعِ فيها مثلُ قومٍ اسْتَهَموا في سفينةٍ ، فصار بعضُهُم في أسفَلِها وصارَ بعضُهم في أعلاها ، فكان الذي في أسْفلِها يمُرُّونَ بالماءِ على الذينَ في أعلاها فتأذَّوا بِه ، فأخَذَ فأساً فجعَلَ ينْقُرُ أسْفَلَ السفينةِ فأتَوه فقالوا : ما لكَ ؟ قالَ تأذَّيْتُم بِي ولا بدَّ لِي من الماءِ ، فإن أخَذُوا على يدَيْهِ أنْجَوه ونجَوا أنْفُسَهم ، وإن ترَكوا أهْلَكواه وأهْلَكوا أنْفُسَهم (رواه البخاري/2686)
“อุปมาอุปมัยผู้ที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของพระองค์อัลลอฮ์กับผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติของพระองค์เหมือนกับกลุ่มบุคคลที่จับฉลากเพื่ออาศัยอยู่บนเรือ มีกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ชั้นใต้เรือและอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ชั้นบน ผู้ที่อาศัยอยู่ชั้นใต้เรือต้องเดินผ่านผู้ที่อยู่ชั้นบนเรือในการขนน้ำไปยังใต้เรือ จึงทำให้ผู้อาศัยชั้นบนรำคาญที่เดินไปเดินมา
ผู้ที่อาศัยอยู่ชั้นล่างจึงใช้เครื่องมือเจาะเรือเพื่อเอาน้ำ ผู้ที่อาศัยอยู่ชั้นบนทวงว่าทำไมทำแบบนี้ พวกเขากล่าวว่า แล้วทำไมพวกคุณรำคาญพวกเราที่ต้องไปตักน้ำ พวกกลุ่มที่อยู่ชั้นบนได้ห้ามกลุ่มที่อยู่ชั้นล่างจากการเจาะเรือ พวกเขาทั้งหลายก็จะปลอดภัยกันทั้งหมด แต่เมื่อพวกเขาปล่อยให้กระทำตามอำเภอใจ พวกเขาทั้งหลายก็จะจมทั้งหมด”
5. แย่งกันกอบโกยผลประโยชน์ในโลกดุนยานี้
ความโลภของมนุษย์ที่จะกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตัว โดยไม่ให้ความสำคัญแก่ผลบุญของโลกอาคีเราะฮ์อันถาวรและนิรันคร์ คำอธิบายที่ดีที่สุดของข้อนี้ คือหะดีษที่รายงานว่า
قَدِمَ أبو عُبيدةَ بمالٍ من البحْرَينِ فسَمِعَ الأنْصارُ بِقُدومِ أبي عُبيدةَ ، فوافَتْ صلاةَ الصبْحِ مع النبِيِّ ، فلمَّا صلَّى بِهِ الفجْرَ ، انْصَرَف فتَعَرَّضوا له ، فتبَسَّمَ رسولُ الله حينَ رآهمْ وقالَ : أظُنُّكم قد سمعْتُم أنَّ أبا عبيدةَ قد جاءَ بِشيْءٍ ، قالوا : أجلْ يا رسولَ الله قالَ : أبْشِروا وأمِّلوا ما يسَّرَكم ، فو اللهِ لا الفقْرَ أخْشى عليكم ولكن أخْشَى أن تبْسَطَ عليكم الدُّنْيا كما بُسِطَت على الذينَ مِن قبْلِكم فتَنافَسوها كما تنافَسوها وتهْلِكَكم كما كأهْلَكَتْهم (رواه البخاري/ 3158 ومسلم/2961)
“ท่านอะบู อุบัยดะฮ์ได้เดินทางมาถึงจากประเทศบาห์เรน ชาวอันศอร(เจ้าของเดิมเมืองมะดีนะฮ์) ได้รับข่าวการเดินทางกลับมาของอะบู อุบัยดะฮ์ เมื่อรุ่งเช้า พวกเขาได้ทำการละหมาดศุบฮิพร้อมกับท่านเราะสูล เมื่อละหมาดเสร็จ ท่านก็ได้หันหน้ามายังพวกเขาและยิ้มให้แก่พวกเขาและกล่าวว่า
ฉันเข้าใจว่าพวกเจ้ารู้ว่า อะบู อุบัยดะฮฺ ได้นำทรัพย์สินมาจากประเทศบาห์เรน ดังนั้นจงดีใจในสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ ได้ประทานให้
ฉันขอสาบานด้วยพระองค์อัลลอฮ์ แท้จริง ฉันไม่ได้กลัวความยากจนสำหรับพวกเจ้าหรอก แต่ที่ฉันกลัว คือความร่ำรวยต่างหาก
ฉันกลัวพระองค์จะอำนวยความสะดวกสบายเสมือนกับพระองค์ได้ให้ความร่ำรวยแก่ประชาชาติก่อน ๆ
ทำให้พวกเจ้าแข่งขันและแย่งชิงกันเอง เหมือนกับที่พวกเขาเคยแย่งชิงกัน จึงทำให้พวกเจ้าพังพินาศเสมือนกับพวกเขาที่เคยพังพินาศ”