กุญแจไขสู่สวรรค์
ด้วยการคำปฏิญาณว่า“ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ”
โดย.... อ.มาลิก โยธาสมุทร
มีรายงานจากท่านอุบาดะฮฺ อิบนิซซอมิต ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ แจ้งว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ กล่าวว่า
"مَنِ شَهِدَ أَنْ لاَإِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًارَّسُوْلُ اللهِ حَرَّمَ اللَّهُ عَلَيْهِ النَّارَ"
“ผู้ใดที่กล่าวปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺ และแท้จริง มุฮัมมัดนั้น เป็นรอซูลของอัลลฮฺ
อัลลอฮฺได้ทรงห้ามไฟนรกมิให้แตะต้องตัวของเขาผู้นั้น ”
(บันทึกโดยอิมามมุสลิม)
มีรายงานระบุว่า กุญแจไขสู่สวรรค์นั้น คือ คำว่า لاَإِلَهَ إِلااللَّهُ (มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลฮฺ) แต่ทว่า ทุกคนที่กล่าวว่า لاإِلَهَ إِلااللَّهُ แล้ว สวรรค์จะเปิดให้แก่เขาเลย กระนั้นหรือ ?
وَقِيْلَ لِوَهبِ بْنِ مُنَبِّه:أَلَيْسَ لاَإِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ مِفْتَاحُ الْجَنَّةِ ؟ قَالَ:بَلَى وَلَكِنْ لَيْسَ مِفْتَاحٌ إِلاَّلَهُ أَسْنَانٌ ، فَإِنْ جِئْتَ بِمِفْتَاحٍ لَ
هُ أَسْنَانٌ فُُتِحَ لَكَ ، وَإِلاَّ لَمْ يُفْتَحُ لَكَ
และมีผู้กล่าวแก่วะฮบฺ อิบนิ มุนับบิฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า : การกล่าว ปฏิญาณว่า ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่แท้จริง นอกจากอัลลอฮฺ)นั้น มิใช่เป็นกุญแจไขไปสู่สวรรค์ดอกหรือ ?
ท่านวะฮบฺ กล่าวว่า : ใช่ แต่ทว่า หากท่านนำกุญแจที่มีฟันมา สวรรค์ก็จะเปิดให้กับท่าน กุญแจนั้นต้องมีฟัน ท่านจึงจะไขได้ มิเช่นนั้นแล้วประตูสวรรค์จะไม่เปิดให้ท่านได้เข้าไป ท่านจะไขกุญแจไม่ได้
(บันทึกโดยิมามอัลบุคอรียฺ)
และมีฮะดีสของท่านร่อซูล ซึ่งอธิบายถึงฟันของลูกกุญแจเหล่านั้น ดังที่ว่า
"مَنْ قَالَ لاَإِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ مُخْلِصًا مُسْتَيْقِنًا قَلْبهُ يَقُوْلُهَاحَقًّا مِنْ قَلْبِهِ"
“ผู้ใดกล่าวคำว่า ลาอิลาฮิลลัลลฮฺ ในฐานะเป็นผู้มีความบริสุทธิ์ใจในอัลลอฮฺ ในฐานะเป็นผู้มีจิตใจเชื่อมั่นแน่วแน่ในอัลลอฮฺ
พูดออกมาด้วยความสัตย์จริงจากหัวใจของเขา”
ตามตัวบทฮะดีสต่างๆ ที่ระบุถึงการที่จะได้เข้าสวรรค์นั้น ต้องขึ้นอยู่กับความรู้ ในความหมายของคำว่า (ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ) จำเป็นจะต้องมีการยอมรับ ด้วยความนอบน้อม ถ่อมตนอีกด้วย
จากที่ได้กล่าวมา บรรดาอุละมาอฺ ได้นำมารวมตั้งเป็นกฎเกณฑ์ เงื่อนไขของคำว่า ลาอิลาฮิลลัลลฮฺ ซึ่งจะใช้เป็นกุญแจไขไปสู่สวรรค์ ซึงกฎเกณฑ์เหล่านั้น ก็เปรียบเสมืนฟันของลูกกุญแจดังกล่าวนั่นเอง ซึ่งประกอบไปด้วย:-
1. ความรู้ (อัลอิลมฺ)
โดยที่ถ้อยคำแต่ละคำนั้น มีความหมาย ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาความหมาย ของถ้อยคำแห่งเอกภาพภาพของอัลลฮฺ (กะลิมะตุ๊ตเตาว์ฮีด) ที่ว่า (ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ) ให้ดี นั่นก็คือ เป็นความรู้ ที่ปฏิเสธความไม่รู้ (โง่เขลา) อันมายถึง การปฏิเสธการเป็นพระเจ้าทั้งหลายทั้งปวง นอกจากอัลลอฮฺ และเป็นการยืนยันความเป็นพระเจ้าของอัลลฮฺ เพียงองค์เดียวเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่มีผู้ถูกเคารพกราบไหว้ ที่แท้จริงอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น
และจากบรรดาหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว คือ ดำรัสของพระองค์ ที่ว่า
"إِلاَّّمَنْ شَهِدَ بِالْحَقِّ وَهُمْ يَعْلَمُوْنَ". (الزخرف/86)
“เว้นแต่ผู้เป็นพยานยืนยัน ดัวยกับความเป็นจริง และพวกเขาก็รู้ดี”
(อัซซุครุฟ/86)
ท่านร่อซูล กล่าวว่า
"مَنْ مَاتَ وَهُوَ يَعْلَمُ أَنَّهُ لاَإِلَهَ إِلاَّاللَّهُ دَخَلَ الْجَنَّةَ". رواه مسلم
“ผู้ใดที่ตายไป ในขณะที่เขารู้ตัวดีว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ เขาก็ได้เข้าสวรรค์”
(บันทึกโดยอิมามมุสลิม)
เงื่อนไขดังกล่าว จะครบถ้วนสมบูรณ์ได้ ก็ด้วยกับเงื่อนไขที่สองดังต่อไปนี้ คือ:-
2. ความชัดเจนที่ปฏิเสธการสงสัย
นั่นก็คือ มีความมั่นใจอย่างเต็มเปลี่ยมในถ้อยคำ “กะลิมะตุตเตาว์ฮี๊ด” ที่แสดงถึงความเป็นเอกภาพของถ้อยคำดังกล่าว อย่างเด็ดเดียว มั่นคง ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีการคาดเดา และไม่มีการหวั่นไหว คลางแคลงใจใดๆ อีก แต่ทว่า จำเป็นที่จะต้องเชื่อมั่น อย่างเต็มเปลี่ยม และเด็ดขาด
อัลลอฮฺ ตรัสเกี่ยวกับลักษณะของผู้ศรัทธา เอาไว้ว่า
"إنَّمَاالْمُؤْمِنُوْنَ الَّدِيْنَ آمَنُواْ بِاللهِ وَرَسُوْلِهِ ثُمَّ لَمْ يَرْتَابُواْ وَجَاهَدُواْ بِِأَمْوَالِهِمْ وَأَنْفُسِهِمْ فِي سَبِيْلِ اللهِ أُوْلَئِكَ هُمُ الصَّادِقُوْنَ"
(الحجرات/15)
“แท้จริง บรรดาผู้ศรัทธานั้น คือ บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และร่อซูลของพระองค์ แล้วพวกเขาไม่เคลือบแลงใจใดๆ ทั้งสิ้น
และพวกเขาเสียสละทรัพย์สมบัติของพวกเขา และชีวิตของพวกเขาไปในหนทางของอัลลอฮฺ ชนเหล่านั้นแหละ คือ บรรดาผู้สัตย์จริง”
(อับลฮุญร็อต/15)
การยืนยันเพียงแค่คำพูด ยังไม่นับว่าเป็นการเพียงพอ แต่ทว่าจำเป็นจะต้องมีหัวใจที่แน่วแน่มั่นคงอีกดด้วย ดังนั้นหากไม่มุ่งมั่นแน่วแน่ถึงขั้นนี้จริงแล้ว ก็เท่ากับเป็นการหน้าไหว้หลังหลอก ปากอย่างใจอย่าง (นิฟ๊าก) นั่นเอง
ท่านนบี กล่าวว่า บ่าวที่พบกับอัลลฮฺ ด้วยคำปฏิญาณว่า
"أَشْهَدُ أَنْ لاَإِلَهَ إِلاَاللَّهُ وَأَنِّي رَسُوْلُ اللَّهِ لاَيَلْقَى بِهِمَا عَبْدٌ غيَْرُشَاكٍ فِيْهِمَا إِلاَّدَخَلَ الْجَنَّةَ". رواه مسلم
“ฉันขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺ และแท้จริง ฉัน (ท่านนบี มุฮัมมัด) นั้น เป็นร่อซูลของอัลลอฮฺ
โดยไม่มีข้อเคลือบแคลง หรือสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นนั้น เขาได้เข้าสวรรค์”
(บันทึกโดยอิมามมุสลิม)
3- เมื่อท่านรู้ และแน่ใจแล้ว ก็สมควรให้มีความรู้ที่มั่นคงนี้ ปรากฏเป็นผลออกมาให้ได้เห็นเป็นจริง ด้วยหัวใจ และคำพูด
ดังนั้น ผู้ใดที่โต้แย้ง ไม่ยอมรับคำเรียกร้องเชิญชวนไปสู่การให้เอกภาพแด่อัลลฮฺ (เตาว์ฮีด) ก็เท่ากับว่าเขาก็เป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา (กาฟิรฺ) ไม่ว่าการไม่ยอมรับนั้น จะด้วยสาเหตุมาจากความยโสโอหัง (อัลกิบัรฺ) ดื้อดึง หัวแข็ง (อิน๊าด) หรือด้วยความอิจฉาริษยา (อัลฮะซัด) ก็ตามที อัลลอฮฺ ตรัสถึงบรรดาผู้ปฏิเสธ ที่ไม่ยอมรับ และขัดขืน ด้วยความยโส โอหังไว้ ว่า
"إنَّهُمْ كَانُواْإِذَاقِيْلَ لَهُمْ لاَإِلَهَ إِلاَّ اللهُ يَسْتَكبْرُوْنَ".(الصافات/35)
“แท้จริง พวกเขานั้น เมื่อมีผู้กล่าวแก่พวกเขาว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺ พวกเขาก็แสดงอาการยโสโอหัง”
(อัซซอฟฟ๊าต/35)
4- การยอมสยบจำนนโดยสมบูรณ์ ต่อการให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ
คือ การยืนยันอย่างแท้จริง ในการยอมจำนนต่อหลักเตาว์ฮีด ที่ปรากฏออกมาให้เห็นในรูปของการศรัทธา (อีมาน) ด้วยกับการกระทำ และให้เห็นเป็นจริง ด้วยกับการปฏิบัติตามที่อัลลฮฺ ทรงกำหนดให้กระทำ และด้วยการละทิ้ง สิ่งที่พระองค์ทรงห้าม ดังที่พระองค์ ตรัสว่า
"وَمَنْ يُسْلِمْ وَجْهَهُ إِلَى اللَّه وَهُوَ مُحْسِنٌ فَقَدِاسْتَمْسَكَ بِالْعُرْوَةِ الْوُثْقَى وإِلَى اللَّهِ عَاقِبَةُ الأُمُوْرِ". (لقمان/22)
“และผู้ใดได้ยอมมอบของเขา (ยอมจำนน) ต่ออัลลอฮฺ ในฐานะเป็นผู้กระทำดี
(เชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺทุกประการ ละเว้นสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม ทำอิบาดะฮฺต่อพระองค์ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ และเป็นผู้ศรัทธาต่อพระองค์อย่างแท้จริง)
ก็เท่ากับว่า เขาได้ยึดห่วงอันมั่นคงเอาไว้แล้ว และผลบั้นปลายนั้น ย่อมกลับไปยังอัลลอฮฺทั้งสิ้น”
(ลุกมาน/22)
ท่านร่อซูล กล่าวว่า
"لاَيُؤْمِنُ أَحَدُكُمْ حَتَّى يَكُوْنَ هَوَاهُ تَبَعًالِمَاجِئْتُ بِهِ " . حديث صحيح
“คนหนึ่งคนใดในพวกท่านจะยังไม่ศรัทธา จนกว่าอารมณ์(ฝ่ายต่ำ) ของเขา จะคล้อยตามสิ่งที่ฉันได้นำมา (บัญญัติอิสลาม)”
(หะดีซซอฮี๊ฮฺ/จากหนังสืออัลฮุจญะฮฺขอดชคอบิลฟัตฮฺนัศริบนิ อิบรอฮีม อัลมักดัซีย์ อัชชาฟิอีย์)
และนี่คือ การยอมสยบจำนนอย่างแท้จริง
5- ความสัตย์จริง
ในกล่าวกะลิมะตุตเตาว์ฮีด ความสัตย์จริง ที่ปฏิเสธการโกหกมดเท็จ และการทำหน้าไหว้หลังหลอก ปากอย่างใจอย่าง ดังหลักฐานดำรัสของอัลลอฮฺ ที่ว่า
"يَقُوْلُوْنَ بِأَلْسِنَتِهِم مَالَيْسَ فِي قُلُوْبِهِم". (الفتح/11)
“พวกเขากล่าว ด้วยลิ้นของพวกเขา โดยที่ไม่มีอะไรอยู่ในหัวใจของพวกเขาเลย”
(อัลฟัตฮฺ/11)
6- ความรัก (อัลมะฮับบะฮฺ)
ดังนั้น ผู้ศรัทธา (มุอฺมิน) จะรักถ้อยคำดังกล่าวนี้ และรักที่จะทำตามภายใต้คำกล่าวนี้ และรักที่จะปฏิบัติตามคำปฏิญาณดังกล่าวนี้ และสัญลักษณ์แห่งความรักของผู้เป็นบ่าวต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขา ก็คือ ให้ความรักที่มีต่อัลลอฮฺนั้น นำหน้าเหนือทุกสิ่ง แม้ว่าจะขัดแย้งกับอารมณ์ฝ่ายต่ำของเขาก็ตาม จะเป็นมิตรสนิทกับผู้ที่เป็นมิตรของอัลลอฮฺ และร่อซูลของพระองค์ และจะเป็นศัตรูกับผู้ที่เป็นศัตรูของพระองค์ และปฏิบัติตามผู้เป็นร่อซูลของพระองค์ และปฏิบัติตามผู้เป็นร่อซูลของพระองค์ และจะดำเนินตามแนวทางของท่านนบี และน้อมรับแนวทางอันเที่ยงตรงของท่าน
7- มีความบริสุทธิ์ใจในการถ้อยคำดังกล่าว
ดังที่อัลลอฮฺ ตรัสว่า
"وَمَاأُمِرُواْإِلاَّلِيَعْبُدُوااللَّهَ مُخْلِصِيْنَ لَهُ الدِّيْنَ حُنَفاءَ".(البينة/5)
“และพวกเขา มิได้ถูกใช้ให้กระทำสิ่งใด นอกจากเพื่อการเคารพสักการะ (อิบาดะฮฺ) ต่ออัลลอฮฺ
ในฐานะเป็นผู้มีความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ ในศาสนาที่เป็นแนวทางอันเที่ยงตรง”
(อัลบัยยินฺ/5)
มูลนิธิ ชี้นำสู่สันติสุข