คำสั่งเสีย
  จำนวนคนเข้าชม  9775

คำสั่งเสีย


อธิบายโดย.ไชยคฺอับดุลลอฮฺ อิบนุ อับดิรเราะหฺมาน อิบนุ ศอและหฺ อาลบัสซาม

 
عَنْ عَبْدِاللهِ بْنِ عُمَرَرَضِىَ اللهُ عَنْهُمَا:أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ:"مَاحَقُّ امْرِئٍ مُسْلِمٍ لَهُ شَيْءٌ يُوْصِى بِهِ ، يَبِيْتُ لَيْلَةً أَوْ لَيْلَتَيْنِ إِلاَّوَوَصِيَّتُهُ مَكْتُوْبَةٌ عِنَِْدَهُ" .

وَزَادَمُسْلِمٌ قَالَ ابْنُ عُمَرَ: "فَوَاللهِ مَامَرَّتْ عَلَيَّ لَيْلَةٌ مُنْذُ سَمِعْتُ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُوْلُ ذَلِكَ وَعِنْدِي وَصِيَّتِي" .
 
 

คำแปล

จากอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ กล่าวไว้ว่า

“ไม่ใช่สิทธิ์ของคนมุสลิมคนใดที่เขามีสิ่งที่จะสั่งเสีย ที่เขาสามารถนอนได้อีกหนึ่งคืน หรือสองคืน

นอกจาก คำสั่งเสียของเขาจะต้องถูกบันทึกอยู่ที่เขา”

  

และจากมุสลิมมีเพิ่ม อิบนุ อุมัร กล่าวว่า 

“ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ว่า ไม่มีคืนใดผ่านฉันไป ตั้งแต่ฉันได้ยินท่านร่อซูลุลลอฮฺ  กล่าวสิ่งดังกล่าว

นอกจากคำสั่งเสียของฉันจะอยู่กับฉันเท่านั้น”

 

คำอธิบายโดยสังเขป

 
 
         ท่านนบีมุฮัมมัด  ได้ส่งเสริมประชาชาติของท่าน ให้รีบเร่งไปสู่การกระทำความดี และฉวยโอกาสก่อนที่จะไม่มีโอกาสให้ฉวย โดยที่ท่านได้แจ้งให้พวกเขาทราบว่า มันไม่เป็นความจริง ความถูกต้อง ความเด็ดเดียว สำหรับผู้ที่มีสิ่งที่ต้องการจะสั่งเสีย และแจกแจง ที่จะประวิงเวลาของมันออกไป จนกระทั่งเวลาที่ยาวนานผ่านเขาไป แต่ให้เขารีบเขียนบันทึก และคำแจกแจงของเขา และจุดสุดท้ายที่อนุมัติให้เขาทำ ในเรื่องดังกล่าว คือ คืนหนึ่ง หรือสองคืน ก่อนที่เขาจะจากไป

        การรีบเร่งไปสู่การกระทำสิ่งดังกล่าว ถือเป็นการรีบเร่งไปสู่การกระทำสิ่งที่ดีต่างๆ และการกระทำที่มีความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่  มนุษย์นั้นเขาไม่ทราบว่าอะไรคือจุดยืนของเขา ในชีวิตแห่งโลกนี้ ? อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของท่านร่อซูล  ด้วย

         ด้วยเหตุนี้ อิบนิ อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา หลังจากที่ได้ยินคำเตือนของนบี  แล้ว จึงได้ทบทวนคำสั่งเสียของเขา ทุกค่ำคืน เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้วางบัญญัติ แจกแจงความจริง และเป็นการเตรียมพร้อม เพื่อการย้ายไปอยู่ในโลกที่ถาวร โลกหน้า


สิ่งที่ได้จากหะดีษนี้

 

1.  มีบัญญัติให้มีการสั่งเสีย ซึ่งเป็นสิ่งที่บรรดาปราชญ์ (อุละมาอฺ) เห็นพ้องต้องกัน และหลักของการเห็นพ้องต้องกัน คือ คัมภีร์อัลกุรอาน และแบบฉบับของท่านนบี

2. มันแบ่งออกเป็นสองชนิด คือ 1- สิ่งที่ได้รับการเห็นชอบ 2- สิ่งที่จำเป็น

- สิ่งที่ได้รับการเห็นชอบ คือ สิ่งที่มีอยู่ในการงานอาสา(ตะเฏาวัวะอฺ) ต่างๆ และงานต่างๆ ที่นำมาซึ่งความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ

- สิ่งที่จำเป็น อยู่ในสิทธิต่างที่จำเป็น ที่ไม่หลักฐานมายืนยัน หลังจากที่เขาได้ตายไปแล้ว เพราะว่า  “สิ่งจำเป็นเสร็จสิ้นสมบูรณ์ไม่ได้ด้วยสิ่งนั้น มันก็ถือว่า เป็นสิ่งที่จำเป็น”

     3.  มีบัญญัติให้รีบเร่งการสั่งเสีย ในเรื่องการแจกแจง ในการตามคำสั่งของผู้สั่งเสีย การเตรียมพร้อมสำหรับการตายที่เห็นได้ชัด และทิศทางที่จะจ่ายไป ก่อนที่จะมีเรื่องยุ่งยากมารบกวน

     4. การบันทึกที่เป็นที่ทราบกัน ถือว่าเป็นการเพียงพอ ในขณะที่สามารถทำให้คำสั่งเสียปรากฏ และนำมาปฏิบัติได้ โดยที่ไม่ได้มีการกล่าวถึงบรรดาพยาน ในเรื่องดังกล่าว

     5.  ความประเสริฐของอิบนุ อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ และการรีบเร่งของเขาไปสู่การทำความดี และดำเนินตามผู้วางบัญญัติ ที่มีความรอบคอบ

 


ถอดความเสนอส.สมอเอก

มูลนิธิ ชี้นำสู่สันติสุข