مُجْمل عقيدة أهل السُّنة والجماعة في أهل البيت สรุปประเด็นสำคัญเกี่ยวกับหลักการเชื่อมั่น (อะดีดะฮฺ) ของ อะฮฺลุซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ ที่มีต่อ “อะฮฺลุ้ลบัยติ” °°°°°°°°° |
หลักเชื่อมั่นของชาวซุนนะฮ์นั้น จะอยู่กึ่งกลางระหว่างการเชื่อมั่นที่เลยเถิดจนออกนอกขอบเขต กับการเชื่อมั่นที่ขาดตกบกพร่องและไม่ถูกต้อง เนื่องจากการเชื่อมั่นที่เกินเลยขอบเขตหรือการเหินห่างหมางเมินจะไม่สนใจต่อประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักการยึดมั่น และการศรัทธา
การอยู่กึ่งกลางระหว่างความเชื่อมั่นนั้น คือ หลักเชื่อมั่นของ “อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ” ที่มีต่อวงศ์วาน และครอบครัวของท่านร่อซูล แท้จริง กลุ่ม “อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ” รับผู้ที่เป็นมุสลิมทั้งชายและหญิงทุกคนที่มีเชื้อสายจาก อัลดุลมุฏฏอลิบ มาเป็นมิตร เช่นเดียวกันรวมทั้งบรรดาภรรยาของท่านนะบี ทั้งหมดด้วย พวกเขารักทุกคนที่มาจากวงศ์วานของท่านนะบี และกล่าวคำสรรเสริญสดุดีแก่ท่าน อีกทั้งยังได้เทิดตำแหน่งของบรรดาท่านเหล่านั้นให้อยู่ในฐานะที่คู่ควรและเหมาะสมด้วยความเป็นธรรม มิใช่กระทำด้วยอารมณ์ใฝ่ต่ำ และมิใช่กระทำแบบการเดาสุ่ม ออกนอกลู่นอกทาง
พวกเขารู้จักดีถึงความประเสริฐของบุคคลที่อัลลอฮฺ ได้ทรงรวมระหว่างเกียรติยศของการอีมานศรัทธา และเกียรติยศทางเชื้อสายไว้ให้อยู่ในตัวของผู้นั้น ดังนั้น ผู้ใดที่มาจากวงศ์วานของท่านร่อซูล และเป็นซอฮาบะฮฺ์ของท่านร่อซูล “อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ” ก็จะมอบความรักให้แก่บุคคลนั้น อันเนื่องจากความศรัทธา และความยำเกรง(ตักวา)ของเขา และเนื่องจากเขาเป็นมิตรสหาย เป็นเครือญาติที่ใกล้ชิดกับท่านร่อซูล
สำหรับผู้ที่มาจากวงศ์วานที่มิได้เป็นซอฮาบะฮฺ ซึ่งเป็นบุคคลที่เกิดไม่ทันและไม่ได้พบท่านร่อซูล แต่มีความศรัทธามั่นต่ออัลลอฮฺ และร่อซูลของพระองค์ จะไม่เรียกว่า “ซอฮาบะฮฺ” แต่จะเรียกว่า “ตาบิอีน” อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ จะมอบความรัก ความเคารพแก่บุคคลเหล่านั้น เนื่องจากการศรัทธาและตักวา (เกรงกลัวอัลลอฮฺ์ ) และความเป็นญาติใกล้ชิดของท่านร่อซูล และพวกเขาเห็นว่าเกียรติยศที่เกิดจากเชื้อสายนั้นขึ้นอยู่กับเกียรติยศของการศรัทธา
“และผู้ใดที่อัลลอฮฺ ได้ทรงรวมสิ่งสองประการนั้นไว้ให้แก่เขา แน่นอน พระองค์อัลลอฮฺ ได้ทรงรวบรวมความดีทั้งสองอย่างไว้ให้แก่เขาแล้ว (ความดีในดุนยา และอาคิเราะฮฺ)”
และถ้าผู้ใดมิได้รับผลสำเร็จ (เตาฟิก) ที่นำไปสู่การศรัทธาอีมานแล้ว แน่นอน เกียรติยศ และเชื้อสายวงศ์ตระกูล จะไม่ยังประโยชน์อันใดแก่เขาผู้นั้นเลย อัลลอฮฺ ได้ทรงกล่าวยืนยันไว้ว่า :
قال الله تعالى : ... إِنَّ أَكْرَمَكُمْ عِنْدَ اللَّهِ أَتْقَاكُمْ ...
(سورة الحجرات : ١٣)
“แท้จริง ผู้ที่มีเกียรติที่สุดในหมู่พวกเจ้า ณ ที่อัลลอฮฺ คือผู้ที่ตักวา(กลัวเกรงอัลลอฮฺ) ยิ่งในหมู่พวกเจ้า” (อัลฮุญุร๊อต : 13)
ท่านรอซูล ได้กล่าวไว้ในฮะดีษตอนหนึ่ง ซึ่งมีข้อความยาวที่ท่านอิมามมุสลิมได้บันทึกไว้ในซอฮีฮฺของท่าน (เลขที่ 2699) จากท่านอบีฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลลอฮุอันฮุ ว่า
“ผู้ใดที่การกระทำของเขาทำให้เขาล่าช้าไป เชื้อสายของเขาก็จะไม่ทำให้เขาเร็วขึ้นได้เลย”
ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุ รอญับ ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวย้ำไว้ในการอธิบายฮะดีษนี้ ในตำราของท่านที่มีชื่อว่า “ญามิฮฺ อัลอุลูม วัลฮิกัม” (หน้าที่ 308) มีความหมายว่า : การกระทำเท่านั้น เป็นสิ่งที่จะทำให้ผู้เป็นบ่าวบรรลุสู่ระดับขั้นต่างๆ แห่งโลกอาคิเราะฮฺได้ ดังที่อัลลอฮฺ ได้ทรงกล่าวไว้ว่า :
قال الله تعالى : وَلِكُلٍّ دَرَجَاتٌ مِمَّا عَمِلُوا ...
(سورة الأنعام : ١٣٢)
“และสำหรับแต่ละคนนั้น มีหลายระดับขั้นต่างกัน เนื่องจากสิ่งที่เขาได้กระทำไว้...” (อัลอันอาม : 132)
ดังนั้น ผู้ใดที่การกระทำของเขาได้ถ่วงเวลาให้เขาล่าช้าในการเข้าสู่ฐานะตำแหน่งอันสูงส่ง ณ อัลลอฮฺ แล้ว เชื้อสายของเขาจะไม่ทำให้เขาไปเร็วขึ้นจนเข้าสู่ระดับชั้นต่างๆได้เลย เพราะอัลลอฮฺทรงตอบแทนรางวัลให้เหมาะสมคู่ควรกับการงานต่างๆ มิใช่ปรับให้เหมาะสมคู่ควรกับเชื้อสาย วงศ์ตระกูล
ดังที่อัลลอฮฺ ได้ทรงกล่าวไว้ว่า :
قال الله تعالى : فَإِذَا نُفِخَ فِي الصُّورِ فَلا أَنْسَابَ بَيْنَهُمْ يَوْمَئِذٍ وَلا يَتَسَاءَلُونَ
(سورة المؤمنون : ١٠١)
“... ดังนั้น เมื่อใดที่สังข์ถูกเป่าขึ้น เมื่อนั้นจะไม่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติในระหว่างพวกเขาในวันนั้น และพวกเขาจะไม่ถามไถ่ซึ่งกันและกัน...” (อัลมุอฺมินูน : 101)
อัลลอฮฺ ทรงใช้ให้เร่งรีบไปสู่การอภัยโทษ และสู่ความกรุณาของพระองค์ด้วยการกระทำงานต่างๆ ดังที่พระองค์ ทรงตรัสไว้ว่า :
قال الله تعالى : وَسَارِعُوا إِلَى مَغْفِرَةٍ مِنْ رَبِّكُمْ وَجَنَّةٍ عَرْضُهَا السَّمَاوَاتُ وَالأرْضُ أُعِدَّتْ لِلْمُتَّقِينَ (١٣٣)
الَّذِينَ يُنْفِقُونَ فِي السَّرَّاءِ وَالضَّرَّاءِ وَالْكَاظِمِينَ الْغَيْظَ وَالْعَافِينَ عَنِ النَّاسِ وَاللَّهُ يُحِبُّ الْمُحْسِنِينَ (١٣٤) ...
(سورة آل عمران : ١٣٤-١٣٣)
“ พวกเจ้าทั้งหลาย จงรีบเร่งไปสู่การอภัยโทษ จากพระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้าเถิด และจงรีบไปสู่สวรรค์ ซึ่งความกว้างของมันนั้น คือ (เท่ากับ) บรรดาชั้นฟ้า และแผ่นดิน ซึ่งได้ถูกตระเตรียมไว้แล้ว แก่บรรดาผู้ตั๊กวา (กลัวเกรง อัลลอฮฺ) คือ บรรดาผู้ที่บริจาคทั้งในยามสุขสบาย และในยามทุกข์ยาก และบรรดาผู้ที่อดกลั้นต่อความโกรธ” (อาละอิมรอน : 133-134)
อัลลอฮฺ ทรงตรัสว่า :
قال الله تعالى : إِنَّ الَّذِينَ هُمْ مِنْ خَشْيَةِ رَبِّهِمْ مُشْفِقُونَ (٥٧)
وَالَّذِينَ هُمْ بِآيَاتِ رَبِّهِمْ يُؤْمِنُونَ (٥٨)
وَالَّذِينَ هُمْ بِرَبِّهِمْ لا يُشْرِكُونَ (٥٩)
وَالَّذِينَ يُؤْتُونَ مَا آتَوْا وَقُلُوبُهُمْ وَجِلَةٌ أَنَّهُمْ إِلَى رَبِّهِمْ رَاجِعُونَ (٦٠)
أُولَئِكَ يُسَارِعُونَ فِي الْخَيْرَاتِ وَهُمْ لَهَا سَابِقُونَ (٦١)
(سورة المؤمنون : ٥٧-٦١)
“แท้จริง พวกเขาเหล่านั้นเป็นผู้มีจิตใจยำเกรง ซึ่งเกิดจากความกลัวเกรงพระเจ้าของพวกเขา และบรรดาผู้ที่พวกเขาศรัทธาต่อบรรดาโองการต่างๆ(อายะฮฺอัลกุรอาน) ของพระเจ้าของพวกเขา และบรรดาผู้ที่ไม่ตั้งภาคีต่อพระเจ้าของพวกเขา และบรรดาผู้ที่บริจาคสิ่งที่เขาได้รับมาโดยหัวใจของพวกเขามีความหวั่นกลัวว่า พวกเขาจะต้องกลับไปพบพระเจ้าของพวกเขาอย่างแน่นอน พวกเหล่านั้นแหละ เจ้า(มุฮัมมัด) กำลังรีบเร่งไปประกอบคุณงามความดีต่างๆ และพวกเขาเหล่านั้น เป็นผู้สมควรรุดหน้าสู่ความดีนั้นก่อน” (อัลมุอฺมินูน 57-61)
ต่อมาท่าน อัลฮาฟิซ อิบนุ รอญับ ได้ระบุตัวบทต่างๆที่ส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการกระทำงานต่างๆที่ดีงาม และให้มีความรักความเป็นญาติใกล้ชิดกับท่านร่อซูล สิ่งนั้นได้มาจากการกลัวเกรง และจากการทำงานที่ดีงามต่างหาก แล้วท่านก็ปิดท้ายด้วยฮะดีษของท่านอัมรุบนิลอ๊าศ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งปรากฏอยู่ในซอฮี๊ฮฺ อัลบุคอรีย์ (เลขที่ 5990) และซอฮี๊ฮฺมุสลิม (เลขที่ 215) และท่านอัลฮาฟิซ อับนุ รอญับ ก็กล่าวว่า สิ่งที่มีปรากฏในซอฮีฮัยนฺ ทั้งสองนั้นจะยืนยันเรื่องนี้ทั้งหมด
จากรายงานของท่านอัมริบนิลอ๊าศ ว่า เขาได้ยินท่านนะบี กล่าวว่า :
“แท้จริง ตระกูลของคนหนึ่งคนใด หาใช่เป็นผู้ให้ความคุ้มครองช่วยเหลือแก่ฉันไม่ และอันที่จริง ผู้ที่เป็นผู้คุ้มครองช่วยเหลือฉัน คือ อัลลอฮฺ ตะอาลา และผู้ที่มีความดีงามจากบรรดาผู้ศรัทธาเท่านั้น”
ท่านได้ชี้ให้เห็นว่า ความรัก ความใกล้ชิด (วะลายะฮฺ) ของท่าน ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยกับเชื้อสาย ถึงแม้จะเป็นญาติใกล้ชิดกันก็ตาม ที่จริงแล้วมันเกิดขึ้นด้วยกับการศรัทธา และด้วยการงานที่ดีงาม ดังนั้น ผู้ใดที่มีการศรัทธามีการงานที่สมบูรณ์ยิ่ง เขาผู้นั้นจะมีความรักความใกล้ชิดอันยิ่งใหญ่ต่อท่าน ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะมีเชื้อสายใกล้ชิดกับท่านหรือไม่ก็ตาม ตามความหมายนี้ มีบางคนพูดว่า
“ขอสาบานต่ออัลลอฮฺด้วยกับชีวิตของท่าน เขา “ผู้นั้น” ไม่ใช่มนุษย์ นอกจากด้วยศาสนาของเขา ดังนั้น ท่านอย่าทิ้งการกลัวเกรงอัลลอฮฺ (ตักวา) โดยหันไปพึ่งพาอาศัยเชื้อสาย แท้จริง อิสลามได้ยกย่อง ซัลมาน ชาวฟารีซี่ย์ ให้สูงส่ง และการตั้งภาคี (ชิริก) ทำให้ อบู ละฮับ ผู้มาจากตระกูลอันสูงศักดิ์ต้องต่ำต้อย”
ความประเสริฐ และฐานะอันสูงส่งของ “อะฮฺลุ้ลบัยติ” ณ อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ