บะรอกะฮ์มาจากไหน
โดย ...อ. อับดุลเราะมัน เจะอารง
ความหมายของบะรอกะฮ์
การมีบะรอกะฮ์(ความจำเริญ) หมายถึง สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรามีจะกลับกลายเป็นจำนวนมากขึ้น และทำให้ได้รับผลประโยชน์จากสิ่งที่เพิ่มขึ้นได้อย่างดีมาก ตรงกันข้ามถ้าบะรอกะฮ์หายไป สิ่งที่มีจำนวนมากจะกลับกลายเป็นสิ่งที่มีจำนวนน้อยลง และจะไม่ได้รับผลประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้นเลย
ความบะรอกะฮ์ หรือ ความจำเริญมาจากไหน !
ที่มาของบะรอกะฮ์ความมีบะรอกะฮ์มาจากอัลลอฮ์พระองค์เดียว พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า
تبارَكَ الدي له ملْكُ السمواتِ والأرضِ وما بينَهما وعندَه علْمُ السَّاعةِ (الزخرف/85)
“และทรงความบะรอกะฮฺ(ความจำเริญ)พระผู้ซึ่งอำนาจแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและสิ่งที่อยู่ในระหว่างทั้งสองเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์
และ ณ ที่พระองค์นั้น คือ ความรอบรู้แห่งยามอวสาน”
พระองค์ได้ตรัสในอีกในอายะฮ์หนึ่งไว้ว่า
تبارَكَ الدي بِيدِه الملْكُ وهو على كلِّ شيْءٍ قديرٌ (الملْك/1)
“ความบะรอกะฮฺ(ความเจริญสุข)จงมีแด่พระผู้ซึ่งอำนาจอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ และพระองค์ผู้ทรงอนุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง”
และในอีกอายะฮ์หนึ่งพระองค์ได้ตรัสไว้ว่า
تبارَكَ الدي جعَلَ في السَّماءِ بروجاً وجعَلَ فيها سِراجً وقمرً منيراً وهو الدي جعَلَ اللَّيْلَ والنَّهارَ خِلْفةً لِمن أرادَ أن يدَّكَّرَ أو أرادَ شُكوراً (الفرقان/60)
“ความบะรอกะฮ์(ความจำเริญ)ยิ่งแด่พระผู้ทรงทำให้ชั้นฟ้ามีหมู่ดวงดาว และทรงทำให้มีตะเกียงในนั้นและดวงจันทร์มีแสงนวล
และพระองค์ คือ ผู้ทรงบันดาลให้มีกลางคืนและกลางวัน หมุนเวียนแทนที่กันสำหรับผู้ที่ปรารถนาจะใคร่ครวญ”
ท่านเราะซูลจะวิงวอนขอจากพระองค์อัลลอฮ์ด้วยสำนวนว่าيا قاضِيَ الحاجات ، يا راحِمَ العَبَرات ، يا منْجِحَ الطَّلَباتِ ، يا منَزِّلَ البرَكاتِ
“โอ้ผู้ตอบรับคำเรียกร้อง โอ้ผู้มีความเมตตาต่อผู้ร่ำร้องไห้ โอ้ผู้ประทานความบะรอกะฮ์ ”
ตัวอย่างของบรรดานบีที่ได้ขอและได้รับบะรอกะฮ์จากพระองค์อัลลอฮ์
1. นบีนูหฺ อัลลอฮ์ทรงเล่าให้นบีมุฮัมมัดทราบเรื่องราวเกี่ยวกับนบีนูหฺว่าقيلَ يا نوحُ اهْبِط بِسلامٍ منَّا وبركاتٍ عليكَ وعلى أمَمٍ ممَّن معَكَ وأمَمٌ سنُمَتِّعُهم ثمَّ يمَسُّهم مِنَّا عدابٌ أليمٌ (هود/48)
“ได้มีเสียงกล่าวว่า โอ้นูหฺเอ๋ย จงลงไป(จากเรือ)ด้วยความศานติจากเราและความบะรอกะฮ์(จำเริญ)แก่เจ้า และแก่กลุ่มชนที่อยู่กับเจ้า
และกลุ่มชนอื่นที่เราจะให้พวกเขาหลงระเริง แล้วการลงโทษอย่างเจ็บปวดจากเราก็จะประสบแก่พวกเขา”
2. นบีอิบรอฮีม อัลลอฮ์ทรงเล่าให้นบีมุฮัมมัดทราบไว้ว่า
وبشَّرْناه بإسْحاقَ نبِيًّا من الصَّالِحِين وباركْنا عليهِ وعلى إسْحاقَ ومِن درِّيَّتِهما محْسِنٌ وظالِمٌ لِنفسِه مبينٌ (الصَّافات/113)
“และเราได้แจ้งให้แก่เขา(นบีอิบรอฮีม)ว่า จะได้(ลูกคนหนึ่ง) คือ อิสหากเป็นนบี (จะเป็นหนึ่ง) ในหมู่คนดีทั้งหลาย
และเราได้ให้ความบะรอกะฮ์(ความจำเริญ)แก่เขาและแก่อิสหาก
และในหมู่ลูกหลานของเขาทั้งสองนั้นมีผู้กระทำความดีและมีผู้อธรรมแก่ตัวของเขาเองอย่างชัดแจ้ง”
3. นบีอีซา อัลลอฮ์ทรงเล่าประวัติของท่านให้นบีมุฮัมมัดทราบว่า
قالَ إنَّي عبدُ الله آتانِيَ الكتابَ وجعَلني نبِيًّا وجعَلني مُبارَكاً أينَ ما كنتُ وأوصانِي بالصلاةِ والزكاةِ ما دمْتُ حيًّا (مريم/31)
“เขา(อีซา)กล่าวว่า แท้จริงฉันเป็นบ่าวของอัลลอฮ์ พระองค์ทรงประทานคัมภีร์แก่ฉันและทรงให้ฉันเป็นนบี
และพระองค์ทรงให้ฉันได้รับบะรอกะฮ์(ความจำเริญ) ไม่ว่าฉันจะอยู่ ณ ที่ใด และทรงสั่งเสียให้ฉันทำการละหมาดและจ่ายซะกาตตราบที่ฉันมีชีวิตอยู่”
4. นบีมุฮัมมัด ท่านได้ขอให้พระองค์จงโปรดให้บะรอกะฮ์ในสิ่งที่พระองค์ได้มอบให้แก่ท่านว่า
وبارِكْ لِي فيما أعطَيْتَ (رواه التِّرمِدي)
”โอ้พระองค์อัลลอฮ์ จงให้บะรอกะฮ์(ความจำเริญ)แก่ฉันในทุกสิ่งที่พระองค์ได้มอบให้แก่ฉัน”
5. บรรดามุสลิมให้พรซึ่งกันและกันด้วยสำนวน
السلامُ عليكم ورحمةُ الله وبركاتُه
“ความสันติ ความเมตตาและความจำเริญจงมีแด่ท่านทุกท่าน”
และคำอวยพรในโอกาสแต่งงาน ผู้มาแสดงความยินดีจะขอพรว่า
بارَكَ الله لَك وبارَكَ عليكَ وجمَعَ بينَكما في خيرٍ
“ขอให้พระองค์อัลลอฮ์จงให้บะรอกะฮ์แก่ท่าน และจงให้บะรอกะฮ์ปกคลุมท่านและจงรวบรวมท่านทั้งสองให้อยู่ในบะรอกะฮ์”
กิจกรรมที่นำไปสู่ความมีบะรอกะฮ์
มีกิจกรรมหลายอย่างที่ท่านเราะซูลแนะนำว่าเป็นสิ่งที่สามารถนำมาซึ่งบะรอกะฮ์ให้แก่บ่าวของพระองค์ นั่นคือ
1. เชื่อมความผูกพันระหว่างญาติมิตรด้วยกัน ท่านเราะซูลได้กล่าวว่า
مَن أحبَّ أن يبْسَطَ له رزْقُه وينْسَأَلَه في أثرِه فلْْيصِلْ رحِمَه (البخاري/5986)
“ผู้ใดที่อยากจะให้พระองค์อัลลอฮ์แผ่ปัจจัยยังชีพให้แก่เขาและให้เขามีอายุยืนจงเชื่อมความสัมพันธ์กับญาติมิตรของพวกเขา”
2. ซื่อสัตย์ในการซื้อขาย ท่านเราะซูลได้สอนเราไว้ว่า
البيِّعانِ بِالخِيارِ ما لم يتَفَرَّقا فإن صدَقا وبيَّنا بورِكَ لَهما في بيعِهما وإن كتَما وكدبا مُحِقَت بركةُ بيعِهما (رواه البخاري/ 2079 ومسلم)
“ผู้ซื้อขายทั้งสองคนมีสิทธิเลือกและยกเลิกการซื้อขายได้ตราบใดที่ทั้งสองยังไม่ได้แยกตัวออกจากกัน
หากว่าทั้งสองพูดจริงและชี้แจงด้วยสุจริต พระองค์อัลลอฮ์จะกำหนดบะรอกะฮ์ให้แก่ทั้งสอง
แต่ถ้าหากว่าทั้งสองบิดเบือนและพูดเท็จ พระองค์จะทรงลบล้างบะรอกะฮ์ของการซื้อขายของทั้งสอง”
3. รับประทานอาหารพร้อม ๆกัน มีหะดีษบทหนึ่งรายงานว่า
قالوا : يا رسولَ الله ، إنَّا نأكُلُ ولا نشْبَعُ قالَ : فلعلَّكم تفتَرِقون ؟ قالوا : نعم ، قالَ : فاجتَمِعوا على طعامِكم وادكُروا اسْمَ الله يبارِكْ لكم فيه (رواه أبو داود/3764)
“บรรดาเศาหาบะฮ์กล่าวว่า : พวกเรากินแล้วแต่ไม่รู้สึกอิ่ม
ท่านเราะซูลตอบว่า : พวกท่านอาจจะกินไม่พร้อมกันบนโต๊ะเดียวกัน
พวกเขาตอบว่า : ใช่
ท่านตอบว่า : ดังนั้น จงกินพร้อม ๆ กันบนโต๊ะเดียวกัน และกล่าวชื่ออัลลอฮ์ แล้วพระองค์จะให้บะรอกะฮ์แก่พวกเจ้า”