ครูสร้างชาติ
  จำนวนคนเข้าชม  9096

ครู สช. : ครูสร้างชาติ

เรียบเรียง : สุรชัย(ฟูอ๊าด) ไวยวรรณจิตร
 

          การศึกษามีบทบาทอย่างยิ่งต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมอาณาประเทศแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยยังมีข้อจำกัดอยู่มากมายหลายด้านในการพัฒนาการศึกษาให้เดินไปตามเป้าประสงค์ การกำหนดทิศทางที่ควรจะเป็นสมือนเนื้อร้ายที่หากไม่หาทางป้องกันแก้ไขอย่างเร่งด่วนการพัฒนาก็จะยิ่งหาทิศทางการพัฒนาได้อย่างยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดูจะเหมือนไร้กรอบ ไร้ทิศทางในการแก้ไขหรือผลักดันการก่อเกิดองค์ความรู้ที่ควรจะเป็น ให้แก่นักเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านคุณภาพด้านการศึกษา

          จากรายงานค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET) ช่วงชั้นที่ 4 (ม.6) ปีการศึกษา 2551 จำแนกตามจังหวัดของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) (2551) พบว่า การศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีคุณภาพที่ต่ำเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นของประเทศไทย

          เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนในการจัดการศึกษาในพื้นที่จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการพัฒนาที่ถูกทิศทางสามารถปฏิรูปการศึกษาให้สอดคล้องกับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลเชิงประจักษ์

          สาหรับผู้เขียนแล้ว การเป็นครู สช. มิใช่เป็นเพียงแต่เป็นครูที่สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนแต่หมายถึง ครูสร้างชาติอย่างที่ควรจะเป็น บทบาทที่ควรตระหนักภารกิจที่ต้องทบทวนล้วนเป็นสิ่งที่ต้องใคร่ครวญครุ่นคิดเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่แห่งนี้พื้นที่ที่ผู้เขียนเองมองว่ายังคงเป็นพื้นที่แห่งจินตนาการที่เราทุกคนทุกภาคส่วนต้องร่วมวาดฝันไปเรื่อยๆ เพื่อสร้างสังคมแห่งสันติสุขภายใต้กระแสการต้านทานที่หนักหน่วงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้แห่งนี้


การให้การศึกษาด้วยแบบอย่าง

          แบบอย่างในเรื่องการให้การศึกษาหรือการอบรมสั่งสอนนับว่าเป็นวิธีการที่มี อิทธิพลมากสาหรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ที่อยู่ภายใต้การอบรม โดยเฉพาะการอบรมในด้านกริยามารยาทแก่บุตรหลาน การสร้างสภาพจิตใจที่ดีและพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม เพราะผู้อบรม-จะเป็นบิดามารดาหรือครูบาอาจารย์-นับว่าเป็นแบบอย่างที่สูงสุด แก่เด็กๆ แบบอย่างที่ดีจะอยู่ในสายตาของเด็ก เด็กจะเลียนแบบตามที่เขาได้มองเห็น กระทำตามทั้งที่ผู้กระทำนั้นจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ภาพที่เด็กมองเห็น คำพูดที่เขาได้ยิน ความรู้สึกที่เขาได้พบ จะบันทึกลงในความจดจำของเขาทั้งที่รู้ตัว ตั้งใจที่จะจดจำ และไม่รู้ตัวโดยซึมซับเข้าไปในความทรงจำ

          ดังนั้น แบบอย่างนับเป็นการกระทำที่สำคัญมากที่ทำให้เด็กคนหนึ่ง หรือหลายคน เป็น คนดีหรือคนเลวได้ ถ้าบิดามารดาหรือครูที่ดี ซื่อสัตย์ รักยุติธรรม เป็นคนมีเกียรติ กล้าหาญและไม่กระทำผิด .. เด็กที่อยู่ใกล้เขาก็จะเป็นเด็กดี ซื่อสัตย์ ยุติธรรม มีเกียรติ กล้าหาญและจะไม่กระทำผิดด้วย.. ในทางตรงกันข้ามถ้าพ่อแม่หรือครูที่อบรมเลี้ยงดูเด็กเป็นคนที่ชอบพูดโกหก ชอบทำลายล้าง ไว้ใจไม่ได้ เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียวและอื่นๆ เด็กที่เขาเลี้ยงดูก็จะเป็นเด็กที่ชอบพูดโกหก ชอบทำลายล้าง ไว้ใจไม่ได้ เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว และอื่นๆเหมือนบิดามารดาหรือครูที่สอนเขาเช่นกัน

          เด็กแม้จะมีการเตรียมการที่ดีเพื่อให้เป็นเด็กดีหรือคนดีในอนาคต อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าพื้นฐานชีวิตจะบริสุทธิ์และปลอดภัย แต่ก็ไม่สามารถรับรองได้ว่าเขาพร้อมที่จะตอบรับพื้นฐานที่ดี ตราบใดที่เขาไม่ได้รับการศึกษาที่ดีด้วย การมองภาพของบิดามารดาหรือครูที่มี เพียบพร้อมด้วยมารยาทที่ดี มีคุณค่าที่สูงสุดและเป็นแบบอย่างที่สูงส่งเป็นเรื่องง่ายมาก สาหรับครูหรือบิดามารดาที่จะสอนลูกหลานให้เป็นไปตามหลักสูตร หรือตารางการอบรมลูก แต่เป็นเรื่องยากมากที่จะทำให้เด็กกระทำตามที่ได้สอนไว้ตราบใดที่ผู้สอนไม่ ได้ปฏิบัติตามที่เขาสอน

กวีอาหรับท่านหนึ่งได้กล่าวถึงครูคนหนึ่งที่มีพฤติกรรมตรงข้ามกับที่เขาได้สอนเด็กว่า…

“ โอ้ครูที่สอนคนอื่น เจ้าได้สอนตัวเจ้าแล้วหรือยัง

เจ้าบอกยาแก่คนป่วยและคนอ่อนแอ เพื่อให้เขาหายป่วย ทั้งที่เจ้าเองยังป่วยและยังอ่อนแออยู่

เริ่มต้นที่ตัวเจ้าจงหันห่างจากการหลงทาง ถ้าทำสิ่งนั้นได้แล้ว เจ้าก็จะเป็นคนที่ยอดเยี่ยม

เมื่อนั้นคำตักเตือนของเจ้าจะเป็นที่ยอมรับและได้รับการนำไปปฏิบัติ

ความรู้ที่มาจากเจ้า และการสอนของเจ้าก็จะมีประโยชน์”

ที่มา :http://www.yiu.ac.th/