อัล-อีมาน (การศรัทธา)
การอีมาน คือ การศรัทธาต่ออัลลอฮฺ การศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะฮฺ การศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์ การศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูต การศรัทธาต่อวันอาคิเราะฮฺ และการศรัทธาต่อกฏสภาวะทั้งดีและชั่วมาจากอัลลอฮฺ
ดังนั้นการอีมานจะเกิดขึ้นด้วยการพูดและการกระทำ พูดด้วยกับหัวใจและลิ้น ส่วนการกระทำด้วยกับหัวใจ ลิ้น และร่างกาย อีมานจะเพิ่มขึ้นด้วยกับการเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺและจะลดลงด้วยกับการฝ่าฝืนต่อพระองค์
ประเภทต่างๆ ของการศรัทธาعن أبي هريرة رضي الله عنه قال: قال رسول الله ﷺ: «الإيْـمَانُ بِضْعٌ وَسَبْعُونَ، أَوْ بِضْعٌ وَسِتُّونَ شُعْبَةً، فَأَفْضَلُـهَا قَوْلُ لا إلَـهَ إلَّا اللهُ، وَأَدْنَاهَا إمَاطَةُ الأَذَى عَنِ الطَّرِيقِ، والحَيَاءُ شُعْبَةٌ مِنَ الإيْـمَانِ». أخرجه مسلم.
จากอบีฮุรอยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
การศรัทธามีมากกว่า 70 ประเภท หรือมีมากกว่า 60 ประเภท
ระดับที่ประเสริฐที่สุด คือ การกล่าวว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่สมควรแก่การกราบไว้นอกจากอัลลอฮฺ
ระดับที่ต่ำสุด คือ การขจัดสิ่งที่เป็นอันตรายออกจากถนน และความละอายเป็นประเภทหนึ่งของการศรัทธา
(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 35)
ระดับชั้นของการศรัทธาสำหรับการศรัทธามันจะมีรสชาติของการศรัทธา ความหอมหวานของการศรัทธา และแก่นแท้ของการศรัทธา
1. รสชาติของการศรัทธา
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อธิบายถึงรสชาติของการศรัทธา ด้วยวจนะของท่านไว้ว่า
«ذَاقَ طَعْمَ الإيْـمَانِ مَنْ رَضِيَ بِالله رَبًّا، وَبِالإسْلامِ دِيناً، وَبِمُـحَـمَّدٍ رَسُولاً». أخرجه مسلم
ความหมาย
เขาจะได้ลิ้มรสชาติของการศรัทธา ผู้ที่น้อมรับว่าอัลลอฮฺเป็นพระผู้อภิบาล
อิสลามเป็นศาสนา และมุฮัมมัดเป็นศาสนทูต
(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 34)
2. ความหอมหวานของการศรัทธา
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อธิบายถึงความหอมหวานของการศรัทธา ด้วยวจนะของท่านที่ว่า
«ثَلاثٌ مَنْ كُنَّ فِيْـهِ وَجَدَ حَلاوَةَ الإيْـمَانِ: أَنْ يَكُونَ اللهُ وَرَسُولُـهُ أَحَبَّ إلَيْـهِ مِـمَّا سِوَاهُـمَا، وَأَنْ يُـحِبَّ المَرْءَ لا يُـحِبُّـهُ إلا لله، وَأَنْ يَكْرَهَ أَنْ يَـعُودَ فِي الكُفْرِ كَمَا يَكْرَهُ أَنْ يُـقْذَفَ فِي النَّار». متفق عليه
ความหมาย
สามประการหากผู้ใดมีไว้ครอบครองเขาจะได้พบกับความหอมหวานของการศรัทธา
หนึ่ง..การที่เขาทำให้อัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์เป็นที่รักยิ่งแก่เขามากกว่าสิ่งอื่นใด
สอง..การที่เขามอบความรักให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดเขาจะไม่รักบุคคลนั้นยกเว้นรักเพื่ออัลลอฮฺ
สาม..เขารังเกียจที่จะกลับไปเป็นกุฟรฺ (ปฏิเสธ) เสมือนที่เขารังเกียจจะถูกโยนลงไปในเปลวเพลิงของนรก
(บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 16 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 43)
3. แก่นแท้ของการศรัทธา
ผู้ที่จะได้รับสิ่งนี้ต้องเป็นผู้ที่เข้าถึงแก่นแท้ของศาสนา และดำเนินวิถีชีวิตอย่างมีความมุ่งมั่นต่อศาสนา ไม่ว่าด้านการทำอิบาดะฮฺ (เคารพภักดี) การดะวะฮฺ (เผยแผ่) การอพยพ การให้ความช่วยเหลือ ญิฮาด (การทุ่มเทเสียสละในหนทางของอัลลอฮฺ) และการใช้จ่ายไปในหนทางของอัลลอฮฺ
อัลลอฮฺตรัสว่า
ความหมาย แท้จริงบรรดาผู้ที่ศรัทธาคือ ผู้ที่เมื่ออัลลอฮฺถูกกล่าวขึ้นแล้ว หัวใจของพวกเขาก็หวั่นเกรง และเมื่อบรรดาโองการของพระองค์ถูกอ่านแก่พวกเขา
โองการเหล่านั้นจะเพิ่มพูนความศรัทธาแก่พวกเขา และต่อพระผู้อภิบาลของพวกเขานั้นพวกเขามอบหมายกัน บรรดาผู้ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด
และส่วนหนึ่งจากสิ่งที่เราได้ประทานเป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา พวกเขาก็บริจาค พวกเขาเหล่านั้นคือ กลุ่มชนผู้ศรัทธาอย่างแท้จริง
โดยที่พวกเขาได้รับ (เกียรติ) หลายชั้น ณ พระผู้อภิบาลของพวกเขา และจะได้รับการอภัยโทษและปัจจัยยังชีพอันมากมาย (อัลอัมฟาล : 2-4)
อัลลอฮฺตรัสว่า
ความหมาย และบรรดาผู้ที่ศรัทธา บรรดาผู้อพยพ บรรดาผู้ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ บรรดาผู้ที่ให้ที่พักอาศัย และบรรดาผู้ที่ช่วยเหลือนั้น
พวกเขาเหล่านั้นคือ กลุ่มชนผู้ศรัทธาอย่างแท้จริง สำหรับพวกเขาจะได้รับการอภัยโทษและปัจจัยยังชีพอันมากมาย (อัลอัมฟาล : 74)
อัลลอฮฺตรัสว่า
ความหมาย แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธาที่แท้จริง คือ บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและรอสูลของพระองค์แล้วพวกเขาไม่มีการสงสัยเคลือบแคลงใจ
แต่พวกเขาได้เสียสละต่อสู้ด้วยทรัพย์สินและชีวิตของพวกเขาไปในหนทางของอัลลอฮฺ พวกเขาเหล่านั้นคือบรรดาผู้ที่สัตย์จริง (อัลหุญุรอต : 15)
บ่าวคนหนึ่งจะยังไม่บรรลุถึงแก่นแท้ของการศรัทธาอย่างแท้จริง จนกว่าเขาจะรู้ว่าสิ่งที่ถูกกำหนดให้เกิดขึ้นแก่เขา มันจะไม่มีทางพลาดจากเขาไป และสิ่งที่ถูกกำหนดให้พลาดจากเขาจะไม่มีทางเกิดขึ้นแก่เขา
การศรัทธาที่สมบูรณ์คือ การมอบความรักอย่างเต็มเปี่ยมต่ออัลลอฮ์และต่อศาสนทูตของพระองค์ จำเป็นจะต้องมีเครื่องหมายบ่งชี้และหลักฐานของความรักอันนั้น ดังนั้นเมื่อการมอบความรักเพื่ออัลลอฮฺ เกลียดชังเพื่อพระองค์ ทั้งสองประการเป็นการงานของหัวใจ ส่วนการให้เพื่ออัลลอฮฺ การปฏิเสธเพื่อพระองค์ ทั้งสองประการเป็นการงานของสรีระร่างกาย ดังกล่าวเป็นเครื่องหมายที่บ่งชี้ถึงการศรัทธาที่สมบูรณ์และการมอบความรักต่ออัลลอฮฺ อัซซะวะญัลละ- อย่างเต็มเปี่ยมสมบูรณ์
عَنْ أبي أُمَامَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْـهُ عنْ رسُول الله ﷺ أنهُ قالَ: «مَنْ أحَبَّ ٬ وأبغَضَ ٬ وأعْطَى ٬ وَمَنَعَ ٬ فَقَدِ اسْتَـكْمَلَ الإيمَانَ». أخرجه أبو داودจากอบีอุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ จากท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
ผู้ใดที่รักใคร่ เกลียดชัง มอบให้ และปฏิเสธ เท่ากับเขาได้แสวงหาความศรัทธาที่สมบูรณ์
(บันทึกโดยอบูดาวุด หะดีษหะสัน หมายเลขหะดีษ 4681 ดูเพิ่มเติมในหนังสือสิลสิละฮฺ อัศเศาะฮิฮะฮฺ หมายเลขหะดีษ 380)
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ / Islam House