อีหม่าน...ฐานเศรษฐกิจที่ขาดหายไป
  จำนวนคนเข้าชม  9316

 

อีหม่าน...ฐานเศรษฐกิจที่ขาดหายไป !

 อับดุลฮาฟิษ อัสวีย // เขียน


          การกล่าวถึงโลกอิสลามและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจปัจจุบัน  สร้างคำถามมากมายในความคิดของผู้คนว่า  ทำไมโลกอิสลามจึงล้าหลังทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งๆ ที่อัลอิสลามส่งเสริมเรื่องความก้าวหน้าและการพัฒนาพร้อมกับมีปัจจัยสนับสนุนในทางปฎิบัติ   ข้อสำคัญอัลอิสลามกล่าวว่าการสร้างความเจริญเติบโตบนโลกใบนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งจากภาคอิบาดะฮ์ 

          คำตอบเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องคิดให้มากมาย   เพราะตั้งแต่บรรดาประเทศอิสลามได้รับอิสรภาพจากการล่าอาณานิคมอย่างเป็นทางการ  ประเทศอิสลามก็ขาดความเป็นตัวของตัวเองในการเลือกเฟ้นเส้นทางพัฒนา  เพื่อสร้างความเจริญเติบโตให้กับตนเอง  นอกเหนือจากความผิดพลาดจากฝ่ายบริหารด้านเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอิสลาม  ประเด็นสำคัญคือ  ประเทศเหล่านี้ไม่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและยาวไกล  ซึ่งสามารถส่งผลสะท้อนกลับสู่พวกพ้องและประเทศชาติของตนเองได้

          ท่าน  มาลิก  บิน นะบีย์  นักเขียน และนักคิด นักเศรษฐศาสตร์อิสลาม ได้กล่าวถึงความจริงหลายประการด้วยกันในหนังสือ  อัลมุสลิม  ฟี  อะลัม อัลอิกติศอดีย์  ส่วนหนึ่งได้แก่ เรื่องความเสมอภาคทางสังคมในกลุ่มประเทศมุสลิม  ยังมีความแตกต่างจากสังคมตะวันตกอย่างสิ้นเชิง   ทั้งๆ ที่ต้นของศตวรรษที่  60  ประเทศอินโดนีเซียเพิ่งได้รับเอกราช  แต่เศรษฐกิจของประเทศเยอรมันกำลังอยู่ในช่วงพยายามวางแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจภายใต้คนคิดอ่านและวางแผนเพียงคนเดียว

 

เศรษฐกิจของเราต้องกลับไปดูที่อะกีดะฮ์ของเรา

          หลักการของพื้นฐานของทฤษฎีว่าด้วยเศรษฐศาสตร์นั้น  ถือว่าวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยหลักทางสังคม  ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบและรับผลกละทบต่อ / จากวิชาการแขนงต่างๆ อย่างมาก  เช่น ทางพฤติกรรมและการศรัทธาต่ออัลลอฮ์  เหมือนอย่างที่ศาสนทูตแห่งอัลอิสลามได้ให้การยอมรับ  เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถผลักดันไปสู่พฤติกรรมต่างๆ ในเชิงบวกได้   ทั้งในระดับรายบุคคลและระดับสังคมส่วนร่วม   ตลอดจนสามารถผลักดันการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ  ทั้งในระดับบุคคล  ห้างร้าน  องค์กรต่างๆ   รวมทั้งในระดับประเทศ   เหล่านี้ล้วนได้รับผลกระทบจากพื้นฐานทางความเชื่อหรืออะกีดะฮ์แทบทั้งสิ้น

          ผลสำรวจของวงการเศรษฐกิจประเทศมุสลิมบางประเทศพบว่า  ได้รับเอาระบบเศรษฐกิจจากตะวันตกมาใช้เป็นส่วนใหญ่    โดยถือว่าเป็นรูปธรรมที่สามารถจับต้องได้ทุกอย่าง  คำสอนเชิงศาสนาและคุณธรรมจึงถูกแยกออกอย่างเอกเทศ  และไม่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ  นี่คือการรับเอาความคิดตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลต่อโลกดุนยาและคุกคามวิถีชีวิตมุสลิม  การโยกย้ายแนวคิดโดยใช้วิธีการดังกล่าวคือสิ่งที่ผิด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรับแนวคิดตะวันตกในเชิงผลดีและแง่บวกมาอย่างขาดวิจารณญาณ  ขาดการใคร่ครวญ  และไตร่ตรอง  ถึงผลเสีย  จนทำให้เรากลายเป็นผู้เสียเปรียบ  สูญเสีย  และขาดทุนทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์

          ตามความคิดข้าพเจ้า(ผู้เขียน)  เป็นเรื่องยากที่จะเข้าไปแก้ไขวิกฤติทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศมุสลิมที่ยังห่างไกล จากการอีหม่านต่ออัลลอฮ์ให้หายหมดจดอย่างแท้จริง  แม้ว่าจะเป็นรากฐานและหลักการที่ไม่ใช่วัตถุนิยมหรือรูปธรรมก็ตาม  ยกเว้นจะก่อให้เกิดผลสะท้อนกลับในทางวัตถุที่สามารถจับต้องได้อย่าง  เช่น กรณีของเชิงบวกหรือเชิงลบ  หรือเป็นรูปธรรมขาดๆ หายๆ และเพิ่มขึ้น เป็นต้น  ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว  การอีหม่านต่ออัลลอฮ์  จะต้องมีการปฎิบัติตามบทบัญญัติของพระองค์เป็นสิ่งควบคู่กันไปเสมอ 

     (1) เพื่อเป็นการรักษาประโยชน์ของประเทศชาติและความเจริญเติบโตของสังคม  โดยมีการแสวงหาผลกำไรที่ฮะลาล  ละทิ้งการกักตุนสินค้า  เพื่อโก่งราคา  ไม่ทุจริต  ยักหยอก  แอบแฝง  หรือมีเงื่อนงำต่างๆ 

     (2) เพื่อเป็นการปกป้องเกียรติยศ  ชื่อเสียง  ทรัยพ์สินและผลประโยชยน์ของมวลชนด้วยกัน  จึงจำเป็นต้องยึดถือตามบญญัติที่ว่าด้วยเรื่อง  ฮะลาลและฮะรอม  อย่างจริงจัง   

 

ทฤษฎีที่หวานแววกับความจริงที่ปวดร้าว

          ประเทศอิสลามส่วนใหญ่ (ไม่ใช่ทั้งหมด) เป็นประเทศที่กำลังเจริญเติบโต  และเป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างยิ่งที่พบประเทศมุสลิมอีก  20  กว่าประเทศที่ต้องการพัฒนาไปสู่ระดับสากล   ความล้าหลังและตกต่ำดังกล่าวเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน  ซึ่งมาจากสาเหตุภายนอกและภายใน  ตลอดจนสาเหตุที่เกิดจากฝีมือของพวกเรากันเอง  แต่สาเหตุสำคัญที่สุดคือ  ขาดการเชื่อมั่นและยึดมั่นในหลักการและระบบของอัลลอฮ์ อย่างจริงจัง  นอกจากนั้นได้แก่ 

     1. การเสนอหรือส่งมอบงานแก่ผู้ที่มีความเชื่อถือไว้วางใจได้ หรือกับผู้ที่เชี่ยวชาญที่ได้รับมอบหมาย  โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ  ซึ่งจะพบมากในองค์กรต่างๆ ในภาคเศรษฐกิจที่ยังมีความอ่อนแอ เปราะบาง  และบกพร่อง  จนนำไปสู่การโยกย้ายผู้มีความสามารถไปสู่โลกภายนอก (สมองไหล)  ซึ่งถือเป็นการดับไฟแห่งความคิดริเริ่ม  สร้างสรรค์  และมานะพยายามที่จะอยู่ในองค์กรนั้นๆ อีกต่อไป

     2. การไม่สนใจที่จะยกระดับคุณภาพของบุคคลากรผู้ร่วมงาน  หรือละเลยการศึกษาค้นคว้า  การวิจัย  และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทุ่มเท

     3. ความทุจริตและความเสียหายขยายตัวระหว่างผู้รับผิดชอบด้วยกัน  โดยเฉพาะการไม่เข้มงวด  การปล่อยปละละเลย  หรือการละหลวมเกินไป   ตลอดจนการทำยึดติดกับสายอาชีพ  หรือสิ่งที่ตนเองถนัดเท่านั้น

          หลายคนคงได้เห็นความหายนะที่แพร่กระจายคลุมกลุ่มประเทศอิสลาม  ผู้นำบางประเทศครอบครองทรัพยากรของประเทศถึง  40  ล้านดอลลาร์สหรัฐ  แต่ปล่อยให้ประชากรตนเองครวญครางเพราะความหิวโหย  และอดยาก  จนกลายเป็นเหยื่อองค์กรเผยแพร่ของศริสเตียนเพื่อแลกกับเศษอาหารและขนมปังเพียงไม่กี่ชิ้น  บางประเทศรัฐบาลทำสัญญาข้อตกลงกับกลุ่มมาเฟียบางกลุ่มโดยไม่มีใครรู้เรื่อง  เมื่อเกิดความวุ่นวายจนนำไปสู่การเสียชีวิตของผู้นำมาเฟียที่มีความสนิทสนมกับคนในรัฐบาล   ประชาชนเพิ่งตาสว่างและรู้ว่าอันที่จริงเขานั้นมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับรัฐบาลอิสราเอลเหมือนกัน  ท่านนะบี  เคยกล่าวว่า 

 “พวกท่านทุกคนมีหน้าที่  และพวกท่านจะต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ของพวกท่าน”

     4. การไม่ส่งเสริมให้ประชาติอิสลามมีคุณภาพและให้เห็นคุณค่าข้อกำหนดเรื่อง  ฮะลาล  หรือ  ฮะรอม  ซึ่งส่วนใหญ่จะพบว่าสิ่งที่ฮะรอมจะเป็นอันตรายเสียส่วนใหญ่  ข้อสำคัญคือ มุสลิมส่วนมากยังนิยมบริโภคและใช้จ่ายกันอย่างฟุ่มเฟื่อย  และไม่สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นของตนเองอย่างแท้จริง  เช่นเดียวกับระดับประเทศและรัฐบาลที่มีพฤติกรรมอย่างนี้  หลายประเทศประสบกับภาวะอ่อนแอและไม่สมดุลย์   สาเหตุหลักคือ  การใช้จ่ายทุกอย่างกันโดยขาดการชี้แนะจากภาครัฐ   จนนักเศรษฐศาสตร์อิสลามหลายท่านเรียกการบริโภคและจับจ่ายใช้สอยลักษณะนี้ว่า  การใช้จ่ายที่นำไปสู่การล่มสลาย

          หากพิจารณาในด้านคุณค่าของฮะลาลและฮะรอมในเชิงเศรษฐศาสตร์แล้ว  เราจะพบว่า องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐไม่เคยเห็นคุณค่าหลักการอัลอิสลาม  เช่น ปี 1988  พบว่ากลุ่มประเทศเอเชียตะวันตก  เช่น  มาเลย์ฯ และอินโดฯ ประสบปัญหาขาดความสมดุลย์  ต่อมาได้มีการผลักดันเสนอให้รัฐออกระเบียบจัดเก็บภาษีผู้ที่ทุจริตฝ่าฝืนบัญญัติศาสนา  ซึ่งเคยถือว่าเป็นงานที่ไม่เคยถูกเก็บมาก่อน   บรรดาผู้กระทำผิดเหล่านี้คือ  ดัชนีชี้วัดของเศรษฐกิจและหลักการอิสลาม ? หรือ ยิ่งไปกว่านั้นรัฐธรรมนูญในประเทศบังกลาเทศยังถือว่า  การประกอบอาชีพที่ฝ่าฝืนบัญญัติศาสนา  คือส่วนหนึ่งของงานที่กฎหมายต้องให้การยอมรับว่าเป็น งานสร้างเศรษฐกิจ !

     ส่วนประเทศอิสลามบางประเทศยังคงถือว่า ไม่เป็นบาปหากการดำเนินงานทางเศรษฐกิจยังเกี่ยวข้องกับระบบดอกเบี้ยทั้งในภาครัฐและเอกชน  ยิ่งไปกว่านั้นงานสังคมประเภทต่างๆ ยังนิยมจิบหรือดื่มสุรา  และเล่นการพนัน  โดยอ้างว่าเพื่อการพักผ่อน  แต่ลืมว่าแท้จริงอัลลอฮ์จะทรงเอาโทษผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์  ท่านนะบี  เคยกล่าวว่า 

“แท้จริงคนๆ หนึ่งรีสกีของเขาจะถูกตัด (ห้าม) เพราะบาปที่เขาได้กระทำ”

     5. รัฐบาลหลายประเทศยังคงปล่อยปัญหาให้คาราคาซังข้ามปี  และหลายประเทศหลงลืมบางสิ่งบางอย่างไปในที่สุด   ปัญหาเหล่านี้จะพบได้จากกลุ่มประชาชนที่หมดทางแก้ไข 

     6. ปฎิกริยาของระบบเศรษฐกิจที่ได้รับการชักจูงจากระบบทุนนิยม หรือกระแสระบบเศรษฐกิจสากลของโลกสมัยใหม่นั้นมีโครงสร้างค่อนข้างชัดเจนและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ขณะที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศอิสลามไม่ได้รับการพัฒนา  ซึ่งกลายเป็นเหยื่อทันทีเมื่อเข้าไปสู่การแข่งขันกันในระดับโลก

          ตัวอย่างดังกล่าวเห็นได้จากข้อผูกมัดทางการตลาดและความพยายามที่จะเรียกผู้ปฎิบัติว่าการยักยอกทรัพย์สินของประชาชาติออกนอกประเทศ  หรือไม่ก็ผลิตออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการต่างชาติเท่านั้น โดยที่ไม่คิดผลิตเพื่อธุรกิจอุตสหกรรม  หรือไม่พัฒนาองค์ความรู้  หรือวิชาการต่างๆ  หรือแค่ตอบสนองความต้องการของงานๆ หนึ่งอย่างเฉพาะ  โดยไม่สนใจผลกระทบต่อคนส่วนร่วมและส่วนบุคคล

         การเรียกร้องให้มีการฟื้นฟูถูกนำไปแลกเปลี่ยนเป็นความเลื่อมล้ำด้านการเจริญเติบโต  โดยไม่คำนึงถึงช่องทางการใช้จ่าย  ปริมาณ  และความต้องการที่เป็นไปได้ของประชาชาติ  ทั้งๆ ที่การเจริญเติบโตในด้านนี้เป็นสิ่งต้องห้ามมาก่อนและสำคัญกว่าสิ่งอื่น  แต่ทำเหมือนกับว่าเรื่องความเชื่อ(อะกีดะฮ์) และศาสนาประจำชาตินั้นไม่มีความหมายใดๆ   ผลลัพธ์จึงมีแต่การเพิ่มความล้าหลัง  และการก้าวไม่ทันประเทศตะวันตก

 

พระเจ้า  โลก   และการมีชีวิตอยู่

          การกล่าวถึงเศรษฐกิจอิสลามและคุณค่าของเศรษฐกิจอิสลามนั้นก็เพราะมันเป็นองค์ประกอบขั้นพื้นฐานที่ส่งผลกระทบให้มีการขัดแย้งกัน  ไม่ว่าจะเป็นด้านทฤษฎีหรือด้านปฎิบัติ  โดยเฉพาะในทางทฤษฎี  นักวิชาการบางคนยังไม่เห็นด้วยที่จะยอมรับว่าวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของอัลอิสลาม  โดยอ้างว่ามันเป็นเพียงแค่ความรู้หรือศาสตร์ธรรมดาเท่านั้น   ถ้ามิเช่นนั้นเราคงต้องเรียกมันว่า  เศรษฐศาสตร์คริสเตียน  เศรษฐศาสตร์ยะฮูดีย์  และเศรษฐศาสตร์พุทธ

         ขณะที่ข้าพเจ้ากำลังศึกษาอยู่   ศาสตราจารย์หลายๆ ท่านซึ่งนิยมแนวทางสังคมนิยม  ข้าพเจ้าได้ถกปัญหาเชิงเปรียบเทียบระหว่างแนวคิดเศรษฐศาสตร์อิสลามกับแนวทางอื่นๆ  ซึ่งได้ข้อสรุปตรงที่ว่า  แท้จริงพวกท่านอย่าได้แยกระหว่างจริยธรรมและเศรษฐศาสตร์ออกไปเป็นอีกวิชาหนึ่ง  ต่อมาเมื่ออียิปต์ประสบปัญหาการบริหารด้านการเงินและทรัพย์สิน  นักวิชาการของเราก็ได้หยิบยกแนวทางที่เรียกว่า  เศรษฐศาสตร์อิสลาม  และถือว่าเป็นสิ่งที่ผิด  ดังนั้นอัลอิสลามจึงเป็นเพียงแค่ศาสนาในความคิดของพวกเขาเท่านั้น   และจำเป็นจะต้องตัดทฤษฤีที่มนุษย์เป็นผู้ร่างขึ้นออกไปให้เหลือเพียงแค่อัลอิสลามเป็นเพียงศาสนาอันทรงเกียรติเท่านั้น  

          แนวคิดข้างต้นแตกต่างจากความเชื่อมั่นที่ว่า  อัลอิสลามเป็นศาสนาที่ครอบคลุมไปหมดทุกๆ ด้าน  อัลอิสลามเป็นศาสนาที่จัดระเบียบในการดำเนินชีวิตในทุกๆ เรื่อง  โดยกรอบอันเข้มแข็งต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด   และนำการอิจญ์ติฮาต (วิเคราะห์) มาใช้ในทางปฎิบัติด้วย  ข้อสำคัญตลอดเวลาอันยาวนาน  1400  กว่าปีที่ผ่านมา  ประชาชาติมุสลิมดำเนินชีวิตอยู่บนทางนำแห่งชะรีอะฮ์ย่างมีเกียรติ  ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าชะรีอะฮ์มีกฎหมายว่าด้วยเศรษฐศาสตร์อันโดดเด่นอยู่ด้วย


 

          ถึงเวลาแล้วที่พวกเราจำเป็นต้องกลับไปดูอารยธรรมอันรุ่งเรืองสมัยก่อน  เพื่อพวกเราจะได้นำไปแก้ไขในจุดต่างๆ  ที่ผิดพลาด  และนำพาประชาชาติของพวกเราออกจากระบบเศรษฐกิจที่ไร้จริยธรรมหรือเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ใช่อัลอิสลาม เราจำเป็นจะต้องเริ่มปลูกฝังอีหม่านให้เกิดขึ้นในหัวใจของประชาติอิสลาม  เพื่อรองรับการเติบโตและความก้าวหน้าด้วยตนเองอย่างแท้จริง 

          ในเวลาเดียวกันเราจะต้องพยายามขจัดการใช้จ่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์อย่างไร้สาระ  ฟุ่มเฟื่อย  และตัดสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกไป  หรือตัดผลประโยชน์ส่วนตัวที่มีผลกระทบต่อส่วนรวมออกไป   อีหม่านลักษณะนี้จะไม่ก่อให้เกิดผลอันใดยกเว้นจะต้องมีการศรัทธา (อะกีดะฮ์) ที่ตรงเจตนารมณ์เสียก่อน  และอะกีดะฮ์ในความหมายกว้างๆ ก็คือ  การใคร่ครวญและการไตร่ตรองของเราที่มีต่อ พระเจ้า  โลก   และการมีชีวิตอยู่    เพราะแม้อัลอิสลามจะแยกแยะความผูกพันธ์ระหว่างทั้ง 3  ประการก็จริง  แต่องค์ประกอบทั้ง  3  ประการก็คือสิ่งที่อัลอิสลามขาดประการหนึ่งประการใดมิได้เลย

 

นิพล  แสงศรี //แปลและเรียบเรียง