มุอฺญิซาตที่ดำรงอยู่ถาวร
  จำนวนคนเข้าชม  18266

 

หลักฐานการเป็นนะบี และปฏิหาริย์
 

          มุอญิซาต คือ เรื่องราวที่เป็นปฏิหาริย์ และเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นในแนวทางของจักรวาลโลก(*1*) ดังนั้น อัลลอฮซุบฮานะฮูวะตะอาลา มิได้ทรงส่งท่านนะบี  มาเว้นแต่ที่พระองค์จะทรงให้ท่านมีสิ่งที่เป็นปฏิหาริย์  หรือมีสิ่งที่เป็นมหัศจรรย์อันมากมายที่บ่งชี้ถึงว่าท่านนะบีมุฮัมมัด เป็นนะบีที่ถูกส่งมาจากพระองค์อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา สู่มนุษย์ชาติ ต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงความสำคัญของสิ่งที่เป็นปฏิหาริย์ของท่านนะบี   และหลักฐานของการเป็นนะบี  ของท่าน

 

มุอญิซาตที่ดำรงอยู่ถาวร

          อัลกุรอานุลกะรีม หรือ พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน คือ คำดำรัสของอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา  ซึ่งประทานลงมายังท่านนะบีมุฮัมมัด  ผู้ที่อ่านพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานนั้นถือว่าเป็นผู้ที่ปฏิบัติอิบาดะฮ์(*2*) และคัมภีร์อัลกุรอานก็เป็นปฏิหาริย์อันยิ่งใหญ่แก่ท่านนะบีมุฮัมมัด  อัลกุรอานได้ชี้นำถึงความยิ่งใหญ่แห่งสาส์นของอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา อัลกุรอานนั้นได้ถูกประทานลงมายังญินและมนุษย์ทั้งมวล และอัลกุรอานมีความเที่ยงธรรมในทุกกาลสมัย  ตราบจนถึงวันกิยามะฮ์

          การเผยแพร่ของบรรดานะบีในยุคก่อนๆ ถูกจำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มชนนั้นๆ หรือเวลาและสถานที่ที่ถูกกำหนดไว้ ด้วยเหตุนี้สิ่งที่เป็นปฏิหาริย์ของบรรดานะบีก่อนๆ จึงถูกจำกัดด้วยกาลเวลาและกาลสมัย และสิ่งที่เป็นปฏิหาริย์ที่ได้นำมาแก่ท่านนะบี ในอัลกุรอานนั้นจีรังและยั่งยืน มนุษย์ทุกคนสามารถสัมผัสและรู้สึกได้ตราบจนกระทั่งวันสิ้นโลก

ดังที่ท่านเราะซูล   ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า   : 

  

مَا مِنَ اْلأََنْبِيَاءِ نَبِيٌّ إِلاَّ أُعْطِيَ مِنَ الآيات مَا مِثْلهُ آمَنَ عَلَيْهِ الْبَشَرُ

وَإِنَّمَا كَانَ الَّذِي أُوتِيتُ وَحْيًا أَوْحَاهُ اللَّهُ إِلَيَّ فَأَرْجُو أَنْ أَكُونَ أَكْثَرَهُمْ تَابِعًا يَوْمَ الْقِيَامَةِ

 

          ความว่า  : ไม่มีนะบีคนใดจากบรรดานะบีทั้งหลาย  นอกจากจะประทานหลักฐานต่างๆ (แห่งการเป็นนะบี) สิ่งที่คล้ายคลึงกับอัลกุรอานนั้น มนุษย์นั้นก็ได้ศรัทธาต่อบรรดานะบีมาแล้ว  และสิ่งที่ฉัน ( นะบี ) ได้นำมานั้นเป็นการวะฮีย์ซึ่งพระองค์อัลลอฮ์ ทรงวะฮีย์ ( ดลใจ )ให้ฉัน และฉัน ( นะบี ) หวังว่าตัวฉันนี้พวกท่านทั้งหลายจะปฏิบัติตามจวบจนถึงวันกิยามะฮ์(*3*)

          การที่มีผู้ปฏิบัติตามท่านเราะซูล โดยปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นคำสั่ง(อัลกุรอาน)เป็นประจำ จึงทำให้มีผู้ศรัทธามากขึ้น(*4*) และได้นำมาซึ่งถ้อยคำที่เป็นโวหาร ของพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน และแนวทางต่างๆ แต่ส่วนหนึ่งที่สำคัญคือ ;

1.

ถ้อยคำ โวหาร ในด้านภาษาศาสตร์ ซึ่งจะปรากฏอยู่ในคำกล่าวที่ชัดเจน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

           ถ้อยคำที่ไพเราะของอัลกุรอาน และการเรียบเรียงที่สวยงาม และสำนวนต่างๆ ในอัลกุรอานจะมีอรรถรสแตกต่างกัน เพราะอัลกุรอานนั้นได้ถูกประทานลงมายังสังคมอาหรับ ซึ่งเป็นผู้ที่พูดจาฉะฉาน มีศิลปะในสำนวนคำพูดต่างๆ และความเร้นลับของวาทศิลป์ ชาวอาหรับเป็นกลุ่มชนที่มีวาทศิลป์ที่ดีเยียมที่สุด พร้อมกันนั้นพระองค์อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ทรงท้าทายอาหรับมุชริกีน (พวกปฏิเสธ)โดยให้พวกเขานำสิ่งที่คล้ายคลึงกับอัลกุรอาน(ทั้งเล่ม)มา หลังจากนั้นอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงท้าทายพวกเขาให้นำมาสักสิบซูเราะห์ ยิ่งไปกว่านั้นพระองค์อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ทรงท้าทายพวกเขาให้นำมาสักหนึ่งซูเราะห์ แต่พวกเขาก็ไม่มีความสามารถ

          ดังที่อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา  ได้ทรงกล่าวไว้ในอัลกุรอานตอนหนึ่งว่า :

         

         และหากพวกเจ้ามีการสงสัยใดๆจากสิ่งที่เรา(อัลลอฮ์)  ได้ให้ลงมาแก่บ่าวของเราแล้ว ก็จงนำมาสักซูเราะห์หนึ่งเยี่ยงนี้ และจงเชิญชวนผู้ที่อยู่ในหมู่พวกเจ้าอื่นจากอัลลอฮ์ หากพวกเจ้าเป็นผู้พูดจริง 

          แต่ถ้าพวกเจ้ายังมิได้ทำและจะไม่สามารถจะทำได้ตลอดไป ก็จงระวังไฟนรก  ซึ่งเชื้อเพลิงของมันนั้นคือ มนุษย์และก้อนหิน( เจว็ด ) โดยที่มันได้ถูกเตรียมไว้สำหรับบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา”

(อัลบะกอเราะห์ 2 : 23 – 24)

           อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงท้าทายชาวอาหรับด้วยอัลกุรอาน ซึ่งมีแนวทางคล้ายคลึงกับ ปฏิหาริย์ ของบรรดานะบีๆยุคก่อน โดยที่พระองค์ประทานปฏิหาริย์ต่างๆ ให้เหมาะสมต่อเหตุการณ์แก่กลุ่มชนของพวกเขา ซึ่งพระองค์อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงประทานไม้เท้าให้กับนะบีมูซาอะลัยฮิสลาม ในกลุ่มชนนั้นเป็นที่เลื่องลือในด้านไสยศาสตร์ และให้ท่านนะบีอีซาอะลัยฮิสลาม ทำให้คนที่ตายไปแล้วฟื้นคืนชีพขึ้นมา ด้วยอนุมัติของอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา และทำให้คนที่เป็นใบ้กลับกลายเป็นพูดได้ และทำให้คนที่เป็นโรคเรื้อนหายจากโรคนั้น ซึ่งท่านได้อยู่ในกลุ่มชนที่ชำนาญทางการแพทย์ (*5*) 

 

2.

อัลกุรอานเป็นสิ่งมหัศจรรย์  เพราะได้ประมวลไว้ด้วยข้อตัดสินที่สำคัญๆ  คำสั่งใช้และข้อห้าม  จรรยามารยาท  และเรื่องราวต่างๆ  ทั้งนี้อัลกุรอานได้เป็นระเบียบขั้นตอน ไม่มีการขัดแย้งกันเลย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ดังที่อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา  ทรงตรัสว่า :      

 

 

 ความว่า  “พวกเจ้ามิได้พิจารณาอัลกุรอานบ้างหรือ และหากว่าอัลกุรอานมาจากผู้ที่มิใช่เป็นอัลลอฮ์แล้ว แน่นอนพวกเขาก็จะพบว่าในนั้นมีความขัดแย้งกันมากมาย” (อัลนิซาอฺ 4 : 82)

3.

 

สิ่งที่ทำให้รู้สึกถึงสัจธรรม สำหรับผู้ที่ได้ฟังอัลกุรอาน  ถึงแม้ว่าผู้นั้นจะยังไม่ศรัทธาต่อคัมภีร์อัลกุรอานก็ตาม แต่ได้ส่งผลให้รู้สึกประทับใจเมื่อได้ยิน แม้จะยังมิได้ศรัทธาก็ตาม กี่มากน้อยแล้วที่คนเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามเมื่อได้ฟังอายาตอัลกุรอาน แม้เพียงอายาตเดียว 

 

 

  

          ดังนั้น บรรดามุชริกีนในสมัยของท่านนะบี   จึงรู้ดีถึงผลสะท้อนอันนี้  ด้วยเหตุนี้พวกเขา(มุชริกีน)จึงได้สั่งห้ามผู้คนมิให้ฟังคัมภีร์อัลกุรอาน และให้ทำเสียงรบกวนผู้ที่ปรารถนาจะฟังอัลกุรอาน ดังที่พระองค์อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ทรงตรัสถึงพวกเขาในอัลกุรอานว่า :

 ความว่า  “และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาได้กล่าวว่า พวกท่านอย่าไปฟังอัลกุรอานนี้เลย แต่จงทำเสียงอึกทึกในขณะนั้น  เพื่อว่าพวกท่านจะมีชัยชนะ” (ฟุศศิลัต 41 : 26)

           พวกมุชริกีนมักกะฮได้ข่มขู่คนที่เข้าสู่นครมักกะฮ์ว่า ท่านนะบีมุฮัมมัด เป็นนักไสยศาสตร์ สามารถที่จะแยกได้ในระหว่างลูกกับพ่อ พี่กับน้อง และสามีกับภรรยา พวกเขากล่าวหาและกล่าวว่าอย่าไปพูดและฟังมุฮัมมัด(*6*) แต่พวกมุชริกีนเหล่านั้นก็ไม่สามารถเอาชนะหัวใจของตนเองได้ เนื่องจากการที่เขาชอบฟังอัลกุรอาน เมื่อพวกเขามีโอกาสที่จะได้ยินคัมภีร์อัลกุรอานนั้น 

           ดังนั้น หลังจากการเกิดสงครามบัดร ท่านญไบยร บินมุฏอิม ได้ไปที่เมืองมะดีนะฮ์ เพื่อเจรจาเกี่ยวกับเรื่องเชลยศึก ก่อนที่เขาจะเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม เขาได้พูดกับตัวเองว่า ขณะที่ฉันเข้าไปในมัสญิดนั้น ท่านเราะซูล   กำลังละหมาดมัฆริบ ท่านเราะซูล  ได้อ่านซูเราะฮฏู๊ร ขณะที่ฉันได้ฟังอัลกุรอานอยู่นั้น หัวใจของฉันได้รับรู้ถึงสัจธรรม  (*7*)

 

4.

 

 

อัลกุรอานบอกให้ท่านนะบี  ทราบถึงเรื่องราวในอดีต  กล่าวถึงประชาชาติก่อนๆ  และเรื่องราวของพวกเขากับบรรดาเราะซูลของพวกเขาถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  ทั้งๆที่ท่านนะบี เป็นคนที่อ่านไม่ออก เขียนไม่เป็น และท่านมิได้เป็นนักเดินทางที่จะรู้ถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ซึ่งกล่าวถึงประวัติโดยย่อ ของท่านหญิงมัรยัมและบุตรชาย คือ ท่านนะบีอีซา อะลัยฮิสลาม 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

ดังที่พระองค์อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงตรัสว่า :

ความว่า  “นั้นคือส่วนหนึ่งจากบรรดาข่าวคราวอันเร้นลับ ซึ่งเราได้ชี้แจงให้เจ้า(มุฮัมมัด)ได้ทราบ และเจ้ามิได้อยู่ ณ ที่พวกเขา ขณะที่พวกเขาโยนเครื่องเสี่ยงทายของพวกเขา( เพื่อให้รู้ว่า )  ใครในหมู่พวกเขาจะได้อุปการะมัรยัม และเจ้ามิได้อยู่ ณ ที่ที่พวกเขาโต้เถียงกัน” (อาละอิมรอน 3 : 44)

           หากว่าอัลกุรอานมิได้เล่าเรื่องราวในอดีต ก็จะไม่มีใครได้รู้เลย และเรื่องราวบางอย่างในยุคก่อนๆได้เล่าไว้ในคัมภีร์ก่อนหน้าบ้างแล้ว อัลกุรอานจึงได้มายืนยันเรื่องราวดังกล่าว  ดังที่ได้กล่าวไว้ในอัลกุรอานว่า :

ความว่า  “แท้จริง ในเรื่องราวของพวกเขานั้นเป็นบทเรียนสำหรับบรรดาผู้มีสติปัญญา มิใช่เป็นเรื่องราวที่ถูกปั้นแต่งขึ้น  แต่ทว่าเป็นการยืนยันความจริงที่อยู่ต่อหน้าเขา  และเป็นการแจกแจงทุกสิ่งทุกอย่าง  และเป็นการชี้ทางที่ถูกต้อง  และเป็นความเมตตาแก่หมู่ชนผู้ศรัทธา” (ยูซุฟ 12 : 111)

 

5.

 

อัลกุรอานได้บอกให้ท่านนะบี ทราบถึงอนาคต ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่เป็นปฏิหาริย์ของอัลกุรอาน คือ อัลกุรอานบอกให้ทราบถึงเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  และมันก็เกิดขึ้นจริงตามที่ได้บอกไว้อย่างมากมาย ดังเช่นที่อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา  ทรงตรัสว่า :

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อะลิฟ ลาม มีม ( ประโยคนี้ไม่มีใครผู้ใดให้ความหมายได้นอกจากอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา  เท่านั้น )

พวกโรมันได้ถูกพิชิตแล้ว

ในดินแดนอันใกล้นี้ แต่หลังจากการปราชัยของพวกเขาแล้ว พวกเขาจะได้รับชัยชนะ

เวลาไม่กี่ปีต่อมา พระบัญชานั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ทั้งก่อนและหลัง(ชัยชนะ) และวันนั้นบรรดาผู้ศรัทธาจะดีใจ 

ในด้วยการช่วยเหลือของอัลลอฮ์ พระองค์จะทรงช่วยเหลือผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ  ผู้ทรงเมตตาเสมอ

(อัรรูม 30 : 1-5)

           อายะฮนี้ได้ถูกประทานลงมา ในขณะที่พวกเปอร์เซียได้มีชัยชนะเหนือพวกโรมัน การมีชัยชนะของพวกเปอร์เซียทำให้พวกกุฟฟ๊ารกุเรซมีความภูมิใจ เนื่องจากพวกเขาเป็นพวกเดียวกัน(บูชาเจว็ด)กับพวกเปอร์เซีย ส่วนบรรดามุสลิมทั้งหลายหวังว่ากรุงโรมันจะได้รับชัยชนะ เนื่องจากพวกโรมันเป็นชาวคัมภีร์เหมือนกัน เมื่อเวลาได้ผ่านไปเจ็ดปีเศษ ในที่สุดกรุงโรมก็ได้รับชัยชนะเหนือพวกเปอร์เซีย พวกกุฟฟารก็เสียใจ ส่วนบรรดามุสลิมีนทั้งหลายต่างก็ดีใจต่อชัยชนะ และมีประชาชนเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุนี้ด้วย (*8*)

6.    

การประมวลของอัลกุรอานถึงเรื่องเร้นลับทางวิชาการ และระบบจักวาลโลกซึ่งไม่มีผู้ใดรู้ นอกจากที่อัลกุรอานได้ประทานลงมาก่อนแล้ว  ดังที่อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา  ทรงแจ้งไว้ในอัลกุรอานว่า :

 

 

         ความว่า  “เราจะให้พวกเขาได้เห็นสัญญาณทั้งหลายของเราในขอบเขตอันไกลโพ้น  และในตัวของพวกเขาเอง จนกระทั้งจะเป็นที่ประจักษ์แก่พวกเขาว่าอัลกุรอานนั้นเป็นความจริง ยังไม่พอเพียงอีกหรือที่พระเจ้าของเจ้านั้นทรงเป็นพยานต่อทุกสิ่ง” (ฟุซซิลัต 41 : 53)

          นักวิชาการได้เปิดเผยให้เราทราบถึงความเร้นลับถึงสิ่งที่เป็นปฏิหาริย์ทางด้านวิชาการของอัลกุรอาน ที่อยู่ในวิถีทางของมนุษย์ หรืออยู่ในวิถีทางของจักรวาลอันไกลโพ้น และสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับโลก และสิ่งที่เกิดขึ้นในห้วงลึกของทะเล หรือสิ่งที่อยู่ในชั้นเวหา หรือที่อยู่บนพื้นดิน หรือใต้แผ่นดิน เช่นนี้มีในคำตรัสของอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา อย่างมากมาย ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า :

           ความว่า  “ผู้ใดที่อัลลอฮ์ ทรงประสงค์จะแนะนำเขาสู่หนทางอันเที่ยงตรง ก็จะทรงให้หัวอกของเขาเบิกบานเพื่ออิสลาม และผู้ใดที่พระองค์ทรงประสงค์จะปล่อยให้เขาหลงทาง ก็จะทรงให้ทรวงอกของพวกเขาคับแคบอึดอัด  ประหนึ่งว่าเขากำลังขึ้นไปยังฟากฟ้า ในทำนองนั้นแหละ อัลลอฮ์จะทรงให้มีความโสมมแก่บรรดาผู้ที่ไม่ศรัทธา” (อัล-อันอาม 6 : 125)

           และยังไม่เป็นที่รู้กันมาก่อนว่า เมื่อมนุษย์ยิ่งขึ้นสู่ที่สูงมากเท่าใด ยิ่งอึดอัดมากเท่านั้นเพราะการขาดอากาศหายใจ  เนื่องจากการขาดออกซิเจน และพึ่งจะค้นพบในยุคปัจจุบันนี้เอง

   

7.

 

อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงปกป้องรักษาพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานในทุกยุคทุกสมัย ดังนั้นอัลกุรอานจึงเป็นคัมภีร์แห่งฟากฟ้าเล่มเดียวที่พระองค์ทรงรับรองให้การคุ้มครองให้พ้นจากการเปลี่ยนแปลงอักษร หรือเพิ่มเติมและขาดเกินใดๆ ฉะนั้นอัลกุรอานจะคงอยู่ถาวรตราบชั่ววันกิยามะฮ  ดังที่พระองค์อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงตรัสว่า :

 

 

 

 

 

 

  

 

 

           ความว่า  “แท้จริง เรา(อัลลอฮ์)ได้ให้ข้อตักเตือน(อัลกุรอาน)ลงมา และแท้จริงเรา(อัลลอฮ์) เป็นผู้รักษาอัลกุรอานไว้อย่างแน่นอน” (อัลฮิจร์ 15 : 9)

 

 

 

 

 

 

 

 

    

 

 

ดร.อัดุลลอฮฺ  อิบนุ อับดิรเราะฮ์มาน อัลค็อรอาน

 

 ...ประเด็นต่างๆในการศึกษาชีวประวัตินะบีมุฮัมมัด

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

  1. อัดนาน  มุฮัมมัด ซัรซูร  หนังสือ อุลูมุลกุรอาน  หน้า 218
  2. หนังสือชื่อว่า อัลมัสดัร  อัสซาบิก หน้า 46
  3. ซอฮี๊ฮ  อัลบุคอรีย์ 6 / 96  หนังสือ ฟะฎออิลุ้ลกุรอาน  บทที่ว่าการลงวะฮีย์มาได้อย่างไร  หนังสือซอฮี๊ฮมุสลิม  หนังสือ อัลอีมาน  บทที่ว่าจำเป็นที่จะต้องศรัทธาต่อการเป็นศาสนฑูตของท่านนบีมุฮัมมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
  4. ท่านอิบนิ กาศีร รอฮิมะฮุลลอฮ ได้ขยายไว้ในหนังสือฮาดีสที่ชื่อว่าอัลบิดายะฮ วัลนิฮายะฮ 6/ 69
  5. อัดนาน มุฮัมมัด  ซัรซรู  หนังสืออุลูมุลกุรอ่าน 219
  6. อิบนุ อะซี๊ร  หนังสือ อะซะดุลฏอบะห์ 3/ 83
  7. มุสนัด อัลอิมามอะหมัด 4 / 83 ในหนังสือซอฮี๊ฮอัลบุคอรีย์ ได้กล่าวไว้ว่าหัวใจของฉันนั้นเกือบจะลอยไป  หนังสือตัฟซี๊รบทอธิบายซูเราะห์ฏู๊ร
  8. จงดูในหนังสือ อิบนุ กาซี๊ร 3.6  3.4