ความสำคัญของวันอะเราะฟะฮฺ
โดย....อ. อับดุลเราะมัน เจะอารง
เดือนญุลฮิจญะฮฺเป็นเดือนที่ 12 ของปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนสำคัญเดือนหนึ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงกำหนดเป็น หลักการหนึ่งในอิสลาม นั่นคือหลักที่ 5 ที่ใช้ให้มุสลิมไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครมักกะฮ์ ในช่วงของการประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 ของเดือนญุลฮิจญะฮ์และเสร็จสิ้นในวันที่ 13 ของเดือนเดียวกัน ใช้เวลาในการปฏิบัติเพียง 5 วัน หรือ 6 วัน แต่ผลบุญ หรือการตอบแทนสำหรับผู้ที่ได้รับฮัจญ์ มับรูรนั้นก็คือสวนสวรรค์ เพราะท่านเราะซูล ได้กล่าวในหะดีษบทหนึ่งว่า العُمْرةُ إلى العمْرةِ كفَّارةٌ لِما بينَها والحجُّ المبْرورُ ليسَ له جزاءٌ إلا الجنَّة (رواه مسلِمٌ رقم الحديث 3285) “การไปเยี่ยมกะบะฮ์จากครั้งหนึ่งไปยังอีกครั้งหนึ่งเป็นการชำระบาปที่ได้กระทำผิดในช่วงนั้น และฮัจญ์ที่มับรูรนั้นไม่มีการตอบแทนใดๆ นอกจากสวรรค์เท่านั้น” วันที่ผู้ไปประกอบพิธีจะรวมตัวกัน ณ ทุ่งอะเราะฟะฮ์ในเวลาเดียวกัน คำว่า “อะเราะฟะฮ์” ในภาษาอาหรับแปลว่า พบและรู้จัก สาเหตุที่ทุ่งแห่งนี้มีคนเรียกว่า “อะเราะฟะฮ์” เพราะว่า เป็นวันที่พระองค์อัลลอฮ์ได้สาบานในอัล-กุรอาน วันอะเราะฟะฮ์ใช่ว่ามีความสำคัญสำหรับผู้ที่ไปประกอบพิธีฮัจญ์อย่างเดียว แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ไปประกอบพิธีถือว่ามีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะเราะซูล ได้สนับสนุนให้บรรดามุสลิมที่ไม่ได้ไปประกอบพิธีให้พวกเขาถือศีลอดในวันนี้ ท่านได้กล่าวว่า صِيامُ يومِ عرفَةَ أحْتَسِبُ على اللهِ أن يكفِّرَ السنةَ التي قبْلَه والسنةَ التي بعدَه (رواه مسلم رقم الحديث 2747) “การถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮ์ฉันหวังผลบุญจากพระองค์อัลลอฮ์ ลบล้างบาปหนึ่งปีที่ผ่านมาและอีกหนึ่งปีหลังจากนั้น” ในช่วงแรก ๆของเดือนญุลฮิจญะฮ์มีความสำคัญทางศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันที่ 9 ของเดือนญุลฮิจญะฮ์ของทุกปี เป็นวันที่บรรดาผู้ไปประกอบพิธีฮัจญได้ไปรวมตัวกัน ณ ที่ทุ่งอะเราะฟะฮ์ และการไปวุกูฟที่ทุ่งอะเราะฟะฮ์ ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการทำฮัจญ์ ใครที่ไม่ได้วุกูฟที่ทุ่งอะเราะฟะฮ์ถือว่าไม่ได้ประกอบพิธีฮัจญ์ ดังนั้น ความสำคัญของการทำฮัจญ์อยู่ที่วันอะเราะฟะฮ์ มุสลิมที่ไปประกอบพิธีฮัจญ์ทุกคนจะต้องไปวุกูฟที่ทุ่งอะเราะฟะฮ์ ซึ่งการวุกูฟนี้เป็นรูปภาพจำลองของวันที่มนุษย์ทุกคน รวมทั้งผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกฟื้นคืนชีพอีกครั้ง และไปรวมตัวกันที่ทุ่งมะหฺซัรเพื่อฟังคำตัดสินจากพระองค์อัลลอฮ์ 2. ท่านนะบีอิรอฮีมได้เจอกับภรรยาของท่านและลูกชายของท่านนะบีอิสมาอีลหลังจากนะบีอิบรอฮีมได้ทิ้งทั้งแม่และลูก ณ นครมักกะฮ์ที่แห้งแล้ง ไม่มีต้นไม้และน้ำ และกลับได้ยังถิ่นเดิมคือปาเลสไตน์ ก่อนวันอะเราะฟะฮ์ คือวันที่ 8 ญุลฮิจญะฮ์ เราเรียกวันนี้ว่า วันตัรวิยะฮ์ يوم التَّرْوِيَة ซึ่งแปลว่า วันตรึกตรอง เพราะท่านนะบีอิบรอฮีม ได้นั่งคิดตรึกตรองและวิเคราะห์คำสั่งของพระองค์อัลลอฮ์ ที่ใช้ให้เชือดลูกชาย จนเกระทั่งข้าใจวัตถุประสงค์ของคำสั่งดังกล่าวนั้น สภาพการรวมตัวกันของมุสลิมที่ทุ่งอะเราะฟะฮ์ได้แสดงถึงการยอมจำนนตนต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวในเวลาเดียวกัน วันเดียวกันและสถานที่เดียวกันด้วยกริยาท่าทางที่นอบน้อมถ่อมตน เช่นเดียวกันในเครื่องนุ่งห่มสีขาวแบบเดียวกัน ไม่มีใครเด่นกว่าใคร ไม่มีใครใหญ่กว่าใคร ไม่มีใครประเสริฐกว่าใคร นอกจากด้วยลักษณะของการยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์เท่านั้น ที่แตกต่างกัน มุสลิมที่ประเสริฐที่สุด ณ พระองค์อัลลอฮ์ คือผู้ที่สำรวมตนและปฏิบัติคุณงามความดีบนโลกนี้เพื่อโลกหน้า และมีความยำเกรงต่อพระองค์ทุกขณะเวลา จุดเด่นของวันอะเราะฟะฮ์ คือ 1. เป็นวันที่พระองค์อัลลอฮ์ประกาศว่าเป็นวันที่พระองค์ทำให้ศาสนาอิสลามสมบูรณ์และทำให้ความโปรดปรานของพระองค์เต็มเปี่ยม มีหะดีษบทหนึ่งรายงานว่า أنََّ رجُلاً من اليهودِ قالَ لِعمرَ بنِ الخطَّابِ : يا أمير المؤمِنين ، آيةٌ في كِتابِ الله تقْرؤُونَها ، “มีชายคนหนึ่งจากเผ่ายิวได้กล่าวต่อหน้าท่านอุมัร บิน อัล-ค๊อฏฏ๊อบว่า โอ้ อะมีรของบรรดามุอมิน มีอายะฮ์ที่พวกท่านได้อ่าน หากว่าอายะฮ์นี้ได้ประทานมาให้แก่พวกเราบรรดาชาวยิว พวกเราจะถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญของพวกเรา อุมัรถามว่า อายะฮ์อะไรที่คุณหมายถึง ชาวยิวท่านนั้นกล่าวว่า อายะฮ์ที่มีความหมายว่า “วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้วซึ่งศาสนาของพวกเจ้าและข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้วซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า และข้าได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว” ท่านอุมัรได้ตอบว่า พวกเรารู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นและสถานที่ที่ประทานอายะฮ์นั้น คือประทานลงมาในขณะที่ท่านเราะซูล ยืนอยู่ ณ ที่ทุ่งอะเราะฟะฮ์ในวันศุกร์ 2. วันที่พระองค์อัลลอฮ์ได้สาบานในอัล-กุรอาน ในคัมภีร์อัล-กุรอาน พระองค์อัลลอฮ์จะสาบานด้วยสิ่งที่ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เช่นพระองค์ได้สาบานด้วยวันอะเราะฟะฮ์ โดยมีหลักฐานจากหะดีษที่ท่านเราะซูล ได้กล่าวว่า أنَّ النبِيَّ قالَ : اليومُ المَوعُودُ : يومُ القِيامة واليومُ المشْهودُ يومُ عرفة والشاهِد يومُ الجُُمُعة) (رواه التِّرمدي) “ (اليوم الموعود ) วันที่ได้นัดไว้ที่พระองค์ได้สาบานในอัล-กุรอาน หมายถึงวันโลกหน้า (اليوم المشهود ) วันที่มนุษย์ได้เห็น คือวันอะเราะฟะฮฺ ส่วนวัน (الشاهِد ) วันที่เป็นพยาน คือวันศุกร์ “ 3. วันที่พระองค์จะอภัยโทษและปล่อยบ่าวจากขุมนรก โดยมีหะดีษมาอธิบายจุเด่นของวันนี้ว่า ما مِن يومٍ أكْثَرَ مِن أن يعْتِقَ اللهُ فيهِ عبْداً منِن النَّارِ مِن يومِ عرفةَ وإنَّه لَيدنُو ثمَّ يباهِي بِهم الملائكةُ “ไม่มีวันใดที่พระองค์อัลลฮฺจะปล่อยปวงบ่าวของพระองค์ให้พ้นจากขุมนรกมาก นอกจากในวันอะเราะฟะฮ์ มะลาอิกะฮ์จะเข้าใกล้พวกเขาและจะอวดพวกเขาโดยกล่าวว่า พวกเขาอยากได้อะไร”
1. ท่านนะบีอะดัมได้พบกับกับภรรยาของท่านที่ชือว่าเฮาวาอ์ ณ ที่แห่งนี้หลังจากที่พระองค์อัลลอฮ์ได้นำทั้งสองลงมาจากสวรรค์
لو علَينا معْشِرَ اليهودِ نَزَلَت لاتَّخَدنا دلك اليومَ عيْداً ، قال أيُّ آيةٍ ؟ قال : (اليومَ أكمَلْتُ
لكم دينَكم وأتْمَمْتُ عليكم نعْمتِي ورَضِيتُ لكمُ الإسلامَ ديْناً) (المائدة/3) قال عمر : قد
عرفْنا دلك اليومَ والمكانَ الدي نزَلَت فيه على النَّبِيِّ T وهو قائِمٌ بِعرفةَ يومَ الجمُعةِ (رواه
البخاري ومسلم)
فيقولُ : ما أرادَ هؤلاء ؟ ( رواه مسلم)