อะไรคือการอิบาดะฮ์ ?
  จำนวนคนเข้าชม  41130

อะไรคือการอิบาดะฮ์   ?

แปลโดย.....อิสมาอีล กอเซ็ม

 เพื่อเราจะได้ทราบว่า    “ชิริก” เกิดขึ้นในการภักดีต่ออัลลอฮ์ ได้อย่างไร?


อัลอิบาดะฮ์ คือ  ทุกๆ สิ่งที่มีปรากฏในบทบัญญัติ จากคำสั่งใช้ต่างๆ และคำสั่งห้ามต่างๆ

          ทุกสิ่งทุกอย่างที่บัญญัติให้ปฏิบัติ หรือมีการส่งเสริมให้กระทำ เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องปฏิบัติ และทุกสิ่งที่มีคำสั่งห้ามให้ละทิ้ง  หรือ ห้ามที่หากกระทำถือว่าเป็นการฝ่าฝืน ที่ให้ละทิ้งถ้าปฏิบัติ ถือว่าเป็นบาป และเป็นสิ่งที่น่าเกลียด

          สำหรับคำสั่งใช้ ที่เป็นวาญิบ (จำเป็นที่ต้องปฏิบัติ)  และสิ่งที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติ(ซุนนะฮ์) แต่ไม่เป็นการบังคับ  ส่วนการห้ามบางสิ่งถ้ากระทำถือว่าเป็นการฝ่าฝืน หรือถือว่าเป็นสิ่งที่น่าเกลียด (มักรูฮ์)แต่ไม่มีบาปใด ๆ

 

          ความหมายของอิบาดะฮ์ อีกความหมายหนึ่ง คือ รวมไว้ซึ่งสิ่งที่ อัลลอฮ์ทรงรัก และพอพระทัย ไม่ว่าจะเป็นคำพูดต่างๆ หรือการกระทำที่แสดงออกมา และสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ

          และรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างทีมีอยู่ในบทบัญญัติ จากคำสั่งใช้และข้อห้ามต่างๆ  เช่น การละหมาด  การจ่ายซากาต การถือศีลอด การประกอบพิธีอัจญ์ ถือว่าเป็นอิบาดะฮ์  การบนบาน การขอดุอาอ์ การมอบหมายต่ออัลลอฮ์ การมีความต้องการความปรารถนา  ความเกรงกลัว การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์  การใช้กันในเรื่องของความดี ห้ามปรามในในสิ่งที่เป็นความชั่ว การทำความดีต่อเพื่อนบ้าน การติดต่อเครือญาติ เป็นอิบาดะฮ์เช่นกัน

         การที่มุสลิมได้ละทิ้งสิ่งที่เป็นข้อห้าม ถือว่าเป็นการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ และการละทิ้งสิ่งที่เป็นการตั้งภาคี การเป็นศัตรูต่อเพื่อนมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน  หรือเกียรติของผู้อื่น  การไม่กระทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ถือว่าเป็นการภักดีต่ออัลลอฮ์  การละทิ้งการทำซินา หรือไม่ดื่มเหล้า ถือว่าเป็นการภักดีต่ออัลลอฮ์ เช่นกัน ดังนั้นการละทิ้งสิ่งที่เป็นที่ต้องห้าม และการปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของอัลลอฮ์ ถือเป็นการปฏิบัติอิบาดะฮ์

 

          สำหรับการอิบาดะห์ที่เป็นคำสั่งใช้ได้แบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกัน คือ  การอิบาดะห์ที่เป็นคำสั่งใช้ให้ปฏิบัติ และคำสั่งใช้ที่ไม่ได้บังคับ เพียงแต่ส่งเสริมให้กระทำ สำหรับคำสั่งใช้ที่เป็นกฎข้อบังคับ  เช่น การละหมาด การถือศีลอด สำหรับอิบาดะฮ์ที่ส่งเสริมให้กระทำ เช่นการแปรงฟัน ถือว่าเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้กระทำ  สำหรับสิ่งที่เป็นข้อห้ามมิให้ปฏิบัติ เช่น ห้ามผิดประเวณี  หรือการห้ามที่เป็นการปราม แต่มิใช่เป็นเชิงบังคับ ถ้ากระทำถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเกลียด  เช่นการห้ามการจับกลุ่มคุยกันหลังละหมาดอิชาแล้ว

          ในการทำอิบาดะฮ์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่แสดงออกมาภายนอก เช่นการละหมาด การถือศีลอด และอิบาดะฮ์ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ  เช่นการตั้งเจตนา การมีความบริสุทธิ์ใจในการประกอบอิบาดะฮ์  การมีสัจจะพูดจริง  การมีความรัก   และในเรื่องของข้อห้ามที่เป็นการแสดงออกมาภายนอก เช่น ห้ามการทำซินา  หรือข้อห้ามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของหัวใจ เช่นการห้ามมิให้มีความหยิ่งยโส การอิจฉาริษยา และจำเป็นจะต้องละทิ้งพฤติกรรมเหล่านั้น

         เมื่อการอิบาดะฮ์ ครอบคลุมทั้งสิ่งที่เป็นคำสั่งใช้ และคำสั่งห้าม ไม่ว่าจะเป็นคำพูดและการกระทำที่แสดงออกมา หรือที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ  ดังนั้นการทำอิบาดะฮ์ทุกประเภทถ้าเราได้กระทำโดยมุ่งไปหาผู้อื่นการทำอิบาดะฮ์นั้นถือว่าเป็นการตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ 

 

          โดยที่ผู้แต่งกล่าวถึงสิ่งที่ทำให้เสียอิสลามในเรื่องของการเชือดให้กับผู้อื่นนอกจากอัลลอฮ์ เนื่องจากการเชือดนั้นเป็นอิบาดะฮ์

قال تعالى : (( قل إن صلاتي ونسكي ومحياي ومماتي لله رب العالمين لا شريك له ))

อัลลอฮ์ ทรงตรัสไว้ว่า

“มูฮัมหมัดจงกล่าวเถิด แท้จริงการละหมาดของฉัน พิธีกรรมของฉัน การมีชีวิตของฉัน และการตายของฉัน เพื่ออัลลอฮ์ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก”

وقال تعالى : (( فصل لربك وانحر ))

อัลลอฮ์ ทรงตรัสไว้ว่า

“ดังนั้นจงละหมาดเพื่อพระเจ้าของท่าน และจงเชือด”

          หากการเชือดมอบให้ต่อผู้อื่นนอกจากอัลลอฮ์ มันเป็นการตั้งภาคี  เช่นการเชือดให้แก่บรรดาญิน  การเชือดให้แก่เจ้าของหลุมฝังศพที่ล่วงลับไป  เชือดให้แก่ดวงดาวต่างๆ  ทั้งหมดที่กล่าวมาถือว่าเป็นการตั้งภาคี  และ  การวิงวอนขอดุอาอ์ต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮ์  เช่นการขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น (ความช่วยเหลือที่อยู่นอกเหนือความสามารถของมนุษย์) ถือว่าเป็นการตั้งภาคีเช่นเดียวกัน

 

          การเชื่อฟังต่อมนุษย์ในสิ่งที่เป็นข้อตัดสินที่เกี่ยวข้องกับฮาลาล และ หะรอม  หมายความว่าปฏิบัติสิ่งที่มนุษย์เป็นคนกำหนดขึ้นมาโดยที่สิ่งนั้นได้ค้านกับหลักการของอัลลอฮ์ และการไปปฏิบัติตามข้อห้ามที่มนุษย์เป็นผู้ห้าม โดยที่อัลลอฮ์ ไม่ห้ามสิ่งนั้น เช่นการเชื่อฟังต่อผู้นำ หรือรัฐมนตรี  หรือผู้รู้  หรือผู้ที่มีความเคร่งครัด หรือพ่อแม่ ภรรยา หรือเจ้านาย โดยปฏิบัติตามคนเหล่านี้ในสิ่งที่เป็น การฮาลาลและ สิ่งที่หะรอม

( أم لهم شركاء شرعوا لهم من الدين ما لم يأذن به الله )

“หรือว่าสำหรับพวกเขา มีบรรดาผู้ที่หุ้นส่วน ที่พวกได้มีการบทบัญญัติให้แก่พวกเขาที่เป็นเรื่องศาสนา  ซึ่งสิ่งนั้นอัลลอฮ์ ไม่ได้อนุญาตแก่มัน”  

 

          ตัวอย่างเช่น การรูกัวะ เมื่อทำการรูกัวะ กับสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮ์ ถือว่าเป็นการมุ่งหน้าเพื่อสิ่งอื่น หรือการเวียนรอบสิ่งอื่นนอกจากบัยตุลลอฮ หรือการบนบานต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮ์ หรือการโกนศรีษะ เพื่อผู้อื่นนอกจากอัลลอฮ์  เช่น พวกซูฟีย์ ที่ทำการโกนศรีษะเพื่อเชคของพวกเขา เป็นการแสดงออกถึงการภักดีต่อเชค  เช่นเดียวกัน การรูกัวะ หรือการสูญุดต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮ์ หรือการเตาบัตที่มุ่งหน้าไปหาผู้อื่น   เนื่องจากการเตาบัตนั้นเป็นอิบาดะฮ์  ที่เราจะต้องมอบให้แด่อัลลอฮ์

( ومن يغفر الذنوب إلا الله )

“และใครเล่าที่จะอภัยโทษบรรดาความผิดทั้งหลายให้ได้ นอกจากอัลลอฮ์แล้ว”

 

وفي مسند الإمام أحمد  أنه جيء بأسير، فقال: اللهم إني أتوب إليك ولا أتوب لمحمد فقال النبي صلى الله عليه وسلم: (عَرَفَ الحق لأهله)( ) فالله تعالى هو أهل التقوى وأهل المغفرة، والله تعالى هو أهل التوبة، فإذا تاب لغير الله وقع في الشرك؛ لأنه صرف العبادة لغير الله.

 และใครคือผู้ที่มาอภัยจากบาปนอกจากอัลลอฮ์ ในหนังสือมุสนัด ของอิหม่าม อะหมัด

"แท้จริงเขาได้นำเชลยศึกคนหนึ่งมา  ดังนั้นเขาได้กล่าว(หมายถึงเชลย) โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงฉันนั้นขอสำนึกผิดยังท่าน และฉันจะไม่สำนึกผิดแก่มูฮัมหมัด 

ดังนั้นท่านนบี  ได้กล่าวว่า (เขาได้รู้ถึงสิทธิของเจ้าของมัน)

สำหรับอัลลอฮ์ นั้นพระองค์คือพระเจ้าแห่งความยำเกรง และพระเจ้าแห่งการอภัยโทษ และอัลลอฮ์  นั้นเป็นพระเจ้าแห่งการสำนึกผิด ดังนั้น

เมื่อเขาได้ขออภัยโทษผู้อื่นนอกเหนือจากอัลลอฮ์ เขาได้ทำการตั้งภาคี เนื่องจากเขาได้หันเหการทำอิบาดะห์ ไปยังผู้อื่นนอกเหนือจากอัลลอฮ์

 

          สิ่งที่ทำให้เสิยอิสลามประการแรกนั้น คือการมีหุ้นส่วนในการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์  เหมือนที่เราทราบมาแล้วว่าการเคารพภักดีนั้นคือการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่แสดงออกมาภายนอก และสิ่งที่เป็นการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ที่อัลลอฮ์ทรงพอพระทัยกับการกระทำนั้นๆ  เมื่ออิบาดะห์นั้นจำเป็นที่จะต้องมอบให้อัลลอฮ์เพียงองค์เดียว

          ไม่เป็นที่อนุญาตให้บ่าวของพระองค์มอบการอิบาดะห์ให้แก่ผู้อื่นนนอกจากอัลลอฮ์  เช่นการ ขอดุอาอ์ต้องมอบให้แก่อัลลอฮ์เพียงองค์เดียว และการขอความช่วยเหลือที่นอกเหนือจากความสามารถของมนุษย์ ถ้าเราขอต่อสิ่งอื่นก็เป็นการตั้งภาคี  หรือการเชือด การรูกัวะ  การสูญุด  การตอวาฟ การมอบหมาย ทั้งหมดนั้นเป็นอิบาดะห์ที่จะต้องมอบให้อัลลอฮ์เพียงผู้เดียว   ถ้าเราได้มอบการเคารพภักดีที่กล่าวมาให้แก่ผู้อื่นนอกจากอัลลอฮ์ การกระทำนั้นถือว่าเป็นการตั้งภาคีในการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์  “ชิริก”

 

 

จากหนังสือ        شرح نواقض الإسلام
 
อธิบายโดย      الشيخ عبد العزيز الراجحي