ต้อง ! เรียนรู้อย่างถูกต้อง
  จำนวนคนเข้าชม  7467

 

 

ต้อง ! เรียนรู้หลักความเชื่ออย่างถูกต้อง

 ดร.ซอและห์ บิน เฟาซาน

 

          พึงทราบเถิดว่า อัลลอฮ์  ทรงประทานให้แก่ฉันและพวกท่าน  ในเรื่องของความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เรื่องของอากีดะห์(หลักความเชื่อ)อิสลาม เพื่อที่จะได้ทราบความหมาย และได้ยึดปฏิบัติตามหลักความเชื่อนั้น และจะต้องเรียนรู้ สิ่งที่ตรงกันข้ามกับหลักความเชื่ออิสลาม และสิ่งที่มาทำลายหลักความเชื่อ หรือมาทำให้หลักความเชื่อเกิดความบกพร่องสั่นคลอน ไม่ว่าด้วยกับการตั้งภาคี(ชิริก)ที่ใหญ่และเล็ก

قال الله تعالى : (فاعلم أنه لا إله إلا الله واستغفر لذنبك ) 

“ฉะนั้นพึงรู้เถิดว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และจงขออภัยโทษต่อความผิดเพื่อตัวเจ้า”

( มูฮัมหมัด / 19)

         ท่านอิหม่ามอัลบุคอรีย์ รอฮิมาอุลลอฮ์ได้กล่าวไว้ในหัวเรื่องที่ว่าด้วยความรู้ต้องมาก่อนคำพูดและการกระทำ โดยที่ท่านได้นำอายะนี้มาประกอบเป็นหลักฐาน

ท่าน อัลหาฟิซ อิบนู หาญัรได้กล่าวว่า

     “อิบนุลมูนีรได้กล่าวว่า ที่อิหม่ามบุคอรีย์ หมายถึง คือ ความรู้นั้นเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้คำพูดและการงานนั้นถูกต้อง หากไม่มีความรู้ ทั้งคำพูดการกระทำก็ไม่ถูกยอมรับ ซึ่งความรู้นั้นต้องมาก่อนคำพูดและการกระทำ เนื่องจากเมื่อเจตนาถูกต้องการงานก็ถูกต้องด้วย....”จนจบคำพูด

         บรรดานักวิชาการต่างให้ความเอาใจใส่ ในการเรียนรู้ และสอนกฏเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับหลักความเชื่อ พวกเขาถือว่าเป็นวิชาที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก  โดยการแต่งหนังสือและทำการจำแนกรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับกฏเกณฑ์ต่างๆ และสิ่งที่มีความจำเป็นในเรื่องหลักความเชื่อ พวกเขาได้ทำการชี้แจงสิ่งที่จะมาทำให้หลักความเชื่อเสียหาย สั่นคลอนและบกพร่อง ด้วยกับการตั้งภาคี(ชิริก)ต่ออัลลอฮ์  ความงมงาย และการอุตริสิ่งใหม่ขึ้นมาในศาสนา(บิดอะฮ์)

 

         ความหมายของคำปฏิญาณว่า “ไม่มีพระเจ้าที่ถูกเคารพโดยแท้จริงนอกจากอัลลอฮ์” ไม่ใช่แค่การกล่าวออกมาเพียงปลายลิ้น แต่ต้องทราบความหมายที่บ่งชี้ทั้งหมด และความต้องการของคำนี้  ต้องปฏิบัติโดยการแสดงออกมา(ภายนอก) และความยึดมั่นศรัทธา(ภายใน)

        มีสิ่งที่จะมาทำให้คำปฏิญาณนี้บกพร่อง และไม่สามารถทราบได้ นอกจากต้องศึกษาเรียนรู้เท่านั้น   จึงจำเป็นต้องมีวิชาที่เกี่ยวข้องกับหลักอากีดะห์ในทุกระดับของการเรียน ต้องกำหนดคาบเรียนให้เพียงพอ ต้องเลือกบรรดาครูที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ  ต้องกำหนดเกณฑ์การผ่านชั้น การสอบตก ให้แตกต่างกับการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน 

         ปัจจุบันวิชาอากีดะห์ เป็นวิชาที่ไม่ได้รับการเอาใจใส่ในการเรียนการสอนอย่างเข้มงวด ทำให้สภาพของเยาวชนมุสลิมที่เติบโตมาโดยไม่มีความรู้ในหลักความเชื่อที่ถูกต้อง  เกิดการแพร่หลายของการตั้งภาคี การอุตริในศาสนา และความงมงายต่าง  ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในหลักความเชื่อของศาสนา เราจะพบเห็นมุสลิมที่กระทำสิ่งที่ผิดต่างๆเหล่านั้น โดยที่ไม่รู้ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ตกออกจากศาสนาเลยทีเดียว

ท่านอารุลมุมีนีน ท่าน อุมัร  บิน คอตตอบ รอฏิยัลลอฮูอันฮูได้กล่าวว่า

(يوشك أن تنقض عرى الاسلام عروة عروة إذا نشأ في الإسلام من لا يعرف الجاهلية )

“ใกล้เข้ามาแล้ว ที่ห่วงแห่งอิสลามจะหมดไปทีละห่วง บุคคลที่เติบโตขึ้นมาในสังคมอิสลาม จะไม่รู้จักญาฮิลียะห์”   (คือไม่เคยสัมผัสสิ่งหะรอม)

         ด้วยเหตุนี้ การเลือกหนังสือที่มีความถูกต้องบริสุทธิ์  ที่แต่งขึ้นมาตามแนวทางของอัศสลัฟซอและห์ แนวทางของอะลุซซุนนะห์ วัลญามาฮะห์ และสอดคล้องกับ กีตาบุลลอฮ์และอัซซุนนะห์  หนังสือเหล่านั้นควรมาเป็นหลักสูตรในการเรียนให้แก่บรรดานักเรียน  และหลีกห่างจากหนังสือที่สวนทางกับแนวทางของสลัฟ  เช่น หนังสือที่อยู่ในแนวทางของอาชาอิเราะห์ และอัลมัวะตาซิละห์ อัลญะมียะห์  และกลุ่มต่างที่หลงผิดจากแนวทางของอัศสลัฟ

 

         ต้องมีระบบการเรียนการสอนในมัสยิดต่างๆ  ให้ความสำคัญกับการศึกษาเรียนรู้ประการแรกในเรื่องอากีดะห์(หลักความเชื่อ)ที่อยู่ในแนวทางของชนชาวสลัฟ  ซึ่งต้องมีการอธิบายตัวบทต่างๆ ที่ให้เกิดประโยชน์แก่บรรดานักเรียนและผู้ที่มาเรียน  นอกเหนือจากบทเรียนในมัสยิดต้องมีบทสรุปที่จะบรรยายให้แก่บุคคลทั่วไปได้รับฟัง เพื่อทำให้การเผยแผ่หลักความเชื่ออิสลามไปได้ทั่วถึง และสามารถที่จะนำบทเรียนบอกผ่านทางสถานีวิทยุ  พูดเน้นย้ำถึงกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักความเชื่ออยู่เป็นประจำ  นอกเหนือจากนี้ต้องเอาใจใส่เป็นรายบุคคลที่ยังมีหลักความเชื่อที่สั่นคลอน

         ดังนั้นหน้าที่ของมุสลิมต้องศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจในเรื่องของหลักความเชื่อ ที่มาจากหนังสือที่ได้แต่งขึ้นมาสอดคล้องกับแนวทางของสลัฟ   ส่วนหนังสือที่แต่งขึ้นมาสวนทางกับแนวทางสลัฟ หากมุสลิมมีความเข้าใจในแนวทางสลัฟอย่างดีแล้วก็สามารถ ที่จะตอบโต้ชี้แจงข้อคลุมเครือต่างๆ และสามารถนำไปสู่ความเข้าใจหลักความเชื่อของชาวอะฮ์ลุซซุนนะห์ได้

  

โอ้...... บรรดามุสลิม

         ในขณะที่ท่านได้อ่านอัลกุรอาน และพิจารณาแล้วจะพบว่ามีอายะและซูเราะห์ต่างๆ มากมาย ที่ให้ความสำคัญในเรื่องของหลักความเชื่อ  โดยเฉพาะซูเราะห์อัลมักกียะห์ (ซูเราะห์ที่ถูกประทานขณะที่ท่านนะบีอยู่ที่มักกะฮ์)เกือบทั้งหมด  ได้ลงมาเจาะจงอธิบายหลักความเชื่อของอิสลาม และตอบโต้ข้อคลุมเคลือต่างๆ 

  

ยกตัวอย่างให้ท่านเห็นในซูเราะห์อัลฟาติหะ

         ท่านอิหม่าม อิบนู กัยยิม รอฮิมาอุลลอฮ์ ได้กล่าวว่า
 
ท่านพึงทราบไว้เถิดว่า แท้จริงซูเราะห์นี้คลอบคลุมการเรียกร้องที่สูงส่ง และสมบูรณ์แบบที่สุด  ความสมบูรณ์ที่รวมไว้ ที่คลอบคลุมความหมายที่มีต่อผู้ที่ถูกเคารพภักดีที่ทรงเกียติรอันสูงสุด  มีอยู่สามพระนาม ซึ่งเป็นที่กลับมาของพระนามที่สวยงาม และคุณลักษณะที่สูงส่ง  คือ อัลลอฮ์  พระผู้เป็นเจ้า  ผู้ทรงเมตตา  ซูเราะห์นี้ได้อธิบายถึงผู้ที่ถูกเคารพภักดี  ผู้ที่เป็นพระเจ้า และผู้ทรงเมตตา สำหรับอายะห์

(إياك نعبد وإياك نستعين )   เกี่ยวข้องกับการเคารพภักดี

(وإياك نستعين )     เกี่ยวข้องกับการเป็นพระเจ้า

         และการขอให้ชี้นำไปสู่แนวทางที่เที่ยงตรง ในคุณลักษณะแห่งความเมตตา สำหรับการสรรเสริญ (الحمد)  ครอบคลุมสามเรื่องด้วยกัน  คือ พระองค์ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญในการเคารพภักดี ในการเป็นพระเจ้า และในความเมตตาของพระองค์  การสรรเสริญการสดุดี เป็นความสมบูรณ์สองอย่างที่คู่ควรกับเกียรติของอัลลอฮ์  และรวมไปถึงการกลับไปหาพระองค์ การตอบแทนแก่ปวงบ่าวในการงานที่ได้ปฏิบัติไว้ ไม่ว่าจะเป็นการงานที่ดี และชั่ว อัลลอฮ์พระองค์เดียวเท่านั้นจะเป็นผู้ชี้ขาดระหว่างมนุษยชาติทั้งหมด และการตัดสินของพระองค์มีความเที่ยงธรรม  ทั้งหมดนี้ถูกกล่าวไว้ในดำรัสของพระองค์ที่ว่า

(مالك يوم الدين)   ผู้ทรงสิทธิ์แห่งวันตอบแทน

         และในซูเราะห์อัลฟาติหะยังรวมไว้ซึ่งการยืนยันถึงการเป็นนะบีในหลายๆด้าน......

          หลังจากนั้นท่านอิบนุลกอยยิมรอฮิมาอุลลอฮ์ได้อธิบายเรื่องนี้ด้วยคำพูดที่ยืดยาวเป็นประโยชน์  ไปจนถึงคำพูดของท่านที่ว่า

          สำหรับอัลกุรอานทั้งหมดนั้นรวมไว้ซึ่งหลักการให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์ และสิทธิของอัลลอฮ์ และการตอบแทนของพระองค์  และรวมไว้ในเรื่องของการตั้งภาคี และบรรดาผู้ที่ตั้งภาคี และผลตอบแทนของการตั้งภาคี

อายะห์

(الحمد لله رب العالمين )   (การสรรเสริญทั้งหลายนั้น เป็นสิทธิของอัลลอฮฺผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก)

ในอายะห์นี้กล่าวถึงการให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์

( الرحمن الرحيم )   ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ

ในอายะห์ก็กล่าวถึงการให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์

 

     ขอพระองค์ทรงแนะนำพวกข้าพระองค์ซึ่งทางอันเที่ยงตรง

      (คือ) ทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงโปรดปราณแก่พวกเขา มิใช่ในทางของพวกที่ถูกกริ้ว (*และมิใช่ทางของพวกที่หลงผิด)

 

          สำหรับอายะห์นี้ก็กล่าวถึง การให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์ และยังรวมไปถึงการขอให้ได้รับทางนำไปสู่แนวทางบรรดาผู้ที่ให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์ 

ส่วนอายะห์ที่ว่า  (غير المغضوب عليهم ولا الضالين )   มิใช่แนวทางของผู้ที่ถูกกริ้วโกรธ และมิใช่แนวทางของผู้ที่หลงผิด บรรดาผู้ที่หลักการให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์ได้หายไป

 

อิบนุลกอยยิมยังกล่าวต่อไปอีกว่า

          ส่วนมากของซูเราะห์ต่างๆ ในอัลกุรอานจะรวมไว้ ซึ่งหลักการให้เอกภาพสองชนิด เพราะว่าอัลกุรอานบางครั้งเป็นการบอกกล่าวถึง อัลลอฮ์และพระนามคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์ ซึ่งเรียกว่าการให้เอกภาพที่เกี่ยวข้องกับความรู้ (เตาฮีด อัลอิลมีย์ อัลคอบารีย์)และการบอกเล่า

     อัลกุรอานมาเรียกร้องไปสู่การเคารพภักดี และการให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์เพียงพระองค์เดียว  และไม่มีการตั้งภาคีใดๆต่อพระองค์ในการเคารพภักดี  และละทิ้งทุกสิ่งที่ถูกเคารพภักดีนอกจากอัลลอฮ์ ซึ่งเรียกว่าการให้เอกภาพที่เป็นความต้องการและการเรียกร้อง (อัตเตาฮีด อัลอิรอดีย์ อัตตอลาบีย์)   

     และอัลกุรอานมาในรูปของคำสั่งใช้ คำสั่งห้าม ให้มีการยึ่ดมั่นในการเชื่อฟังต่ออัลลอฮ์  ดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นสิทธิต่างๆ ในการให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์และเป็นความสมบูรณ์ในการให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์ 

     และอัลกุรอานมาในสำนวนการบอกเล่าถึงการให้เกียติรยกย่อง ต่อบรรดาผู้ที่ให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์  ในสิ่งที่อัลลอฮ์จะต้องประทานแก่พวกเขาในโลกนี้ ซึ่งอัลลอฮ์จะยกย่องเกียรติของพวกเขาในโลกหน้า ซึ่งเป็นผลจากการให้เอกภาพต่อพระองค์   และอัลกุรอานได้บอกถึงบรรดาผู้ที่ตั้งภาคี

และอัลลอฮ์ได้ปฏิบัติเช่นไรกับพวกเขาในโลกนี้ที่เป็นการลงโทษแก่พวกเขา  ซึ่งเป็นการตอบแทนแก่บุคคลที่ออกจากการให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์ .....” จบคำพูดของอิบนุลกอยยิม

 

          ทั้งๆ ที่อัลกุรอานได้ให้ความเอาใจใส่ ในเรื่องของหลักความเชื่ออิสลาม  แต่ว่ามีผู้คนอีกจำนวนมากที่อ่านอัลกุรอานแต่กลับไม่เข้าใจในเรื่องของหลักความเชื่อที่ถูกต้อง เลยทำให้พวกเขามีอากีดะห์ที่สับสนปนเปและคลาดเคลื่อน  เนื่องจากได้ปฏิบัติในสิ่งที่บรรดาบรรพบุรุษของพวกเขาได้ปฏิบัติไว้ และพวกเขาอ่านอัลกุรอานโดยปราศจากการใคร่ครวญ ไม่มีพลังอำนาจใดๆ นอกจากอำนาจของอัลลอฮ์

 


   จากหนังสือ     الارشاد إلى صحيح الاعتقاد 

 แปลโดย  อิสมาอีล  กอเซ็ม