บทบาทหน้าที่ของผู้นำ
  จำนวนคนเข้าชม  16801


 บทบาทหน้าที่ของผู้นำ

(ตัวแทนของอัลลอฮฺ)

 

1. อัลลอฮฺตรัสแก่นบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า

ความหมาย  “และเจ้าจงตัดสินระหว่างพวกเขาด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาเถิด จงอย่าปฏิบัติตามความอารมณ์ใฝ่ต่ำของพวกเขา และจงระวังพวกเขาในการที่พวกเขาจะจูงใจเจ้าให้ไขว้เขวออกจากบางสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาให้แก่เจ้า  แล้วถ้าหากพวกเจ้าผินหลังให้ก็พึงรู้เถิดว่าแท้จริงอัลลอฮฺนั้นเพียงประสงค์จะให้ประสบแก่พวกเขาซึ่งบางส่วนแห่งโทษของพวกเขาเท่านั้น  และแท้จริงจำนวนมากมายในบรรดามนุษย์นั้นเป็นผู้ละเมิด”  (อัลมาอิดะฮฺ : 49)

2. อัลลอฮฺตรัสแก่นบีดาวุด อะลัยฮิสสลาม ว่า

ความหมาย  “โอ้ดาวุดเอ๋ย  เราได้แต่งตั้งเจ้าให้เป็นตัวแทนในแผ่นดินนี้ ดังนั้นเจ้าจงตัดสินคดีต่าง ๆ ระหว่างมนุษย์ด้วยความยุติธรรมและอย่าปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ  มันจะทำให้เจ้าหลงไหลไปจากทางของอัลลอฮฺ   แท้จริงบรรดาผู้ที่หลงไปจากทางของอัลลอฮฺนั้น  สำหรับพวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างสาหัสเนื่องด้วยพวกเขาลืมวันแห่งการชำระบัญชี”  (ศอด : 26)


วิธีการทำสัตยาบันต่อผู้นำ

عن عبادة بن الصامت رضي الله عنه قال: بَايَـعْنَا رَسُولَ الله ﷺ عَلَى السَّمْعِ وَالطَّاعَةِ فِي العُسْرِ وَاليُسْرِ، وَالمَنْشَطِ وَالمَكْرَهِ، وَعَلَى أَثَرَةٍ عَلَيْنَا، وَعَلَى أَنْ لا نُنَازِعَ الأَمْرَ أَهْلَـهُ، وَعَلَى أَنْ نَقُولَ بِالحَقِّ أَيْنَمَا كُنَّا، لا نَخَافُ فِي الله لَومَةَ لائِمٍ -وفي رواية بعد أَنْ لا نُنَازِعَ الأَمْرَ أَهْلَـهُ- قَالَ: «إلَّا أَنْ تَرَوْا كُفْراً بَوَاحاً عِنْدَكُم مِنَ الله فِيهِ بُرْهَانٌ». متفق عليه

1. จากอุบาดะฮฺ บิน อัศศอมิต เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า

" พวกเราได้ทำสัตยาบันต่อท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่าจะเชื่อฟังและปฏิบัติตามทั้งในเรื่องที่ยากและเรื่องที่ง่าย  ในสิ่งที่รักและสิ่งที่ไม่พอใจ  ในเรื่องที่เราต้องเสียสละให้แก่ผู้อื่น  เราไม่แข่งแย่งกิจการ (ตำแหน่ง) กับผู้ที่เป็นเจ้าของอยู่  เราจะพูดในเรื่องสัจธรรมไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ไหน  เราจะไม่กลัวการตำหนิในกิจการของอัลลอฮฺ – อีกสายรายงาน หลังจาก เราไม่แก่งแย่งกิจการ (ตำแหน่ง) กับผู้ที่เป็นเจ้าของอยู่  เขากล่าวว่า  ยกเว้นในกรณีที่พวกท่านมีหลักฐานอย่างชัดแจ้งถึงการปฏิเสธต่ออัลลอฮฺของพวกเขา” 

(บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 7056 , มุสลิม ในบทอัลอิมาเราะฮฺ หมายเลขหะดีษ  1709  เป็นสำนวนของท่าน)

عن جرير بن عبدالله رضي الله عنه قال: بَايَـعْتُ النَّبِيَّ ﷺ عَلَى السَّمْعِ وَالطَّاعَةِ، فَلَقَّنَنِي فِيمَا اسْتَطَعْتُ، وَالنُّصْحِ لِكُلِّ مُسْلِـمٍ.   متفق عليه
 
2. จากญะรีร บิน อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า 

"ฉันได้ทำสัตยาบันต่อท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่าจะเชื่อฟังและปฏิบัติตาม  ดังนั้นท่านได้สอนฉันในสิ่งที่ฉันมีความสามารถ  และให้คำปรึกษาตักเตือนแก่มุสลิมทุกคน” 

(บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 7204  , มุสลิม หมายเลขหะดีษ  56  เป็นสำนวนของท่าน)
 

จำเป็นต้องอดทนในกรณีที่ผู้ปกครองอธรรมหรือทำร้าย

عن أُسيد بن حُضير رضي الله عنه أَنَّ رَجُلاً مِنَ الأَنْصَارِ خَلا بِرَسُولِ الله ﷺ فَقَالَ: أَلا تَسْتَعْمِلُنِي كَمَا اسْتَعْمَلْتَ فُلاناً ؟ فَقَالَ: «إنَّكُمْ سَتَلْقَونَ بَـعْدِي أَثَرَةً فَاصْبِرُوا حَتَّى تَلْقَوْنِي عَلَى الحَوْضِ». متفق عليه

1. จากอุสัยดฺ บิน ฮุดัยรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ มีชาวอันศอรคนหนึ่งอยู่ตามลำพังกับท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เขากล่าวว่า  “ท่านไม่มอบหน้าที่ให้ฉันปฏิบัติเหมือนกับที่ท่านได้มอบให้กับคนนั้นบ้างหรือ?” 

ท่านรอสูลตอบว่า  “แท้จริงพวกท่านจะได้พบหลังจากฉันผู้ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน  ดังนั้นพวกท่านจงอดทนจนกว่าพวกท่านจะได้พบกับฉันที่อัลเฮาฏฺ (อ่างน้ำของท่านนบีในสวนสวรรค์)

(บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 3792, มุสลิม หมายเลขหะดีษ  1845  เป็นสำนวนของท่าน)

عن ابن عباس رضي الله عنهما عن النبي ﷺ قال: «مَنْ كَرِهَ مِنْ أَمِيرِهِ شَيْئاً فَلْيَصْبِـرْ، فَإنَّـهُ مَنْ خَرَجَ مِنَ السُّلْطَانِ شِبْراً مَاتَ مِيتَةً جَاهِلِيَّةً». متفق عليه

2. จากอิบนิอับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมกล่าวว่า

  “ผู้ที่ไม่พอใจสิ่งหนึ่งสิ่งใดต่อผู้นำ  ดังนั้นจงอดทน  แท้จริงผู้ที่ออกจากการเชื่อฟังผู้ปกครองเพียงคืบเดียวเขาจะเสียชีวิตในสภาพญาฮิลียะฮฺ”

(บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 7053  เป็นสำนวนของท่าน , มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1849)
 

 
ต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามผู้นำถึงแม้จะถูกหักห้ามสิทธิ

سأل سلمة بن يزيد الجعفي رضي الله عنه رسول الله ﷺ فَقَالَ: يَا نَبِيَّ الله أَرَأَيْتَ إنْ قَامَتْ عَلَيْنَا أُمَـرَاءُ يَسْأَلُونَ حَقَّهُـمْ، وَيَـمْنَعُونَا حَقَّنَا فَمَا تَأْمُرُنَشا؟ فَأَعْرَضَ عَنْـهُ، ثَمَّ سَأَلَـهُ فَأَعْرَضَ عَنْـهُ، ثَمَّ سَأَلَـهُ فِي الثَّانِيَةِ أَوْ فِي الثَّالِثَةِ فَجَذَبَـهُ الأَشْعَثُ بْنُ قَيْسٍ، فَقَالَ رَسُولُ الله ﷺ: «اسْمَعُوا وَأَطِيعُوا، فَإنَّمَا عَلَيْـهِـمْ مَا حُـمِّلُوا، وَعَلَيكُمْ مَا حُـمِّلْتُـمْ». أخرجه مسلم

สะละมะฮฺ บิน ยะซีด อัลญะอฺฟียฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า 

“โอ้นบีของอัลลอฮฺ  ท่านมีความเห็นอย่างไรในกรณีที่ผู้นำเรียกร้องสิทธิของพวกเขา แต่มาหักห้ามสิทธิของพวกเรา  ดังนั้นท่านให้พวกเราทำอย่างไร? 

ท่านนบีผินหลังให้  แล้วเขาถามซ้ำ  ท่านนบีผินหลังให้อีก  ต่อจากนั้นนเขาได้ถามเป็นครั้งที่สองหรือครั้งที่สาม  ดังนั้นอัลอัชอัษ บิน กัยสฺ ได้ดึงชายคนนั้น 

แล้วท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า  “พวกท่านทั้งหลายจงเชื่อฟังและปฏิบัติตาม  แท้จริงพวกเขามีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ และสำหรับพวกท่านก็มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ” 

(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ  1846)
 

จำเป็นจะต้องอยู่ร่วมกับญะมาอะฮฺและผู้นำมุสลิมขณะที่เกิดความโกลาหลวุ่นวายและในทุกๆ สภาวการณ์

عن حذيفة بن اليمان رضي الله عنهما قال: كَانَ النَّاسُ يَسْأَلُونَ رَسُولَ الله ﷺ عَنِ الخَيْرِ، وَكُنْتُ أَسْأَلُـهُ عَنِ الشَّرِّ مَـخَافَةَ أَنْ يُدْرِكَنِي، فَقُلْتُ: يَا رَسُولَ الله إنَّا كُنَّا فِي جَاهِلِيَّةٍ وَشَرٍّ، فَجَاءَنَا الله بِـهَذَا الخَيْرِ، فَهَلْ بَـعْدَ هَذَا الخَيْرِ شَرٌّ؟ قَالَ: «نَعَمْ» فَقُلْتُ: هَلْ بَـعْدَ ذَلِكَ الشَّرِّ مِنْ خَيْرٍ؟. قَالَ: «نَعَمْ وَفِيهِ دَخَنٌ» قُلْتُ: وَمَا دَخَنُـهُ؟ قَالَ: «قَومٌ يَسْتَنُّونَ بِغَيرِ سُنَّتِي وَيَـهْدُونَ بِغَيْرِ هَدْيِي، تَعْرِفُ مِنْـهُـمْ وَتُنْكِرُ» فَقُلْتُ: هَلْ بَـعْدَ ذَلِكَ الخَيْرِ مِنْ شَرٍّ؟.
قَالَ: «نَعَمْ دُعَاةٌ على أَبْوَابِ جَهَنَّمَ، مَنْ أَجَابَـهُـمْ إلَيْـهَا قَذَفُوهُ فِيهَا»، فَقُلْتُ: يا رَسُولَ الله صِفْهُـمْ لَنَا، فَقَالَ: «نَعَمَ قَوْمٌ مِنْ جِلْدَتِنَا وَيَتَـكَلَّـمُونَ بِأَلْسِنَتِنَا» قُلْتُ: يَا رَسُولَ الله فَمَا تَرَى إنْ أَدْرَكَنِي ذَلِكَ؟. قَالَ: «تَلْزَمُ جَـمَاعَةَ المُسْلِـمِينَ وَإمَامَهُـمْ» فَقُلْتُ: فَإنْ لَـمْ تَـكُنْ لَـهُـمْ جَـمَاعَةٌ وَلا إمَامٌ؟ قَالَ: «فَاعْتَزِلْ تِلْكَ الفِرَقَ كُلَّـهَا، وَلَو أَنْ تَعَضَّ عَلَى أَصْلِ شَجَرَةٍ حَتَّى يُدْرِكَكَ المَوتُ وَأَنْتَ عَلَى ذَلِكَ»  متفق عليه

1. จากฮุซัยฟะฮฺ บิน อันยะมาน เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่า  ผู้คนต่างถามท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ถึงเรื่องความดีงาม  แต่ฉันกลับถามท่านถึงเรื่องความชั่วเกรงว่ามันจะมาประสบกับฉัน

  ฉันถามว่า  "โอ้ท่านรอสูลุลอฮฺพวกเราเคยอยู่ในยุคญาฮิลียะฮฺและเคยอยู่ในวังวนของความชั่ว  ดังนั้นอัลลอฮฺได้นำความดีงามอันนี้มาให้แก่เรา  หลังจากความดีงามอันนี้จะมีความชั่วอีกหรือไม่? 

ท่านรอสูลตอบว่า  มีอีก 

ฉันถามอีกว่า  หลังจากความชั่วอันนี้จะมีความดีอีกหรือไม่? 

ท่านรอสูลตอบว่า  มีอีกและจะเป็นยุคดะค็อน 

ฉันถามว่า  ดะค็อนคืออะไร? 

ท่านรอสูลตอบว่า  มีคนกลุ่มหนึ่งทำแบบอย่างที่ไม่ใช่แบบอย่างของฉัน  เรียกร้องชี้นำผู้อื่นที่ไม่ใช่เป็นทางนำของฉัน  พวกท่านยอมรับและปฏิเสธต่อพวกเขา 

ฉันถามอีกว่า  หลังจากความดีงามอันนี้จะมีความชั่วอีกหรือไม่? 

ท่านรอสูลตอบว่า  มีอีก  จะมีบรรดาผู้เรียกร้องไปสู่ประตูนรกญะฮันนัม  ผู้ที่ตอบรับการเชิญชวนของพวกเขา  เขาจะถูกขว้างให้ลงไปในนรก 

ฉันถามว่า  โอ้ท่านรอสูลุลอฮฺจงบอกลักษณะของพวกเขาแก่เรา 

ท่านรอสูลตอบว่า  เป็นชนกลุ่มหนึ่งที่มาจากเนื้อหนังของพวกเรา  พูดจาด้วยกับภาษาของพวกเรา

 ฉันถามว่า  โอ้ท่านรอสูลุลอฮฺท่านมีความเห็นว่าอย่างไรหากเรื่องดังกล่าวมาประสบกับฉัน? 

ท่านรอสูลตอบว่า  จงยืนหยัดอยู่กับญะมาอะฮฺมุสลิมและผู้นำของพวกเขา 

ฉันถามว่า  แล้วหากว่าพวกเขาไม่มีญะมาอะฮฺและไม่มีผู้นำ? 

ท่านรอสูลตอบว่า  จงออกห่างจากกลุ่มต่างๆ ทั้งหมดถึงแม้ว่าท่านต้องกัดรากไม้  จนกระทั่งความตายมาประสบกับท่านโดยที่ท่านอยู่ในสภาพดังกล่าว” 

(บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 3606, มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1847  สำนวนหะดีษเป็นของท่าน) 

عن أبي هريرة رضي الله عنه عن النبي ﷺ أنه قال: «مَنْ خَرَجَ مِنَ الطَّاعَةِ، وَفَارَقَ الجَـمَاعَةَ، فَمَاتَ، مَاتَ مِيتَةً جَاهِلِيَّةً، وَمَنْ قَاتَلَ تَـحْتَ رَايَةٍ عُمِّيَّةٍ يَـغضبُ لِعَصَبَةٍ، أَوْ يَدْعُو إلَى عَصَبَةٍ، أَوْ يَنْصُرُ عَصَبَةً، فَقُتِلَ، فَقِتْلَةٌ جَاهِلِيَّةٌ.  وَمَنْ خَرَجَ عَلَى أُمَّتِي، يَضْرِبُ بَرَّهَا وَفَاجِرهَا، وَلا يَتَـحَاشَ مِنْ مُؤْمِنِـهَا، وَلا يَفِي لِذِي عَهْدٍ عَهْدَهُ فَلَيْسَ مِنِّي وَلَسْتُ مِنْـهُ». أخرجه مسلم

2. จากอบีฮุรัยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

 “ผู้ใดที่ออกจากการปฏิบัติตามเชื่อฟัง  แยกตัวออกจากญะมาอะฮฺ (กลุ่ม) ดังนั้นเมื่อเขาเสียชีวิต  เสียชีวิตในสภาพของญะฮิลียะฮฺ (ยุคอนารยชน) 

และผู้ที่ออกต่อสู้ภายใต้ร่มธงของความเป็นพวกพ้อง (อย่างมิลืมหูลืมตา)เรียกร้องไปสู่ความเป็นกลุ่มชาตินิยม  หรือให้การช่วยเหลือสู่ความเป็นกลุ่มชาตินิยม  แล้วเขาถูกฆ่า  ดังนั้นการเสียชีวิตของเขาจะอยู่ในสภาพญาฮิลียะฮฺ 

และผู้ที่ออกต่อสู้ (กับผู้นำ) จากประชาชาติของฉัน  เขาต่อสู้กับคนดีและคนชั่ว  โดยไม่สนใจต่อความเป็นผู้ศรัทธาของเขาและไม่รักษาพันธะสัญญา  ดังนั้นเขาไม่ใช่พวกของฉันและฉันก็มิได้เป็นพวกของเขา” 

(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ  1848)

عن ابن عباس رضي الله عنهما عن النبي ﷺ قال: «مَنْ رَأَى مِنْ أَمِيرِهِ شَيْئاً يَكْرَهُهُ فَلْيَصْبِرْ عَلَيْـهِ، فَإنَّـهُ مَنْ فَارَقَ الجَـمَاعَةَ شِبْراً فَمَاتَ إلَّا مَاتَ مِيتَةً جَاهِلِيَّةً». متفق عليه

3. จากอิบนิอับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมกล่าวว่า

 “ผู้ที่เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เขาไม่ชอบจากผู้นำ  ดังนั้นจงอดทน แท้จริงผู้ที่แยกตัวออกจากญะมาอะฮฺ (กลุ่ม) เพียงคืบหนึ่ง  ดังนั้นเมื่อเขาเสียชีวิต  นอกจากเขาเสียชีวิตในสภาพของญะฮิลียะฮฺ” 

(บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 7054, มุสลิม หมายเลขหะดีษ  1849 เป็นสำนวนของท่าน)
 

จำเป็นต้องปฏิเสธต่อผู้นำในกรณีที่เขาฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติและงดจากการต่อสู้ตราบใดที่พวกเขายังคงละหมาด

عن أم سلمة رضي الله عنها عن النبي ﷺ أنـه قـال: «إنَّـهُ يُسْتَعْمَلُ عَلَيْكُمْ أُمَـرَاءُ، فَتَعْرِفُونَ وَتُنْكِرُونَ، فَمَنْ كَـرِهَ فَقَدْ بَـرِئَ، وَمَنْ أَنْكَرَ فَقَدْ سَلِـمَ، وَلَكِنْ مَنْ رَضِيَ وَتَابَـعَ» قَالُوا: يَا رَسُولَ الله أَلا نُقَاتِلُـهُـمْ؟ قَالَ: «لا. مَا صَلَّوا». أخرجه مسلم

จากอุมมุสะละมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมกล่าวว่า 

“แท้จริงบรรดาผู้นำถูกแต่งตั้งให้แก่พวกท่าน  ดังนั้นมีทั้งสิ่งที่ทำให้พวกท่านรักและสิ่งที่ทำให้พวกท่านเกลียดชัง  ผู้ที่เกลียดชังเขาจะรอดพ้น  ผู้ที่ห้ามปรามเขาจะปลอดภัย  แต่ทว่าผู้ที่ยินดีพอใจ (ต่อความชั่ว) ก็เท่าปฏิบัติตาม  พวกเขากล่าวว่า  โอ้ท่านรอสูลุลลอฮฺเราจะฆ่าพวกเขาได้หรือไม่?  ท่านตอบว่า  ไม่ได้  ตราบใดที่พวกเขายังคงละหมาด”  (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ  1854)


บทบัญญัติเกี่ยวกับการแยกตัวออกจากกิจการของมวลมุสลิมในสภาพที่อยู่รวมกันเป็นสังคม (กลุ่ม)

عن عرفجة رضي الله عنه قال: سمعت رسول الله ﷺ يقول: «مَنْ أَتَاكُمْ وَأَمْرُكُمْ جَـمِيعٌ عَلَى رَجُلٍ وَاحِدٍ، يُرِيْدُ أَنْ يَشُقَّ عَصَاكُمْ، أَوْ يُفَرِّقَ جَـمَاعَتَـكُمْ فَاقْتُلُوهُ». أخرجه مسلم

จากอัรฟะญะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า  ฉันได้ยินท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

 “ผู้ที่มาหาพวกท่านในขณะที่กิจการทั้งหมดของพวกท่านรวมอยู่ที่คนๆเดียว (ผู้นำ) โดยที่เขาต้องการจะมาทำลายความเข้มแข็งของพวกท่าน  หรือมาแยกความเป็นญะมาอะฮฺของพวกท่าน  ดังนั้นจงฆ่าเขา”  (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ  1852)


บทบัญญัติกรณีที่คอลีฟะฮฺถูกทำสัตยาบันในเวลาเดียวกันสองคน

عن أبي سعيد الخدري رضي الله عنه قال: قال رسول الله ﷺ: «إذَا بُويِـعَ لِـخَلِيفَتَينِ، فَاقْتُلُوا الآخَرَ مِنْـهُـمَا». أخرجه مسلم

จากอบีสะอีด อัลกุดรียฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมกล่าวว่า 

“เมื่อคอลีฟะฮฺถูกทำสัตยาบันสองคน  ดังนั้นจงฆ่าอีกคนจากพวกเขาทั้งสอง” 

(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1853)


บรรดาผู้นำที่ดีและผู้นำที่เลว

عن عوف بن مالك رضي الله عنه عن النبي ﷺ قال: «خِيَارُ أَئِمَّتِكُمُ الَّذِينَ تُـحِبُّونَـهُـمْ وَيُـحِبُّونَكُمْ، وَيُصَلُّونَ عَلَيْكُمْ، وَتُصَلُّونَ عَلَيْـهِـمْ، وَشِرَارُ أَئِمَّتِكُمُ الَّذِينَ تُبْـغِضُونَـهُـمْ وَيُبْـغِضُونَكُمْ، وَتَلْعَنُونَـهُـمْ وَيَلْعَنُونَكُمْ» قِيلَ: يَا رَسُولَ الله أَفَلا نُنَابِذُهُـمْ بِالسَّيْفِ؟ فَقَالَ: «لا. مَا أَقَامُوا فِيكُمُ الصَّلاةَ، وَإذَا رَأَيْتُـمْ مِنْ وُلاتِكُمْ شَيْئاً تَـكْرَهُونَـهُ فَاكْرَهُوا عَمَلُـه، وَلا تَنْزِعُوا يَداً مِنْ طَاعَةٍ». أخرجه مسلم

จากเอาฟฺ บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมกล่าวว่า

 “ผู้นำที่ดีของพวกท่าน  คือ  บรรดาผู้ที่พวกเขารักพวกท่านและพวกท่านก็รักต่อพวกเขา  พวกเขาขอพรให้แก่พวกท่านและพวกท่านก็ขอพรให้แก่พวกเขา 

ส่วนผู้นำที่เลวของพวกท่าน  คือ  บรรดาผู้ที่พวกท่านเกลียดชังต่อพวกเขาและพวกเขาก็เกลียดชังต่อพวกท่าน  พวกท่านสาปแช่งต่อพวกเขาและพวกเขาก็สาปแช่งพวกท่าน 

มีคนกล่าวว่า  โอ้ท่านรอสูลุลลอฮฺเราจะถอนตัวจากพวกเขาด้วยกับคมดาบได้หรือไม่? 

ท่านตอบว่า  ไม่ได้  ตราบใดที่พวกเขายังคงดำรงการละหมาดแก่พวกท่าน  และเมื่อพวกท่านเห็นสิ่งใดที่น่าตำหนิจากบรรดาผู้ปกครองจงตำหนิการกระทำของเขา  พวกท่านอย่าได้ถอดมือออกจากการเชื่อฟังปฏิบัติตามพวกเขา” 

(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1855)


คนใกล้ชิดและบรรดาที่ปรึกษาของผู้นำ

عن أبي سعيد الخدري رضي الله عنه عن النبي ﷺ قال: «مَا بَـعَثَ الله مِنْ نَبِيٍّ وَلا اسْتَـخْلَفَ مِنْ خَلِيْفَةٍ إلا كَانَتْ لَـهُ بِطَانَتَانِ: بِطَانَةٌ تَأْمُرُهُ بِالمَعْرُوفِ، وَتَـحُضُّهُ عَلَيْـهِ، وَبِطَانَةٌ تَأْمُرُهُ بِالشَّرِّ وَتَـحُضُّهُ عَلَيْـهِ، فَالمَعْصُومُ مَنْ عَصَمَ الله تَعَالَى». أخرجه البخاري

จากอบีสะอีด อัลกุดรียฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมกล่าวว่า 

“อัลลอฮฺไม่ได้ส่งนบีและไม่ได้แต่งตั้งคอลีฟะฮฺ (ตัวแทน) นอกจากเขาจะมีที่ปรึกษาสองประเภท 

หนึ่ง..ปรึกษาใช้ให้กระทำคุณงามความดีและคอยกระตุ้นส่งเสริม 

สอง..ปรึกษาใช้ให้กระทำความชั่วและคอยกระตุ้นส่งเสริม 

ดังนั้นผู้ที่ได้รับการคุ้มครองให้พ้นจากความผิดคือผู้ที่อัลลอฮฺตะอะลาทรงปกป้องเขา” 

(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 7198)

 

 

มุหัมมัด อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

แปลโดย : ยูซุฟ อบู บักรฺ

Islam House