หลักความเชื่อในอิสลาม
  จำนวนคนเข้าชม  15173

 

 

หลักความเชื่อในอิสลาม


แปลโดย  อิสมาอีล  กอเซ็ม


          หลักความเชื่ออิสลาม ซึ่งเป็นหลักความเชื่อที่อัลลอฮ์  ได้ส่งบรรดาเราะซูลของพระองค์ลงมาด้วยความจริง  และพระองค์ได้ประทานคัมภีร์ลงมา และได้กำหนดให้มนุษย์ทั้งหมดรวมทั้งญิน ตอบรับหลักความเชื่อนี้

ดังดำรัสของพระองค์ที่ว่า


“และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า”

อัลลอฮ์ได้ตรัสไว้ว่า

وقضى ربك ألا تعبدوا إلا إياه

 “และพระเจ้าของเจ้าบัญชาว่า พวกเจ้าอย่าเคารพภักดีผู้ใดนอกจากพระองค์เท่านั้น”

อัลลอฮ์ได้ตรัสไว้ว่า

(ولقد بعثنا في كُلِّ أمة رسول أن اعبدوالله واجتنبوا الطاغوت)

 “และโดยแน่นอน เราได้ส่งร่อซูลมาในทุกประชาชาติ (โดยบัญชาว่า)

พวกท่านจงเคารพภักดีอัลลอฮ์ และจงหลีกหนีให้ห่างจากพวกเจว็ด”

          บรรดาเราะซูลได้มาทำการเรียกร้องสู่หลักความเชื่ออัลอิสลาม และคัมภีร์ทั้งหมดของอัลลอฮ์  ได้ประทานลงมาเพื่ออธิบายชี้แจง และอธิบายถึงสิ่งที่จะมาทำลายหลักความเชื่ออิสลามให้ต้องเสียหาย  ทุกคนที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติ จะถูกใช้ให้ตอบรับหลักความเชื่อด้วยกับความสำคัญของหลักความเชื่ออิสลาม และสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นประการแรก  ด้วยเฉพาะหลักความเชื่อที่จะมาทำให้เกิดความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า

อัลลอฮ์ ทรงตรัสว่า

فمن يكفر بالطاغوت ويؤمن بالله فقد استمسك بالعروة الوثقى لا انفصام لها

“ดังนั้นผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่อ อัฎ-ฎอฆูตและศรัทธาต่ออัลลอฮ์แล้ว แน่นอนเขาได้ยึดห่วงอันมั่นคงไว้แล้ว”

         ความหมายคือ ใครที่ละทิ้งหลักความเชื่ออิสลาม  การยึ่ดมั่นของเขาก็อยู่กับสิ่งที่ไม่แน่นอนและสิ่งที่เป็นเท็จ  ดังนั้นไม่มีอะไรหลังจากสัจธรรมนอกจากความหลงผิด

(ذلك بأن الله هو الحق وأن ما يدعون من دونه هو الباطل )

“เช่นนั้นแหละ เพราะว่าอัลลอฮ์  คือผู้ทรงสัจจะและแท้จริงสิ่งที่พวกเขาวิงวอนขออื่นจากพระองค์ มันเป็นเท็จ”

และเช่นนั้นที่พำนักของเขาคือนรกญะอันนัม และเป็นที่พำนักที่เลวร้ายยิ่ง

          สำหรับอากีดะห์หรือหลักความเชื่อ  คือ การที่บ่าวนั้นเชื่อมั่นด้วยกับหลักความเชื่ออิสลาม และได้ยึ่ดมั่นเป็นศาสนา  หากหลักความเชื่อตรงกับหลักการที่อัลลอฮ์ได้ส่งบรรดาเราะซูลให้นำมา และตรงตามหลักความเชื่อที่ถูกระบุไว้ในอัลกุรอาน  ถือว่าหลักความเชื่อนั้นเป็นหลักความเชื่อที่ถูกต้อง  เขาจะได้รับความปลอดภัยและรอดพ้นจากการลงโทษของอัลลอฮ์ จะได้รับความสุขในโลกดุนยา และอาคีเราะฮ์ (โลกหน้า) และหากใครที่มีหลักความเชื่อสวนทางขัดแย้งกับหลักความเชื่อที่ถูกส่งมา และค้านกับหลักความเชื่อที่ถูกประทานลงมาในคัมภีร์ของพระองค์   ดังนั้นใครที่มีอากีดะห์ค้านกับบรรดาเราะซูลและค้านกับคัมภีร์ต่างๆ  เขาก็สมควรที่จะได้รับการลงโทษและความลำบากทั้งโลกนี้และโลกหน้า

          ถ้ามีหลักความเชื่อที่ถูกต้องและบริสุทธิ์  ทรัพย์สมบัติและเลือดเนื้อของเขาจะได้รับการปกป้อง และห้ามการเป็นศัตรูสร้างความเดือดร้อนให้แก่เขา เหมือนดังคำพูดของท่านนะบี

( أُمِرْتُ أن أقاتل الناس حتى يقول لاإله إلا الله فإذا قالوها عصموا مني دماءهم وأموالهم إلا بحقها )) وقال صلى الله عليه وسلم (( من قال : لاإله إلا الله وكفر بما يعبد من دون الله حرم ماله ودمه وحسابه على الله عزوجل )) رواه مسلم

         “ฉันได้ถูกใช้ให้ทำการสู้รบกับผู้คน  จนกว่าเขาจะกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าที่ถูกเคารพโดยแท้จริงนอกจากอัลลอฮ์  เมื่อพวกเขาได้กล่าวคำปฏิญาณ (ชะฮาดะฮ์) พวกเขาจะได้รับการปกป้องจากฉัน เลือดเนื้อของพวกเขา สมบัติของพวกเขา นอกจากสิทธิของมัน” (หมายถึงหมายถึงสิทธิที่อิสลามอนุญาตในเรื่องเลือดเนื้อ และทรัพย์สิน- ผู้แปล ) 

และท่านเราะซูล  ได้กล่าวไว้ว่า

          “ใครที่ได้กล่าวปฏิญาณว่า  ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ถูกเคารพโดยแท้จริงนอกจากอัลลอฮ์ และเขาได้ปฏิเสธสิ่งที่ถูกเคารพนอกจากอัลลอฮ์ สมบัติของเขาและเลือดเนื้อของเขาเป็นที่ต้องห้าม และจะได้รับการปกป้อง ส่วนการคิดบัญชีของเขาเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเกียติรที่สูงส่ง” 

(บันทึกโดยมุสลิม)

และเช่นเดียวกันใครที่มีหลักความเชื่อที่ถูกต้อง เขาจะรอดพ้นการลงโทษในวันกิยามะห์

فقد روى مسلم عن جابر رضي الله عنه أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال (( من لقي الله لا يشرك به شيئا دخل الجنة ومن لقيه يشرك به شيئا دخل النار ))

 โดยมีรายงานจากอิหม่ามมุสลิม จากท่านญาบิรรอฏิยัลลอฮูอันฮู แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์  ได้กล่าวว่า

          “ใครที่ได้พบกับอัลลอฮ์ โดยที่เขาไม่เอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาเป็นหุ้นส่วนกับพระองค์(การทำอิบาดะห์ด้วยความบริสุทธิ์ใจและมอบต่ออัลลอฮ์องค์เดียว )  เขาจะได้เข้าสวรรค์ และใครที่ไปพบกับอัลลอฮ์โดยที่เขาได้ยึ่ดสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีต่ออัลลอฮ์(ชิริก) เขาจะได้เข้านรก”

وفي الصحيحين من حديث عتبان بن مالك رضي الله عنه (فإن الله حرم على النار من قال : لا إله إلا الله ، يبتغي بذلك وجه الله ))
 

ซอเฮี๊ยะอัลบุคอรีย์และมุสลิม จากหะดีษของท่านอุตบาน บิน มาลิก รอฏิยัลลอฮูอันฮู

“แท้จริงอัลลอฮ์จะห้ามจากไฟนรก ผู้ที่ได้กล่าวว่า

ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ถูกเคารพโดยแท้จริงนอกจากอัลลอฮ์  โดยที่เขาแสวงหาความพอพระทัยจากอัลลอฮ์”

 

หลักความเชื่อที่ถูกต้องต่ออัลลอฮ์จะมาลบล้างความผิด

فقد روى الترمذي وحسنه عن أنس رضي الله عنه :سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم يقول ،(( قال الله تعالى : ياابن آدم لو أتيتني بقراب الأرض خطايا ، ثم لقيتني لا تشرك بي شيئا ، لأتيتك بقرابها مغفرة )

         ได้มีรายงานจากอัตติรมีซีย์ และท่านอิหม่ามอัตติรมีซีย์ถือว่าเป็นหะดีษที่ดี จากท่านอะนัส  กล่าวว่า

         “อัลลอฮ์ ได้ตรัสไว้ว่า โอ้มนุษย์ทั้งหลาย หากเจ้าได้มาพบฉัน ในสภาพที่นำพาบาปมาเต็มแผ่นดิน โดยที่เจ้ามาพบฉันและไม่นำสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาเป็นภาคีต่อฉัน แน่นอนฉันจะให้การอภัยโทษแก่เจ้า (เต็มแผ่นดิน)”

          การอภัยโทษมีจำนวนเต็มแผ่นดิน หรือเกือบเต็มแผ่นดิน  แต่มีเงื่อนไขที่จะได้รับการอภัยโทษอันนี้   คือ การมีหลักความเชื่อที่บริสุทธิ์ปราศจากการตั้งภาคี(ชีริก)  ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ไม่ว่าจะเป็นการตั้งภาคีเล็กหรือ การตั้งภาคีที่ใหญ่
ซึ่งอัลลอฮ์ ได้ตรัสไว้ว่า

قال الله تعالى : يوم لا ينفع مال ولا بنون
 
“วันที่ทรัพย์สมบัติและลูกหลานจะไม่อำนวยประโยชน์ได้เลย”

 
 “เว้นแต่ผู้มาหาอัลลอฮ์ด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์ผ่องใส”

 

ท่านอิบนูกอยยิมรอฮิมาอุลลอฮ์ได้กล่าวเกี่ยวกับความหมายของหะดีษ ท่านอุตบาน 

         “จะได้รับการอภัยโทษแก่บรรดาผู้ที่ มีหลักเตาฮีด การให้เอกภาพต่อพระเจ้าที่บริสุทธิ์ ซึ่งไม่มีการเจือปนของการตั้งภาคีใดๆ  และผู้ที่ไม่มีหลักเอกภาพเหมือนที่กล่าวมาจะไม่ได้รับการอภัยโทษให้  ถึงแม้ผู้ที่มีหลักเตาฮีดที่บริสุทธิ์ ไปพบพระเจ้าของเขาในสภาพที่เขามีบาปเต็มแผ่นดิน แต่อัลลอฮก็จะการอภัยโทษให้แก่เขาเท่าเต็มผืนดิน  และผู้ที่หลักความเชื่อของเขาบกพร่องจะไม่ได้รับการอภัยนี้  เพราะแท้จริงหลักเอกภาพ(หลักความเชื่อ)ที่บริสุทธิ์ ซึ่งไม่มีการตั้งภาคี(ชีริก)เข้ามาปะปน บาปต่างๆจะไม่เหลืออยู่  เนื่องจากหลักเตาฮีดที่ถูกต้องนั้น จะมารวมไว้ซึ่งความรักต่ออัลลอฮ์ และการสดุดีต่อพระองค์ และให้ความยิ่งใหญ่ต่ออัลลอฮ์ และมีความกลัวต่อพระองค์ มีความหวังต่อพระองค์ เพียงพระองค์เดียว เมื่อเป็นเช่นนั้นบาปต่างๆ ก็สมควรที่จะได้รับการลบล้างถึงแม้จะมีบาปมากเต็มแผ่นดิน   สำหรับสิ่งสกปรกที่มันเกิดขึ้น และสิ่งที่ขจัดสิ่งสกปรกแข็งแรงกว่า....”จนจบคำพูด ของอิบนูกอยยิม

 

การงานที่เกิดขึ้นจากหลักความเชื่อที่ถูกต้องจะถูกตอบรับ และผู้กระทำงานนั้นจะได้รับประโยชน์

قال تعالى :

 
“ ผู้ใดปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ตาม โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ดังนั้นเราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดี

และแน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาซึ่งรางวัลของพวกเขา ที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขาได้เคยกระทำไว้ ”

          และในทางตรงกันข้าม การมีหลักความเชื่อที่ไม่ถูกต้องจะมาทำให้การงานทั้งหมดเป็นโมฆะ และต้องเข้าไปอยู่ในนรกตลอดกาล อัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่งได้ตรัสไว้ว่า

(إن الله لا يغفر أن يشرك به ويغفر ما دون ذلك لمن يشاء )

“แท้จริงอัลลอฮ์ จะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่การที่สิ่งหนึ่งจะถูกให้มีภาคี ขึ้นแก่พระองค์

และพระองค์ทรงอภัยให้แก่สิ่งอื่นจากนั้นสำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์”

(إنه من يشرك بالله فقد حرم الله عليه الجنة ومأواه النار وما للظالمين من أنصار )

“แท้จริงผู้ใดให้มีภาคีต่ออัลลอฮ์ แน่นอนอัลลอฮ์จะทรงให้สวรรค์เป็นที่ต้องห้ามแก่เขา

และที่พำนักของเขานั้นคือนรก และสำหรับบรรดาผู้อธรรมนั้นย่อมไม่มีผู้ช่วยเหลือใด ๆ”

( อัลมาอิดะห์ 72 )

          สำหรับหลักความเชื่อที่บริสุทธิ์ถูกต้องมีผลที่ดีต่อจิตใจ การใช้ชีวิตในสังคม มีกฏระเบียบในการดำเนินชีวิต  

          ในยุคของท่านนะบี มีคนอยู่สองกลุ่มที่ทำการสร้างมัสยิด  หนึ่งในสองกลุ่มที่กล่าวมานั้น ได้สร้างมัสยิดด้วยเจตนาที่ดี มีหลักความเชื่อที่ถูกต้องต่ออัลลอฮ์   อีกกลุ่มหนึ่งได้สร้างมัสยิดโดยมีเจตนาที่เลวร้าย และมีหลักความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง อัลลอฮ์จึงมีคำสั่งใช้ให้นะบีของพระองค์ละหมาดในมัสยิดที่สร้างขึ้นบนรากฐานของความยำเกรง และพระองค์ได้ห้ามท่านนะบีไม่ให้ไปทำละหมาดในมัสยิดที่สร้างขึ้นบนรากฐานของการปฏิเสธ และมีเจตนาที่เลวร้าย โดยที่อัลลอฮ์ได้ตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้

 

          “และบรรดาผู้ที่ยึดเอามัสยิดหลังหนึ่งเพื่อก่อให้เกิดความเดือดร้อนและปฏิเสธศรัทธาและก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างบรรดามุมินด้วยกัน และเป็นแหล่งซ่องสุมสำหรับผู้ที่ทำสงครามต่อต้านอัลลอฮ์และเราะซุลของพระองค์มาก่อนและแน่นอนพวกเขาจะสาบานว่า เราไม่มีเจตนาอื่นใดนอกจากที่ดี และอัลลอฮ์นั้นทรงเป็นพยานยืนยันว่า แท้จริงพวกเขานั้นเป็นพวกกล่าวเท็จอย่างแน่นอน”
 


          “เจ้าอย่าไปร่วมยืนละหมาดในมัสยิดนั้นเป็นอันขาด แน่นอน มัสยิดที่ถูกวางรากฐานบนความยำเกรงตั้งแต่วันแรกนั้นสมควรอย่างยิ่งที่เจ้าจะเข้าไปยืนละหมาดในนั้น เพราะในมัสยิดนั้นมีคณะบุคคลที่ชอบจะชำระตัวให้บริสุทธิ์ และอัลลอฮ์นั้นทรงรักบรรดาผู้ที่ชำระตัวให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ”


          “ผู้ที่วางรากฐานอาคารของเขาบนความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ และบนความโปรดปรานนั้นดีกว่าหรือว่าผู้ที่วางรากฐานอาคารของเขาบนริมขอบเหวที่จะพังทลายลง แล้วมันก็พัง นำเขาลงไปในนรกและอัลลอฮ์นั้นจะไม่ชี้แนะทางแก่กลุ่มชนที่อธรรม”

 

 

ดร. ซอและห์ บิน เฟาซาน

จากหนังสือ     الارشاد إلى صحيح الاعتقاد