กำเนิดกลุ่มเมฆฝน
  จำนวนคนเข้าชม  16795

7 พระคัมภีร์กุรอานว่าด้วยกลุ่มเมฆ:

         

           นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาถึงรูปแบบต่างๆ ของกลุ่มเมฆ และทราบว่า เมฆฝนจะก่อตัวและมีรูปทรงไปตามระบบที่แน่นอนและตามขั้นตอนต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเภทของลมและกลุ่มเมฆด้วย เมฆฝนชนิดหนึ่งก็คือ เมฆฝนฟ้าคะนอง  นักอุตุนิยมวิทยาได้ศึกษาถึงวิธีการก่อตัวของเมฆฝนฟ้าคะนอง และวิธีการที่เมฆฝนประเภทนี้ก่อให้เกิดฝน ลูกเห็บ และฟ้าแลบ

นักวิทยาศาสตร์พบว่า เมฆฝนฟ้าคะนองจะไปตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อทำให้เกิดฝนตก:

           1) กลุ่มเมฆจะถูกผลักดันโดยกระแสลม เมฆฝนฟ้าคะนองจะเริ่มก่อตัวเมื่อกระแสลมผลักดันเมฆก้อนเล็กๆ (เมฆฝนฟ้าคะนอง) ไปยังบริเวณที่กลุ่มเมฆดังกล่าวนี้มาบรรจบกัน (ดูรูปที่ 17และ18).


 
รูปที่ 17:จากภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่า กลุ่มเมฆต่างๆ กำลังเคลื่อนตัวไปข้างหน้าเพื่อไปบรรจบกันตรงบริเวณอักษร B, C และ D เครื่องหมายลูกศรจะบอกให้ทราบถึงทิศทางของกระแสลม (The Use of Satellite Pictures in Weather Analysis and Forecasting ของ Anderson และคณะ หน้า 188)  

 

 
รูปที่ 18:ชิ้นส่วนขนาดเล็กของก้อนเมฆ (เมฆฝนฟ้าคะนอง) กำลังเคลื่อนตัวไปยังบริเวณที่จะมาบรรจบกันใกล้ ๆ กับเส้นขอบฟ้า ที่ซึ่งเราสามารถมองเห็นเมฆฝนฟ้าคะนองขนาดใหญ่ (Clouds and Storms ของ Ludlam ภาพที่ 7.4)
   
 

              2) การรวมกัน จากนั้นบรรดาเมฆก้อนเล็กๆ ก็จะมารวมกันเพื่อก่อตัวให้เป็นกลุ่มเมฆขนาดใหญ่ขึ้น1(ดูรูปที่ 18 และ 19).


 
รูปที่ 19: (A) เมฆก้อนเล็กๆ ที่กระจัดกระจายกันอยู่ (เมฆฝนฟ้าคะนอง) (B) เมื่อเมฆก้อนเล็กๆ มารวมกัน กระแสอากาศไหลขึ้นในก้อนเมฆก็จะรุนแรงตามขึ้นไปด้วย จนกระทั่งก้อนเมฆมีขนาดใหญ่โตมาก  จากนั้นก็กลั่นกลายกลับมาเป็นหยดน้ำ (The Atmosphere ของ Anthes และคณะ หน้า 269)

 

             3) การทับซ้อนกันเพิ่มมากขึ้น เมื่อก้อนเมฆขนาดเล็กรวมตัวเข้าด้วยกัน จากนั้นจะเคลื่อนตัวลอยขึ้นอากาศไหลขึ้นในก้อนเมฆก็จะรุนแรงตามขึ้นไปด้วย กระแสอากาศไหลขึ้นที่อยู่ใกล้กับบริเวณศูนย์กลางของก้อนเมฆนั้นจะมีความรุนแรงมากกว่ากระแสอากาศไหลขึ้นที่อยู่ใกล้กับบริเวณริมขอบของก้อนเมฆ.2  กระแสอากาศไหลขึ้นเหล่านี้ทำให้ส่วนกลางของก้อนเมฆขยายตัวขึ้นในแนวดิ่ง.เพื่อที่ว่าก้อนเมฆจะได้ทับซ้อนกันมากขึ้นเรื่อยๆ  (ดูรูปที่ 19 (B) 20 และ 21) การขยายตัวขึ้นในแนวดิ่งนี้เป็นเหตุให้ก้อนเมฆขยายตัวล้ำเข้าไปในบริเวณที่มีบรรยากาศเย็นกว่า จึงทำให้บริเวณนี้เป็นที่ก่อตัวของหยดน้ำและลูกเห็บ และเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อหยดน้ำและลูกเห็บเหล่านี้มีน้ำหนักมากจนเกินกว่าที่กระแสอากาศไหลขึ้นจะสามารถอุ้มไว้ได้ มันจึงเริ่มกลั่นตัวออกมาจากก้อนเมฆแล้วตกลงมาเป็นฝน ลูกเห็บ และอื่นๆ.3

รูปที่ 20:เมฆฝนฟ้าคะนอง หลังจากที่ก้อนเมฆขยายตัวใหญ่ขึ้น น้ำฝนจึงกลั่นมาจากก้อนเมฆดังกล่าว (Weather and Climate ของ Bodin หน้า 123)
 
 

 

 
รูปที่ 21: เมฆฝนฟ้าคะนอง (A Colour Guide to Clouds ของ Scorer และ Wexler หน้า 23)
 

พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสไว้ในพระคัมภีร์กุรอานดังนี้ :

เจ้ามิได้เห็นดอกหรือว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงให้เมฆลอย แล้วทรงทำให้ประสานตัวกัน แล้วทรงทำให้รวมกันเป็นกลุ่มก้อน แล้วเจ้าก็จะเห็นฝนโปรยลงมาจากกลุ่มเมฆนั้น....  (พระคัมภีร์กุรอาน, 24:43)

          นักอุตุนิยมวิทยาเพิ่งได้ทราบขั้นตอนรายละเอียดเกี่ยวกับการก่อตัว โครงสร้าง และหน้าที่ของก้อนเมฆเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยการใช้เครื่องมือที่ล้ำสมัย อย่างเช่น เครื่องบิน ดาวเทียม คอมพิวเตอร์ บอลลูน และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อศึกษากระแสลมและทิศทางลม เพื่อตรวจวัดความชื้นและค่าความแปรปรวนของความชื้น อีกทั้งเพื่อพิจารณาถึงระดับและการแปรปรวนของความกดดันในชั้นบรรยากาศอีกด้วย

อัลกุรอานบทที่ได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ หลังจากที่ได้กล่าวถึงกลุ่มเมฆและฝน ได้พูดถึงลูกเห็บและฟ้าแลบดังนี้

 …และพระองค์ทรงให้มันตกลงมาจากฟากฟ้ามีขนาดเท่าภูเขา ในนั้นมีลูกเห็บ แล้วพระองค์จะทรงให้มันหล่นลงมาโดนผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์จะทรงให้มันผ่านพ้นไปจากผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ แสงประกายของสายฟ้าแลบเกือบจะเฉี่ยวสายตาผู้มอง.  (พระคัมภีร์กุรอาน, 24:43)

          นักอุตุนิยมวิทยาได้พบว่า กลุ่มเมฆฝนฟ้าคะนองเหล่านี้  ซึ่งทำให้เกิดลูกเห็บโปรยปรายตกลงมานั้น จะอยู่ที่ระดับความสูง 25,000 ถึง 30,000 ฟุต (4.7 ถึง 5.7 ไมล์),5อย่างเช่น เทือกเขาต่าง ๆ ดังที่พระคัมภีร์กุรอานได้กล่าวไว้ “…และพระองค์ทรงให้มันตกลงมาจากฟากฟ้ามีขนาดเท่าภูเขา...”  (ดูรูปที่ 21ข้างต้น ).

          อัลกุรอานบทนี้อาจก่อให้เกิดคำถามตามมาว่า ทำไมบทดังกล่าวจึงกล่าวว่า “แสงประกายของสายฟ้า” เป็นการอ้างถึงลูกเห็บ เช่นนี้หมายความว่าลูกเห็บเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการก่อให้เกิดแสงฟ้าแลบหรือ ขอให้เราดูหนังสือที่มีชื่อว่า Meteorology Today ที่กล่าวถึงเรื่องนี้  หนังสือเล่มนี้กล่าวว่า ก้อนเมฆจะเกิดประจุไฟฟ้าขึ้น ขณะที่ลูกเห็บตกผ่านลงมายังบริเวณก้อนเมฆที่มีหยดน้ำเย็นจัดและก้อนผลึกน้ำแข็ง เมื่อหยดน้ำเกิดการกระทบกับลูกเห็บ หยดน้ำก็จะแข็งตัวในทันทีที่สัมผัสกับลูกเห็บ และปล่อยความร้อนแฝงออกมา.  สิ่งนี้ทำให้พื้นผิวของลูกเห็บอุ่นกว่าผลึกน้ำแข็งที่อยู่รายรอบ  เมื่อลูกเห็บสัมผัสกับผลึกน้ำแข็ง ก็จะเกิดปรากฏการณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งขึ้น นั่นคือ กระแสไฟฟ้าจะไหลจากวัตถุที่เย็นกว่าไปยังวัตถุที่อุ่นกว่า ดังนี้ ลูกเห็บจึงกลายเป็นประจุไฟฟ้าลบ ปฏิกิริยาเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นเมื่อหยดน้ำเย็นจัดสัมผัสกับลูกเห็บและสะเก็ดขนาดเล็กที่แตกออกมาจากผลึกนำแข็งซึ่งมีประจุบวก. อนุภาคของประจุไฟฟ้าบวกที่มีน้ำหนักเบาเหล่านี้ ในเวลาต่อมาจะถูกกระแสอากาศไหลขึ้นพัดพาขึ้นไปยังส่วนบนของก้อนเมฆ ลูกเห็บซึ่งมีประจุลบ จะตกลงสู่บริเวณด้านล่างของก้อนเมฆ ดังนี้ ส่วนล่างของก้อนเมฆจะเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าลบ หลังจากนั้นประจุไฟฟ้าลบนี้จะถูกปล่อยออกมาเป็นแสงฟ้าแลบ.6 เราจึงพอสรุปปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ว่า ลูกเห็บนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการก่อให้เกิดฟ้าแลบ

          ข้อมูลที่เกี่ยวกับแสงฟ้าแลบเหล่านี้ ได้ถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ อยู่มาจนถึงปี พ.ศ. 2143 ความคิดของอริสโตเติลที่เกี่ยวกับเรื่องอุตุนิยมวิทยาจึงมีความเด่นชัดขึ้น ตัวอย่างเช่น เขาเคยกล่าวไว้ว่า ในบรรยากาศนั้นประกอบไปด้วยไอระเหยของอนุภาคสองชนิด นั่นคือ ความแห้งและความชื้น เขายังได้กล่าวอีกด้วยว่า ฟ้าร้อง คือเสียงการประทะกันของไอระเหยความแห้งกับกลุ่มเมฆที่อยู่ใกล้ ๆ กัน และฟ้าแลบนั้น คือ การเกิดประกายไฟและการเผาไหม้ของไอระเหยความแห้งที่มีไฟที่บางเบาและเจือจาง7 เหล่านี้ก็คือ แนวความคิดบางประการในเรื่องของอุตุนิยมวิทยา ซึ่งมีความชัดเจนยิ่งขึ้นในเวลาที่มีการเปิดเผยพระคัมภีร์กุรอาน เมื่อสิบสี่ศตวรรษที่ผ่านมา

ติดตามตอนต่อไป

 ที่มา : islam guide