การถือศีลอดหญิงที่ตั้งครรภ์และให้นมลูก
  จำนวนคนเข้าชม  39394

 

ทัศนะว่าด้วยการชดใช้การถือศีลอดหญิงที่ตั้งครรภ์และให้นมลูก


คำถาม

     จะอนุญาตหรือไม่สำหรับผู้หญิงที่กลัวว่าน้ำนมจะน้อยลงเนื่องจากทำการถือศีลอดในเดือนรอมาฏอน?

     เช่นเดียวกันผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ซึ่งลูกของนางต้องการอาหาร เพื่อที่จะให้การเติบโตแข็งแรง และกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง สำหรับนางจะละศีลอดได้หรือไม่?

     หญิงที่ตั้งครรภ์ และหญิงที่ให้นมลูก เมื่อนางทั้งสองได้ละศีลอดเนื่องจากกลัวอันตรายจะเกิดขึ้นแก่ตัวเอง เช่นเดียวกันในกรณีที่กลัวอันตรายจะเกิดแก่ลูกของนาง

 

คำตอบ

          บรรดานักนิติบัญญัติอิสลามได้มีมติกัน โดยภาพรวม ว่าแท้จริงคนท้องและให้นมแก่ลูกนั้น หากทั้งสองกลัวอันตรายต่อตัวเองและลูก  ก็อนุญาตให้ละศีลอดได้เหมือนกับคนป่วย สำหรับคนตั้งครรภ์อยู่ในบัญญัติเดียวกันกับคนป่วย

          สำหรับคนที่ให้นมบุตรตามมัสฮับมาลีกีย์ และคนอื่นๆ  ได้ให้ทั้งสองอยู่ในประเภทของคนป่วย และเนื่องจากได้มีมาจาก อิบนู อับบัส รอฏิยัลลอฮูอันฮูมา ในคำดำรัสของอัลลอฮ์ที่ว่า

:"وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ"[البقرة: 184]

สำหรับอายะนี้หมาย ถึง คนแก่ทั้งชายหญิง คนท้อง คนให้นมลูก

 

وحديث أنس بن مالك الكعبي قال: أتيت رسول الله صلى الله عليه وسلم فوجدته يتغدى فقال: (ادن فكل) فقلت: إني صائم فقال: ( ادن أحدثك عن الصوم أو الصيام ، إن الله تعالى وضع عن المسافر الصوم وشطر الصلاة ، وعن الحامل أو المرضع الصوم أو الصيام) رواه الترمذي والنسائي، وقال الترمذي حديث حسن، وفي بعض النسخ حسن صحيح ، وصححه ابن خزيمة، وجمع من أهل العلم، وأعله بعضهم بالاضطراب، لكن جاءت آثار كثيرة عن الصحابة تشهد لهذا المعنى، لكن يفرق بين ما إذا كان فطرها خوفاً على نفسها، أو خوفاً على ولدها.

          และหะดีษของท่าน อะนัส  บิน  มาลิก อัลกะบีย์ ได้กล่าวไว้ว่า ฉันได้ไปหาท่านเราะซูล และฉันพบว่าท่านกำลังรับประทานอาหาร ท่านได้กล่าว (จงเข้ามาใกล้ และจงกิน) ฉันตอบไปว่า ฉันถือศีลอด  จงเข้ามาใกล้ฉันจะบอกเจ้าเกี่ยวกับการถือศีลอด

แท้จริงอัลลอฮได้อนุญาตให้แก่ผู้ที่เดินทาง ในการละหมาดย่อ และสำหรับหญิงที่ตั้งครรค์ และหญิงที่ให้นมลูก เรื่องการถือศีลอด

(หมายถึงอนุญาตให้ละศีลอดได้)"

        บันทึกโดย อัตติรมีซีย์ และอันนาซาอีย์ และท่านอัตติรมีซีย์ได้กล่าวว่า หะดีษนี้เป็นหะดีษที่ดี และบางเล่ม(หมายถึงหนังสือหะดีษ) อัตติรมีซีย์ได้กล่าวว่า หะดีษที่ดี และถูกต้อง และท่านอิบนู คุซัยมะห์ให้เป็นหะดีษที่ถูกต้อง และนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง และมีนักวิชาการบางท่าน ถือว่าหะดีษนี้เป็นหะดีษที่มีข้อบกพร่อง เนื่องจากเป็นประเภทหะดีษที่มีความสับสน แต่มีสายรายงานจากบรรดาศอหาบะห์มาสนับสนุนในความหมายของมัน แต่มีการแบ่งแยกกันระหว่าง การละศีลอดเนื่องจากกลัวอันตรายต่อตัวเอง และอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับลูกของนาง  

 

          ดังนั้นหากนางกลัวอันตรายจะเกิดขึ้นในขณะตั้งท้อง และขณะให้นม สำหรับนางนั้นการถือศีลอดชดใช้เท่านั้น ไม่ต้องทำอย่างอื่น เพราะสภาพของนางเหมือนคนป่วย ที่ทำการชดเชย เมื่อนางละศีลอดก็ให้ชดเชยด้วยกับการถือศีลอด เมื่ออุปสรรคของการถือศีลอดหมดไป  ไม่จำเป็นต้องเสียค่าชดเชย สำหรับเรื่องนี้ไม่มีการสงสัย และเป็นทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่  

          หากว่าผู้ที่ตั้งครรภ์ และผู้ที่ให้นมลูก กลัวอันตรายจะเกิดขึ้น ก็หมายความว่า หากนางไม่รับประทานอาหาร บางทีอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ลูก และผู้หญิงที่ให้นมลูก หากนางไม่รับประทานอาหารจะทำให้น้ำนมของนางลดลง   และไม่มีน้ำนมที่จะให้นมแก่ลูก  สำหรับในประเด็นที่นางจะละศีลอด เนื่องจากกลัวอันตรายจะเกิดแก่ลูกนั้น มีอยู่สามทัศนะ


 

ทัศนะแรก

          แท้จริงนางละศีลอด และถือศีลอดชดใช้ และต้องให้อาหารแก่คนที่ยากจนทุกวัน (วันละหนึ่งคน)  เป็นทัศนะของมัสฮับบ ฮัมบาลีย์ ซึ่งหลักฐานจากอายะฮ์

وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ" [البقرة: 184]

เนื่องจากนางมีความสามารถที่จะถือศีลอด แต่การละศีลอดของนางเพื่อลูกของนาง 

         และเช่นเดียวกันได้มีรายงาน จากอิบนู อุมัร  และ อิบนู อับบาส และคนอื่นๆ เนื่องจากการละศีลอดของนาง ไม่ได้กลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้น  สำหรับการเสียค่าชดเชยในกรณีนี้ให้ผู้ปกครองของเด็กเป็นคนจ่าย (หมายถึงสามี)  และบางกรณีไม่ใช่จำเป็นที่จะต้องจ่าย เพราะแม่บางคนรับเลี้ยงเด็กเพื่อเอาค่าตอบแทน โดยที่ให้นมแก่เด็กที่ไม่ใช้ลูกของนาง และอิบนู อะกีลได้เลือกในเรื่องของการเสียกัฟฟาเราะห์ผู้หญิงเป็นคนรับผิดชอบเอง ที่ถูกต้องแล้วที่กล่าวมาประการแรก


 

ทัศนะที่สอง

          กรณีที่นางละศีลอด นางไม่จำเป็นต้องถือศีลอดชดใช้ แต่ว่าให้เสียค่าชดเชย  การให้อาหารเพียงพอแล้วที่จะมาทดแทนการถือศีลอดชดใช้  สำหรับเรื่องนี้มีการรายงานที่ถูกต้องที่มาจากอิบนูอุมัร อับบาส และอิบนู อับบาสรอฏิยัลลอฮูอันฮุม

          สำหรับทัศนะนี้ ในความเห็นของฉันถือว่าเป็นทัศนะที่อ่อนแอ เนื่องจากเป็นทัศนะที่ค้านกับอิหม่ามทั้งสี่ และนักวิชาการส่วนมากที่เป็นตาบีอีน ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องฟิกฮฺ และหลักฐานที่สำคัญที่ชี้ถึงความอ่อนแอของทัศนะนี้

قول الله سبحانه وتعالى: " فَعِدَّةٌ مِنْ أَيَّامٍ أُخَر "[البقرة: 184]،

          สำหรับอุปสรรคที่ได้รับอนุโลมในอายะห์นี่คือผู้ที่ไม่มีความสามารถที่จะถือศีลอดชดใช้ เช่นคนป่วยที่ไม่มีโอกาสจะหายขาดจากความเจ็บป่วยของเขา  ดังนั้นทัศนะจึงเป็นทัศนะที่อ่อนแอ  ถึงแม้จะมีสายรายงานที่ถูกต้องไปถึงอิบนู อุมัร และอิบนู อับบาส  แต่ว่าคำของคนทั้งสองนั้นไม่ได้มีสายรายงานไปยังท่านนะบี


 

ทัศนะที่สาม

          อนุญาตให้นางละศีลอด และถือศีลอดชดใช้ และนางนั้นไม่ต้องเสียค่าชดเชย ซึ่งเป็นทัศนะของอาบูฮานีฟะห์ และทัศนะของอัตตาบีอีนจำนวนหนึ่ง เช่นทาน อาตอฮฺ อัซซุฮรีย์ ท่านหะซัน สะอีด บิน ยุบัยรฺ อันนาคอฮีย์ และคนอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ และตามทัศนะของฉัน ทัศนะนี้เป็นทัศนะที่ถูกต้องที่สุด และดีที่สุด เพราะการรวมไว้ด้วยกับการถือศีลอดชดใช้ และการสียค่าชดเชยพร้อมกัน มันยังเป็นทัศนะที่ยังมีการใช้การพิจราณา และไม่หลักฐานที่แข็งแรงในเรื่องนี้  แม้กระทั่งอิบนู อุมัร และอิบนู อับบาส ซึ่งได้มีรายงานจากทั้งสอง ในการเสียค่าชดเชย โดยที่ทั้งสองได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า ไม่ต้องถือศีลอดชดใช้

        ในขณะที่บรรดานักวิชาการด้านศาสนบัญญัติอิสลาม(อัลฟูกาอาฮฺ) จำเป็นแก่ผู้ที่ให้นมลูกและหญิงที่ตั้งท้อง ต้องถือศีลอดชดใช้ พร้อมกับเสียค่าชดเชยด้วย  และด้วยเหตุนี้สมควรที่จะกล่าวว่า สำหรับทั้งสองนั้นให้ถือศีลอดชดใช้ ไม่ต้องเสียค่าชดเชย เนื่องจากการละศีลอดของคนทั้งสอง เป็นเหตุผลทางบทบัญญัติ เหมือนกันจะละศีลอดด้วยกับเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับนาง หรือเกี่ยวข้องกับลูกของนาง  สำหรับเรื่องเป็นสิ่งที่ชัดเจนมากที่เกี่ยวข้องกับคนท้อง เนื่องจากลูกที่อยู่ในท้องของนางนั้นเป็นเหมือนอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายของนาง  บางครั้งการไม่สบายของนางมีผลต่อลูกของนาง และการที่ลูกของนางไม่สบายมีผลต่อนาง 

          สำหรับทัศนะที่บอกว่า คนท้องและผู้ที่ให้นมลูกนั้น เมื่อนางทั้งสองได้ละศีลอด เนื่องจากกลัวอันตรายจะเกิดขึ้นกับตัวของนาง ฮุกุมอย่างหนึ่ง และหากกลัวอันตรายจะเกิดกับลูกของนางทั้งสอง  ก็ฮุกุมอีกอย่างหนึ่ง  สำหรับทัศนะนี้ก็ยังต้องใช้การพิจารณา  ดังนั้นที่ถูกต้องที่สุด ก็คือ ทั้งสองนั้นถือศีลอดชดใช้อย่างเดียว ซึ่งเป็นมัสฮับของอาบูฮานีฟะห์ และยังมีบรรดาอิหม่ามได้กล่าวเช่นเดียวกัน


 

จากเวป อิสลามทูเดย์  ตอบโดย เชคซัลมาน อัลเอาดะห์ หมายเลขคำถาม 13334

 

แปลโดย  อิสมาอีล  กอเซ็ม