กฏเกณฑ์และซุนนะห์ต่างๆ ในวันอีด
  จำนวนคนเข้าชม  28126

 

กฏเกณฑ์และซุนนะห์ต่างๆ ในวันอีด


แปลโดย  อิสมาอีล  กอเซ็ม


มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮ์


ประการแรก

         ชอบให้กระทำในการกล่าวตักบีร ในค่ำคืนของวันอีด หลังจากที่ตะวันลับขอบฟ้าวันสุดท้ายของรอมาฏอน จนกระทั่งอิหม่ามได้มาเพื่อทำละหมาด รูปแบบคำที่ใช้ตักบีร

الله أكبر الله أكبر ، لا إله إلا الله ، الله أكبر ، الله أكبر ولله الحمد .

อัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่  อัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่  ไม่มีพระเจ้าที่ถูกเคารพโดยแท้จริงนอกจากอัลลอฮ์ 

อัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่  มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮ์ 

 

     หรือ จะกล่าวตักบีรสามครั้ง ก็เป็นที่อนุญาต เช่นกล่าวว่า

الله أكبر ، الله أكبر ، الله أكبر ، لا إله إلا الله ، الله أكبر ، الله أكبر ، ولله الحمد .

     สมควรที่จะกล่าวตักบีรเสียงดัง ไม่ว่าจะอยู่ที่ตลาด ในมัสยิดต่าง และในบ้าน สำหรับผู้หญิงนั้นไม่ต้องกล่าวเสียงดัง


ประการที่สอง

           ให้รับประทานอินทผาลัมจำนวนคี่ ก่อนที่จะออกไปละหมาดอีด เนื่องจากท่านนบี  ท่านจะไม่ออกไปในตอนเช้าของวันอีดฟิตรฺ จนกว่าท่านจะรับประทานอินทผาลัมจำนวนคี่เสียก่อน


ประการที่สาม

         ให้สวมใส่เสื้อผ้าที่สวยงามสำหรับผู้ชาย  แต่สำหรับผู้หญิงนั้นไม่ต้องสวมใส่เสื้อผ้าที่สวยงาม ขณะที่นางออกไปยังที่ละหมาดในวันอีด เนื่องจากคำพูดของท่านนะบี  

"พวกนางจงออกไปด้วยกับเสื้อผ้าธรรมดา"

 (หมายถึงเสื้อผ้าธรรมดาไม่มีการโอ้อวด  และไม่อนุญาตให้ผู้หญิงออกไปโดยใส่น้ำหอม และอวดโฉม)


ประการที่สี่

         มีนักวิชาการบางท่านส่งเสริมให้มีการอาบน้ำ(หมายถึงอาบน้ำเหมือนกับการอาบน้ำญุนุบขณะมีหะดัษใหญ่)เพื่อทำการละหมาดอีด เนื่องจากมีรายงานจาก สะลัฟบางท่าน การอาบน้ำสำหรับละหมาดอีดเป็นสิ่งที่ชอบให้กระทำ เหมือนที่มีบทบัญญัติให้มีการอาบน้ำเพื่อละหมาดญุมอะห์(รูปแบบเดียวกันกับอาบน้ำญานาบะห์)


ประการที่ห้า

         มีมติที่ตรงกันของบรรดาปวงปราชญ์มุสลิมว่า การละหมาดอีดนั้นมีบทบัญญัติใช้ให้กระทำ  แต่มีนักวิชาการบางท่าน ถือการละหมาดอีดนั้นเป็นซุนนะห์  บางท่านกล่าวว่า เป็นฟัรดู กิฟายะห์ (หมายถึงมีใครสักคนได้กระทำ คนที่เหลือที่ไม่ทำก็ไม่มีบาปแต่อย่างใด) บางท่านกล่าวเป็นฟัรดูที่จำเป็น แก่ทุกคน ใครละทิ้งมีบาป โดยที่พวกเขาได้ยึดเอาหลักฐานว่า แท้จริงท่านนะบี  กล่าวว่า

"คนที่อ่อนแอ คนพิการ และผู้หญิงที่ไม่มีประจำเดือน ให้พวกนางได้ออกไปยังที่ละหมาดอีด 

ยกเว้นผู้หญิงที่มีประจำเดือนพวกนางอย่าได้เข้าไปที่ละหมาดอีด

(เนื่องจากผู้ที่เลือดประจำเดือนไม่อนุญาตให้เข้าไปอยู่ในมัสยิดถึงแม้จะอนุญาตให้เดินผ่านเข้าไปในมัสยิดได้)"

          และที่ทำให้ฉันเห็นว่าการละหมาดอีดโดยนำหลักฐานมาว่า มันเป็นฟัรดูอีน จำเป็นสำหรับผู้ชายทุกคนจะต้องมาละหมาดยกเว้นผู้ที่มีอุปสรรค ซึ่งมันเป็นทัศนะของท่าน ชัยคุลอิสลาม อิบนู ตัยมียะ รอฮฺมาอุลลอฮ์

          อิหม่ามอ่านในรอกฮะแรก  (ซูเราะอัลอะลา) ในรอกฮะที่สอง (อัลฆอชิยะห์) หรืออ่าน ซูเราะห์ ในรอกฮะแรก กอฟ ซูเราะ อัลกอมัร ในรอกฮะที่สอง  ทั้งสองที่กล่าวมามีรายงาน ที่ถูกต้องจากท่านเราะซูล


ประการที่หก

         หากวันอีดตรงกับวันศุกร์ให้ละหมาดอีด และละหมาดในวันศุกร์เช่นเดียวกัน เนื่องจากถือตามตัวบทที่ชัดเจนของหะดีษ อัลนัวะมาน  บิน บะชีร ซึ่งอิหม่ามมุสลิมได้รายงานไว้ในหนังสือซอียะของท่านว่า "ใครที่มาร่วมละหมาดพร้อมกับอิหม่าม หากเขาต้องการเขาก็จงมาละหมาดญุมฮะห์ด้วย และหากเขาต้องการก็จงละหมาดซุอร์"(หมายถึงละหมาดอีดแล้ว ถ้าตรงกับวันศุกร์ ให้เลือกเอาระหว่างการละหมาดซุฮร์ หรือละหมาดวันศุกร์)


ประการที่เจ็ด

          ส่วนหนึ่งจากกฏเกณฑ์ต่างในวันอีดซึ่งเป็นทัศนะของนักวิชาการส่วนมาก ว่า การที่ผู้คนมายังที่ละหมาดก่อนการมาของอิหม่าม เขานั้นไม่ต้องละหมาดสอกรอกฮะห์ เนื่องจากท่านนะบี ได้ละหมาดอีดโดยไม่มีละหมาดสองรอกฮะห์ทั้งก่อนและหลัง

         แต่ว่ามีนักวิชาการบางท่านมีทัศนะว่า เมื่อมาถึงยังที่ละหมาดอย่าได้นั่งจนกว่าจะละหมาดสองรอกฮะเสียก่อน เนื่องจากที่ละหมาดอีด ก็คือมัสยิด หลักฐาน คือ ห้ามผู้หญิงที่มีประจำเดือนเข้ามาที่ละหมาดอีด นั่นเป็นการยืนยันถึงกฏเกณฑ์เหมือนกับมัสยิด และสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าที่ละหมาดอีด คือ มัสยิด  คำพูดที่ครอบคลุมของท่านนะบี  ที่ว่า

( إذا دخل أحدكم المسجد فلا يجلس حتى يصلي ركعتين )

"เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้าได้เข้าไปยังมัสยิด เขาอย่าได้นั่งจนกว่าจะละหมาดสองรอกฮะห์เสียก่อน"

          และสาเหตุที่ท่านนบีไม่ละหมาดสองรอกฮะก่อนและหลังนั้นเนื่องจาก เมื่อท่านได้มาถึงนั้นหมายความเริ่มละหมาดอีด

          เมื่อเป็นเช่นนั้นถือได้ว่าสถานที่ละหมาดอีดนั้นจะต้องมีการละหมาด ตาฮียาตุลมัสยิดสองรอกฮะห์เหมือนกับมัสยิดทั่วไป   เนื่องจากหากยึ่ดจากหะดีษว่ามัสยิดในวันอีดไม่มีการละหมาดตาฮียาตุลมัสยิดสองรอกฮะห์  เช่นเดียวกัน ละหมาดวันศุกร์ก็ต้องไม่มีตาฮียาตุลมัสยิด เนื่องจากท่านรอซูลุลลอฮ์  เมื่อท่านได้มายังมัสยิดในวันศุกร์  ท่านได้ทำการคุตบะห์หลังจากนั้นท่านได้ละหมาดสองรอกฮะห์ หลังจากนั้นท่านได้กลับไป และละหมาดซุนนะห์หลังละหมาดญุมฮะห์ที่บ้านของท่าน  ท่านไม่ได้ละหมาดก่อนและหลัง(หมายถึงที่มัสยิด)

          สำหรับการให้น้ำหนักตามทัศนะของฉัน  แท้จริงมัสยิดของวันอีด (หมายถึงสถานที่ที่ละหมาดอีด)  มีการละหมาดสองรอกฮะห์ ตาอียาตุลมัสยิด และในเรื่องนี้ในหมู่พวกเรา(หมายถึงนักวิชาการ) ไม่มีใครปฏิเสธแก่อีกบางคนในปัญหาประเด็นนี้  เนื่องจากเป็นประเด็นที่ขัดแย้ง  และไม่สมควรปฏิเสธ(กำหนดฮุกุมที่ตายตัว)ในประเด็นปัญหาที่ขัดแย้ง  นอกจากจะต้องมีตัวบทมาระบุที่ชัดเจน   ดังนั้นใครจะละหมาด(ตาฮียาตุลมัสยิดในวันอีด)เราก็ยอมรับ และจะนั่งโดยที่ไม่ละหมาดเราก็ยอมรับ


ประการที่แปด 

          ในวันอีดนั้นได้ถูกกำหนดให้มีการจ่ายซากาตุลฟิตรฺ  แท้จริงท่านนะบี  ได้ใช้ให้จ่ายก่อนละหมาดอีด และอนุญาตให้จ่ายก่อนอีดวัน หรือสองวัน เนื่องด้วยหะดีษท่าน   อิบนู อุมัรรอฏิยัลลอฮูอันฮูมา ที่อิหม่ามบุคอรีย์

: (وكانوا يعطون قبل الفطر بيوم أو يومين)

 "พวกเขาได้เคยให้(ซากาตุลฟิตรฺ)ก่อนวันอีดฟิตรฺ วัน หรือ สองวัน"

         เมื่อเขาได้ออกซากาตุลฟิตรฺ หลังจากการละหมาดอีด ถือว่าใช้ไม่ได้ และไม่นับว่าเป็นซากาตุลฟิตรฺ เนื่องด้วยหะดีษของท่านอิบนูอุมัร

"ใครที่ได้ให้มันก่อนการละหมาด  มันก็เป็นซากาตที่ถูกรับ (หมายถึงซากาตุลฟิตรฺที่ถูกต้อง)

และใครที่ได้ให้มันหลังจากการละหมาด มันเป็นหนึ่งจากการบริจาคต่างๆ (หมายถึงการบริจาคทั่วไป)

และเป็นที่ต้องห้ามการล่าช้าในการจ่ายซากาตุลฟิตรฺ  หลังจากละหมาดอีดแล้ว "

           หากการล่าช้าของเขาเกิดขึ้นโดยไม่มีอุปสรรคใดๆ การออกซากาตของเขาใช้ไม่ได้    เช่นคนที่เดินทาง เขาไม่มีสิ่งที่จะนำมาออกซากาต หรือไม่พบผู้ที่จะรับซากาต หรือเขาคิดว่าครอบครัวของเขาคงออกให้เขา  และครอบครัวของเขาก็คิดว่าเขาคงออกด้วยกับตัวเอง หากเป็นเช่นนั้น ก็อนุญาตให้เขาออกเมื่อเขามีความสะดวกถึงแม้ว่าจะเป็นการออกหลังจากละหมาดก็ตาม เพราะกรณีนั้นถือว่ามีอุปสรรคที่ทำให้ต้องล่าช้าในการออกซากาต


ประการที่เก้า 

         ให้มีการอวยพรซึ่งกันและกัน  แต่สิ่งที่ไม่ดีที่เกิดขณะที่ได้มีการอวยพรกัน โดยที่ผู้ชายได้เข้าไปสัมผัสจับมือกับผู้หญิง  และการเดินทางโดยไม่มีมะฮ์รอม  การกระทำเช่นนั้นถือว่าเป็นที่ต้องห้าม  และเราพบว่าคนบางคน ได้ปลีกตัวออกห่างกับคนที่มาห้ามพวกเขาไม่ให้จับมือกับผู้หญิงที่ไม่ได้เป็นมะฮ์รอมกับเขา 

          สำหรับผู้ที่ปลีกตัวออกห่างผู้ที่ห้ามจับมือกับผู้หญิงนั้นคือบรรดาผู้ที่อธรรม   ไม่ใช่ผู้ที่ห้ามในเรื่องนี้คือผู้ที่อธรรม การปลีกตัวไม่คบค้ามาจากพวกเขาเอง (ผู้ที่ห้ามจับมือกับผู้หญิง)  แต่จำเป็นทีจะต้องอธิบายให้ทราบ และชี้แนะให้ไปถามผู้รู้ที่เชื่อถือได้ และแนะนำอย่าได้โกรธเพียงแค่ยึ่ดถือประเพณีปฏิบัติจากบรรพบุรุษ(เนื่องจากการที่เขาถูกห้ามตามประเพณีจากบรรพบุรุษ) หากพวกเขาไม่ยอมรับการตักเตือน ปฏิบัติตามประเพณีปฏิบัตินั้น มันไม่สามารถที่จะทำให้ของที่อนุมัติเป็นของที่ต้องห้ามได้ และไม่สามารถที่จะทำให้ของที่ต้องห้ามเป็นที่อนุมัติได้ และให้ชี้แจงแก่พวกเขาว่า หากพวกเขามีพฤติกรรมเช่นนั้น พวกเขาก็ไม่มีอะไรต่างกับพวกที่อัลลอฮ์ ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอาน

: ( وَكَذَلِكَ مَآ أَرْسَلْنَا مِن قَبْلِكَ فِى قَرْيَةٍ مِّن نَّذِيرٍ إِلاَّ قَالَ مُتْرَفُوهَآ إِنَّا وَجَدْنَآ ءَابَآءَنَا عَلَى أُمَّةٍ وَإِنَّا عَلَى ءَاثَـارِهِم مُّقْتَدُونَ ) .

"และเช่นนั้นแหละ เรามิได้ส่งผู้ตักเตือนคนใดก่อนหน้าเจ้าไปยังเมืองใด

เว้นแต่บรรดาผู้ฟุ่มเฟือยของมัน (เมืองนั้น) จะกล่าวว่า

 แท้จริงเราได้พบเห็นบรรพบุรุษของเราอยู่ในแนวทางนี้ ดังนั้นเราจึงดำเนินตามแนวทางของพวกเขา"

         และมีผู้คนบางส่วนได้ปฏิบัติเป็นประจำ คือการออกไปยังหลุมฝังศพ ในวันอีดและทำการอวยพรให้แก่บรรดาผู้ที่อยู่ในหลุมฝังศพ  และสำหรับชาวกุโบร์นั้นไม่มีความต้องการ เนื่องจากพวกเขาไม่ได้ถือศีลอด และไม่ได้ละหมาด และการเยี่ยมหลุมฝังศพไม่ได้เจาะจงเฉพาะวันอีด  หรือ วันศุกร์ หรือ วันใดๆ เนื่องจากได้มียืนยันจากท่านนะบี  ท่านได้เยี่ยมหลุมฝังศพในตอนกลางคืน เหมือนที่มีรายงานในหะดีษของท่านหญิงอาอิชะห์  ในซอเอียะมุสลิม

وقال النبي صلى الله عليه وسلم : ( زوروا القبور فإنها تذكركم الاخرة) .

โดยที่ท่านนะบี  ได้กล่าวว่า 

"พวกท่านจงไปเยี่ยมหลุมฝังศพต่างๆ เพราะว่าการเยี่ยมหลุมฝังศพจะทำให้พวกเจ้ารำลึกถึงอาคิเราะฮ์"

         การเยี่ยมหลุมฝังศพเป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาการเคารพภักดี และอิบาดะห์(การเคารพภักดี) ไม่ถือว่าเป็นบทบัญญัติ นอกจากจากจะต้องตรงกับบทบัญญัติที่มีอยู่  ท่านนะบี ไม่ได้เจาะจงว่าต้องไปเยี่ยมหลุมฝังศพในวันอีด และไม่สมควรที่เจาะจงการเยี่ยมมันในวันอีด


ประการที่สิบ

         การสวมกอดกันระหว่างผู้ชายเป็นสิ่งที่อนุญาต


 

ประการที่สิบเอ็ด

         มีบทบัญญัติสำหรับผู้ที่ออกไปละหมาดอีดตอนออกไปทางหนึ่ง พอตอนกลับให้กลับอีกทางหนึ่ง เพื่อเป็นการปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านรอซูลุลลอฮ์และไม่มีซุนนะห์นี้นอกจากละหมาดอีด  ไม่ว่าจะเป็นละหมาดวันศุกร์(ญุมฮะห์)

 

 

จากหนังสือ มัจมัวะฟาตาวา อิบนู อุซัยมีน หมายเลขฟัตวา 49014