ใช้เงินแทนการให้อาหารในการเสียค่าชดใช้
  จำนวนคนเข้าชม  5527

ไม่อนุญาตให้ใช้เงินแทนการให้อาหารในการเสียค่าชดใช้


คำถาม

         ชายชราคนหนึ่งเจ็บป่วยมาสามารถที่จะถือศีลอดได้ การที่เขาใช้เงินมาแทนการชดเชยด้วยกับเสียอาหาร จะใช้ได้หรือไม่?

 

คำตอบ

มวลการสรรเสริญป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮ์

         จำเป็นแก่เราที่จะต้องทราบกฏเกณฑ์ที่สำคัญอันนี้  ซึ่งอัลลอฮ์ได้กล่าวถึงในเรื่องของการให้อาหาร  ด้วยกับคำว่าให้อาหารหรือคำว่าอาหาร  ดังนั้นการให้อาหารจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยที่อัลลอฮ์ ได้ตรัสเกี่ยวกับการให้อาหารว่า

: ( وَعَلَى ٱلَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ فَمَن تَطَوَّعَ خَيْرًا فَهُوَ خَيْرٌ لَّهُ وَأَن تَصُومُواْ خَيْرٌ لَّكُمْ إِن كُنتُمْ تَعْلَمُونَ )

“และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่ง (โดยที่เขาได้งดเว้นการถือ) นั้น

คือการชดเชยอันได้แก่การให้อาหาร(มื้อหนึ่ง)แก่คนมิสกีนคนหนึ่ง (ต่อการงดเว้นจาการถือหนึ่งวัน) 

แต่ผู้กระทำความดีโดยสมัครใจมันก็เป็นความดีแก่เขา

และการที่พวกเจ้าจะถือศีลอดนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่าพวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้”

อัลลอฮ์ ได้ตรัสไว้เกี่ยวกับการเสียค่าชดเชยในเรื่องของการสาบาน

( فَكَفَّارَتُهُ إِطْعَامُ عَشَرَةِ مَساكِينَ مِنْ أَوْسَطِ مَا تُطْعِمُونَ أَهْلِيكُمْ أَوْ كِسْوَتُهُمْ أَوْ تَحْرِيرُ رَقَبَةٍ فَمَن لَّمْ يَجِدْ فَصِيَامُ ثَلاثَةِ أَيَّامٍ ذٰلِكَ كَفَّارَةُ أَيْمَانِكُمْ إِذَا حَلَفْتُمْ وَٱحْفَظُوۤاْ أَيْمَاٰنَكُمْ كَذٰلِكَ يُبَيِّنُ ٱللَّهُ لَكُمْ ءَايَـٰتِهِ لَعَلَّكُمْ تَشْكُرُونَ ) .

“แล้วสิ่งไถ่โทษมันนั้น คือ การให้อาหารแก่มิสกีนสิบคนจากอาหารปานกลาง

ของสิ่งที่พวกเจ้าให้เป็นอาหารแก่ครอบครัวของพวกเจ้า หรือไม่ก็ให้เครื่องนุ่งห่มแก่พวกเขา

หรือไถ่ทาสคนหนึ่งให้เป็นอิสระ ผู้ใดไม่พบก็ให้มีการถือบวชสามวัน นั่นแหละคือสิ่งไถ่โทษ

ในการสาบานของพวกเจ้าเมื่อพวกเจ้าได้สาบานไว้ และจงรักษาการสาบานของพวกเจ้าเถิด ในทำนองนั้นแหละ

อัลลอฮ์จะทรงแจกแจงบรรดาโองการของพระองค์แก่พวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจักขอบคุณ”


         ในเรื่องการซากาตุลฟิตร  ท่านนบีศอลลัลลอฮู อะลัยอิวะซัลลัมได้ กำหนด ซอฮฺหนึ่งจากอาหาร  ดังนั้นอะไรที่ตัวบทได้ระบุถึงด้วยกับคำว่า อาหาร หรือให้อาหาร การนำเงินมาแทนนั้นใช้ไม่ได้ เช่นเดียวกัน คนสูงอายุที่มีโรคเจ็บป่วย  ได้กำหนดให้แก่เขาคือ การชดใช้ด้วยกับการให้อาหารแทนการถือศีลอด และการใช้เงินมาแทนการให้อาหารนั้นใช้ไม่ได้  ถึงแม้เขาจะใช้เงินมาทดแทนราคาของอาหารเป็นสิบครั้งก็ใช้ไม่ได้  เนื่องจากเป็นการกระทำที่ไม่มีตัวบทระบุในเรื่องนี้  เช่นเดียว สำหรับซากาตุลฟิตรฺ ถึงแม้จะใช้เงินออกแทนการให้อาหารเป็นสิบครั้งก็ใช้ไม่ได้ ที่จะมาทดแทนหนึ่งซอฮฺจากข้าวสาลี  เนื่องในการใช้ราคาของอาหารไม่ถูกระบุในตัวบท โดยที่ท่านนะบี  ได้กล่าวว่า

 ( من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد ) .

“ใครที่ได้ปฏิบัติงานหนึ่งงานใดที่งานไม่ได้เป็นงานของเรา (หมายถึงไม่มีในบทบัญญัติ) งานนั้นจะไม่ถูกตอบรับ” 

          สำหรับเรื่องนี้พี่น้องที่ไม่สามารถถือศีลอดได้เนื่องจากความชราภาพ เขาสามารถให้อาหารแก่คนยากจนทุกวัน ต่อคนยากจนหนึ่งคน สำหรับรูปแบบการให้อาหารแก่คนยากจนมีอยู่สองรูปแบบด้วยกัน

          รูปแบบที่หนึ่ง  นำอาหารไปแจกจ่ายให้แก่พวกเขาที่บ้านของพวกเขา แต่ละคนหนึ่งในสี่ของซอฮฺ(ประมาณ540 กรัม)ที่เป็นที่รู้จัก นำข้าวและทำแกงไปด้วย หมายความว่า สามารถที่จะกระทำเมื่อผ่านไปสิบวัน

          รูปแบบที่สอง ให้ทำอาหารแล้วเรียกบรรดาคนยากจนที่จำเป็นต้องให้อาหารแก่เขา ทำอาหารค่ำแล้วเรียกว่า คนจนสิบคนมารับประทาน พออีกสิบวับวันผ่านไปให้เรียกคนจนอีกสิบคนมารับประทานอาหาร และเมื่อผ่านไปอีกสิบวันก็เรียกอีกสิบคนที่เหลือมารับประทานอาหาร  เหมือนดังที่ท่านอะนัส บิน มาลิก รอฏิยัลลอฮูอันอู ในขณะที่ท่านอยู่ในวัยชราไม่สามารถถือศีลอดได้ โดยที่ท่านได้ให้อาหารแก่คนยากจนสามสิบคนในวันสุดท้ายของรอมาฏอน

"مجموع فتاوى ابن عثيمين" (19/116) .


จากหนังสือ มัจมูฮฺฟาตาวา อิบนู อุซัยมีน

แปลโดย  อิสมาอีล  กอเซ็ม