เพื่อนบ้านของอัลลอฮ์
  จำนวนคนเข้าชม  10846

เพื่อนบ้านของอัลลอฮ์


แปลโดย  อิสมาอีล  กอเซ็ม


         สำหรับอัลลอฮ์  นั้น มีเพื่อนบ้านในวันกิยามะห์ โดยที่พระองค์ได้ทรงคัดเลือกพวกเขาด้วยตัวของพระองค์เอง


فعَنْ أَنَسٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ رَفَعَهُ ، إِنَّ اللَّهَ تَعَالَى يُنَادِي يَوْمَ الْقِيَامَةِ : أَيْنَ جِيرَانِي ؟ فَتَقُولُ الْمَلائِكَةُ: رَبَّنَا ، وَمَنْ يَنْبَغِي أَنْ يُجَاوِرَكَ ؟ فَيَقُولُ : أَيْنَ عُمَّارُ الْمَسَاجِدِ ؟ .أخرجه أيضًا : الحارث كما في بغية الباحث (1/251 ، رقم 126) . الألباني في " السلسلة الصحيحة " 6 / 512.

มีรายงานจากท่าน อนัสรอฏิยัลลอฮูอันฮู เป็นหะดีษที่ถึงไปยังท่านเราะซูล  ว่า

     “แท้จริงอัลลอฮ์ จะเรียกในวันกิยามะห์ว่า  เพื่อนบ้านของฉันอยู่ที่ไหน?

     บรรดามาลาอิกะห์ได้กล่าวว่า โอ้พระเจ้าของเรา ใครที่เหมาะสมที่จะเป็นเพื่อนบ้านของท่าน?

     ดังนั้นพระองค์ได้กล่าวตอบไปว่า  บรรดาผู้ที่ทำการบูรณะมัสยิด(หมายถึงผู้ที่สร้างชีวิตชีวาให้แก่มัสยิด)อยู่ที่ไหน ?” 

 

          ได้มีการบันทึกหะดีษนี้ไว้เช่นกัน เช่นท่าน อัลหาริษ ในหนังสือ บุฆยะตุลบาหิษ 1/251 หมายเลขที่ 126  และท่านเชค อัลบานีย์ ในหนังสือ อัซซิลซิละห์ อัซซอฮีหะฮ์ 5/512

ولقد قال تعالى في كتابه الكريم : " إِنَّمَا يَعْمُرُ مَسَاجِدَ اللَّهِ مَنْ آمَنَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ وَأَقَامَ الصَّلَاةَ وَآتَى الزَّكَاةَ وَلَمْ يَخْشَ إِلَّا اللَّهَ فَعَسَى أُولَئِكَ أَنْ يَكُونُوا مِنَ الْمُهْتَدِينَ (18) سورة التوبة.

แท้จริงอัลลอฮ์  ทรงตรัสว่า

     “แท้จริง ผู้ที่จะบูรณะบรรดามัสยิดของอัลลอฮ์นั้นคือผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และวันปรโลก และดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาต และเขามิได้ยำเกรงผู้ใดนอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น ดังนั้น ชนเหล่านี้แหละจะเป็นผู้ที่อยู่ในหมู่ผู้รับคำแนะนำ”  

(อัตเตาบะห์ อายะที่ 18)

ونهى سبحانه عن السعي في خراب المساجد بمنع الصلاة والذكر فيها فقال : " وَمَنْ أَظْلَمُ مِمَّنْ مَنَعَ مَسَاجِدَ اللَّهِ أَنْ يُذْكَرَ فِيهَا اسْمُهُ وَسَعَى فِي خَرَابِهَا أُولَئِكَ مَا كَانَ لَهُمْ أَنْ يَدْخُلُوهَا إِلَّا خَائِفِينَ لَهُمْ فِي الدُّنْيَا خِزْيٌ وَلَهُمْ فِي الْآخِرَةِ عَذَابٌ عَظِيمٌ (114) سورة البقرة .

         อัลลอฮ์  ได้ห้ามผู้ที่จะพยายามทำลายมัสยิด และผู้ที่ห้ามไม่ให้มีการละหมาดและการรำลึกถึงอัลลอฮ์

โดยที่พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า

     “และใครเล่าจะเป็นผู้อธรรมยิ่งไปกว่าผู้ที่หวงห้ามบรรดามัสยิดของอัลลอฮ์ ในการที่พระนามของพระองค์จะถูกกล่าวในมัสยิดเหล่านั้น และพยายามในการทำลายมัสยิดเหล่านั้นด้วย

     ชนเหล่านี้แหละ ไม่บังควรแก่พวกเขาที่จะเข้าไปในมัสยิดเหล่านั้น นอกจากในฐานะผู้เกรงกลัวเท่านั้น และเขาเหล่านั้นจะได้รับความอัปยศในโลกนี้ และในปรโลกนั้น พวกเขาจะได้รับการลงโทษอันใหญ่หลวง”

 

          สำหรับมัสยิดต่างๆ เป็นสถานที่ ที่อัลลอฮ์ได้ให้เกียรติ โดยที่พระองค์ทรงตรัสว่า

فقال عز من قائل:" فِي بُيُوتٍ أَذِنَ اللَّهُ أَن تُرْفَعَ وَيُذْكَرَ فِيهَا اسْمُهُ يُسَبِّحُ لَهُ فِيهَا بِالْغُدُوِّ وَالآصَالِ رِجَالٌ لا تُلْهِيهِمْ تِجَارَةٌ وَلا بَيْعٌ عَن ذِكْرِ اللَّهِ وَإِقَامِ الصَّلاةِ وَإِيتَاء الزَّكَاةِ يَخَافُونَ يَوْمًا تَتَقَلَّبُ فِيهِ الْقُلُوبُ وَالأَبْصَارُ لِيَجْزِيَهُمُ اللَّهُ أَحْسَنَ مَا عَمِلُوا وَيَزِيدَهُم مِّن فَضْلِهِ وَاللَّهُ يَرْزُقُ مَن يَشَاء بِغَيْرِ حِسَابٍ [النور:36-38]


     “ในบรรดาบ้าน (หมายถึงมัสยิด) อัลลอฮ์ทรงอนุญาติให้เทิดพระเกียรติ และให้พระนามของพระองค์ถูกรำลึกอยู่เสมอ เพื่อที่จะแซ่ซร้องสดุดีแด่พระองค์ในนั้น ทั้งในยามเช้าและยามพลบค่ำ *

     บรรดาชายผู้ที่การค้าและการขาย มิได้ทำให้พวกเขาหันห่างออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์และการดำรงละหมาด และการจ่ายซะกาต เพราะพวกเขากลัววันที่หัวใจและสายตาจะเหลือกลานในวันนั้น *

     เพื่ออัลลอฮ์จะทรงตอบแทนพวกเขาอย่างดีเยี่ยม ตามที่พวกเขาได้กระทำไว้ และพระองค์จะทรงเพิ่มให้พวกเขาอีกจากความโปรดปรานของพระองค์ และอัลลอฮ์ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ โดยปราศจากการคำนวณ”

 

          ท่าน อัลกุรตูบีย์ได้กล่าวไว้ว่า ในหนังสือตัฟซีรของท่าน ที่ชื่อว่า อะกามุลกุรอาน ในอายะที่ว่า อัลลอฮ์อนุญาตให้ถูกยกเกียรติ  หมายถึงให้เทิดทูนสรรเสริญ ท่านอิบนูกะซีรได้กล่าวว่า ในอายะที่ว่า

"فِي بُيُوتٍ أَذِنَ اللهُ أَن تُرْفَعَ

     ในบรรดาบ้าน (หมายถึงมัสยิด) อัลลอฮ์ ทรงอนุญาตให้เทิดพระเกียรติ  หมายความว่า อัลลอฮ์ ใช้ให้รักษาสัญญา ทำความสะอาดมัสยิดให้ปราศจากสิ่งสกปรก ห้ามการกระทำในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ทั้งคำพูดและการกระทำที่ไม่เหมาะสมในมัสยิด

 

          พระองค์ได้ทรงยกเกียรติมัสยิดไว้ โดยที่พระองค์กล่าวถึงมัสยิดเกี่ยวพันไปหาพระองค์ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความมีเกียรติของมัสยิด โดยที่พระองค์ตรัสไว้ว่า

: وَأَنَّ الْمَسَاجِدَ لِلَّهِ فَلا تَدْعُوا مَعَ اللَّهِ أَحَدًا [الجن:18]

“และว่าแท้จริงบรรดามัสยิดนั้นเป็นของอัลลอฮ์ ดังนั้น พวกเจ้าอย่าวิงวอนขอผู้ใดเคียงคู่กับอัลลอฮ์”

          ไม่มีเกียรติใดๆ จะสูงส่งไปกว่านี้แล้ว โดยที่ท่านรอซูลลุลลอฮ์ ได้ให้เกียรติแก่บ้านของอัลลอฮ์  ทั้งคำพูด และการกระทำ


فعَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ : أَنَّ رَسُولَ اللهِ - صلى الله عليه وسلم - قَالَ :«أَحَبُّ الْبِلاَدِ إِلَى اللهِ مَسَاجِدهَا ، وَأَبْغَضُ الْبِلاَدِ إِلَى اللهِ أَسْوَاقهَا». مسلم ( 671 ) وابن حبان ( 1598 ) ، تعليق الألباني "حسن

صحيح" ، تعليق شعيب الأرنؤوط "إسناده صحيح على شرط مسلم".

 

มีรายงานจากท่านอาบู ฮุรอยเราะฮ์ รอฏิยัลลอฮู อันฮู ว่า

“แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์  กล่าวว่าเมืองที่รักยิ่งของอัลลอฮ์  คือ มัสยิดต่างๆ และเมืองที่อัลลอฮ์ โกรธยิ่ง คือตลาด”
 
 

          บันทึกโดยมุสลิม  หะดีษที่ 671 อิบนู หิบบาน หะดีษที่ 1598  ท่านเชคอัลบานีย์ได้กล่าวเสริมในหะดีษนี้ว่าเป็นหะดีษที่ดี และถูกต้อง และท่านเชค ชุอีบ อัลอัรนาฮูต ได้กล่าวไว้เช่นกัน ว่าสายรายงานหะดีษ ถูกต้องตามเงื่อนไขของอิหม่ามมุสลิม

إن مكانة المسجد في الإسلام لتظهر بجلاء في كون النبي صلى الله عليه وسلم لم يستقر به المقام عندما وصل إلى حي بني عمرو بن عوف في قباء، حتى بدأ ببناء مسجد قباء، وهو أول مسجد بُني في المدينة، وأول مسجد بني لعموم الناس كما قال ابن كثير رحمه الله [البداية والنهاية 3/209].

        แท้จริงสถานที่มัสยิดในอิสลาม มีการโยกย้ายเนื่องจากสภาพของท่านนะบี  ซึ่งยังมิได้มีการตั้งถิ่นฐานที่มั่นคง  และในขณะที่ท่านได้ถึงมายัง ชุมชนของบนี อัมรุบนุล เอาฟ์ ที่กูบาฮ์ ท่านได้สร้างมัสยิดที่กูบาฮ์ ซึ่งเป็นมัสยิดหลังแรกที่สร้างขึ้นที่เมืองมะดีนะฮ์ และเป็นมัสยิดหลังแรกที่สร้างให้แก่คนทั่วไป ดั่งที่ท่านอิบนู  กาซีรรอฮิมาอุลลอฮฺได้กล่าวไว้ ในหนังสือ อัลบิดายะ วัลนิฮายะ

     “ขณะที่ท่านนะบี ได้ถึงไปยังเมืองมะดีนะฮ์  สิ่งแรกที่ท่านทำ  คือ หาสถานที่ในการสร้างมัสยิด  ท่านได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก  และบรรดาอัลคูลาฟะฮ์ อัรรอชีดีน ได้ให้การเอาใจใส่เช่นเดียวกัน ท่านอุมัร  บิน  คอตตอบรอฏิยัลลอฮูอันฮูได้เขียนจดหมายไปหาผู้ปกครองเมืองที่ได้แต่งตั้งไว้  ให้พวกเขาทำการสร้างมัสยิดเพื่อเป็นศูนย์รวมในเขตการปกครอง  และบรรดาผู้ปกครองเมืองใช้ให้เผ่าต่างๆ และเมืองต่างๆทำการสร้างมัสยิดเป็นสถานที่รวมตัวของพวกเขา” 

 

         มีรายงานจากท่านอุสมาน  บิน อาตอฮฺ ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อท่านอุมัร  บิน คอตตอบได้พิชิตเมือง ท่านอุมัรได้เขียนจดหมายไปหาท่าน อาบูมูซาอัลอัชอารีย์ ในขณะที่ท่านอาบู มูซา อยู่ที่เมืองบัสเราะห์ โดยที่ใช้ให้ทำการสร้างมัสยิดสำหรับที่เป็นศูนย์กลางของญามาฮะห์  และในเวลาวันศุกร์ให้พวกเรารวมตัวที่มัสยิดศูนย์กลาง    (กันซุลอุมมาล เล่มที่ 8 / 313 / 314)

         หน้าที่อื่นๆ ที่จำเป็นต่อมัสยิด เช่น การทำความสะอาดร่างกาย  กลิ่นตัวของเรา เมื่อต้องการจะไปยังมัสยิด  เป็นเรื่องที่แปลกที่คนเราเตรียมตัวอย่างดี สวมเสื้อผ้าอย่างดี เมื่อต้องการจะพบกับใครสักคน แต่เมื่อจะเข้าบ้านของอัลลอฮ์ผู้ทรงสร้างมนุษย์ทั้งหมด ผู้ทรงเกรียงไกรแห่งชั้นฟ้าและแผ่นดิน บางคนกลับละเลยไม่ใส่ใจในเรื่องการแต่งกายและความสะอาดของตัวเอง

 อัลลอฮ์  ทรงตรัสว่า

: يَا بَنِي آدَمَ خُذُواْ زِينَتَكُمْ عِندَ كُلِّ مَسْجِدٍ وكُلُواْ وَاشْرَبُواْ وَلاَ تُسْرِفُواْ إِنَّهُ لاَ يُحِبُّ الْمُسْرِفِينَ

 [الأعراف:31]

     “โอ้ลูกหลานของอาดัม พวกเจ้าจงยึดเครื่องประดับของพวกเจ้า ทุกๆ มัสยิด พวกเจ้าจงกิน จงดื่ม และพวกเจ้าอย่าฟุ่มเฟือย  แท้จริงอัลลอฮ์ไม่ทรงรักบรรดาผู้ที่ฟุ่มเฟือย” 

(อัลอะรอฟ ฮายะที่ 31 )

         อิสลามใช้เราให้ขจัดกลิ่นที่ไม่ดี เช่น หากมีกลิ่นหอม กลิ่นกระเทียม เราอย่าได้เข้าใกล้มัสยิด  เพื่อไม่เป็นการรบกวนแก่บรรดามาลาอิกะห์ และบรรดาผู้ศรัทธา  ทั้งๆที หอมและกระเทียม เป็นสิ่งที่หะลาล  หะดีษนี้ได้รายงานโดยอิหม่าม อัลบุคอรี และ มุสลิม หะดีษของท่านญาบิร รอฏิยัลลอฮู

: ((من أكل ثوما أو بصلا فليعتزلنا وليعتزل مسجدنا وليقعد في بيته)) وعلل رسول الله صلى الله عليه وآله وسلم ذلك بأنه يؤذي الملائكة كما يؤذي البشر، ففي لفظ آخر للحديث

     โดยที่ท่านนะบี  กล่าวว่า  “ใครที่ได้รับประทานหัวหอม และกระเทียม ดังนั้นเขาจงปลีกตัวออกจากเรา และเขาจงปลีกตัวจากมัสยิดของเรา และจงนั่งในบ้านของเขา ในการห้ามนั้น เพราะมันเป็นการให้ร้ายกับบรรดามาลาอิกะห์ และให้สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้คน”

 และอีกสำนวนของหะดีษหนึ่ง

يقول : ((من أكل من هذه الشجرة الخبيثة ـ أي: الثوم ـ فلا يقربن مسجدنا فإن الملائكة تتأذى مما يتأذى منه الإنس)) متفق عليه.

     ท่านเราะซูลุลลอฮ์  กล่าวว่า “ใครรับประทานจากต้นนี้ (หมายถึงกระเทียม) ดังนั้นเขาอย่าได้เข้าใกล้มัสยิดของเรา เพราะว่าแท้จริงบรรดามาลาอิกะห์ จะได้รับความเดือดร้อน และมันเป็นการให้ความเดือดร้อนแก่ผู้คนด้วย” 

(บันทึกโดยบุคอรีและมุสลิม)

         เพื่อให้มุสลิมได้ทราบว่าเมื่ออยู่ในมัสยิดเขาเป็นแขกของอัลลอฮ์  เป็นผู้ที่มาเยี่ยมเยียนอัลลอฮ์  สมควรที่จะได้รับเกียรติ ดังนั้นจงให้ความสำคัญเพื่อว่าจะได้รับความจำเริญ และผลตอบแทนจะได้ไม่ถูกห้าม 

أخرج الطبراني عن سلمان أن رسول الله صلى الله عليه وآله وسلم قال: ((من توضأ في بيته فأحسن الوضوء ثم أتى المسجد فهو زائر لله، وحق على المزور أن يكرم الزائر)) الألباني في " السلسلة الصحيحة " 3 / 157

ท่านอัตตอบรอนีย์ได้รายงานจากท่านซัลมาน ว่าแท้จริงท่านเราะซูล  ได้กล่าวว่า

     “ใครที่อาบน้ำละหมาดที่บ้านของเขา แล้วเขาได้ทำการอาบน้ำละหมาดอย่างดี  หลังจากนั้นเขาได้ไปยังมัสยิด ดังนั้นเขาได้เยี่ยมเยียนอัลลอฮ์  ดังนั้นเป็นสิทธิที่ผู้ถูกเยี่ยมสมควรที่จะต้องให้เกียรติผู้ที่มาเยี่ยม”

จากหนังสืออัซซิลซิละห์ อัซซอเอียะ เล่มที่3/157  ท่านเชคอัลบานีย์ รออิมาอุลลอฮ์

 

          ผู้ที่ตั้งใจไปยังบ้านของอัลลอฮ์  เพื่อละหมาดและมีเจตนาบริสุทธิ์ใจ  เขาจะได้รับการรับรองจากอัลลอฮ์  และผลตอบแทนที่จะได้รับจะไม่สูญหาย ด้วยพระประสงค์ของอัลลอฮ์   นี่คือผลตอบแทนเพียงแค่การตั้งใจที่บริสุทธิ์ในการไปมัสยิด

يقول كما في صحيح الجامع من حديث أبي هريرة: ((ثلاثة في ضمان الله عز وجل: رجل خرج إلى مسجد من مساجد الله
عز وجل، ورجل خرج غازيا في سبيل الله تعالى ورجل خرج حاجا))

ท่านเราะซูล  กล่าวไว้ มีปรากฏในหนังสือ ซอเอียะ อัลญาเมียะ จากหะดีษของอาบู ฮุรอยเราะฮ์

     “คนที่อยู่ในการรับรองของอัลลอฮ  ชายคนหนึ่งที่ออกไปยังมัสยิด จากบรรดามัสยิดของอัลลอฮ์ ชายที่ออกสงครามในหนทางของอัลลอฮ์ และชายที่ออกไปทำฮัจญ์”

         การไปยังมัสยิด คือโอกาสที่ยกระดับ ระดับขั้นต่างๆ และได้ลบล้างความผิด   ท่านเราะซูล  ได้กล่าวว่า

((ألا أدلكم على ما يمحو الله به الخطايا ويرفع به الدرجات؟! إسباغ الوضوء على المكاره، وكثرة الخطى إلى المساجد، وانتظار الصلاة بعد الصلاة، فذلكم الرباط، فذلكم الرباط، فذلكم الرباط)) أخرجه النسائي عن أبي هريرة.

     “เอาไหมฉันจะบอกพวกท่านถึงสิ่งอัลลอฮ์จะลบล้างความผิด และจะยกระดับขั้นหลายขั้น ก็คือ

     ให้อาบน้ำละหมาดให้ทั่วถึง พร้อมขจัดสิ่งที่น่าเกลียด (สิ่งสกปรก ) และให้มากในการก้าวเท้าไปยังมัสยิดต่างๆ 

     และการรอคอยเพื่อที่จะละหมาด หลังจากละหมาด(หมายถึงละหมาดซุนนะห์ ) 

     ดังกล่าวนั้นสำหรับพวกเจ้า เหมือนกับผู้สอดส่องดูแลจากการรุกรานของศัตรู(หมายถึงผลบุญของมัน)  

(บันทึก อันนาซาอีย์  รายงานจากอาบี  ฮุรอยเราะฮ์)
 

          ในเดือนรอมาฏอน จิตใจของผู้คนต่างผูกพันกับมัสยิด พวกเขาไปมัสยิดในตอนเช้า และตอนเย็น เพื่อแสวงหาผลตอบแทน และพวกเขาสร้างชีวิตชีวาให้กับมัสยิด  ด้วยกับการละหมาด การรำลึกถึงอัลลอฮ์   การอ่านอัลกุรอาน  พวกเขาจึงกลายเป็นเพื่อนบ้านของอัลลอฮ์  ในโลกนี้ และจากการเป็นเพื่อนบ้านในโลกนี้  เขาจะกลายเป็นเพื่อนบ้านของพระองค์ในวันกิยามะห์

 


http://www.saaid.net/Doat/hamesabadr/33.htm