จำนวนคนเข้าชม  6931

 

 

แค่กล่าวปฏิญาณทั้งสองสมควรจะเข้าสวรรค์หรือไม่ ?

 

แปลโดย  อิสมาอีล  กอเซ็ม


          เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่ ที่ครอบครัวหนึ่งแค่ศรัทธาว่า (แท้จริงไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ถูกเคารพโดยแท้จริงนอกจากอัลลอฮ์ และแท้จริงมูฮัมหมัด ศอลลัลลอฮูอะลัยอิวะซัลลัม เป็นศาสนทูตของพระองค์ มันเป็นการเพียงพอหรือไม่ ที่เขาจะได้เข้าสวรรค์?


มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮ์


          การรับนับถือศาสนาอิสลามนั้น (หมายถึงการเข้ามาสู่ศาสนาอิสลาม) เพียงกล่าวคำปฏิญาณทั้งสองยังไม่สามารถยืนยันได้  และจำเป็นต้องทำให้เงื่อนของการกล่าวคำปฏิญาณเป็นจริงตามที่ได้ปฏิญาณไว้ด้วย จนกระทั่งผู้ที่กล่าวคำปฏิญาณทั้งสองกลายเป็นมุสลิมที่แท้จริง  ไม่ว่าการปฏิบัติตามรุกุนอิสลาม ด้วยกับการยึ่ดมั่น  และกล่าวออกมา และการปฏิบัติ

عن عُبَادَةُ بْنُ الصَّامِتِ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ( مَنْ قَالَ أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَحْدَهُ لَا شَرِيكَ لَهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ وَأَنَّ عِيسَى عَبْدُ اللَّهِ وَابْنُ أَمَتِهِ وَكَلِمَتُهُ أَلْقَاهَا إِلَى مَرْيَمَ وَرُوحٌ مِنْهُ وَأَنَّ الْجَنَّةَ حَقٌّ وَأَنَّ النَّارَ حَقٌّ أَدْخَلَهُ اللَّهُ مِنْ أَيِّ أَبْوَابِ الْجَنَّةِ الثَّمَانِيَةِ شَاءَ ) . رواه البخاري ( 3252 ) ومسلم ( 28 ) .

          มีรายงานจากท่าน อูบาดะห์  บิน ซอมิตได้กล่าวว่า  ท่านเราะซูลุลลอฮ ศอลลัลลอฮูอะลัยอิวะซัลลัมได้กล่าวว่า

           “ผู้ใดที่กล่าวว่า ฉันขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระอื่นใดที่ถูกเคารพโดยแท้จริงนอกจากอัลลอฮ์ เพียงพระองค์เดียว ไม่หุ้นส่วนใดๆต่อพระองค์ และแท้จริงมุฮัมมัดเป็นบ่าวของพระองค์ และเป็นเราะซูลของพระองค์  และแท้จริงท่านนะบี อีซา เป็นบ่าวของอัลลอฮ์ และลูกของบ่าวของพระองค์และพระดำรัสหนึ่งของอัลลอฮ์  ที่ได้สร้างมัน(หมายถึงคำดำรัสของอัลลอฮ์ โดยที่ญิบรีลได้เป่าวิญญาณด้วยคำนั้น)ไปยังนางมัรยัม และเป็นวิญญาณหนึ่งที่มาจากพระองค์  และแท้จริงสวรรค์นั้นมีจริง และแท้จริงนรกมีจริง อัลลอฮ์ จะให้เขาเข้าสวรรค์ ประตูใดก็ได้จาก 8 ประตูสวรรค์ ตามที่เขาต้องการ” 

(บันทึกอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 3252 และ มุสลิม หะดีษที่ 28 )

 

         ท่านเชคอับดุรเราะหมาน  บิน หะซัน บิน  มูฮัมหมัด  บิน  อับดิลวะฮาบ  รอฮิมาอุลลอฮ์  ได้กล่าวอธิบาย อายะดังต่อไปนี้

( فَاعْلَمْ أَنَّهُ لاَ إِلهَ إلاَّ الله )

“ดังนั้นเจ้าจงทราบไว้เถิดว่า แท้จริงพระองค์คือ  ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ถูกเคารพโดยแท้จริงนอกจากอัลลอฮ์”

 

         คำพูดของท่านนะบี  ที่ว่า “ผู้ใดที่กล่าวว่า ฉันขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระอื่นใดที่ถูกเคารพโดยแท้จริงนอกจากอัลลอฮ์”  ก็หมายความว่า ใครที่กล่าวโดยทราบความหมายของคำปฏิญาณนั้น และปฏิบัติความต้องการของการปฏิญาณนั้น ทั้งที่เป็นการปฏิบัติที่ไม่แสดงออกมา (หมายถึงจิตใจ) และการปฏิบัติที่แสดงออกมา ดังนั้นสำหรับคำปฏิญาณทั้งสองที่ว่านั้น จะต้องประกอบไปด้วย ความรู้ และความมั่นใจ และการปฏิบัติตามที่คำปฏิญาณ  เหมือนคำดำรัสของอัลลอฮ์  ที่ว่า 

وقوله ( إِلاَّ من شهد بالحق وهم يعلمون )

“นอกจากผู้ยืนยันเป็นพยานด้วยความจริง และพวกเขารู้ดี” 

( ซูเราะ อัซซุครุฟ : 86)

          สำหรับการกล่าวคำนี้โดยไม่ทราบความหมายและไม่ได้เชื่อมั่น ไม่ได้ปฏิบัติตามจุดประสงค์ของคำกล่าวนี้ คือ การปลีกตัวออกจากการตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ และมีความบริสุทธิ์ใจทั้งคำพูดและการกระทำ  คือ คำพูดของจิตใจ และลิ้น การกระทำของจิตใจ และอวัยวะต่าง หากเป็นเช่นนั้นการกล่าว คำปฏิญาณทั้งสองก็ไม่มีประโยชน์ใดๆ ด้วยมติของปวงปราชญ์  

            ท่านอัลกุรตูบีย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ  (  المفهم على صحيح مسلم  )     บทที่ว่าด้วย ไม่ถือว่าเป็นการเพียงพอแค่กล่าวคำปฏิญาณทั้งสอง  แต่จำเป็นที่จะต้องมีความเชื่อมั่นของจิตใจ 

          ความเข้าใจของกลุ่ม อัลมุรยิหะฮ์ ที่กล่าวว่า การกล่าวแค่คำปฏิญาณทั้งสองเพียงอย่างเดียว ถือว่าเป็นการเพียงพอแล้วในเรื่องของการศรัทธา    และมีหะดีษมากมายในเรื่องนี้ ที่มาชี้ถึงหลักความเชื่อที่ไม่ถูกต้องในเรื่องนี้ เป็นที่ทราบดีว่าแนวทางของพวกเขาเป็นที่มีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติ   หากการกล่าวคำปฏิญาณเป็นไปตามที่พวกเขาเข้าใจ ก็ไม่สามารถตัดสินได้ว่า ใครอยู่ในกลุ่มบรรดาผู้ที่กลับกลอก มูนาฟีกีน และหลักการศรัทธาของพวกเขาถูกต้องหรือไม่   ซึ่งจริงแล้วการศรัทธาแบบมูนาฟิกใช้ไม่ได้อย่างแน่นอน  จากหนังสือ ฟัตหุลมายีด หน้าที่ 36


          สำหรับเงื่อนไขของ คำว่า  ไม่มีพระเจ้าที่ถูกเคารพโดยแท้จริงนอกจากอัลลอฮ์  มีทั้งหมด 7 ข้อ และผู้ที่กล่าวคำปฏิญาณนี้จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ นอกจากจะต้องครบทั้ง 7 ข้อ

1.ความรู้ ซึ่งตรงข้ามกับ ความเขลา

2.ความมั่นใจ ซึ่งตรงข้ามกับ ความสงสัย

3.การยอมรับ ซึ่งตรงข้ามกับการปฏิเสธ

4.การปฏิบัติตาม ซึ่งตรงข้าม กับ การละทิ้ง

5.ความบริสุทธิ์ใจ ซึ่งตรงข้ามกับ การมีหุ้นส่วน (ชีริก)

6.ความสัตย์  ซึ่งตรงข้ามกับ การโกหก

7.ความรัก  ซึ่งตรงข้ามกับ ความเกลียดชัง

 

สามารถที่จะดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ตอบแก่ผู้ที่ถาม ในคำถามที่ 9104 และ 12295

 


Islam Q A ฟัตวาหมายเลข 82857