ตัวอ่อนมนุษย์
  จำนวนคนเข้าชม  9829

1 พระคัมภีร์กุรอานกับการพัฒนาของตัวอ่อนมนุษย์:

          ในพระคัมภีร์กุรอาน พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงตรัสไว้เกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ ในการพัฒนาของตัวอ่อนมนุษย์ : 
 

 และขอสาบานว่า แน่นอนเราได้สร้างมนุษย์มาจากธาตุแท้ของดิน แล้วเราทำให้เขาเป็นเชื้ออสุจิ อยู่ในที่พักอันมั่นคง (คือมดลูก)แล้วเราได้ทำให้เชื้ออสุจิกลายเป็นก้อนเลือดแล้วเราได้ทำให้ก้อนเลือดกลายเป็นก้อนเนื้อแล้วเราได้ทำให้ก้อนเนื้อกลายเป็นกระดูก แล้วเราหุ้มกระดูกนั้นด้วยเนื้อ แล้วเราได้เป่าวิญญาณให้เขากลายเป็นอีกรูปร่างหนึ่ง ดังนั้นอัลลอฮ์ทรงจำเริญยิ่ง ผู้ทรงเลิศแห่งปวงผู้สร้าง... 1 (คัมภีร์กุรอาน, 23:12-14)

ซึ่งเมื่อพิจารณาตามตัวอักษรแล้ว ในภาษาอารบิก คำว่า alaqah นั้น มีอยู่ 3 ความหมาย ได้แก่ (1) ปลิง  (2) สิ่งแขวนลอย และ (3) ลิ่มเลือด.

ในการเปรียบเทียบปลิงกับตัวอ่อนในระยะที่เป็นalaqah นั้น เราได้พบความคล้ายกันระหว่างสองสิ่งนี้2  ซึ่งเราสามารถดูได้จากรูปที่ 1 นอกจากนี้ ตัวอ่อนที่อยู่ในระยะดังกล่าวจะได้รับการหล่อเลี้ยงจากเลือดของมารดา ซึ่งคล้ายกับปลิงซึ่งได้รับอาหารจากเลือดที่มาจากผู้อื่น3


 
             รูปที่ 1: ภาพวาดดังกล่าวอธิบายให้เห็นความคล้ายกันของรูปร่างระหว่างปลิงกับตัวอ่อนมนุษย์ในระยะที่เป็น alaqah (รูปวาดปลิงมาจากหนังสือเรื่อง Human Development as Described in the Quran and Sunnah ของ Moore และคณะ หน้า 37 ดัดแปลงมาจาก Integrated Principles of Zoology ของ Hickman และคณะ ภาพตัวอ่อนวาดมาจากหนังสือเรื่อง  The Developing Human ของ Moore และPersaud)ปรับปรุงครั้งที่ 5 หน้า 73)
 

ความหมายที่สองของคำว่า alaqah คือ “สิ่งแขวนลอย” ซึ่งเราสามารถดูได้จากรูปที่ 2 และ 3 สิ่งแขวนลอยของตัวอ่อน ในช่วงระยะ alaqah ในมดลูกของมารดา

               รูปที่ 2: ในภาพนี้ เราจะเห็นภาพของตัวอ่อน ซึ่งเป็นสิ่งแขวนลอยในช่วงระยะที่เป็น alaqah อยู่ในมดลูก (ครรภ์) ของมารดา (มาจากเรื่อง The Developing Human ของ Moore และ Persaud ปรับปรุงครั้งที่ 5 หน้า 66) (คลิกที่รูปภาพเพื่อขยายใหญ่)
 
 


   
               รูปที่ 3: ในภาพที่ถ่ายด้วยระบบโฟโตไมโครกราฟ (photomicrograph) นี้ เราจะเห็นตัวอ่อนซึ่งเป็นสิ่งแขวนลอยได้ (ตรงเครื่องหมายอักษร B) ซึ่งอยู่ในช่วงระยะของ alaqah (อายุประมาณ 15 วัน) ในครรภ์มารดา ขนาดที่แท้จริงของตัวอ่อนนั้นจะมีขนาดประมาณ 0.6 มิลลิเมตร (มาจากเรื่อง  The Developing Human ของ Mooreปรับปรุงครั้งที่ 3 หน้า 66 จากเรื่อง  Histology ของ Leeson และ Leeson.)
 
 

              ความหมายที่สามของคำว่า alaqah คือ “ลิ่มเลือด” เราพบว่าลักษณะภายนอกของตัวอ่อนและส่วนที่เป็นถุงในช่วงระยะ alaqah นั้น จะดูคล้ายกับลิ่มเลือด ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า มีเลือดอยู่ในตัวอ่อนค่อนข้างมากในช่วงระยะดังกล่าว4 (ดูรูปที่ 4) อีกทั้งในช่วงระยะดังกล่าว เลือดที่มีอยู่ในตัวอ่อนจะไม่หมุนเวียนจนกว่าจะถึงปลายสัปดาห์ที่สาม5  ดังนั้น ตัวอ่อนในระยะนี้จึงดูเหมือนลิ่มเลือดนั่นเอง.

             รูปที่ 4: เป็นแผนภูมิระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจพอสังเขปในตัวอ่อนในช่วงระยะ alaqah ซึ่งลักษณะภายนอกของตัวอ่อนและส่วนที่เป็นถุงของตัวอ่อนจะดูคล้ายกับลิ่มเลือด เนื่องจากมีเลือดอยู่ค่อนข้างมากในตัวอ่อน (The Developing Human ของ Moore ปรับปรุงครั้งที่ 5 หน้า 65 

 

         ดังนั้น ทั้งสามความหมายของคำว่า alaqah นั้น ตรงกับลักษณะของตัวอ่อนในระยะ alaqah เป็นอย่างยิ่ง

              ในระยะต่อมาที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ก็คือ ระยะ mudghah ในภาษาอารบิกคำว่า mudghahหมายความว่า “สสารที่ถูกขบเคี้ยว” ถ้าคนใดได้หมากฝรั่งมาชิ้นหนึ่ง และใส่ปากเคี้ยว จากนั้นลองเปรียบเทียบหมากฝรั่งกับตัวอ่อนที่อยู่ในช่วงระยะ mudghah เราจึงสรุปได้ว่าตัวอ่อนในช่วงระยะ mudghah จะมีลักษณะเหมือนสสารที่ถูกขบเคี้ยว ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ไขสันหลังที่อยู่ด้านหลังของตัวอ่อนมีลักษณะ “ค่อนข้างคล้ายกับร่องรอยของฟันบนสสารที่ถูกขบเคี้ยว “ (ดูรูปที่ 5 และ 6)

            รูปที่ 5: ภาพถ่ายของตัวอ่อนในช่วงระยะ mudghah (อายุ 28 วัน) ตัวอ่อนในระยะนี้จะมีลักษณะเหมือนสสารที่ถูกขบเคี้ยว เนื่องจากไขสันหลังที่อยู่ด้านหลังของตัวอ่อนมีลักษณะค่อนข้างคล้ายกับร่องรอยของฟันบนสสารที่ถูกขบเคี้ยว ขนาดที่แท้จริงของตัวอ่อนจะมีขนาด 4 มิลลิเมตร (จากเรื่อง The Developing Human ของ Moore และ Persaud ปรับปรุงครั้งที่ 5 หน้า 82 ของศาสตราจารย์ Hideo Nishimura) มหาวิทยาลัยเกียวโต ในเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น

          รูปที่ 6: เมื่อเปรียบเทียบลักษณะของตัวอ่อนในช่วงระยะ mudghah กับหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้ว เราจะพบกับความคล้ายคลึงระหว่างทั้งสองสิ่งนี้ A) รูปวาดของตัวอ่อนในช่วงระยะ mudhah เราจะเห็นไขสันหลังที่ด้านหลังของตัวอ่อน ซึ่งดูเหมือนลักษณะร่องรอยของฟัน (จากเรื่อง(The Developing Human ของ Moore และ Persaud ปรับปรุงครั้งที่ 5 หน้า 79) B) รูปถ่ายหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้ว

            ศาสดามูฮัมมัด   ทรงทราบได้อย่างไรถึงเรื่องราวทั้งหมดนี้เมื่อ 1400 ปีที่แล้ว ทั้งๆ ที่นักวิทยาศาสตร์เพิ่งจะค้นพบเรื่องนี้เมื่อไม่นานมานี้เอง โดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัยและกล้องจุลทรรศน์ความละเอียดสูง ซึ่งยังไม่มีใช้ในสมัยก่อน Hamm และ Leeuwenhoek คือนักวิทยาศาสตร์สองคนแรกที่สังเกตเซลล์อสุจิของมนุษย์ (สเปอร์มมาโตซัว) ด้วยการใช้กล้องจุลทรรศน์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2220 (หลังศาสดามูฮัมมัด ) กว่า 1000 ปี  พวกเขาเข้าใจผิดคิดว่าเซลล์อสุจิเหล่านั้นประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งจะก่อตัวเป็นมนุษย์ โดยจะเจริญเติบโตเมื่อฝังตัวลงในอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิง

              ศาสตาจารย์กิตติมศักดิ์ Emeritus Keith L. Moore หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขากายวิภาควิทยาและวิชาว่าด้วยการศึกษาตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต อีกทั้งยังเป็นผู้แต่งหนังสือที่ชื่อว่า Developing Human ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้นำไปแปลถึงแปดภาษา หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ใช้สำหรับอ้างอิงงานทางวิทยาศาสตร์ และยังได้รับเลือกจากคณะกรรมการพิเศษของสหรัฐอเมริกาให้เป็นหนังสือที่ดีที่สุดที่แต่งขึ้นโดยบุคคลเพียงคนเดียว Dr. Keith Moore เป็นศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์แห่งภาควิชากายวิภาควิทยาและเซลล์ชีววิทยา ที่มหาวิทยาลัยโตรอนโต (University of Toronto) เมืองโตรอนโต ประเทศแคนนาดา.ณ ที่แห่งนั้น เขาดำรงตำแหน่งรองคณบดีสาขาวิทยาศาสตร์มูลฐานของคณะแพทย์ศาสตร์ และดำรงตำแหน่งประธานแผนกกายวิภาควิทยาเป็นเวลา 8 ปี ในปีพ.ศ. 2527 เขาได้รับรางวัลที่น่าชื่นชมที่สุดในสาขากายวิภาคของประเทศแคนนาดา นั่นคือรางวัล J.C.B Grant Award จากสมาคมนักกายวิภาควิทยาแคนนาดา (Canadian Association of Anatomists) เขาได้กำกับดูแลสมาคมนานาชาติต่างๆ มากมาย เช่น สมาคมนักกายวิภาควิทยาแคนนาดาและอเมริกา (Canadian and American Association of Anatomists) และ สภาสหภาพวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Council of the Union of Biological Sciences) เป็นต้น.

            ในปีพ.ศ 2524 ระหว่างการประชุมด้านการแพทย์ครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองแดมแมม ประเทศซาอุดิอาระเบีย ศาสตราจารย์ Moore ได้กล่าวว่า “ข้าพเจ้าภาคภูมิใจอย่างหาที่สุดมิได้ที่ได้ช่วยให้เรื่องราวต่างๆ ที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์กุรอานเกี่ยวกับการพัฒนาการของมนุษย์ให้มีความชัดเจน อีกทั้งยังทำให้ข้าพเจ้ามีความเข้าใจอย่างกระจ่างชัดว่าคำกล่าวเหล่านี้ต้องมาจากพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าโดยผ่านทางพระมูหะหมัด เพราะว่าความรู้เกือบทั้งหมดนี้ไม่เคยถูกค้นพบมาก่อนจนกระทั่งอีกหลายศตวรรษต่อมา สิ่งนี้พิสูจน์ให้ข้าพเจ้าเห็นว่าพระมูหะหมัดจะต้องเป็นผู้ถือสารจากพระผู้เป็นเจ้าอย่างแน่นอน”

           ต่อมา ศาสตราจารย์ Moore ได้ถูกตั้งคำถามดังต่อไปนี้ หมายความว่า ท่านมีความเชื่อว่า พระคัมภีร์กุรอานนั้นเป็นพระดำรัสจากพระผู้เป็นเจ้าจริงหรือไม่ เขาตอบว่า “ข้าพเจ้ายอมรับสิ่งดังกล่าวนี้ได้อย่างสนิทใจ”

             ในระหว่างการประชุมครั้งหนึ่ง ศาสตราจารย์ Moore ได้กล่าวว่า “…..เพราะว่าในช่วงระยะตัวอ่อนของมนุษย์นั้นมีความซับซ้อน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในระหว่างการพัฒนาของตัวอ่อน มีการเสนอว่าควรมีการพัฒนาระบบการแบ่งประเภทตัวอ่อนใหม่โดยใช้คำศัพท์ที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์กุรอานและซุนนาห์ (Sunnah) (สิ่งที่ศาสดามูฮัมมัด ได้บอก ได้ปฏิบัติ และอนุญาต) ระบบที่เสนอนี้ดูเรียบง่าย ครอบคลุมทุกด้านและสอดคล้องกับความรู้ที่เกี่ยวกับการพัฒนาของตัวอ่อนในปัจจุบัน.  แม้ว่า อริสโตเติล (Aristotle) ผู้ก่อตั้งวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต ยังเชื่อว่าการพัฒนาตัวอ่อนของลูกไก่นั้นแบ่งออกเป็นหลายระยะ จากการศึกษาไข่ไก่เมื่อศตวรรษที่สี่หลังคริสต์ศักราช ซึ่งเขาไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับระยะต่างๆ เหล่านั้นเลย เท่าที่ทราบมาจากประวัติการศึกษาเกี่ยวกับตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต มีเรื่องระยะและการแยกประเภทของตัวอ่อนมนุษย์อยู่น้อยมาก จนกระทั่งมาถึงศตวรรษที่ยี่สิบนี้”
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ในศตวรรษที่เจ็ด คำอรรถาธิบายเกี่ยวกับตัวอ่อนมนุษย์ในพระคัมภีร์กุรอานนั้น ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงความรู้ในทางวิทยาศาสตร์ได้ มีเพียงบทสรุปที่พอจะมีเหตุผลเดียวก็คือ คำอรรถาธิบายเหล่านี้ ได้ถูกเปิดเผยโดยพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งทรงประทานแก่ศาสดามูฮัมมัด ซึ่งไม่ทราบรายละเอียดต่างๆ เพราะว่าศาสดามูฮัมมัดเป็นคนที่ไม่รู้หนังสือ อีกทั้งไม่เคยฝึกฝนด้านวิทยาศาสตร์ใดๆ ทั้งสิ้น

ที่มา : islam guide
 
 
    
                                                                                                               ติดตามตอนต่อไป