ความเข้าใจในเรื่องญามาอะห์
  จำนวนคนเข้าชม  12118

 

ความเข้าใจในเรื่องญามาอะห์

โดย...  อิสมาอีล  กอเซ็ม


          แท้จริงอัลลอฮ์สั่งใช้ให้มุสลิมมีความสามัคคีกลมเกลียว รักใคร่ซึ่งกันและกัน  อีกทั้งยังสั่งห้ามมิให้แตกแยกกัน ดังดำรัสของพระองค์ที่ว่า

و اعتصمو ا بحبل الله جميعا ولا تفرقوا

“ดังนั้นพวกเจ้าจงยึดมั่นในสายเชือกของอัลลอฮ์ โดยพร้อมเพรียงกัน และพวกเจ้าอย่าได้แตกแยกกัน”


          อัลลอฮ์  ทรงเตือนมิให้ดำเนินตามแนวทางของบุคคลที่มาก่อนหน้า โดยที่พวกเขาอยู่บนความแตกแยก

ولا تكونوا كالذين تفرقوا واختلفوا من بعد ماجاء هم البينات وأولئك لهم عذاب عظيم

“และพวกเจ้าอย่าได้เป็นเหมือนกับบรรดาผู้ที่ได้แตกแยกกัน หลักจากที่ได้มีหลักฐานที่ชัดเจนมายังพวกเขา

และชนเหล่านั้น พวกเขาจะได้รับการลงโทษที่เจ็บแสบ”  

(ซูเราะห์ อาลาอิมรอน 100)

          อัลลอฮ์  ไม่ทรงยอมรับผู้ที่ชอบสร้างความแตกแยกในศาสนา พวกที่ชอบจะสร้างเป็นกลุ่ม เป็นก๊ก เป็นเหล่าขึ้นมาในศาสนา

          ท่านอิบนูกะซีรรออิมาอุลลอฮ์ได้กล่าวว่า ความหมายของอายะฮ์นี้ครอบคลุมทุกคนที่ตีตนออกจากศาสนาของพระองค์ โดยมีความขัดแย้งในศาสนา เพราะแท้จริง อัลลอฮ์ ทรงส่ง เราะซูล  มาด้วยกับแสงสว่างทางนำที่ถูกต้อง และศาสนาของพระองค์คือศาสนาแห่งสัจจะธรรม ที่อยู่เหนือทุกๆศาสนา

          บทบัญญัติของอิสลามเป็นเอกภาพ คือ บทบัญญัติที่มาจาก พระผู้เป็นเจ้า จะไม่มีการขัดแย้งกัน  และผู้ใดที่มีความคิดขัดแย้งต่อศาสนาอิสลาม (แสดงว่าพวกเขาได้ตั้งกลุ่มขึ้นมา ) เช่น พวกที่มีแนวคิดโดยยึดอารมณ์ของตนเป็นที่ตั้ง และเป็นผู้หลงผิด ซึ่งอัลลอฮ์ได้ใช้ให้ออกห่างจากกลุ่มคนเหล่านี้

(ตัฟซีรอิบนู กะซีร 2 / 196)


          อัลลอฮ์  ทรงใช้ให้ท่านเราะซูล  ออกห่างจากกลุ่มชนที่ปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ และกลุ่มที่อยู่บนความหลงผิด และปลีกตัวออกจากการกระทำของพวกเขา ดังนั้นผู้ใดที่ปฏิบัติตามแนวทางของท่านเราะซูล จึงจำเป็นที่จะต้องหลีกห่างจากคนกลุ่มนี้ และผู้ใดปฏิบัติตามแนวทางของพวกเขาเท่ากับได้ฝ่าฝืนต่อท่านเราะซูล

         หะดีษที่ได้กล่าวถึงความสำคัญของการยึดมั่นในญามาอะฮ์
 
عن حذيفة بن اليمان رضي الله عنه قا ل : كان الناس يسألون رسول الله صلى الله عليه وسلم عن الخير وكنت أسأله عن الشر مخافة أن يدركني فقلت : يارسول الله إنا كنا في جاهلية وشر فجاء نا الله بهذا الخير فهل بعد هذا الخير من شر ؟ قال نعم قلت :هل بعد ذلك الشر من خير ؟ قال نعم وفيه دخن )) قلت ومادخنه ؟ قال قوم يهدون بغير هديي تعرف منهم وتنكر فقلت فهل بعد ذلك الخير من شر ؟ قال نعم دعاة على أبواب جهنم من أجابهم إليها فذقوه فيها )) قلت يارسول الله صفهم لنا قال (( هم من جلد تنا ويتكلمون بألسنتنا )) فما تأ مرني إن أدركني بذلك ؟ قال تلزم جماعة المسلمين وإمامتهم قلت فإن لم يكن لهم جماعة ولا إمام ؟ قال (( فاعتزل تلك الفرق كلها ولو أن تعض بأصل شجرة حتى يدركك الموت وأنت على ذلك ))
رواه البخاري 9 /16 )) كتاب الفتن مسلم الإ مارة 3 / 1475

 รายงานจากท่านอุซัยฟะห์ บินยะมาน  ได้กล่าวว่า  ผู้คนต่างได้ถามถึงความดี แต่ฉันได้ ถามถึงความชั่วเพราะกลัวว่าความชั่วนั้นจะย่างกรายมาหาฉัน

ฉันได้กล่าวว่า: โอ้ท่านเราะซูล  แท้จริงใน ยุคที่พวกเราอยู่ในความงมงาย อยู่กับความชั่ว แล้วอัลลอฮ์  ได้ให้ความดีงามมาถึงยังพวกเรา ดังนั้นหลังจากความดีนั้นมีความชั่วอีกไหม ?

ท่านเราะซูล  ได้กล่าวว่า : มีอีก

แล้วฉันได้ถามต่อไปว่า: หลังจากความชั่วมีความดี มีความดีอีกบ้างไหม ?

ท่านเราะซูล  ได้ตอบว่า  : มีแต่ว่า มันเลือนลาง

ฉันได้กล่าวว่า: อะไรความเลือนลางของมัน ?

ท่านเราะซูล  ได้กล่าวว่า : กลุ่มชนที่พวกเขามิได้อยู่ในทางนำของฉัน ณ ที่พวกเขามีทั้งความดีและความชั่ว

ฉันได้กล่าวว่า: และหลังจากความดีดังกล่าวมีความชั่วอีกบ้างไหม ?

ท่านเราะซูล  ได้กล่าวว่า : มีอีกคือบรรดาผู้ที่เรียกร้องผู้คนมาสู่ประตูนรกญะอันนัม ผู้ใดที่ตอบรับการเชิญชวนของพวกเขา ก็จะถูกโยนสู่นรกญะอันนัม

ฉันได้กล่าวว่า : โอ้ท่านเราะซูลุลลอฮ  ท่านจงบอกลักษณะของพวกเขาแก่พวกเรา

ท่านเราะซูล  ได้กล่าวว่า : “ พวกเขาเป็นกลุ่มที่มาจากพวกเรา และพูดภาษาเดียวกับพวกเรา ”  

ฉันได้กล่าวว่า : ดังนั้นท่านมีอะไรจะสั่งเสียแก่ฉันหากฉันมีชีวิตอยู่ในขณะนั้น ?

ท่านนะบี ได้กล่าวว่า : ท่านจงยึดมั่นอยู่กับกลุ่มของมุสลิม และผู้นำของพวกเขา (หมายถึงญามาฮะห์มุสลิม)

ฉันได้กล่าวว่า : ถ้าไม่มีญามาฮะห์และผู้นำ ?

ท่านนะบี  ได้กล่าวว่า : ท่านจงปลีกตัวออกจากทุกๆกลุ่มเหล่านั้น ถึงแม้ท่านจะมีชีวิตด้วยการกัดกินรากไม้ก็ตาม จนกระทั่งความตายได้มาหาโดยที่ท่านมีชีวิตอยู่อย่างนั้น

 

(บันทึกโดยบุคคอรีย์ ในเรื่องความวุ่นวาย 9 / 16 มุสลิม ในเรื่องการเป็นผู้นำ 3 / 1475)


عن عبد الله بن مسعود رضي الله عنه قال :قال رسول الله عليه وسلم (( لا يحل دم امرئ مسلم يشهد ان لا إله إلا الله وأني رسول الله إلا بإحدى ثلاث : الثيب الزاني والنفس بالنفس والتارق لدينه المفا رق للجماعة ))

มีรายงานจากท่าน อับดุลลอฮ บินมัสอูด ท่านได้กล่าวว่าท่านเราะซูล ได้กล่าวว่า

ไม่อนุญาตให้หลั่งเลือดมุสลิมที่กล่าวคำปฏิญานว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และปฏิญานว่าฉันคือศาสนทูตของพระองค์” 

นอกจากด้วยเหตุ สามประการ

 ♣ ชายที่ผ่านการแต่งงานและทำผิดประเวณี 

♣ การชดเชยชีวิตด้วยชีวิต (การประหารชีวิตผู้ที่ทำการสังหารผู้อื่น)

♣ ผู้ที่ละทิ้ง ศาสนา และปลีกตัวออกจากกลุ่ม (ออกจากศาสนาและกลุ่มผู้ปกครอง)

البخاري في الديات مسلم القسامة 3/ 1302

عن ابن عباس رضي الله عنهما قال : قال رسول الله صلى الله عليه وسلم (( من رأى من أميره شيئا يكرهه فليصبر فإنه من فا رق الجماعة شبرا فمات ميتة الجا هلية ))

มีรายงานจากท่านอิบนูอับบาส ท่านได้กล่าวว่าท่านเราะซูล   ได้กล่าวว่า

“ผู้ใดที่เห็นสิ่งใดที่น่ารังเกียจในตัวผู้นำ เขาจงอดทน

เพราะว่าแท้จริงผู้ใดที่ออกจากญามาฮะห์แม้เพียงคืบเดียว ดังนั้นเขาได้ตายไปในสภาพของผู้ที่งมงาย”

          และมีตัวบทอีกมากมายที่กล่าวเกี่ยวกับเรื่องการให้ยึดมั่นอยู่กับกลุ่มมุสลิม และผู้นำมุสลิม ซึ่งบรรดาซอฮาบะห์ได้ปฏิบัติตามแนวทางของท่านนะบี  และได้สั่งเสียแก่คนรุ่นหลัง โดยเฉพาะในยุคที่จะมีความวุ่นวายประสบกับประชาชาติอิสลาม

 

แปลจาก อัลฆูลู ฟิดดีน