ระยะเวลาที่สั้นที่สุดในการอิอฺติกาฟ
  จำนวนคนเข้าชม  6392

 

 

ระยะเวลาที่สั้นที่สุดในการอิอฺติกาฟ

 

คำถาม :

          ระยะเวลาแค่ไหนที่ถือว่าเป็นการอิอฺติกาฟ?แล้วผมสามารถที่จะอิอฺติกาฟในช่วงเวลาที่สั้นๆได้หรือไม่หรือจำเป็นจะต้องอิอฺติกาฟอยู่เป็นเวลาหลายๆวัน?

 

คำตอบ : อัลฮัมดุลิลาฮฺ

 

อุลามาอ์มีทัศนะที่แตกต่างเกี่ยวกับช่วงเวลาที่สั้นที่สุดของการอิอฺติกาฟ

          โดยทัศนะส่วนใหญ่ของบรรดาอุลามาอ์เห็นพ้องกันว่าเวลาที่สั้นที่สุดในการอิอฺติกาฟนั้นคือการเข้าไปพำนักอยู่ในมัสยิดชั่วครู่หนึ่ง (لحظة) ซึ่งเป็นทัศนะของ อิมาม อบู หะนีฟะฮฺ,  อิมาม อัชชาฟิอี และอิมาม อะหมัด (ดู : อัลดุรรุลมุคตาร 1/445, อัลมัจญ์มูอฺ 6/489, อัลอินซอฟ 7/566)

ท่านอิมามอัน-นะวาวี ได้กล่าวในหนังสือ อัลมัจญ์มูอฺ (6/514)

          “และในส่วนของเวลาที่สั้นที่สุดในการอิอฺติกาฟที่ถูกต้องนั้นคือตามทัศนะของอุลามาอ์ส่วนใหญ่ ซึ่งมีเงื่อนไขคือต้องมีการพำนักอยู่ในมัสยิดและเป็นการอนุญาตให้พำนักเป็นเวลานานหรือเป็นเวลาสั้นๆ อาจจะเป็น 1 ชั่วโมงหรือจะเป็นช่วงเวลาหนึ่งก็ตาม”

 

โดยอ้างจากหลักฐานต่อไปนี้

          1. อิอฺติกาฟในภาษาอาหรับหมายถึง การพำนัก  ซึ่งจะครอบคลุมเวลาทั้งช่วงเวลาสั้นๆหรือนานๆ เนื่องจากไม่มีหลักฐานอ้างอิงจากอัลกุรอานหรืออัลหะดีษที่กำหนดระยะเวลาของการอิอฺติกาฟที่แน่นอนและชัดเจน

อิบนุ หัซม์ กล่าวว่า

          “อิอฺติกาฟในภาษาอาหรับให้ความหมายว่า การพำนัก ดังนั้น  ทุกๆการพำนักอยู่ในมัสยิดโดยมีเนียตเพื่อใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ถือว่าเป็นการอิอฺติกาฟ ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่สั้นๆหรือนานๆ เนื่องจากไม่มีหลักฐานใดๆจากอัลกุรอานและอัลหาดีษที่ระบุถึงระยะเวลาการอิอฺติกาฟที่แน่นอน  “

 

          2. รายงานจาก อิบนุอะบีชัยบะฮฺ จาก ยะอฺลา บินอุมัยยะฮฺ ได้กล่าวว่า

          “แท้จริงแล้วฉันได้พำนักอยู่ในมัสยิดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง และฉันมิได้พำนักอยู่ในมัสยิดเพื่อการอื่นใดไม่นอกเสียจากเพื่อการ อิอฺติกาฟ”

          ทัศนะที่สองของอุลามะอ์ มองว่าระยะเวลาที่สั้นที่สุดในการอิติการคือ การพำนักในมัสยิดเป็นเวลา 1 วัน ซึ่งเป็นทัศนะหนึ่งของอิมาม อบู หานีฟะฮฺ และ อุละมาอ์ มัซฮับ มาลิกี

ท่านเชค บิน บาซ ได้กล่าวในหนังสือ มัจญ์มูอฺ ฟะตาวา

          “การอิอฺติกาฟ คือ การพำนักอยู่ในมัสยิดเพื่ออัลลอฮฺ สุบหานะฮูวาตะอาลา ไม่ว่าจะด้วยเวลาเพียงสั้นๆหรือนานๆ เนื่องจากไม่มีหลักฐานระบุถึงเวลาที่แน่นอนเกี่ยวกับเรื่องนี้เท่าที่รู้มา ไม่ว่าจะเป็นเวลา 1 วัน หรือ 2 วัน หรือมากกว่านั้น อิอฺติกาฟเป็นอิบาดะฮหนึ่งที่ได้บัญญัติไว้ นอกเสียจากมุสลิมได้สร้างเงื่อนไขให้ตัวเอง (นะซัร/บนบาน) เช่นนี้แล้วการอิอฺติกาฟจะเป็นวาญิบสำหรับเขา และจะมีความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิงในเรื่องบทบัญญัติของการอิอฺติกาฟ”
 


http://islamqa.com/ar/ref/49002


ผู้แปล : รุสดี การีสา / Islam House