ไม่อนุญาตให้ถือศีลอดเนื่องจากมีประจำเดือน?
  จำนวนคนเข้าชม  10270

ทำไม ไม่อนุญาตให้สตรีถือศีลอดเนื่องจากการมีประจำเดือน ?


คำถาม

          พวกเราขอทราบถึงเหตุผลในการสตรีที่มีประจำเดือนนั้น  ไม่ถูกอนุญาตให้ทำการถือศีลอด  ทั้ง ๆ ที่ในช่วงเวลาของการถือศีลอดนั้น  ไม่ได้มีการปฏิบัติใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสิ่งสกปรก

บรรดาการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮ์


คำตอบ


ประการที่หนึ่ง

          จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบรรดาผู้ศรัทธาที่เขาจะต้องทำการเชื่อฟังและยอมรับในกฎระเบียบที่มาจาก พระองค์อัลลอฮ    ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ทราบถึงเหตุผลที่อยู่ในนั้นก็ตาม  ซึ่งนั้นเป็นการเพียงพอแล้วสำหรับพระองค์อัลลอฮ์ และเราะซูลของพระองค์  ดังพระวจนะของพระองค์อัลลอฮ์ ในซูเราะฮ al-Ahzaab และซูเราะฮ al-Noor

“ไม่บังควรแก่ผู้ศรัทธาชายและผู้ศรัทธาหญิง  เมื่ออัลลอฮ์ และเราะซูลของพระองค์ได้กำหนดกิจการใดแล้ว  สำหรับพวกเขาไม่ทางเลือกในเรื่องของพวกเขา  และผู้ใดไม่เชื่อฟังอัลลอฮ์ และรอซูลของพระองค์แล้ว แน่นอนเขาได้หลงผิดอย่างชัดแจ้ง”  (ซูเราะฮ al-Ahzaab 33:36)

“แท้จริงคำกล่าวของบรรดาผู้ศรัทธาเมื่อพวกเขาถูกร้องเรียกไปสู่อัลลอฮ์ และรอซูลของพระองค์  เพื่อให้ตัดสินระหว่างพวกเขา  พวกเขาจะกล่าวว่า เราได้ยินแล้วและเราเชื่อฟังปฏิบัตตาม  และชนเหล่านี้พวกเขาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ”  (ซูเราะฮ al-Noor 24:51)


ประการที่สอง

          ผู้ศรัทธาควรจะมีความเชื่อมั่นในศาสนาของพระองค์อัลลอฮ์  ด้วยกับการศรัทธาอย่างแน่วแน่ว่าพระองค์อัลลอฮ์ เป็นผู้ทรงปรีชาญาณ  ซึ่งพระองค์จะไม่ทรงบัญญัติสิ่งใดเว้นเสียแต่ว่าสิ่งนั้นจะอยู่ในการรอบรู้ของพระองค์  และพระองค์จะไม่กำชับสิ่งใด  เว้นเสียแต่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์มากที่สุด  และพระองค์จะทรงไม่ห้ามสิ่งใดเพื่อเป็นการปกป้องบ่าวของพระองค์เว้นเสียแต่ว่าสิ่งนั้น จะนำมาซึ่งอันตรายและเป็นสิ่งชั่วร้าย  ดังบทความของท่าน Ibn Katheer ในหนังสือ al-Bidaayah wa’l-Nihaayah (6/67)  ซึ่งท่านได้กล่าวเอาไว้ว่า

“กฎของเราะซูล นั้นเป็นกฎข้อบังคับที่สมบูรณ์ที่สุด  มันไม่ได้ละเลยสิ่งที่ดีใด ๆ เลยซึ่งสิ่งที่ดีทั้งหลายที่ระบุให้ปฏิบัตินั้น  ล้วนประจักษ์ให้เห็นถึงความดีอย่างแท้จริง  และมันก็ไม่ได้ละเลยความชั่วใด ๆ เลยซึ่งบรรดาความชั่วทั้งหลายที่ถูกระบุให้หลีกเลี่ยงนั้น  ล้วนประจักษ์ให้เห็นถึงความชั่วของมันอย่างแท้จริง  ซึ่งความดีใด ๆ  ที่ได้ระบุไว้นั้น  มนุษย์ไม่สามารถที่จะกล่าวได้เลยว่า  พวกเราไม่ควรที่จะปฏิบัติ  และความชั่วใด ๆ ที่ได้ถูกห้ามไว้นั้น  ก็ไม่มีมนุษย์ผู้ใดที่จะสามารถกล่าวได้เลย  ว่ามันไม่ควรที่จะถูกห้าม”


ประการที่สาม

          บรรดานักวิชาการล้วนมีความเห็นสอดคล้องกันว่า  สตรีที่มีประจำเดือนนั้น  จะไม่ถูกอนุญาตให้กระทำการถือศีลอด  และเธอจะต้องทำการถือศีลอดชดใช้ตามจำนวนวันที่เธอได้ขาดไป  ในกรณีที่การถือศีลอดนั้นเป็นข้อบังคับใช้สำหรับเธอ  เช่น การถือศีลอดในเดือนรอมาฎอน

          และบรรดานักวิชาการก็มีความเห็นตรงกันในกรณีที่  สตรีที่มีประจำเดือนและได้ทำการถือศีลอดด้วยนั้น  ศีลอดของนางจะถือว่าใช้ไม่ได้  ดังคำถามเพิ่มเติมในข้อ 50280

          ส่วนความคิดเห็นของบรรดานักวิชาที่  เกี่ยวกับการถือศีลอดสำหรับสตรีที่มีประจำเดือนนั้น  ถือว่าไม่เป็นที่ยอมรับหรือใช้ไม่ได้  มีความคิดเห็นแตกต่างกันดังนี้

อิหม่าม al-Haramayn ได้กล่าวว่า  “เราไม่ทราบถึงเหตุผลถึงการที่ศีลอดของสตรีที่มีประจำเดือนนั้น  จะไม่เป็นที่ยอมรับ  เพราะว่าความสะอาดนั้นไม่เป็นเงื่อนไขแรกสำหรับการถือศีลอด” จาก al-Majmoo’ 2/386

         นักวิชาการบางท่านได้ให้เหตุผลว่า  สาเหตุที่พระองค์อัลลอฮ์   ได้ทรงห้ามไม่ให้สตรีที่มีประจำเดือนทำการถือศีลอดนั้น  เนื่องมาจากความเมตตาของพระองค์  เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว  การเสียเลือดของพวกหล่อนจะส่งผลให้ร่างกายเกิดความอ่อนแอขึ้น  ซึ่งการที่จะต้องทำการถือศีลอดในช่วงเวลานี้ด้วยจะส่งผลทำให้ร่างกายอ่อนเพลียลง  อันเนื่องมาจากการมีประจำเดือนและอันเนื่องมาจากการถือศีลอด  ซึ่งในกรณีนี้การถือศีลอดจึงเป็นภาระที่หนักและยังเป็นอันตรายต่อร่างกายของนางอีกด้วย

จาก Shaykh al-Islam [Ibn Taymiyah] ใน Majmoo’ al-Fataawa 25/234


นักวิชาการบางส่วนได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีประจำเดือนของสตรีว่า

          อิสลามนั้นได้ให้ความพอดีกับทุก ๆ สิ่ง และห้ามสำหรับการภักดีที่เกินเลยขอบเขตและมีคำสั่งให้ทำการภักดีอย่างพอดี  ดังนั้นอิสลามจึงสั่งใช้ให้รีบเร่งในการละศีลอดแต่ให้ล่าช้าในการกินอาหารซูโฮร  และเป็นที่ต้องห้ามในการที่จะถือศีลอดตลอดทั้งปี  ท่านเราะซูล ได้กล่าวไว้ว่า

“การถือศีลอดที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดนั้น  คือการถือศีลอดของดาวูด (ขอความสันติจงประสบแด่ท่าน)  เขาได้ทำการถือศีลอดสลับวันกันและเขาไม่เคยหนีการสู้รบเมื่อเขาได้พบเห็นศัตรู”

ซึ่งการภักดีอย่างพอเหมาะนั้นเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของกฎข้อบัญญัติในศาสนา 

ดังพระวจนะของพระองค์อัลลอฮ์  ในซูเราะฮ al-Maa’-idah

“เราะซูลเอ๋ย  จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระเจ้าของเจ้า  และถ้าเจ้ามิได้ปฏิบัติ  เจ้าก็มิได้ประกาศสารของพระองค์  และอัลลอฮนั้นจะทรงคุ้มกันเจ้าให้พ้นจากมนุษย์  แท้จริงอัลลอฮ์ จะไม่ทรงแนะนำผู้ที่ปฏิเสธศรัทธา”   (ซูเราะฮ al-Maa’idah 5:67)

          และการห้ามในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงอนุมัติแล้วนั้น  ถือเป็นการฝ่าฝืนในการต่อต้านสิ่งที่ระบุไว้แล้วว่ามีความเหมาะสม  ซึ่งพระองค์อัลลอฮ์ ได้ตรัสไว้ในซูเราะฮ al-Nisa ว่า

“และเนื่องด้วยความอธรรมจากบรรดาผู้ที่เป็นยิว  เราจึงได้ให้เป็นที่ต้องห้ามแก่พวกเขาซึ่งบรรดาสิ่งดี ๆ ที่ได้ถูกอนุมัติแก่พวกเขามาแล้ว  และการที่พวกเขาขัดขวางทางของอัลลอฮ์ อย่างมากมาย”  (ซูเราะฮ al-Nisa’ 4:160)

“และเนื่องด้วยการที่พวกเขาเอาดอกเบี้ย  ทั้ง ๆ ที่พวกเขาถูกห้ามในเรื่องนั้น  และจากการที่พวกเขากินทรัพย์สินของผู้คนโดยไม่ชอบ  และเราได้เตรียมไว้แล้วสำหรับผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย  ซึ่งการลงโทษอันเจ็บแสบ”  (ซูเราะฮ al-Nisa’ 4:161)

          จากสองอายาตข้างต้นนั้น  อธิบายได้ว่า  การที่ชาวยิวได้ทำการหลงผิดไปนั้น  พวกเขาจึงถูกลงโทษด้วยกับการห้ามซึ่งบรรดาสิ่งดี ๆ ทั้งหลาย  ซึ่งแตกต่างกับประชาชาติที่ดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง  ที่พวกเขาจะได้รับการอนุมัติสิ่งที่ดี  และถูกยับยั้งในสิ่งที่ชั่วร้าย  เช่นเดียวกันกับในกรณีของการถือศีลอดนั้น  เป็นการยับยั้งบุคคลจากการกินและการดื่ม ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้พวกเขามีเรี่ยวแรงหรือมีกำลังขึ้น  และไม่เป็นการอนุญาตสำหรับเขาที่จะเจตนาทำให้ร่างกายเกิดความอ่อนแอขึ้น  ซึ่งถ้าหากว่าเขาได้รับการอนุมัติให้กระทำเช่นนั้นแล้ว  นั่นหมายถึงการที่เขาเป็นผู้ที่หลงทาง  เนื่องจากทำการภักดีที่มากเกินไป  ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม

          และในการพิจารณาสิ่งที่ออกมาจากร่างกายนั้น  แบ่งออกได้เป็นสองประเภท  คือ  ประเภทที่หนึ่ง  ร่างกายไม่สามารถที่จะทำการควบคุมได้  หรือเป็นสิ่งที่ออกมาจากพฤติกรรมที่ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย  ตัวอย่างเช่น  การขับถ่าย  ทั้งการถ่ายเบาและหนัก  ซึ่งสิ่งที่ออกมาจากร่างกายนี้  ไม่ได้ส่งผลเสียต่อร่างกายและร่างกายก็ไม่สามารถจะควบคุมไม่ให้ออกมาได้ด้วย  อีกทั้งยังมีประโยชน์ให้กับร่างกาย  เช่นเดียวกับการอาเจียนที่ไม่ได้เกิดจากการเจตนาและการฝันเปียก  ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้  ในกรณีนี้แตกต่างจากประเภทที่สอง  เช่นการอาเจียนโดยเจตนา  การปฏิเสธอาหารและเครื่องดื่ม  ที่จะทำให้ร่างกายมีเรี่ยวแรง  และการตั้งใจที่จะทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศขึ้น  รวมทั้งพฤติกรรมอื่น ๆ ที่ร่างกายสามารถควบคุมได้

          ส่วนในกรณีของการมีประจำเดือน  ที่ทำให้มีเลือดออกมาจากร่างกายนั้น  เป็นกรณีที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้  ซึ่งผู้ที่มีประจำเดือนนั้น  สามารถทำการถือศีลอดหลังจากที่นางหมดประจำเดือนแล้ว  เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายอยู่ในสภาวะที่ดี  มีความแข็งแรง   ดังนั้นนางจึงถูกใช้ให้ทำการถือศีลอดในวันอื่น  คือวันที่ไม่มีประจำเดือน เพราะในขณะที่มีประจำเดือนนั้น  สภาวะร่างกายยังมีความอ่อนแออยู่ 

 

 

http://www.islamqa.com/en/cat/69&page=0

แปลโดย นูรุ้ลนิซาอ์