เดือนแห่งความเมตตา
  จำนวนคนเข้าชม  5553

 

เดือนแห่งความเมตตา

 

ดร.อับดุลกุ๊ดดู๊ซ อิบนุ อุซามะฮฺ อัซซามัรรออียฺ

 

          เดือนรอมาฏอน เป็นเดือนที่ความกรุณา และความเมตตาจากอัลลอฮ์  จะปรากฏชัด และเครื่องหมายต่างๆ แห่งความดีใจที่แท้จริง เนื่องจากการเชื่อฟังพระองค์ และความโปรดปรานของพระองค์ จะเกิดขึ้น ดังนั้น มุสลิมจะดีอกดีใจ หลังจากที่เขาได้ทำการงานของเขาเสร็จ และเชื่อฟังพระผู้เป็นเจ้าของเขาเป็นอย่างดี และจะดีใจในการตอบรับงานนี้ ในขณะที่เขาได้ไปพบอัลลอฮ์

พระองค์ ตรัสไว้ว่า

 (มุฮัมมัด) จงกล่าวเถิดว่า ด้วยความกรุณาของอัลลอฮ์ และความเมตตาของพระองค์ และดังที่ได้กล่าวมา  ให้พวกเขาพากันดีใจกันเถิด

เพราะมันเป็นสิ่งที่ดีกว่า สิ่งที่พวกเขาได้รวบรวมไว้” 

(ยูนุส 58)

 ท่านเราะซูลุลลอฮ์  กล่าวไว้ว่า.

((  للصائم فرحتان يفرحهما: إذاأفطرفرح بفطره ، وإذالقي ربه فرح بصومه  )) 

“สำหรับผู้ถือศีลอดนั้น มีความดีใจอยู่สองครั้งด้วยกัน กล่าวคือขณะเมื่อเขาละศีลอด เขาจะดีใจ ด้วยการละศีลอดของเขา

และขณะเมื่อเขาได้ไปพบพระผู้เป็นเจ้าของเขา เขาจะดีใจกับการถือศีลอดของเขา” 

(รายงานโดย มุสลิมในซอฮี๊ฮฺของท่าน เลขที่ 1151)


 

 เดือนที่มีสิ่งบ่งบอกถึงความดีต่างๆ

           สิ่งที่เป็นร่องรอยแห่งความดีประการหนึ่งในเดือนนี้ คือ การรีบละศีลอด เมื่อถึงเวลา ทั้งนี้ ก็เนื่องจากมีรายงานมาในซอฮี๊ฮฺ บุคอรี จากสะฮ์ลฺ อิบนุ สะอ์ดฺ  กล่าวว่า ท่านเราะซูลุลลอฮฺ กล่าวไว้ว่า

(( لايزال الناس بخيرماعجلواالفطر  ))

“บรรดาผู้คนยังอยู่ในคุณความดี ตราบใดที่พวกเขารีบละศีลอด”   

(รายงานโดย บุคอรีในซอฮี๊ฮฺของท่าน เลขที่ 1957)


 

เดือนที่ให้ความสะดวกแก่ประชาชาติ

อบูฮุรอยเราะฮฺ อับดุรเราะฮฺมาน อิบนุ ศ็อครฺ ได้รายงานว่า ท่านเราะซุลุลลอฮฺ กล่าวไว้ว่า

((  من نسي وهو صائم فأكل أو شرب ، فليتم صومه ، فإنماأطعمه الله وسقاه  ))

“ผู้ใดที่ลืมในขณะที่เขาถือศีลอด แล้วเขากิน หรือดื่ม ก็ให้เขาถือศีลอดให้ครบ

เพราะแท้ที่จริง อัลลอฮฺ  ได้ทรงประทานอาหารแก่เขา และทรงประทานเครื่องดื่มแก่เขา”

(รายงานโดย มุสลิมในซอฮี๊ฮฺของท่าน เลขที่ 1155)


 

เดือนที่มีการเกื้อกูลกัน

          การให้อาหารแก่กัน ภาพต่างๆแห่งการมีน้ำใจแก่บรรดาผู้ขัดสน ยากจน และเด็กกำพร้า จะปรากฏชัด  มุสลิมนั้น รู้ดีว่า สิ่งที่ท่านเราะซูล ได้กำหนดขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่อยู่ในการกำหนดของอัลลอฮ์   และการเชื่อฟังปฏิบัติตามท่านเราะซูล นั้น เป็นหลักฐานที่บ่งบอกถึงการเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮ์ ดังดำรัสของพระองค์ที่ว่า 

 “ใครที่เชื่อฟังเราะซูล  เท่ากับว่า เขาได้เชื่อฟังอัลลอฮ์...” 

(อันนิซาฮฺ 80)

“และสิ่งที่ผู้เป็นเราะซูล  ได้นำมาให้พวกเจ้า พวกเจ้าก็จงรับมันไว้ และสิ่งใดที่เขาห้ามพวกเจ้าไม่ให้กระทำ พวกเจ้าก็จงหยุดยั้งเสีย” 

 (อัลหัชรฺ 7)

พระองค์อัลลอฮ์   ตรัสไว้ว่า.

“และไม่อนุญาตให้ชายผู้ศรัทธา และหญิงผู้ศรัทธา เมื่ออัลลอฮ์ และเราะซูล ของพระองค์ได้ชี้ขาด ในเรื่องหนึ่งเรื่องใดแล้ว

ทำเป็นเลือกเอาอย่างนั้นอย่างนี้ และผู้ใดที่ฝ่าฝืนอัลลอฮ์  และเราะซูล ของพระองค์  เท่ากับว่าเขาได้หลงผิดไปอย่างชัดแจ้งแล้ว” 

 (อัลอะฮฺซาบ 36)

 

สำหรับผู้รักในอัลลอฮ์   เราจะสังเกตเห็นได้ว่า อัลลอฮ์   จะทรงสอนเขาให้รู้ถึงหลักฐานที่บ่งบอกถึงความถูกต้อง ด้วยการดำเนินตามเราะซูล  ท่านสุดท้าย  ของพระองค์ 

  

อัลลอฮ์   ตรัสแก่เราะซูล ของพระองค์ เพื่อประชาชาติโดยทั่วไป ว่า

 

(มุฮัมมัด) จงกล่าวเถิด ว่า หากพวกท่านรักอัลลอฮ์  พวกท่านจงดำเนินตามฉัน อัลลอฮ์  จะทรงรักพวกท่าน

และอภัยให้แก่พวกท่าน ในบรรดาความผิดบาปต่างๆของพวกท่าน และอัลลอฮ์ นั้น เป็นผู้ทรงให้อภัยเสมอ ทรงเอ็นดูเมตตาตลอด” 

(อาละอิมรอน 31)

 

          ท่านนะบี มุฮัมมัด ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงอาหารแก่บรรดาผู้ถือศีลอด และมีน้ำใจแก่บรรดาผู้ถือศีลอด ถึงแม้จะด้วยผลอินทผาลัมเพียงซีกเดียว หรือนมผสมน้ำ หรืออาหารให้แก่บรรดาผู้ขัดสน ผู้ยากจน

 อิบนุ อับบ๊าส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา เขากล่าวว่า


(( فرض رسول الله صلى الله عليه وسلم صدقة الفطر، طهرة للصائم من اللغو والرفث ، وطعمة للمساكين ، فمن أداها قبل الصلاة – أي صلاة العيد – فهي زكاة مقبولة ، ومن أداها بعد الصلاة فهي صدقة من الصدقات ))
   
“ท่านเราะซูลุลลอฮ์  ได้กำหนด ให้มีการจ่ายซะกาตุลฟิฏรฺ เพื่อทำให้เกิดความสะอาดแก่ผู้ถือศีลอด จากการพูดจาเหลวไหล เลอะเทอะ

และเป็นอาหารสำหรับบรรดาผู้ขัดสน ดังนั้น ผู้ใดที่จ่ายซะกาตฟิฏรฺก่อนละหมาด ( คือ ละหมาดอีด ) ก็เป็น ซะกาต ที่ได้รับการตอบรับ

 และผู้ใดที่จ่ายหลังละหมาด มันก็เป็นเพียงทานหนึ่งจากบรรดาทานทั้งหลาย” 

(รายงานโดย อัลฮากิม ในอัลมุสตัดร็อก 1/409 และบอกว่า เศาะเหี้ยหฺ)

 

มีรายงานจากอิบนุ อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า

(( أن رسول الله صلى الله عليه وسلم أمر بزكاة الفطر أن تؤدى قبل خروج الناس إلى الصلاة )) . 
         
“ท่านเราะซูลุลลอฮ์   ได้สั่งให้จ่ายซะกาตุลฟิฏรฺ ก่อนที่ผู้คนทั้งหลายจะไปละหมาด” 

 (รายงายโดย มุสลิมในเศาะเหี้ยหฺของท่าน เลขที่ 986)

 

         การจ่ายซะกาตุลฟิฏรฺ รวมไปถึงเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ ผู้ชาย ผู้หญิง ผู้เป็นไท ผู้เป็นทาส ผู้ที่อยู่ในเมือง หรือผู้ที่อยู่นอกเมือง ผู้เป็นมุสลิมจะจ่ายให้แก่ตัวเอง และอยู่ภายใต้การดูแลของเขาที่เป็นมุสลิม จำนวน  1 ศ็ออฺ จากอาหารประจำเมืองนั้น ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 2,400 กรัมโดยประมาณ

          ดังที่มีรายงาน ให้จ่ายจำนวน 1 ศ็ออฺ ตามการรายงานของนาฟิอฺ จากอิบนุ อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า

(( أن رسول الله صلى الله عليه وسلم فرض زكاة الفطر من رمضان على الناس صاعا من تمر أوصاعامن شعير على كل حر أوعبد ذكر أوأنثى من المسلمين ))

 

“ท่านเราะซูลุลลอฮ์  ได้กำหนดซะกาตุลฟิฏรฺของเดือนรอมฎอน แก่ผู้คนทั้งหลาย จำนวน 1 ศ็ออฺ จากอินทผาลัม จำนวน 1 ศ็ออฺ

จากข้าวบาร์เลย์สำหรับผู้เป็นไท หรือบ่าวทาศผู้หญิง หรือผู้ชาย จากบรรดามุสลิมทุกคน”

 

(รายงายโดย มุสลิมในเศาะเหี้ยหฺของท่าน เลขที่ 984)